เป็นรถฝาแฝดผูกติดกันมานานหลายปี จนวันหนึ่งก็ต้องแยกทางกันเดิน ทำตลาดกันคนละแบบ
อีซูซุ D-max เลือกเปิดตัวรถรุ่นใหม่ในวันที่ 30 กันยายน พร้อมกันทั่วโลก ตามคอนเซ็ปต์ของดีแมคซ์ และรถรุ่นใหม่นี้ใช้สโลแกนว่า D-Max รุ่นใหม่หมด
จนมีคนตั้งคำถามว่า รถรุ่นใหม่หมด!! แล้วอีซูซุจะเหลือรถอะไรให้ขาย
อีซูซุขนผู้บริหาร คนออกแบบจากบริษัทแม่ที่ญี่ปุ่นมาร่วมงาน พร้อมกับเชิญตัวแทนจำหน่าย คู่ค้า มาร่วมงานอย่างเนื่องแน่น ชาเลนเจอร์ 2 อิมแพค เมืองทองธานี
ยิ่งใหญ่อลังการตามแบบอีซูซุ
ดี-แมคซ์รุ่นใหม่ใช้เครื่องบิน รถไฟควมเร็วสูง มาเป็นตัวเปรียบเทียบ แทนความเร็ว ทันสมัย และความสะดวก สบาย เป็นภาพลักษณ์ของรถในเมืองอย่างชัดเจน ภาพของความเป็นรถบรรทุกไม่ได้ถูกนำเสนอ
จุดขายเดิมน้ำมัน 1 ถังไปได้ทั่วประเทศ หรือประหยัดสร้างรายได้ ก็ไม่ได้ถูกกล่าวถึงเช่นกัน
อีซูซุคงต้องการเปิดตัวรุ่นใหม่มให้ดูทันสมัย จากนั้นค่อยทำเรื่องประหยัดน้ำมัน กับเรื่องบรรทุกตามมา
ส่วนเชฟโรเลต โคโลราโด เลือกเปิดตัวหลังอีซูซุ และใช้ศูนย์ประชุมไบเทค บางนา เป็นที่จัดงาน โดยใช้พื้นที่ฮอลล์ใหญ่ของไบเทค 1 หลังใหญ่ๆ ทำเป็นทุ่งข้าวโพดกลางหุบเขา เชฟโรเลตมาแนวย้อนกลับไปทำตลดรถกระบะในยุคเริ่มต้น คือเน้นไปที่ตลาดบรรทุก
แนวคิดของเชฟโรเลต โคโลราโด คือ กระบะที่ดีที่สุด จากประสบการณ์ 100 ปี
เช่นกันมีคนตั้งคำถามอีกแล้วว่า ความหมายคือ ทำงานมา 100 ปี สามารถทำรถดีที่สุดได้คันเดียวหรือ??
ส่วนอีกความหมายหนึ่งก็คือ ต้องมีรถกระบะที่ดีที่สุดอีก 99 คัน เพราะแต่ละปีก็ต้องมีกระบะที่ดีที่สุดของปีนั้นด้วย
เชฟโรเลตทำให้โคโลราโดชัดเจนในเรื่องของกลุ่มลูกค้า ที่มุ่งไปในเรื่องของการบรรทุก ใช้งานหนัก และมีปอ ทฤษฎี พระเอกจากช่อง 3 เป็นพรีเซ็นเตอร์
โคโลราโด กำลังวางกำลังบุกตลาดต่างจังหวัด แล้วค่อยๆ รุกเข้ามาในเมือง ตามแนวทางป่าล้อมเมืองที่ช่วงหลังถูกนำมาใช้บ่อยครั้ง
มาร์ติน แอฟเฟล ประธานกรรมการ บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศในงานชัดเจนว่า รถรุ่นใหม่เปิดขายในวันที่ 17 ตุลาคม ซื้อแล้วได้รถทันที เพราะมีรถรอส่งมอบอยู่แล้ว
เขาตั้งความหวังด้วยว่าจะมีส่วนแบ่งตลาดรถกระบะเพิ่มขึ้นเป็น 10% ภายใน 3 ปีหลังจากปิดตัวโคโลราโดรุ่นใหม่
สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงความเอาจริงใส่ตลาดรถกระบะ และใช้จุดอ่อนของคู่แข่งในเรื่องของการรอรถส่งมอบที่ใช้เวลาเป็นเดือน ซึ่งกลายเป็นปัญหาที่ผู้ซื้อไม่ชอบ เชฟโรเลตนำมาปรับเปลี่ยนเป็นจุดขายของตัวเองทันที
การแยกจากกันของอีซูซุและเชฟโรเลต ชัดเจนทั้งในเรื่องตัวสินค้า กลยุทธ์การตลาด
ความน่าสนใจอยู่ที่การตีโจทย์ความต้องการของผู้ซื้อ อีซูซุก้าวข้ามความเป็นรถกระบะมาเป็นรถของคนเมืองมากขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นการพัฒนาของตัวสินค้า และความนิยมของผู้บริโภค
ส่วนเชฟโรเลต กำลังเริ่มต้นเดินตามเส้นทางของรถกระบะเมื่อหลายสิบปีก่อน ด้วยการมุ่งไปที่ตลาดต่างจังหวัดที่ต้องการรถกระบะไว้ใช้งานบรรทุก ทำกิจกรรม ประกอบอาชีพ
เชฟโรเลตมองตลาดที่รายใหญ่มองข้าม หรือไม่โฟกัสในช่วงนี้ เพื่อสร้าง Brand ของตัวเองขึ้นมาใหม่ ไม่ใช่รถคู่แฝดเหมือนที่ผ่านมา
cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>ประเภท
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>อีซูซุ
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>เชฟโรเลต
style=”vertical-align: top; font-weight: bold;”>
รถ
style=”vertical-align: top; font-weight: bold;”>
เครื่องยนต์
ซีซี
ซีซี
3000 ซีซี
2800 ซีซี
style=”vertical-align: top; font-weight: bold;”>
ระบบขับเคลื่อน
ล้อ
ล้อ
4 ล้อ
4 ล้อ
style=”vertical-align: top; font-weight: bold;”>
ระบบเกียร์
เครื่องยนต์
2800 ซีซี
994,000
808,000
ยังไม่ประกาศราคารุ่น 2800 ซีซี
คัน
เน้นความแรง ทันสมัย
ทนทาน