รู้จัก RISC by MQDC ศูนย์วิจัยฯ เพื่อ “ความเป็นอยู่ที่ดี” ของทุกชีวิต ลงลึกงานวิจัย 5 ด้าน “เปลี่ยนโลก” สู่ความยั่งยืน


โลกของเรายังต้องการงานวิจัยและนวัตกรรมอีกมากเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและ “ความเป็นอยู่ที่ดี” ให้กับทุกชีวิตอย่างยั่งยืน RISC by MQDC จึงได้รับการก่อตั้งขึ้นมากว่า 10 ปี เพื่อรวบรวมนักวิจัยและนวัตกรเข้ามาสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ โดยมีการทำงานวิจัยลงลึกไปใน 5 ด้าน (RISC’s 5 Hubs Research) ที่จะช่วย “เปลี่ยนโลก” ไปสู่ความยั่งยืนทั้งในวันนี้และสู่อนาคต

รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษา ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC by MQDC) บอกว่า  ศูนย์วิจัยแห่งนี้เน้นการค้นคว้า ทำงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านคุณภาพชีวิตแห่งแรกในเอเชีย เพื่อสร้าง “ความเป็นอยู่ที่ดี” หรือ For All Well-being ให้กับทุกชีวิตบนโลก โดยงานวิจัยที่ดำเนินการอยู่สอดคล้องกับเป้าหมายสากลและนานาชาติว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals)

การจะสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับสรรพสิ่งบนโลกได้ย่อมมีหลายมิติที่ต้องคำนึงถึง จากปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าปัญหาความไม่สมดุลบนโลกมีหลากหลาย เช่น การขาดแคลนทรัพยากรโลก สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม มลพิษทางอากาศเพิ่มขึ้น คุณภาพน้ำแย่ลง สภาพภูมิอากาศแปรปรวน การเปลี่ยนแปลงของเจเนอเรชั่นและสังคม รวมไปถึงความสุขจากภายในก็เป็นส่วนหนึ่งของการมีชีวิตที่ดีเช่นกัน

RISC by MQDC จึงมีการทำงานวิจัยลงลึกเป็น 5 ด้าน (RISC’s 5 Hubs Research) ซึ่งครอบคลุมทุกแกนของความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อทุกชีวิต และเป็นการบูรณาการหลายศาสตร์เข้ามาสร้างองค์ความรู้เหล่านี้ โดยงานวิจัยเหล่านี้ได้นำไปประยุกต์ใช้จริงในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ตลอดกระบวนการ ทั้งในระดับอาคาร ระดับชุมชน และระดับเมือง นอกจากนั้นยังนำองค์ความรู้นี้ต่อยอด เพื่อประโยชน์ของสังคมในด้านต่างๆ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน โดย RISC’s 5 Hubs Research ที่จะช่วยให้เกิดความยั่งยืนต่อคุณภาพชีวิตของเรา ได้แก่

1.การสร้างสมดุล – เกื้อกูลหลายชีวิต (Plants & Biodiversity หรือ งานวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพ)

“ศึกษาการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ สัตว์ ต้นไม้ และสิ่งมีชีวิตต่างๆ ให้ส่งเสริม เกื้อกูลกัน หาวิธีส่งเสริมศักยภาพของพืชพันธุ์ในด้านต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย”

การศึกษาและวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม เพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองสร้างสมดุลระบบนิเวศ โดยหาแนวทางกระบวนการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ควบคู่กับการรักษาและเสริมสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ สามารถพัฒนาเมืองไปพร้อมกับการรักษาระบบนิเวศอย่างเข้าใจและถูกต้องตามวัฏจักรชีวิตของทุกสิ่งมีชีวิต ศึกษาการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ สัตว์ ต้นไม้ และสิ่งมีชีวิตต่างๆ ให้ส่งเสริม เกื้อกูลกัน หาวิธีส่งเสริมศักยภาพของพืชพันธุ์ในด้านต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย

2. เพิ่มคุณภาพอากาศ (Air Qualityหรือ งานวิจัยด้านคุณภาพอากาศ)

“ศึกษาและพัฒนานวัตกรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพอากาศที่ดีทั้งภายในและภายนอกอาคาร เพื่อผู้อยู่อาศัยในอาคารโดยตรงและส่งเสริมคุณภาพอากาศที่ดียิ่งขึ้น”

เริ่มจากกระบวนการก่อสร้างที่ช่วยควบคุมคุณภาพอากาศ และกระบวนการออกแบบให้มีการระบายอากาศที่ดี การเลือกวัสดุที่ปลอดสารพิษ ระบบเครื่องกลที่ช่วยควบคุมคุณภาพอากาศภายในอาคาร และจากสภาพอากาศปัจจุบันที่เปลี่ยนไป ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ ที่เพิ่มปริมาณขึ้นทุกปี ส่งผลต่อสุขภาพ ภาวะเศรษฐกิจ สังคมในด้านต่างๆ จึงต้องหาวิธีช่วยลดปัญหาทางด้านอากาศทั้งภายในและภายนอกอาคาร โดยใช้นวัตกรรมมาแก้ไขปัญหาและส่งเสริมคุณภาพอากาศให้ดีขึ้น

