App : New Arrival ในร้านหนังสือ

การทำเงินจากแอพพลิเคชั่นเริ่มเห็นมากขึ้นในธุรกิจเกี่ยวกับหนังสือ ที่ไม่เพียงบรรดานิตยสารออกเวอร์ชั่นดิจิตอลกระโดดโชว์ตัวในหน้าจอไอแพดกันอย่างคึกคักไปแล้วเท่านั้น ”ร้านหนังสือ” ก็พาเหรดกันกลายเป็นแอพฯ ยกมาทั้งร้าน ที่มาด้วยความหวังว่าธุรกิจร้านหนังสือจะเข้าถึงคนรุ่นใหม่ง่ายขึ้น และเติบโตอย่างก้าวกระโดดในอนาคตด้วยพลังของแอพฯ

จุดเปลี่ยนของธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับหนังสือ ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตหนังสือ นิตยสาร และร้านหนังสือมาจากการเกิดขึ้นของไอแพดที่อำนวยความสะดวกในการอ่านหนังสือดิจิตอลอย่างแท้จริง โดยผู้อ่านเพียงแค่ดาวน์โหลดก็ได้อ่านแล้ว ทำให้การอ่านหนังสือง่าย มีสีสัน โดยไม่จำเป็นต้องไปร้านหนังสือ แล้วถือหนังสือติดตัวตลอดเวลา

ธุรกิจนี้มีผู้เล่นระดับโลกอย่างแอปเปิลเองที่ทำตัวเองเป็นร้านหนังสือขนาดใหญ่ด้วยแอพฯ iBook ที่หนังสือเล่มใดก็สามารถพัฒนาเป็นแอพฯแล้วไปขึ้นชั้นกับ iBook  Store ที่มีทั้งแบบฟรีและเสียเงิน นอกจากนี้ยังมี “อะเมซอน” และ “บาร์นสแอนด์โนเบิล” ที่พัฒนาร้านหนังสือบนแอนดรอยด์ ตอบโจทย์ธุรกิจใหม่ในการขายแท็บเล็ตของตัวเองได้อย่างครบวงจร

สำหรับในไทยร้านหนังสือขนาดใหญ่อย่างเอเชียบุ๊คส บีทูเอส ก็ประกาสเปิดตัวแอพฯ ไปตั้งแต่ปลายปี 2011 โดยบีทูเอสคาดหวังยอดขายผ่านแอพฯ ไว้ถึง 50 ล้านบาท จนมาถึงร้านล่าสุด ”นายอินทร์” ในเครืออมรินทร์ ก็ทุ่มงบถึง 8 ล้านบาทเพื่อพัฒนาระบบ และการทำตลาดรองรับแอพฯ “NaiinPANN” ขึ้นบน “แอพสโตร์” ของแอปเปิล ก่อนที่ไตรมาส 2 จะเปิดร้านในแอนดรอยด์ และวินโดวส์โมบายล์

“ถนัด ไทยปิ่นณรงค์” กรรมการผู้จัดการ บริษัทอมรินทร์ บุ๊ค เซ็นเตอร์ จำกัด ผู้บริหาร ”ร้านนายอินทร์” บอกว่าเทรนด์ที่เห็นคือคนรุ่นใหม่ใช้เทคโนโลยีอย่างแท็บเล็ต มีคนใช้จำนวนหลักแสนเครื่อง โดยเฉพาะไอแพด ที่นอกจากคนจะใช้เล่นเกมแล้วยังชัดเจนว่าใช้เพื่ออ่านหนังสือกันจำนวนมาก

หากลูกค้าไม่ซื้อ ก็สามารถใช้ NaiinPANN เป็น Marketing Tools เพื่อแจ้งข่าวสารให้นักอ่านรู้ว่ามีหนังสืออะไรออกใหม่แล้วบ้าง แต่ที่สำคัญ NaiinPANN มีหนังสือดิจิตอลพร้อมให้ซื้อแล้วประมาณ 1,000 เล่ม ด้วยราคาที่ถูกกว่าประมาณ 20-30%

