โออิชิใช้ Branded App สร้างกิจกรรม

 

ในฐานะผู้นำตลาดที่ต้องริเริ่มสิ่งใหม่ๆ สิ่งหนึ่งที่จะช่วยเสริมให้กับแบรนด์ “โออิชิ” อยู่ในกระแสได้ตลอดเวลา นั่นคือ อินโนเวชั่น มาร์เก็ตติ้ง ไม่ว่าเทคโนโลยีไหน “อินเทรนด์” หรืออยู่ในกระแส โออิชิก็ขอมีก่อนใคร เพราะเชื่อว่าสื่อออนไลน์เป็นช่องทางเพื่อเข้าถึงลูกค้าเป้าหมาย กลุ่มสนุก มันส์ ในยุคดิจิตอลได้อย่างไม่ตกเทรนด์

เบื้องหลังความสำเร็จนี้ 2 กุนซือด้านสื่อดิจิตอลของแบรนด์โออิชิ “ณัฐวีณ์ ศีลปัญญาวงศ์” Managing Directorและ “ธนคินทร์ ศิริดุสิตวงศ์” Business Development Directorบริษัท อิดิทริบิวชั่น จำกัด ฉายภาพให้ “POSITIONING” เห็นถึงแนวคิดในการสร้างสื่อออนไลน์แต่ละครั้ง ต้องมาเป็นแบรนด์แรกช่วงชิงตลาดก่อนใคร ที่สำคัญทำแล้วต้อง “ว้าว”  

เริ่มจากปี 2553โออิชิได้ปรับแพลตฟอร์มสื่อสารการตลาดจากแมสมีเดีย อย่าง ทีวี วิทยุ สิ่งพิมพ์ ซึ่งเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในวงกว้าง หันมาใช้สื่อออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ เพื่อเป็นช่องทางในการส่งข่าวสาร ด้านกิจกรรมการตลาด และส่งเสริมการขายต่างๆ ถึงลูกค้า แต่ก็ยังเป็นOne Way Communicationยังไม่สามารถจะสื่อสารถึงกลุ่มลูกค้าโดยตรง 

กระทั่งเมื่อเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างFacebook และQR Codeเริ่มเข้ามา โออิชิเริ่มปรับมาทำตลาดในเชิงรุก โดยเชื่อมโยงกับการทำกิจกรรมต่างๆ ของโออิชิจัดขึ้นมาตลอด เพื่อให้เข้าถึงไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ได้ดียิ่งขึ้น เช่น สร้างระบบโหวตออนไลน์ให้ทุกคนที่นั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ อาทิ ร่วมโหวตให้คะแนนในเวทีประกวดแต่งกายเลียนแบบการ์ตูนญี่ปุ่น “โออิชิ คอสเพลย์”

“กระแสไหนที่มาแน่ๆ แบรนด์โออิชิจะไปดักรอไว้ ผลตอบรับจากการครีเอทีฟ จัดกิจกรรมใหม่ๆ ที่มีสีสัน ซึ่งมีเมสเสจเชื่อมต่อในFacebook ทำให้จำนวนแฟนเพจเพิ่มขึ้น ทำให้ตัวเลขแฟนเพจของโออิชิช่วงแรกๆ เติบโตแบบก้าวกระโดดและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วถึง4แสนคน” 

เมื่อเฟซบุ๊กได้ผลตอบรับที่ดี ยิ่งเป็นแรงผลักดันให้ทีมงาน เกาะติดกับกระแสคลื่นออนไลน์ นำQR Codec และเทคโนโลยี AR Technology ( Augmented Reality Technology ) ที่สามารถแสดงภาพเคลื่อนไหว,เสียงเพลง และภาพนิ่ง มาใช้เป็นเครื่องมือทำแคมเปญ OISHI CAFÉ CITYให้ลูกค้าที่ซื้อชาเขียวโออิชิ ยูเอชที สแกนQR Codeด้านข้างกล่องชาเขียว ทางเว็บไซต์ www.oishidrink.com เพื่อรอรับวัตถุดิบต่างๆ หลังจากนั้นนำวัตถุดิบไปใช้ในการปรุงอาหารเพื่อเสิร์ฟให้กับลูกค้าในเกมเพื่อเก็บคะแนน

แต่ไม่ใช่ว่าทุกเครื่องมือออนไลน์จะตอบโจทย์ได้เสมอไป เมื่อผลตอบรับจากแคมเปญที่ใช้ QR Codeไม่เข้าเป้าหมายเท่าที่ควร แค่สร้างกิมมิกให้ลูกค้าฮือฮาได้ในช่วงแรก แต่ไม่มีผลต่อการขยายฐานหรือสร้างยอดขายนัก 

“เวลานั้นสมาร์ทโฟนยังมีราคาสูง ระบบ 3 G ก็ยังไม่มี ลูกค้ายังใช้น้อย ทำให้การกระจายแคมเปญนี้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมีไม่มากเท่าที่ควร” 

เมื่อวันนี้ระดับราคาสมาร์ทโฟนลดลงมาเหลือราคาต่ำสุดที่ 3พันบาท โออิชิ จึงกระโดดลงมาพัฒนา “แอพพลิเคชัน” บนสมาร์ทโฟนอีกครั้ง เพื่อเป็นช่องทางให้ติดตามข่าวสาร โดยเฉพาะการเชื่อมโยงกับ ONS CHANNELหรือ OISHI NEWS STATION TV Online สถานีข่าวของโออิชิ ที่ยกระดับจากโลกออนไลน์ มาสู่รูปแบบแอพพลิเคชั่นบนมือถือ โดยทำควบคู่ไปกับโครงการMC Search Gen2ซึ่งเป็นอีเวนต์เรียลลิตี้ ให้กลุ่มวัยรุ่นเข้าประกวดพิธีกรรายการ

