มองเส้นทางแคมเปญ “มีความรู้ก็อยู่รอด” จาก “AIS อุ่นใจ CYBER” ที่สะท้อนว่า “ไม่ใช่แค่วิธีการ แต่เนื้อหา และเป้าหมายการทำงานก็สำคัญ”


การใช้ชีวิตประจำวันของเราในทุกวันนี้ ล้วนแล้วแต่มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องจนแทบจะแยกกันไม่ออก และแน่นอนว่านอกจากประโยชน์ก็ต้องมีโทษที่เป็นเหมือนเงาตามตัวของเทคโนโลยี ไม่ว่าจะจากมิจฉาชีพ ปัญหาไซเบอร์บูลลี่ และเฟคนิวส์ต่าง ๆ โดย เอไอเอส (AIS) ก็เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่พยายามสร้าง ภูมิคุ้มกันไซเบอร์ ให้คนไทยมาตลอด ผ่านโครงการ AIS อุ่นใจ CYBER

เป้าหมายที่ไม่ใช่แค่ให้กระทรวงศึกษารับรองหลักสูตรแล้วจบไป

แต่ที่ผ่านมา เราเห็นกลยุทธ์การสื่อสาร และการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ที่น่าสนใจอย่างมากของเอไอเอส เพื่อที่จะเข้าหาคนไทยให้ได้มากที่สุด


คอลแลปฯ ‘จอยลดา’ สร้างนิยายแชทเข้าถึง Gen Z

จอยลดา (joylada) แพลตฟอร์มนิยายแชทที่มีผู้ใช้บนแพลตฟอร์มกว่า 10 ล้านคน และกว่าครึ่งเป็นกลุ่ม Gen Z ดังนั้น หากต้องการจะเข้าหาวัยรุ่น ทำไมจะไม่จอยกับจอยลดา จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกที่ เอไอเอส จะมองเห็นโอกาสในการเผยแพร่หลักสูตร อุ่นใจ CYBER โดยร่วมกับจอยลดา

เพราะต้องยอมรับก่อนว่าถ้าแค่นำเสนอเนื้อหาแบบดั้งเดิมแบบวิชาการ คงไม่มีใครอยากจะเปิดอ่าน แต่ถ้าเป็นในรูปแบบของ Edutainment คือต้อง บันเทิง ไปพร้อม ๆ กับได้ความรู้ หลักสูตรอุ่นใจ CYBER เลยถูกย่อยออกมาเป็น นิยายแชท 7 เรื่อง ที่สะท้อนปัญหา 7 ด้านและ 7 ทักษะที่ควรรู้เท่าทันภัยไซเบอร์ ไม่ว่าจะเป็นการบูลลี่ การวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสถานการณ์ที่วัยรุ่นต้องเผชิญในชีวิตจริง ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องยากที่วันรุ่นจะอินไปกับนิยาย

หลังจากที่ปล่อยแคมเปญไปเมื่อช่วงเดือนกรกฎาคม นิยายแชททั้ง 7 เรื่องก็มียอดวิวสูงถึง 2.8 ล้านครั้ง จนถึงปัจจุบัน ซึ่งหนึ่งในสิ่งที่สะท้อนให้เห็นก็คือ การเข้าใจถึง Insight กลุ่มเป้าหมายของเอไอเอส ที่คิดแล้วว่าจะนำเสนอแค่หลักสูตรแล้วคาดให้วัยรุ่นมาศึกษามันไม่ได้ แต่ต้องปรับตัวให้เข้ากับไลฟ์สไตล์และความสนใจของกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการสื่อสาร นอกจากนี้ ยังแสดงถึงความมุ่งมั่นของเอไอเอสไม่ใช่แค่สร้างหลักสูตรแล้วจบไป แต่ต้องการให้เข้าถึงจริง ๆ


#มีความรู้ก็อยู่รอด หนังโฆษณาย่อยง่าย ไม่ต้องตีความ ไม่ทำร้ายใคร

หลังจากที่เคยใช้ออกโฆษณา เพราะเราทุกคนคือเครือข่าย ที่นำเสนอในแบบดราม่าจริงจัง พร้อมสะท้อนถึงปัญหาที่เยาวชนต้องเผชิญจากการมาของอินเตอร์เน็ตจากปัญหาการบูลลี่ การติดเกม จนมาสู่แคมเปญโฆษณาชุดใหม่ มีความรู้ก็อยู่รอด ที่สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาในบริบทปัจจุบันที่มีเรื่องของมิจฉาชีพ ปัญหาเฟคนิวส์ และทุกปัญหาอาจนำไปสู่การสูญเสีย

หากแคมเปญที่ร่วมกับจอยลดาเน้นการเข้าถึงกลุ่มวัยรุ่น แคมเปญโฆษณา มีความรู้ก็อยู่รอด ก็จะเป็นอะไรที่แมสมากกว่า ดังนั้น การทำการสื่อสารออกมาในรูปแบบ หนังโฆษณา จึงเป็นช่องทางที่น่าจะเข้าถึงผู้บริโภคในวงกว้างได้มากที่สุด แต่สิ่งสำคัญและความท้าทายของเอไอเอส คือ คอนเทนต์ที่ต้องโดนใจ เพราะถ้าเป็นเรื่องสาระ ความรู้ หลายคนอาจมองเป็นเรื่องน่าเบื่อ ไม่น่าสนใจ โฆษณาก็ไม่ประสบความสำเร็จ