การเตรียมแอพฯ NaiinPANN นี้ ”ถนัด” บอกว่ามีทีมพัฒนากันเองภายในองค์กร เพราะธุรกิจนี้ยังต้องขยายตัวต่อเนื่อง การลงทุนจึงคุ้มค่ากว่าการจ้างบริษัทอื่นพัฒนาให้ ซึ่งได้ใช้เวลาประมาณ 1 ปีในการพัฒนาและจากการลงทุนถึง 8 ล้านบาท แม้จะใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะคุ้มทุน แต่การลงทุนครั้งนี้ไม่ทำไม่ได้อีกต่อไป เพราะกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจนี้อยู่หน้าจอแท็บเล็ตกันมากขึ้นเรื่อยๆ 

เมื่อมีแอพฯ แล้ว ต้องสื่อถึงกลุ่มเป้าหมาย และมีโปรโมชั่น โดยนายอินทร์ร่วมกับดีแทค ให้ลูกค้าดีแทคดาวน์โหลดนิตยสารในเครืออมรินทร์ฟรีจนถึงเดือนเมษายาน จากปกติลูกค้าทั่วไปต้องจ่ายเงินเพื่อดาวน์โหลดซื้อนิตยสารแต่ละเล่ม

ขณะนี้ยังเป็นช่วงเริ่มต้นของร้านในโลกดิจิตอล โดย ”ถนัด” เชื่อว่าธุรกิจร้านหนังสือยังคงเติบโตอีกหลายปี เพราะคนที่อ่านหนังสือในรูปแบบเดิม ก็ยังคงเข้าร้านเพื่อซื้อหนังสือ

แต่วันหนึ่งเทคโนโลยีจะทำให้หนังสือเมีรูปแบบที่ปลี่ยนไป โดยเฉพาะการเป็น E-Book และE-Magazinee และแอพฯ คือช่องทางหนึ่งที่จะช่วยดึงคนรุ่นใหม่ หรือคนที่ไม่ค่อยได้อ่านหนังสือให้หันมาสนใจ ทำให้ธุรกิจนี้มีลูกค้าหน้าใหม่เดินเข้ามาไม่ขาดสาย และแน่นอนว่าการเริ่มในวันนี้ จะทำให้ร้านหนังสือไม่ตายเพราะตามเทคโนโลยีและไลฟ์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมายไม่ทัน

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

ส่วนแบ่งรายได้ในรูปแบบ
E-Book/E-Magazine

จากแอพฯ NaiinPANN สำนักพิมพ์ 55% แอปเปิล 30% ร้านนายอินทร์

15%

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

ส่วนแบ่งรายได้จากการขายผ่านร้านนายอินทร์ สำนักพิมพ์ 75-70% ร้านนายอินทร์ 25-30%

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

ท็อป 5
ฟรีของหมวด Books ใน App Store 1. iBooks (Apple) 2. Kindle (AMZN) 3. Nook (Barnes&Noble) 4. Kobo (Kobo inc) 5. Unlimited Free Books (WP
Technology)

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

style=”font-weight: bold;”>สื่อที่คนอยากอ่าน E-Book

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>25%

ไอแพด

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>18%

อะเมซอน คินเดิล

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>18%

อ่านผ่านพีซี หรือแม็ค

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>9%

ไอโฟน

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>6%

บาร์นส แอนด์ โนเบิล นุ๊ค

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>5%

โซนี่ รีดเดอร์ style=”font-weight: bold;”>ที่มา : Aptra Survey of Publising
Professionals อเมริกา ก.ย.2011

Profile

ร้านหนังสือนายอินทร์ ภายใต้บริษัท อมรินทร์ บุ๊ค เซ็นเตอร์ จำกัด ในเครือบริษัทอมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) เปิดสาขาแรกที่ท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2537 

ปัจจุบันมีลูกค้าอายุ 15-35 ปี จำนวนมากกว่า 50% ของลูกค้าทั้งหมด มีสาขาทั่วประเทศ 200 สาขา ในปี 2555 เตรียมขยายอีก 30 สาขา ด้วยงบลงทุนสาขาละประมาณ 1.5-2 ล้านบาท บนพื้นที่เฉลี่ย 100 ตารางเมตร