‘ทอสเท็ม’ (TOSTEM) แบรนด์ประตูหน้าต่างระดับโลกสัญชาติญี่ปุ่นภายใต้เครือ ‘ลิกซิล’ (LIXIL) แบรนด์ชั้นนำด้านผลิตภัณฑ์อาคาร สินค้าและบริการในที่อยู่อาศัย เนื่องในวาระครบ 100 ปี ทอสเท็ม ก็ได้ฉายภาพแผนการบุกตลาดเอเชียโดยใช้ ‘ไทย’ เป็นฐาน พร้อมกับการผลักดันนวัตกรรมวัสดุที่เป็นมิตรกับแวดล้อม
รู้จักทอสเท็ม
‘ลิกซิล’ ถือเป็นผู้นำระดับโลกในอุตสาหกรรมอาคารและที่อยู่อาศัย โดยให้บริการในกว่า 150 ประเทศทั่วโลก มีพนักงานกว่า 70,000 คน และมีโรงงาน 80 แห่ง โดยลิกซิลจะมี 2 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่
1. LIXIL Water Technology ผลิตสินค้าภายในห้องน้ำ ภายใต้หลากหลายแบรนด์ อาทิ American Standard, Grohe, INAX
- LIXIL Housing Technology ผลิตสินค้าสำหรับบ้าน อาทิ ประตู หน้าต่าง ภายใต้แบรนด์ ‘ทอสเท็ม’ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในธุรกิจหลักของลิกซิล ที่สร้างสัดส่วนรายได้ในแต่ละปีถึงราว 40% หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 600,000 ล้านเยน (หรือกว่า 145,800 ล้านบาท) โดยการผลิตในปัจจุบันกว่า 37% มาจากกลุ่มสินค้าประตูหน้าต่างสำหรับที่อยู่อาศัย
ขับเคลื่อนนวัตกรรมใส่ใจสิ่งแวดล้อม
ในปีนี้ ทอสเท็มมีอายุ 100 ปีเต็ม นายซาโตชิ โยชิดะ เจ้าหน้าที่บริหาร และรองประธานกรรมการบริหาร กลุ่มธุรกิจเฮาส์ซิ่ง เทคโนโลยี (LIXIL Housing Technology), บริษัท ลิกซิล คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้เปิดเผยถึงแผนในการขับเคลื่อนแบรนด์ภายใต้ 3 แกนหลัก ได้แก่
ขับเคลื่อนนวัตกรรมสู่ตลาดที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ด้วยทิศทางของลิกซิลที่มีวิสัยทัศน์ด้านสิ่งแวดล้อม โดยในปี 2050 มุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ (Net-Zero CO2 emission) และใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน ทอสเท็มจึงมุ่งเน้นนำเสนอนวัตกรรมใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง อาทิ อะลูมิเนียมรักษ์สิ่งแวดล้อม “PremiAL R70” ซึ่งผลิตจากอะลูมิเนียมรีไซเคิล 70% และกำลังเตรียมเปิดตัว “PremiAL R100” ผลิตจากอะลูมิเนียมรีไซเคิล 100% นอกจากนี้ ทางศูนย์นวัตกรรมทอสเท็ม ประเทศญี่ปุ่น กำลังพัฒนาวิธีการนำพลาสติกใช้แล้วมารีไซเคิลร่วมกับอะลูมิเนียม แล้วนำมาผลิตเป็นสินค้าใหม่ เพื่อหวังว่าจะช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ในอีกทาง
ดันไทยเป็นฐานการผลิตบุกตลาดเอเชีย