ดังนั้น ในหนังโฆษณาจึงออกแบบมาให้ ย่อยง่าย ไม่ต้องตีความ และไม่ทำร้ายใคร ซึ่งจะเห็นว่าโฆษณาออกมาในแนวคอมมาดี้เพื่อให้เข้าถึงได้ง่าย มีการเล่าเรื่องผ่าน ผี ที่เป็นเรื่องความเชื่อที่อยู่คู่คนไทย แถมแสดงให้เห็นถือความร้ายแรงของปัญหาที่ส่งผลกระทบถึงชีวิตจริง ๆ และตัวละครมนุษย์หนึ่งเดียวที่ถูกบูลลี่เรื่อง เขี้ยวยักษ์ ก็เป็นลักษณะที่ ไม่มีจริง ดังนั้น การบูลลี่รูปร่างหน้าตาในโฆษณาจะไม่ทำร้ายหรือบูลลี่ใครในทางอ้อม

หลังจากปล่อยแคมเปญไปช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน โฆษณามีความรู้ก็อยู่รอดสามารถเข้าถึงคนไทยกว่า 30 ล้านคน ทั่วประเทศผ่านสื่อ สื่อโฆษณาทีวี, ป้ายโฆษณา และสื่อออนไลน์ยอดนิยมต่าง ๆ ช่วยสร้างกระแสตื่นตัวในโลกออนไลน์ โดยเฉพาะในกลุ่ม KOLs ที่ออกมาโพสต์เล่าผ่านประสบการณ์ส่วนตัวผ่านช่องทางอย่าง TikTok แสดงให้เห็นว่าโฆษณาดังกล่าวถูกสร้างจาก Insight จริง สามารถทำให้ทุกคนฉุกคิดถึงปัญหา และสามารถย่อยง่ายจนทำให้เข้าถึงคนในวงกว้าง





AIS อุ่นใจ CYBER X Capital

มาในปี 2023 เอไอเอสยังคงหา วิธีการสื่อสารใหม่ ๆ และในครั้งนี้ก็มาในรูปแบบการทำ Quiz เพื่อหา ตัวตนบนโลกออนไลน์ โดยเป็นการร่วมกับ Capital สื่อออนไลน์ชื่อดังภายใต้โปรเจกต์ Cyber Survivor ซึ่งใน Quiz ก็เหมือนเป็นการ สอนให้รู้เท่าทันไซเบอร์ แบบเนียน ๆ รวมถึงยังเป็นเหมือนการ เตือนสติ ผ่าน 5 คาแรกเตอร์

เพราะระหว่างการทำ Quiz เพื่อหาตัวตน เชื่อว่าต้องมีฉุกคิดบ้างแหละว่าตัวเองมีพฤติกรรมอย่างไรบนโลกออนไลน์ ซึ่งตรงนี้ก็อาจช่วยให้ผู้ทำ Quiz ได้สำรวจตัวเองจนนำไปสู่การปรับปรุงพฤติกรรมการอยู่ในโลกออนไลน์ของตัวเองในอนาคต


เล่าเรื่องผ่านการ์ตูน สร้างวิธีการใหม่ ๆ ให้เข้าถึงผู้คน

นอกจากนี้ เอไอเอสยังร่วมกับค่ายการ์ตูนไทยระดับตำนาน ขายหัวเราะ สตูดิโอ ส่งการ์ตูนชุด เมื่อผมตกหลุมรักขึ้นไม่ไหว รับวัน Safer Internet Day ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการสานต่อกลยุทธ์ Edutainment เหมือนกับที่เคยทำกับจอยลดา แต่เปลี่ยนจากย่อยเนื้อหานิยายแชทมาอยู่ในรูปแบบของ การ์ตูน ซึ่งทำให้เข้าถึงได้ง่ายและหลากหลาย ตั้งแต่เด็ก วัยรุ่น ไปจนถึงประชาชนทั่วไป ซึ่งต้องยอมรับว่าขายหัวเราะ ครีเอเตอร์ด้านการเล่าเรื่องผ่านการ์ตูนที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนาน

ทุกวันนี้ภัยไซเบอร์มาในหลายรูปแบบ มิจฉาชีพยังคงสรรหาสารพัดรูปแบบการหลอกลวง ทำให้ตัวเลขของผู้เสียหาย ทำให้เราเห็นถึงการทำงานของเอไอเอสที่ไม่หยุดที่จะตั้งคำถามเพื่อหาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ ในการที่จะทำให้ลูกค้ามีทักษะดิจิทัล เข้าใจ รู้เท่าทัน ภัยไซเบอร์

ถึงวันนี้หลักสูตรอุ่นใจ CYBER ได้ถูกนำไปขยายผลผ่าน สพฐ. แล้วกว่า 29,000 โรงเรียนทั่วประเทศ ในขณะเดียวกันเราจะเห็นถึงเส้นทางการพาหลักสูตรดังกล่าวไปให้มากกว่าแค่ในห้องเรียน ด้วยเป้าหมายที่อยากให้คนไทยเข้าใจเรื่องดังกล่าวให้มากที่สุด ผ่านแคมเปญที่มีการคิดวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายมาเป็นอย่างดี และหาวิธีสื่อสารที่ตรงกลุ่มที่สุด ที่สำคัญเอไอเอสเลือกจะร่วมกับพาร์ทเนอร์ที่เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการทำงานในปัจจุบันเราสามารถร่วมกับผู้เชี่ยวชาญได้ ไม่จำเป็นต้องทำเองทุกอย่าง