การทุบทำลายรถยนต์ฮอนด้าในปี 2554 มีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับเหตุการณ์ทุบรถยนต์ฮอนด้าCR-V รุ่น 2 ที่เจ้าของรถใช้ค้อนกระหน่ำไปที่กระโปรงหน้ารถจนยับเยิน ด้วยอาการโกรธและผิดหวังที่ฮอนด้าไม่รับผิดชอบปัญหาของรถที่เกิดขึ้น
แต่การทุบรถฮอนด้าครั้งนี้ เป็นการทุบทำลายโดยบริษัทฮอนด้าเอง เป็นการทุบเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในแบรนด์ฮอนด้า พร้อมกับสร้างความภักดีในแบรนด์ฮอนด้าให้เพิ่มมากขึ้น และเป็นการทุบทำลายรถที่มีประจักษ์พยานจากจากหน่วยงานรัฐตั้งแต่กระทรวงอุตสาหกรรม สถาบันยานยนต์ กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และสื่อมวลชนทั้งไทยและต่างประเทศ ที่มากันมากที่สุดครั้งหนึ่งในวงการรถยนต์บ้านเรา
ในจดหมายเชิญสื่อมวลชน ฮอนด้าระบุว่าสถานที่แถลงข่าวมีจำกัด ต้องแจ้งชื่อล่วงหน้า แต่เมื่อถึงเวลาจำนวนสื่อมวลชนที่เดินทางไปร่วมงานครั้งนี้ทะลุหลัก 200 คน เป็นทั้งสื่อในประเทศ ที่รวมทุกสื่อตั้งแต่เว็บไซต์ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ และสำนักข่าวต่างประเทศชั้นนำไม่น้อยกว่า 5 สำนักข่าว
ว่ากันว่าข่าวการทุบทำลายรถครั้งใหญ่ของฮอนด้า หากนับมูลค่าสื่อในการเผยแพร่ถือว่าคุ้มเกินคุ้ม เพราะข่าวชิ้นนี้ออกไปทั่วโลก แบรนด์ฮอนด้าได้รับการพูดถึง และสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นในใจผู้บริโภค
พิทักษ์ พฤทธิสาริกร รองประธานอาวุโส บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ยังย้ำวัตถุประสงค์ที่ต้องทำลายรถยนต์ฮอนด้าที่ถูกน้ำท่วม ก็เพื่อตัดข้อกังวลใจของผู้บริโภคว่ารถยนต์ที่ถูกน้ำท่วมจะถูกนำมาแก้ไข ซ่อมแซม หรือมีชิ้นส่วนที่จมน้ำ ถูกนำกลับมาหมุนเวียนใช้ในตลาดรถ
ฮอนด้าวางมาตรการทำลายรถอย่างเข้มงวด โดยกำหนดไว้ 6 ขั้นตอน และมีการตรวจสอบการทำลายอย่างละเอียด แม้นอตสักตัวก็ยังหลุดออกไปได้ยาก
เมื่อสามารถสร้างความเชื่อมั่นในใจผู้บริโภคได้ระดับนี้แล้ว ฮอนด้าก็ยังสร้างแบรนด์ต่อเนื่อง โดยผ่านนโยบายของบริษัทที่พิทักษ์บอกอย่างหนักแน่นว่า ฮอนด้าไม่ย้ายฐานการผลิตไปอยู่ที่อื่น พร้อมกับบริจาคเงินอีก 100 ล้านบาท ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในช่วงที่ผ่านมาด้วย
ในส่วนการสร้างความเชื่อมั่นของพนักงาน ฮอนด้าออกแคมเปญฟื้นฟูโรงงาน โดยใช้คำในภาษาญี่ปุ่นซึ่งอ่านออกเสียงเป็นภาษาอังกฤษว่า Gambaro คำนี้ถูกสกรีนลงบนแขนเสื้อยืดสีขาวของพนักงานฮอนด้าที่นิคมอุตสาหกรรมโรจนะใส่ ส่วนของผู้บริหารจะมีเสื้อกั๊กสีครีม พร้อมคำนี้อยู่บนเสื้อด้วย
เจ้าหน้าที่ของฮอนด้าอธิบายให้ฟังว่า คำนี้มีความหมายว่า “สู้” ในภาษาญี่ปุ่น โดยผู้ที่ส่งคำนี้มาให้คือพนักงานฮอนด้าที่ญี่ปุ่นที่เขียนลงบนป้ายผ้า และตะโกนคำนี้ออกมา บันทึกลงในคลิปวิดีโอ แล้วส่งมาให้พนักงานฮอนด้าในประเทศไทย สื่อถึงสัญลักษณ์ว่าให้สู้ต่อไป
cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>รุ่น
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>จำนวน
(คัน)
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>บริโอ้
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>แจ๊ซ
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>ซิตี้
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>ซีวิค
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>แอคคอร์ด
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>ซีอาร์-วี
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>ฟรีด
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>รวม
6 ขั้นตอนในการทำลายรถฮอนด้า
1.ถอดชิ้นส่วนด้านบนห้องเครื่อง
2.ถ่ายสารเหลว ถอดชิ้นส่วน ถอดเครื่องยนต์
3.ถอดชิ้นส่วนพลาสติกภายใน ถอนโช้คอัพ
4.แยกชิ้นส่วนเครื่องยนต์และเกียร์
5.ทำลายชิ้นส่วน และบีบอัดตัวถึง
6.จัดเก็บแยกประเภทเพื่อรีไซเคิล
กิจการการสร้างแบรนด์ต่อเนื่องของฮอนด้า
– ลดค่าอะไหล่ 30% สำหรับรถน้ำท่วมที่เข้าศูนย์บริการ
– จัดกิจกรรมลงพื้นที่ ช่วยตรวจสอบรถออนด้าที่ถูกน้ำท่วม
– บริการ Honda Help Line ให้ข้อมูลด้านเทคนิตดูแลรถทางโทรศัพท์