กลยุทธ์ต่อมาคือ ยึดไทยเป็นฐานวิจัยและผลิตหลักสำหรับบุกตลาดเอเชีย โดยในเอเชีย ลิกซิลมีโรงงานผลิตทั้งสิ้น 4 แห่ง และสำหรับประเทศไทย ลิกซิลได้เข้ามาก่อตั้งโรงงานในไทยตั้งแต่ปี 1988 โดยโรงงานของ TOSTEM มีเนื้อที่กว่า 400 ไร่ มีพนักงานกว่า 6,000 คน คอยหมุนเวียนกันทำงาน ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังได้จัดตั้งสำนักงานใหญ่ด้านการตลาดในเอเชีย และจัดตั้งศูนย์วิจัยและการพัฒนา ดังนั้น ไทยถือเป็นประเทศยุทธศาสตร์ที่สำคัญของบริษัทในการรุกตลาดเอเชีย ซึ่งปัจจุบัน บริษัทมีฐานลูกค้าหลักใน 6 ประเทศ
ทั้งนี้ ในแต่ละปี เครือลิกซิลทุ่มงบลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) กว่า 23,500 ล้านเยน หรือกว่า 5,700 ล้านบาท เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมล้ำสมัย เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้แก่คุณภาพสินค้า ผ่านกระบวนการอันเป็นเอกลักษณ์อย่างระบบการผลิตชิ้นงานแบบสำเร็จรูป (Pre-engineered system) และขยายพื้นที่การส่งมอบสู่ลูกค้าทั่วโลก
ขยายฐานกลุ่มลักชัวรี
กลยุทธ์สุดท้ายคือ ขยายตลาดลักชัวรี ที่ผ่านมา กลุ่มธุรกิจ LIXIL Housing Technology ได้มุ่งพัฒนาโซลูชั่นพิเศษ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการอันเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มลูกค้าระดับลักชัวรีอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2021 ได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ NODEA สินค้าดีไซน์คุณภาพสูง ที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากสถาปนิกและกลุ่มลูกค้าระดับลักซัวรี
“ทอสเท็ม ถือเป็นแบรนด์สำคัญของ LIXIL Housing Technology ที่ส่งมอบนวัตกรรมสู่ผู้บริโภคด้วยรากฐานแบบญี่ปุ่นผ่านประสบการณ์นับ 100 ปี เรามุ่งมั่นนำเสนอความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ก้าวผ่านทุกความท้าทาย จนสามารถบุกเบิกหลากหลายนวัตกรรมในฐานะรายแรกของอุตสาหกรรม เราจะใช้นวัตกรรมเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืน” นายซาโตชิ กล่าว
ยกย่องสถาปนิกด้วย TOSTEM Asia Design Award
เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี บริษัทได้จัดงาน TOSTEM Asia Design Award งานประกวดผลงานการออกแบบที่อยู่อาศัยขึ้นทั่วภูมิภาคเอเชีย ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดย นายอิจิโระ มุราโคชิ เจ้าหน้าที่บริหาร ภูมิภาคเอเชีย กลุ่มธุรกิจเฮาส์ซิ่ง เทคโนโลยี (LIXIL Housing Technology), บริษัท ลิกซิล คอร์ปอเรชั่น จำกัด อธิบายว่า งานดังกล่าวถูกจัดขึ้นเพื่อเป็นการ ยกย่องเหล่าสถาปนิก ที่มีส่วนสำคัญในการยกระดับความสะดวกสบายและคุณภาพการอยู่อาศัยผ่านการออกแบบอันมีนวัตกรรม
โดยภายในงาน TOSTEM Asia Design Award มีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมถึงกว่า 133 ผลงาน และได้รับการคัดเลือก 10 ผลงาน โดยมี 3 ผลงาน สถาปนิกชาวไทย ที่คว้ารางวัล TOSTEM Asia Design Award 2023 ได้แก่
