‘LEGO’ ล้มแผนผลิตตัวต่อจาก ‘พลาสติกรีไซเคิล’ หลังพบกระบวนการผลิตก่อให้เกิด ‘มลพิษ’ มากกว่าการผลิตแบบเดิม

ภาพจาก Shutterstock
หลังจาก เลโก้ (LEGO) ใช้เวลาหลายปีในการทดสอบผลิตตัวต่อจาก โพลีเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET) หรือ พลาสติกรีไซเคิล ล่าสุด บริษัทพบว่า กระบวนการดังกล่าวกลับก่อให้เกิดมลพิษมากกว่าการผลิตแบบดั้งเดิม

โดยปกติแล้ว เลโก้ ได้ผลิตชิ้นส่วนตัวต่อจาก อะคริโลไนไตรล์ บิวทาไดอีน สไตรีน (ABS) หรือที่เรียกว่าพลาสติกเอบีเอส ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ใช้ผลิตของเล่นส่วนใหญ่ของโลกนี่ แต่เพื่อจะลดการก่อให้เกิดลมพิษต่อโลก ทำให้เลโก้ได้ทดลองผลิตตัวต่อจาก โพลีเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET) หรือ พลาสติกรีไซเคิลจากขวดพลาสติก

อย่างไรก็ตาม จากการทดลองมาหลายปี เลโก้พบว่าการใช้พลาสติก PET นั้นก่อให้เกิดมลพิษมากกว่าการผลิตพลาสติก ABS เนื่องจากบริษัทต้องลงทุนในอุปกรณ์การผลิตใหม่ และขั้นตอนสุดท้ายเกี่ยวกับกระบวนการผลิตนำไปสู่การก่อมลพิษมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ทำให้บริษัทจึงได้ล้มเลิกแผนการใช้พลาสติก PET ในการผลิต แม้ว่าบริษัทจะตั้งเป้าว่าจะผลิตตัวต่อจากวัสดุที่ยั่งยืนภายในปี 2575

“เราได้ตัดสินใจที่จะไม่ดำเนินการผลิตอิฐจาก PET รีไซเคิลหลังจากการทดสอบมานานกว่า 3 ปี เนื่องจากเราพบว่าวัสดุดังกล่าวไม่ได้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน”

นอกจากนี้ การทดสอบยังพบว่าพลาสติกรีไซเคิล ไม่ทนทานและปลอดภัยเท่ากับพลาสติก ABS อีกทั้งพลาสติก PET ยังทำให้ตัวต่อหลุดออกจากกันง่ายเกินไป อย่างไรก็ตาม บริษัทจะไม่ลดความพยายามในการผลิตตัวต่อที่ปราศจากการใช้ น้ำมัน และยังคงมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ในการผลิตตัวต่อเลโก้จากวัสดุที่ยั่งยืนภายในปี 2575

ทั้งนี้ PET รีไซเคิลเป็นเพียงหนึ่งใน หลายร้อยวัสดุ ที่บริษัทได้ทดสอบว่าสามารถ ทดแทน ABS ได้ เช่น อี-เมทานอล ที่ผลิตจากคาร์บอนไดออกไซด์และไฮโดรเจน แล้วทำการแยกโมเลกุลของน้ำออกด้วยพลังงานหมุนเวียน โดยบริษัทได้ใช้งบประมาณกว่า 1,200 ล้านบาท เพื่อหาวัสดุทดแทน โดยบริษัทตั้งเป้าที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนลง 37% ภายในปี 2575

Source