“แอพพลิเคชั่น” กลายเป็นจุดขายใหม่ ที่ค่ายมือถือทั้งทรู เอไอเอส ดีแทค กำลังทุ่มแข่งกันบอกลูกค้า เพราะความจริงวันนี้คือแม้จะมีบทบาทหลักเป็นผู้ให้บริการเชื่อมสัญญาณให้ลูกค้า และไม่ได้หวังรายได้จากแอพฯ แต่ถ้ายังไม่ลงทุน ไม่พูด วันนี้อาจยังไม่เสียหาย แต่อีกไม่นาน…ไม่แน่
พฤติกรรมของผู้บริโภคปัจจุบันเมื่อคิดเลือกใช้บริการโทรศัพท์มือถือ โดยเฉพาะดาต้า หรือเชื่อมต่อเครือข่ายสื่อสารข้อมูลผ่านมือถือจากผู้ให้บริการ นอกจากคำถามว่า มีสัญญาณ 3G เร็ว ครอบคลุมหรือเปล่า ราคาแพ็กเกจเป็นอย่างไรแล้ว คำถามที่ตามมาติดๆ ในปัจจุบันคือ “แล้วมีแอพฯ อะไรบ้าง” กลายเป็นจุดกระตุ้นให้ค่ายมือถือโดยเฉพาะ 2 เบอร์ใหญ่ในตลาดอย่างเอไอเอส และดีแทค ต้องขยับพูดเรื่องแอพฯ ด้วย หลังจากปล่อยให้ทรูมูฟคุยกับลูกค้าเรื่องแอพฯมาแล้วกว่า 3 ปี
ทรูฯ : แอพฯ คือจุดต่าง
ในเดือนมกราคม 2009 ทรูมูฟในเครือบริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เริ่มขายไอโฟนเป็นครั้งแรกในไทย พร้อมกับการเปิดตัวแอพฯ 12 ตัว ที่พัฒนาโดยนักพัฒนาในกลุ่มทรูฯ เอง
หลังจากนั้นไม่นานทรูฯได้ตั้งหน่วยงานที่ชื่อว่า “ทรู แอพ เซ็นเตอร์” (True App Center) จากจุดเริ่มต้น 3 คน ปัจจุบันมีพนักงานรวมกว่า 200 คน และทีมงานภายนอกบริษัทอีกบางส่วน เพื่อ พัฒนาแอพฯ สำหรับทุกแพล็ตฟอร์ม ทั้งไอโอเอส ไอโฟน ไอแพด แอนดรอยด์ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และกำลังให้ความสำคัญกับวินโดวส์โฟนมากขึ้น ส่วนแพลตฟอร์มแบล็คเบอร์รี่ กำลังพิจารณาว่าตลาดยังมีความต้องการมากน้อยเพียงใด
การทุ่มลงทุนทั้งหมดนี้ “พิชิต ธันโยดม” หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านสารสนเทศ คอนเวอร์เจนซ์ กลุ่มทรูฯ บอกว่าเป็นไปตามวิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่เตรียมแผนการลงทุนทั้งเครือข่าย เพื่อให้อุปกรณ์สื่อสารใช้ได้เต็มที่ตอบโจทย์ใลฟ์สไตล์ของลูกค้า
นอกหนือจากนี้คือจุดที่ทำให้ทรูมูฟ แตกต่างจากเอไอเอส และดีแทค ตอบคำถามว่าทำไมลูกค้าต้องซื้อไอโฟนจากทรูมูฟ
ปัจจุบัน ทรู แอพ เซ็นเตอร์ มีแอพฯให้ดาวน์โหลดมากกว่า 200 แอพฯ แอพฯที่ได้รับความนิยม คือกลุ่มบันเทิง เกม ถ่ายรูป อำนวยความสะดวก
ยุทธศาสตร์การสร้างความต่างของทรูฯ โดยใช้แอพฯ เป็นเครื่องมือนั้น “พิชิต” บอกว่านอกเหนือจากการนำคอนเทนต์ในเครือที่มีอยู่อย่างรายการเคเบิลทีวีของทรูวิชั่นส์มาทำเป็นแอพฯให้ลูกค้าดาวน์โหลดหรืออย่างก่อนหน้านี้ที่เพิ่งเปิดตัว อย่างแอพฯ TV Anywhere หากเป็นเมื่อก่อนที่ยังไม่มีเครือข่าย 3G การส่งภาพทีวีเช่นนี้จะสะดุด ซึ่งแทนที่จะสร้างความบันเทิงอาจก่อให้เกิดความรำคาญกับลูกค้ามากกว่า
แนวโน้มต่อไปทรูฯ อาจพัฒนาแอพฯในกลุ่มที่ให้ภาพแบบ 3 มิติ ภาพความละเอียดสูง ตามอุปกรณ์สื่อสารที่มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>
Center
cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>
สูงสุด 12 อันดับแรก
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>1.
