เมื่อนักช้อปอาเซียน เลือกค้นหาสินค้าโดยตรงในแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ แทนเสิร์ชเอนจิน

  • ผลสำรวจโดยลาซาด้า พบว่า 57% ของนักช้อปในภูมิภาคค้นหาสินค้าจากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซโดยตรง ทำให้ช่องทางอีคอมเมิร์ซกลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือค้นหาหลักที่ผู้บริโภคนิยมใช้
  • ลาซาด้าเดินหน้าลงทุนด้านเทคโนโลยีและข้อมูลเชิงลึกของผู้บริโภค เพื่อสร้างคุณค่าให้กับแบรนด์ ผู้ขาย และผู้บริโภค สอดคล้องกับเป้าหมายของบริษัทฯ ที่มุ่งเน้นการเติบโตทางธุรกิจในระยะยาว
  • LazMall เป็นแพลตฟอร์มสำคัญที่ลาซาด้าจะลงทุน เพื่อมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของลูกค้าและการรักษาฐานลูกค้า

ลาซาด้าเผยแพร่รายงานผลสำรวจผู้นำทางความคิดด้านการโปรโมตสินค้าผ่านโซลูชันของลาซาด้า (Lazada Sponsored Solutions หรือ LSS) ในหัวข้อ “พลิกโฉมการช้อปปิงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากการค้นหาสู่การจัดส่ง” (Transforming Southeast Asia: From Discovery to Delivery) ในงาน LazMall Brands Future Forum (BFF) 2022 ที่จัดขึ้น ณ รีสอร์ทเวิลด์ เซนโตซ่า

งาน LazMall Brands Future Forum (BFF) จัดขึ้นเป็นปีที่ 3 โดยเป็นงานเพื่อกลุ่มธุรกิจที่รวบรวมผู้นำในอุตสาหกรรมและพันธมิตรของลาซาด้าจากทั่วทั้งภูมิภาคมาแลกเปลี่ยนมุมมองและนวัตกรรมที่มีเป้าหมายเพื่อช่วยให้แบรนด์และผู้ขายสร้างการเติบโตทางธุรกิจ และมอบประสบการณ์ค้าปลีกที่แตกต่างในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายในงานมีการนำเสนอข้อมูลโดยผู้บริหารลาซาด้า รวมถึงบูธรูปแบบอินเทอร์แอคทีฟที่แสดงเทคโนโลยีเพื่อสร้างประสบการณ์การช้อปปิงของลาซาด้า

มีการคาดการณ์ว่าจำนวนผู้ใช้อีคอมเมิร์ซจะเพิ่มขึ้นเป็น 413 ล้านคนในปี 2568 ทำให้รูปแบบการช้อปปิงมีความหลากหลายมากขึ้น โดยผลสำรวจนี้พบว่า กว่า 57% ของนักช้อปในภูมิภาคค้นหาสินค้าบนแพลตฟอร์ม อีคอมเมิร์ซโดยตรง ต่างจากเดิมที่ผู้ใช้งานมักค้นหาผ่านเสิร์ชเอนจิน นับเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่อโซลูชันการตลาดของอีคอมเมิร์ซและการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาต่อยอดในธุรกิจต่าง ๆ ที่ต้องปรับตัวได้ตามสถานการณ์และมีความใกล้ชิดกับลูกค้า ท่ามกลางสภาวะอันท้าทายจากอัตราดอกเบี้ยและเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก

เจมส์ ตง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า กรุ๊ป กล่าวระหว่างการเปิดงานว่า

“แพลตฟอร์ตอีคอมเมิร์ซอย่างลาซาด้าทำได้เหนือกว่าโซเชียลมีเดีย และเสิร์ชเอนจินไปสู่การเป็นช่องทางการค้นพบทางเลือก พฤติกรรมและกรอบความคิดที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงสองปีที่ผ่านมา ได้ผลักดันให้กลุ่มผู้บริโภคคุณภาพสูงที่มองหาผลิตภัณฑ์ของแท้คุณภาพดี และประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยม หันมาใช้งานบนแพลตฟอร์ม LazMall มากขึ้น ทำให้แบรนด์ต่าง ๆ มีโอกาสนำเสนอแนวคิดและเชื่อมโยงกับผู้บริโภคโดยการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ของลาซาด้า เพื่อเร่งการเติบโตในพื้นที่อีคอมเมิร์ซและสร้างการมีส่วนร่วมกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด”

เจมส์ ชาง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายธุรกิจ กล่าวเพิ่มเติมว่า

อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เติบโตขึ้นอย่างมหาศาลระหว่างปี 2561-2564 อันเป็นผลมาจากการที่ผู้ซื้อหันมาช้อปปิงออนไลน์มากขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 แม้ว่าปัจจุบัน ผู้บริโภคเริ่มกลับไปใช้ชีวิตเช่นเดียวกับช่วงก่อนเกิดโรคระบาด ลาซาด้ายังคงเชื่อมั่นว่าผู้ซื้อจะยังคงซื้อสินค้าบนช่องทางออนไลน์อย่างต่อเนื่อง โดยผู้บริโภค 8 ใน 10 คนยังคงช้อปปิงออนไลน์ เนื่องจากความสะดวกสบาย แม้ว่ายอดซื้อสินค้าเฉลี่ยต่อรายจะลดลงเมื่อเทียบกับช่วงสองปีก่อน  LazMall ยังมีจำนวนผู้ซื้อเพิ่มขึ้นกว่าที่คาด และต่อจากนี้ลาซาด้าจะยังคงให้ความสำคัญกับการสร้างการมีส่วนร่วมและรักษาฐานลูกค้ามากกว่าการเน้นเรื่องราคาและโปรโมชันเป็นหลัก

รายงานด้านการโปรโมตสินค้าผ่านโซลูชันของลาซาด้า (LSS) ยังแสดงให้เห็นว่า การค้นพบสินค้าจากการค้นหาและสินค้าแนะนำช่วยสนับสนุนผู้บริโภคในกระบวนการตัดสินใจซื้อ โดย 94% ของนักช้อปใช้ฟังก์ชันค้นหาเพื่อมองหาสินค้าบนลาซาด้า และ 94% ตัดสินใจซื้อสินค้าที่พวกเขาพบจากฟังก์ชันค้นหา นอกจากนี้ 71% ของนักช้อปยังซื้อสินค้าที่แสดงในฟีเจอร์ “สินค้าแนะนำ” ที่ลาซาด้าคัดสรรมาให้ตรงตามความสนใจของผู้ใช้แต่ละคน

ลาซาด้าได้สำรวจผู้ใช้อีคอมเมิร์ซจำนวน 38,138 คน ครอบคลุมทุกเพศ ช่วงวัย และระดับรายได้ครัวเรือนใน 6 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม เพื่อทำความเข้าใจผู้บริโภคในภูมิภาคนี้ได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น

รายงานนี้ยังใช้ข้อมูลจากการสำรวจเชิงปริมาณอื่น ๆ และจากแหล่งข้อมูลในตลาดที่เชื่อถือได้ รวมถึงข้อมูลผู้บริโภค ลาซาด้ายังได้สัมภาษณ์เชิงลึกเพิ่มเติมกับผู้บริโภค เพื่อให้เข้าใจพฤติกรรมการใช้งานอีคอมเมิร์ซให้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนเส้นทางการซื้อ แรงจูงใจ รวมถึงความคาดหวังของผู้บริโภค

ผลการสำรวจที่สำคัญ

  • ผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากกว่าครึ่ง (57%) ค้นหาสินค้าโดยตรงบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ คาดการณ์ว่าจำนวนผู้ใช้อีคอมเมิร์ซจะเพิ่มขึ้นเป็น 413 ล้านคนในปี 2568 ทำให้รูปแบบการช้อปปิงมีความหลากหลายมากขึ้น โดยผลสำรวจนี้พบว่า กว่า 57% ของนักช้อปในภูมิภาคนี้ ค้นหาสินค้าโดยตรงบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ซึ่งมากกว่านักช้อปที่ค้นหาสินค้าผ่านโซเชียลมีเดียและกูเกิล ที่มีจำนวน 50% และ 40% ตามลำดับ
  • การค้นพบสินค้าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด เพราะเกือบ 50% ของการซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซเกิดขึ้นโดยไม่ได้วางแผนล่วงหน้า
  • การค้นพบสินค้าจากการค้นหาและสินค้าแนะนำช่วยสนับสนุนผู้บริโภคในกระบวนการตัดสินใจซื้อ โดย 94% ของนักช้อปใช้ฟังก์ชันค้นหาเพื่อมองหาสินค้าบนลาซาด้า และ 94% ตัดสินใจซื้อสินค้าที่พวกเขาพบจากฟังก์ชันค้นหา นอกจากนี้ 71% ของนักช้อปยังซื้อสินค้าที่แสดงในฟีเจอร์ “สินค้าแนะนำ” ที่ลาซาด้าคัดสรรมาให้ตรงตามความสนใจของผู้ใช้แต่ละคน
  • แรงจูงใจเบื้องหลังเส้นทางการตัดสินใจซื้อของนักช้อป
    • ปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักช้อปคลิกดูสินค้า ได้แก่ การจัดวางสินค้า ภาพผลิตภัณฑ์ ข้อเสนอในการจัดส่งฟรี และราคาสินค้า รวมถึงคูปองและส่วนลด
    • ปัจจัยหลักที่ทำให้ผู้บริโภคเพิ่มสินค้าลงในรถเข็น ได้แก่ คะแนนสินค้าและรีวิวจากผู้ใช้ ค่าจัดส่ง ข้อเสนอในการจัดส่งฟรี และราคาสินค้า รวมถึงคูปองและส่วนลด
    • ปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักช้อปกดเช็กเอาท์และชำระเงิน ได้แก่ โปรโมชันและส่วนลด ราคาสินค้าที่ไม่เกินงบที่ผู้บริโภคตั้งไว้ การจัดส่งฟรี และความเร่งด่วนในความจำเป็นต้องซื้อสินค้า