• วัดคำประมง จากบริษัท M Space ออกแบบโดย นายภากร มหพันธ์ ที่ออกแบบเป็นอาคารพีระมิด 2 หลัง เป็นโรงพยาบาลแพทย์แผนไทย วัดคำประมง จ.สกลนคร ออกแบบให้กึ่งเปิดกึ่งปิด เน้นแสงธรรมชาติ อากาศถ่ายเท มีความเป็นส่วนตัวเพื่อบำบัดผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย โดยผลิตภัณฑ์ TOSTEM ที่นำมาใช้คือตัวสินค้า ATIS และ WE 70 ด้วยตัวผลิตภัณฑ์มีรูปแบบที่เรียบง่าย กรอบเฟรมบาง, มุ้งลวดเส้นเล็ก เหมาะกับงานไม้ได้ทัศนียภาพภายนอกเต็มเฟรม ไม่ขัดกับผิวไม้เก่าป้องกัน อากาศ, เสียง, น้ำ ได้ดี ระบายอากาศ, ความชื้น จากภายในทั้งในหน้าร้อนและหน้าฝนได้สะดวก
- Baansuan Tha Phra จากบริษัท Thai Absolute Inspector ออกแบบโดย นายคุณเอก ตัณฑเกษม ที่ออกแบบบ้านพักตากอากาศคำนึงถึงสภาพแวดล้อม โดยการจัดวางอาคารให้เหมาะสมกับสภาพที่ตั้งและสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นในประเทศไทย เน้นความโปร่งสบาย โดยใช้การยื่นชายคาที่ยาวเพื่อลดความร้อนและแสงแดด มีพื้นที่ชานระเบียงสำหรับพักผ่อน และเน้นให้มีช่องเปิดที่กว้างเพื่อการระบายอากาศ โดยผลิตภัณฑ์ ประตู-หน้าต่าง TOSTEM ที่ใช้ประกอบด้วย GRANTS / WE PLUS / P7 / GIESTA / Folding door ซึ่งตัวผลิตภัณฑ์ช่วยผลักดัน บุคลิกภาพของฟังก์ชันต่าง ๆ ของอาคารหลังนี้ได้อย่างลงตัว
- Yellow House จากบริษัท Joys Architects ออกแบบโดย นายสืบสาย จิตตเกษม, นายประเสริฐ อนันทยานนท์ และ ดร.ณัฏฐ์ ละเอียดอ่อน โดยออกแบบโดยคำนึงถึงการผสมผสานกับธรรมชาติและความเป็นส่วนตัวของผู้อยู่อาศัย มี Courtyard ที่เชื่อมสภาพแวดล้อมภายนอกเข้ากับภายในได้อย่างลงตัว Courtyard เหล่านี้ยังช่วยให้ลมไหลเวียนได้ดี รับแสงธรรมชาติ และมอบทิวทัศน์อันน่าหลงใหล พร้อมกับการเลือกใช้วัสดุเน้นใช้ว้สดุที่สามารถใช้ได้ทั้งภายในและภายนอกบ้านเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องระหว่างตัวฟังก์ชั่นบ้านกับคอร์ททั้ง 4 ซึ่งวัสดุเป็นส่วนสำคัญในการสร้างบรรยากาศในงานสถาปัตยกรรม และยังสามารถสร้างความเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ต่าง ๆ ได้ด้วย โดยผลิตภัณฑ์ TOSTEM ที่นำมาใช้คือหน้าต่างรุ่น ATIS เพราะตอบโจทย์เรื่องเฟรมที่บาง ทำให้บ้านกับคอร์ทดูเป็นพื้นที่เดียวกัน
สร้างประสบการณ์ร่วมสู่การตัดสินใจซื้อ
นอกจากจะจัดงานเพื่อยกย่องสถาปนิกแล้ว อีกจุดประสงค์ของงาน TOSTEM Asia Design Award คือเพื่อ สร้างประสบการณ์ร่วม และ ให้ผู้บริโภคได้สัมผัสกับสินค้าจริง โดย นายอิจิโระ ย้ำว่า “การสร้างประสบการณ์ร่วมกับลูกค้า ถือเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความพึงพอใจและนำไปสู่การตัดสินใจซื้อสินค้า” และงาน TOSTEM Asia Design Award เป็นการตอกย้ำว่า ทอสเท็มที่ให้ความสำคัญกับเรื่องคุณภาพ เทคโนโลยีขั้นสูง และหลักการออกแบบของญี่ปุ่น