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>2.
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>3.
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>4.
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>5.
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>6.
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>7.
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>8.
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>9.
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>10.
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>11.
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>12.
เอไอเอส : คุยด้วยแอพฯ ให้ผูกพันกัน
ปี 2011 เอไอเอสเริ่มอยากคุยเรื่องแอพฯ บ้าง แอพฯ แรกที่ทำให้เอไอเอสเริ่มมีตัวตนในวงการ คือ “โดมออนไลน์” ที่เอไอเอสไม่ได้พัฒนาเอง แต่คือการจับมือกับ “โดม ปกรณ์ ลัม” ที่มี “คอนเทนท์” และให้บริษัทสยามสแควร์ (เทคโนโลยี) จำกัด พัฒนา หลังจากนั้นเอไอเอสก็เดินในแนวของการจับมือกับพันธมิตรแบบอีโคซิสเต็มก็เริ่มนำเสนอแอพฯ ให้กับลูกค้ามากยิ่งขึ้น
“ปรัธนา ลีลพนัง” ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานฝ่ายบริการเสริม เอไอเอส บอกว่า เอไอเอสมีทีมงานในการดูแลเรื่องคอนเทนต์และแอพฯให้ลูกค้า แต่ไม่ได้เน้นว่าจะต้องมีทีมพัฒนาของตัวเอง เพราะเชื่อว่าการให้คนนอกร่วมพัฒนาจะทำให้ได้แอพฯที่หลากหลายมากกว่า
กระแสของแอพฯที่มาแรงทำให้ผู้ให้บริการมือถือเองต้องปรับตัว เพราะในที่สุดแอพฯจะทำให้ลูกค้าใช้บริการสื่อสารข้อมูลมากขึ้น หน้าที่ของผู้ให้บริการคือต้องสรรหาคอนเทนต์ที่ลูกค้าต้องการ และระบบที่อำนวยความสะดวกเมื่อลูกค้าต้องการซื้อแอพฯ
คอนเทนต์ที่พร้อมและเอไอเอสกำลังพยายามปักธงเป็นจุดขายคือเรื่องเกี่ยวกับหนังสือ นิตยสาร และความบันเทิงอย่างเพลง ในรูปแบบ “พันธมิตรโมเดล” หนังสือเป็นการตอบโจทย์อุปกรณ์ที่พร้อม โดยเฉพาะไอแพด และแท็บเล็ตที่มากขึ้น
ความสะดวกจากผู้ให้บริการอย่างเอไอเอสคือมีพนักงานพร้อมให้บริการตั้งแต่ปรึกษาเรื่องการใช้งานอุปกรณ์ ไปจนถึงแอพฯ และการคิดค่าบริการโดยรวมกับค่าใช้บริการแต่ละเดือน เพื่อแก้ปัญหาที่ลูกค้าบางคนไม่อยากซื้อผ่านการหักบัตรเครดิต