MC Search Gen 2 ได้ปรับให้มีบางช่วงออกอากาศแบบเรียลไทม์ จากเดิมที่ดูและโหวตผ่านช่องทางเว็บไซต์, Facebookเท่านั้น เมื่อพัฒนาเป็นแอพฯ บนมือ ทำให้แฟนๆสามารถติดตามดู เชียร์และโหวตผู้เข้าประกวดผ่านทางมือถือได้ตลอดเวลา 

“แบรนด์เองก็สามารถใส่กิมมิกเข้าไปได้แบบเรียลไทม์ เช่น ส่งสัญญาญป๊อปอัพเข้าไปถึงมือถือ เป็นการกระตุ้นเตือน และทำให้แบรนด์ใกล้ชิดกับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น” 

ผลตอบรับของแคมเปญนี้ เวลานี้มีผู้สมัครเข้าร่วมกิจกรรมมากเป็นตัวเลขหลักแสน และคาดว่าจะคนเข้ามาร่วมกิจกรรมทะลุ 5แสนคน ขณะเดียวกันผลจากแคมเปญนี้จะเพิ่มจำนวนแฟนเพจได้อีก1ล้านคน 

อนาคต โออิชิ เตรียมยกระดับการใช้สื่อดิจิตอลเพิ่มขึ้น โดยนำเทคโนโลยีเทรนด์ใหม่ต่อเชื่อมกับโมบายแอพฯ เพื่อให้ทุกบ้านติดตามข้อมูลได้แล้ว ยังสามารถสั่งซื้อสินค้ากลุ่มอาหาร-เครื่องดื่มของโออิชิได้ทันที 

นี่คือโลกออนไลน์ของโออิชิ ที่ใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารและเชื่อมโยงกับกิจกรรมต่างๆ เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายคนรุ่นใหม่ได้ตลอดเวลา ถึงจะอินเทรนด์แค่ไหน แต่สุดท้ายคือการสร้างยอดขายเป็นสิ่งที่โออิชิต้องตอบโจทย์สุดท้ายให้ได้  

 

Profile 

“ณัฐวีณ์ ศีลปัญญาวงศ์”  และ “ธนคินทร์ ศิริดุสิตวงศ์” ก่อตั้งบริษัท อิดิทริบิวชั่น จำกัด ในปี 2551 รับเขียนซอฟต์แวร์และสร้างแอพพลิเคชั่นโดยใช้ความลงตัวของคนวัยเดียวกัน และจุดแข็งกันคนละด้าน ธนคินทร์ เชี่ยวชาญทางด้านไอที และส่วนณัฐวีณ์ มีพื้นฐานการตลาดธุรกิจโรงแรมของครอบครัวเป็นทุนในการต่อยอดธุรกิจและคอนเนกชั่น ลูกค้ายุคแรกๆ ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจโรงแรม ต่อมาขยายสู่ลูกค้าภาครัฐ และมาได้งาน โออิชิในปี 2553  และเริ่มได้ลูกค้าที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจเบียร์น้ำเข้า

 

คนไทยใช้ไม่เกิน 5 แอพฯ

พฤติกรรมการใช้โมบายแอพฯ ของคนไทยเวลานี้ถึงจะมีการโหลดมากมาย แต่ใช้จริงไม่เกิน5แอพฯ แต่โหลดอยากลอง แต่บางแอพฯ มีการเปิดดูทุกๆ วัน ส่วนใหญ่จะเป็นแอพฯ ที่ใช้ประโยชน์ทำให้การใช้ชีวิตง่ายขึ้น อาทิ แอพกูเกิลแมฟที่มีการใช้งานประจำ เพราะมีประโยชน์ในการหาเส้นทาง

 

จุดเริ่มต้น QR CODE เรื่อยมาถึงปัจจุบัน ในแต่ละเสต็ป

1. QR CODE  เราต้องการทันสมัย เป็นผู้นำ ตามเทรนด์

2. Website ONS Channel เราต้องการสร้างช่องรายการของตัวเอง เพื่อให้ผู้บริโภคติดตามข่าวสารเราได้สะดวก

3. โออิชิ มีกิจกรรมให้ผู้บริโภคได้ร่วมในอีเวนต์ต่างๆ อาทิ  CosPlay Cover Dance Band Bettle MC Search และช่วงน้ำท่วมกลุ่ม MC#1 ได้แสดงฝีมือในการเป็นผู้สื่อข่าวออกมาให้เห็น

4. ล่าสุดคือ MC Search #2 เราจึงสร้าง ONS Channel ขึ้นมา ให้กลุ่มผู้บริโภคสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของคือเหล่า MC Search #2 ได้อย่างสะดวก  สบาย ทุกที่ ทุกเวลา  ไม่พลาดช่วงเวลาสำคัญ และยังมีส่วนร่วมได้ด้วย

5. ยังพัฒนาต่อไปเพื่อให้ Oishi  เป็น Brand  อันดับหนึ่ง

 

 

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

กรณีศึกษาการทำตลาดโดยใช้แอพพลิเคชั่น
ONS Channel

style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>ความต้องการของ
Oishi

style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>ความต้องการของผู้บริโภค   

– เป็นผู้นำ ทำคนแรก – ทำให้ดูทันสมัย – ติดต่อตรงกับผู้บริโภค – โชว์เพื่อน เท่ – รายละเอียดพฤติกรรมของผู้บริโภค – สะดวก ง่าย ได้ทุกที่ – เพิ่มช่องทางติดต่อ