3. สร้างความสุขให้เราทุกคน (Happiness Science หรือ งานวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์แห่งความสุข)

“ศึกษาการสร้างความสุขให้กับมนุษย์ ผ่านการศึกษาพฤติกรรมและจิตวิทยา และวิจัยประสาทการรับรู้ของมนุษย์ ผ่านสัญญาณสมองและเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างความรู้สึกที่ดีและความสุขได้” 

ศึกษาพฤติกรรมและจิตวิทยาของคนทุกช่วงวัย ด้วยการทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ตลอดช่วงชีวิต ตั้งแต่ผลกระทบของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ การเติบโตและพัฒนาการของเด็ก ความเครียดและความกังวลของวัยผู้ใหญ่ ความเสื่อมถอยด้านต่างๆ ของผู้สูงอายุ เพื่อหาปัจจัยที่เสริมสร้างความสุขในแต่ละช่วงวัย  นำความรู้มาประยุกต์การออกแบบให้สอดคล้องและเอื้อต่อการใช้ชีวิต ส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน

รวมทั้งศึกษาด้านระบบประสาทการรับรู้ของมนุษย์ ผ่านการวิจัยจากสัญญานสมองด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เข้าใจการรับรู้สิ่งเร้าต่างๆ เพื่อคัดแต่สภาพแวดล้อมที่สร้างการรับรู้เชิงบวก (Positive Perception) และหาแนวทางในการลดความเสี่ยงการเกิดภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล สมองเสื่อมและอัลไซเมอร์

4. ใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าและยั่งยืน (Materials & Resources หรือ งานวิจัยด้านวัสดุและการใช้ทรัพยากร)

“ศึกษาวิจัยวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยต่อผู้ใช้งานอาคาร การใช้วัสดุทดแทนเพื่อลดการใช้ทรัพยากรโลกในรูปแบบต่างๆ รวมถึงมุ่งมั่นหาแนวทางการลดคาร์บอนของโลกด้วยเทคโนโลยีอนาคต”

พัฒนาวัสดุใหม่ (Innovation materials) เพื่อสร้างคุณสมบัติพิเศษที่ช่วยสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี (Well-being materials) ทั้งการเพิ่มความคงทนของวัสดุ วัสดุที่ช่วยลดแนวโน้มอุบัติเหตุ เพิ่มความปลอดภัย วัสดุปลอดสารพิษลดแนวโน้มความเจ็บป่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดี  วัตถุดิบที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม รวมถึงปรับกระบวนการก่อสร้างลดการเหลือเศษวัสดุ และพัฒนาวัสดุก่อสร้างจากขยะพลาสติก เพื่อใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ตลอดจนการเลือกใช้วัสดุที่คาร์บอนต่ำ หรือการพัฒนานวัตกรรมที่ช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยเทคโนโลยีใหม่ เพื่อช่วยลดภาวะโลกรวน

5. พร้อมรับมือโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง (Resilience หรือ งานวิจัยศาสตร์ความพร้อมรับมือ)

 “ศึกษาแนวทางการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงโลก ตลอดจนคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้น จนนำไปสู่แนวทางการพัฒนาเมืองที่ตอบโจทย์ในอนาคต ตั้งรับและลดผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น”

โลกเปลี่ยนแปลงหลายด้าน ทั้งปัญหามลภาวะทางอากาศ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ โรคระบาด การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมคน สังคม ตลอดจนภัยพิบัติต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกรวน (Climate change) ศึกษาและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของโลกทั้งปัจจุบันและอนาคต ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytic) และวางแผนการสร้างอาคารและเมือง เพื่อสามารถตั้งรับได้ในทุกสถานการณ์ ทั้งการเตรียมตัวก่อนเกิดเหตุการณ์ การจัดการขณะเกิดเหตุ และการฟื้นฟูภายหลัง  เพื่อสร้างการ “อยู่รอด (Survive) ปรับตัว (Adapt) และเติบโต (Grow)”

ในอนาคต RISC by MQDC  มีแผนขยายขอบเขตงานวิจัยให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น และยังสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals) มากถึง 13 เป้าหมาย จากทั้งหมด 17 เป้าหมาย ในการร่วมเป็นพลเมืองโลกที่ร่วมเปลี่ยนโลกไปด้วยกัน ด้วยการนำงานวิจัยสร้างประโยชน์ ต่อยอดสู่ชุมชน สังคม และเมือง เกิดความร่วมมือกันในทุกภาคส่วน สร้างประโยชน์ทั้งระดับประเทศและนานาชาติ เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีต่อทุกชีวิตอย่างยั่งยืน

ผู้ที่สนใจองค์ความรู้งานวิจัย 5 ด้าน สามารถดูย้อนหลังได้จาก RISC Talk 2022 ทั้ง RISC 5

Research Hubs ได้ที่ https://bit.ly/3SSXbjo