สำหรับเอไอเอสมองว่าแอพฯ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนใช้สมาร์ทโฟน เพื่อให้การใช้งานอุปกรณ์เต็มที่ โดยเอไอเอสจัดแอพฯให้ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด ซึ่งจะทำให้ลูกค้าผูกพันกับแบรนด์มากขึ้น เพราะแอพฯ คือเรื่องที่ลูกค้าอยากคุยกับผู้ให้บริการนอกเหนือจกาเครือข่าย และความเร็วของสัญญาณ ที่ผ่านมาการเดินเกมของเอไอเอส จึงโปรโมต “แอพฯ” ได้ดังกว่าทรูฯ ใช้งบเต็มที่และในทุกสื่อเท่าที่มีอยู่ เพื่อตอกย้ำให้เห็นว่าเอไอเอสมีแอพฯ พร้อมให้บริการแล้ว
cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>
E-books ดาวน์โหลด มากกว่า 1 ล้าน (ตั้งแต่กรกฎาคม 2011)
หนังสือ นิตยสาร มากกว่า 1,000 ฉบับ จาก 60 สำนักพิมพ์
3 แสนดาวน์โหลดต่อเดือน
มากกว่าผู้ใช้บริการ 1 แสนราย
Store มี 5 แสนเพลงให้เลือก มียอดดาวน์โหลด 5-6 หมื่น
เตรียมเปิดตัวแอพฯให้คนอ่านหนังสือพิมพ์ Daily News Stand
ดีแทค อยากให้ครบต้องจัดแอพฯ มาให้
แม้ดีแทคจะเป็นค่ายมือถือที่เงียบที่สุดในเรื่องเกี่ยวกับแอพฯ เพราะดีแทคยังมีการบ้านหลายข้อที่ต้องเตรียมเพื่อการแข่งขันในธุรกิจมือถือ 3G แต่ “ปกรณ์ พรรณเชษฐ์” ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายผลิตภัณฑ์ บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ก็เตรียมทีมงาน เพื่อตอบกลยุทธ์ที่กำลังทำเกี่ยวกับแอพฯ
“เรามีทีมงานที่ดูเรื่องความนิยมของแอพฯ ดูเทรนด์ว่าคนนิยมแอพฯ อะไร วันทั้งวันการนั่งเล่นแอพฯ คืองานที่ทำกันอย่างมีความสุข เพื่อนำมาสู่การมองหาแอพฯ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าดีแทค”
หากถามว่าจำเป็นต้องทุนทีมพัฒนาเองหรือไม่ “ปกรณ์” บอกว่าดีแทคยังวางตัวเองแค่เป็นผู้จัดหาให้ลูกค้ามากกว่า เพราะแอพฯ เป็นบริการที่ดีแทคมองว่าทำให้บริการมีครบ และมีดีกว่าไม่มี เหมือนอย่างที่ดีแทคร่วมกับพันธมิตรกลุ่มคอนเทนต์ต่างๆ เช่น ไทยรัฐ ร้านนายอินทร์ที่รวบรวมหนังสือและนิตยสารให้ลูกค้าดาวน์โหลด โดยดีแทคจ่ายส่วนหนึ่งเพื่อให้ลูกค้าดีแทคดาวน์โหลดฟรี
อย่างไรก็ตาม “ปกรณ์” บอกว่าแนวโน้มของแอพฯ ที่อาจเงินให้ค่ายมือถือ เห็นได้จากแอพฯ เกมในฟีเจอร์โฟนในค่ายของดีแทค ที่ทำรายได้แล้วแม้จะไม่มากแต่ก็น่าพอใจ โดยมียอดดาวน์โหลดประมาณ 250,000 โหลดต่อเดือน ทำรายได้ประมาณ 15 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา
cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>
อันดับแรกของลูกค้าดีแทค
(บริการลูกค้าดีแทค/แฮปปิ้)
กลุ่มทรูฯตีตั๋ว WWDC ก่อนขายไอโฟน
ปี 2008 หากพูดคำว่า “แอพพลิเคชั่น” สำหรับคนไทยแล้ว ถือว่าใหม่ แต่สำหรับนักพัฒนาในไทยแล้วเริ่มคุ้นเคย จากการเปิดตัวของ “ไอโฟน” รุ่นแรกเมื่อปี 2007 ในช่วง 4 ปีที่แล้วนั้น กลุ่มทรูฯ กำลังต่อรองกับแอปเปิลอย่างเข้มข้นเพื่อให้ได้สิทธิ์การขายไอโฟน จนเมื่อปิดจำหน่ายไอโฟนในไทยได้ในเดือนมกราคม 2009
ความเคลื่อนไหวก่อนที่การเจรจาจะสำเร็จ นอกจากการเรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนแอพฯ โดยสั่งหนังสือจากต่างประเทศ เช่นจากอเมซอนมาศึกษาแล้ว ยังมีพนักงานของทรูฯ 2 คน ได้เดินทางไปเข้าร่วมประชุม WWDC หรือ World Wide Developer Conference ซึ่งเป็นงานประจำปีของแอปเปิลที่บอกถึงทิศทาง และก้าวต่อไปของแอปเปิล โดยมีนักพัฒนาแอพฯจากทั่วโลกมาร่วมฟัง
“พิชิต ธันโยดม” หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านสารสนเทศ คอนเวอร์เจนซ์ กลุ่มทรูฯ เล่าย้อนหลังให้ฟังว่าเขาเป็น 1 ใน 2 คนที่เดินทางไปในครั้งนั้น แม้ว่าทรูฯ ยังไม่ได้สิทธิขายไอโฟนจากแอปเปิล แต่เพราะวิสัยทัศน์ของผู้บริหารเห็นว่าควรเตรียมพร้อมด้านแอพฯ เพื่อไอโฟนในอนาคต
“ช่วงนั้นที่จองตั๋วเพื่อเข้าร่วมงาน WWDC ทางแอปเปิลสหรัฐฯ ยังถามมายังแอปเปิลไทยแลนด์เลยว่า 2 คนนี้มาทำไม เพราะที่เมืองไทยยังไม่ได้ตกลงเรื่องสิทธิ์ขายไอโฟนให้กันเลย”
แม้ต้นทุนจะถือว่าสูง เพราะเฉพาะค่าตั๋วเข้าร่วมงานเท่ากับประมาณ 5 หมื่นบาทต่อคนแล้ว ยังมีต้นทุนอื่นอย่างการเดินทางที่พัก ตลอดกว่า 1 สัปดาห์ แต่ “พิชิต” ก็บอกว่าการได้ฟังข้อมูลอย่างใกล้ชิดที่ไม่ใช่เพียงการอ่านรายงานข่าวจากอินเทอร์เน็ตทำให้เขามีข้อมูลที่พร้อมสำหรับการสานต่อเรื่องแอพฯ ของกลุ่มทรูฯ ได้อย่างมั่นคง และทุกปัจจุบันได้ส่งพนักงานเพื่อร่วมงาน WWDC อย่างต่อเนื่อง
นอกเหนือจาก WWDC แล้ว งานประชุมนักพัฒนาของค่ายอื่น กลุ่มทรูฯ ก็ไม่พลาด เช่น BlackBerry Dev Con (แพลตฟอร์มแบล็คเบอร์รี่) AnDevCon (แพลตฟอร์มแอนดรอยด์) หรือในอนาคตกับแพลตฟอร์ม Windows Phone
ทั้งหมดนี้คือการพยายามตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าของทรูฯ กับบริการโทรศัพท์มือถือ ที่ 3G กำลังมาเต็มรูปแบบ ซึ่งหมายถึงความต้องการแอพฯ ของคนจะมากและหลากหลายมากยิ่งขึ้น