กรุงศรีฯ คาดสินเชื่อธุรกิจลูกค้าญี่ปุ่น-บรรษัทข้ามชาติ โต 7% ในปีนี้ โดยมองว่าอาเซียนได้ปัจจัยบวกจากการย้ายฐานการผลิต หรือแม้แต่ปัจจัยการเติบโตทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันมองว่าลูกค้ากลุ่มอสังหาฯ หรืออิเล็กทรอนิกส์ ต้องการขยายธุรกิจมากขึ้น นอกจากนี้ยังชักชวนให้ผู้ประกอบการขยายธุรกิจออกไปในภูมิภาคเพิ่มเติม
บุนเซอิ โอคุโบะ ประธานกลุ่มธุรกิจธนกิจพาณิชย์
ผู้บริหารรายนี้ยังได้กล่าวว่า ปัจจุบันกลุ่มลูกค้าของทางกลุ่มมีตั้งแต่อุตสาหกรรมหนักอย่างธุรกิจพลังงาน โลหะ ผลิตภัณฑ์เคมี ไปจนถึงอุตสาหกรรมเบาอย่างผู้ให้บริการทางการเงิน แพลตฟอร์มการบริการจัดส่งพัสดุ สินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น
สำหรับกลยุทธ์ที่ทางธนาคารจะนำมาใช้ในปีนี้ ประกอบไปด้วย
- เร่งส่งเสริมระบบนิเวศด้
านความยั่งยืนให้กับสังคมไทย โดยอาศัยจุดแข็งในการมีความรู้ ความชำนาญในด้าน ESG ผ่านความร่วมมือกับ MUFG เพื่อนำเสนอโซลูชันทางการเงิ นเพื่อความยั่งยืนที่ตอบโจทย์ ความต้องการที่หลากหลายของลูกค้ า - ต่อยอดความร่วมมือเพื่อส่งเสริ
มระบบนิเวศของสตาร์ทอัพ โดยจะขยายความร่วมมือเพิ่มเติ มกับ ลาว และเวียดนาม เพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์นวั ตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทั ลที่เอื้อต่อสังคม ชุมชน ทั้งในประเทศไทยและอาเซียน - ขยายฐานลูกค้าบรรษัทข้ามชาติ
จากกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเอเชี ยตะวันออก (East Asian Economies) ด้วยพื้นฐานและปัจจัยที่เอื้อต่ อการลงทุนในประเทศไทย ทั้งความพร้อมด้านโครงสร้างพื้ นฐานขนาดใหญ่ รวมถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่ดึงดูดการลงทุนจากกลุ่ มประเทศดังกล่าว โดยเฉพาะจีน ไต้หวัน ฮ่องกง และเกาหลี กรุงศรีจะใช้โอกาสนี้ทำงานร่ วมกับ MUFG ในการให้คำปรึกษา ช่วยเหลือลูกค้าธุรกิจจากกลุ่ มประเทศที่ต้องการเข้ามาลงทุ นและขยายการเติบโตของธุรกิ จในประเทศไทย - ยกระดับบริการที่ปรึกษาด้านธุ
รกิจ Krungsri ASEAN LINK เชื่อมทุกความต้องการทำธุรกิ จในภูมิภาคอาเซียน โดยกรุงศรีพร้อมใช้ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสานพลังเครือข่ายธุรกิ จของธนาคาร และ MUFG ที่ครอบคลุม 9 ใน 10 ประเทศในอาเซียน อาทิ Danamon Bank ในอินโดนีเซีย VietinBank ในเวียดนาม และ Security Bank ในฟิลิปปินส์ เพื่อต่อยอดบริการที่ปรึกษาด้ านธุรกิจสำหรับลูกค้าที่ต้ องการขยายธุรกิจสู่อาเซียน ตั้งแต่ในขั้นตอนเริ่มแรก เช่น การสำรวจแปลงที่ดิน การรวบรวมข้อมูลและกฎระเบียบ จนถึงการจัดตั้งและดำเนิ นการทางธุรกิจในต่างประเทศ
ปัจจัยที่ทำให้การลงทุนในอาเซียนเพิ่มมากขึ้นในมุมของผู้บริหารรายนี้ ได้แก่ ปัญหาเรื่องของภูมิรัฐศาสตร์ หรือแม้แต่เรื่องการกระจายความเสี่ยงในเรื่อง Supply Chain
ประธานกลุ่มธุรกิจธนกิจพาณิชย์เกี่ยวกับญี่ปุ่นและบรรษัทข้ามชาติฯ ยังได้กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมา อัตราการปล่อยสินเชื่อกลับติดลบเนื่องจากกลุ่มยานยนต์มีผลประกอบการไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากปัญหาหนี้ครัวเรือนของประเทศไทย แต่เขายังมองว่าอุตสาหกรรมอื่น เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อสังหาริมทรัพย์ ดูเหมือนจะมีการลงทุนมากขึ้น
นอกจากนี้ผู้ประกอบการจากประเทศญี่ปุ่นเองได้เข้ามาร่วมทุนหรือลงทุนในประเทศไทย ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละอุตสาหกรรม เนื่องจากมีข้อกำหนดจากหน่วยงานกำกับดูแลว่าสามารถถือหุ้นได้สัดส่วนเท่าใด เช่น ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของญี่ปุ่นได้มาร่วมทุนในประเทศไทย เป็นต้น
สำหรับมุมมองการลงทุนในอาเซียน เขาได้ชี้ว่าในช่วงที่ผ่านมาบริษัทจากจีนและญี่ปุ่นต่างเข้าไปลงทุนในเวียดนาม โดยอุตสาหกรรมเด่นๆ เช่น พลังงานทดแทน ภาคการผลิต หรือแม้แต่กลุ่มขนส่ง Logistics ขณะที่อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์เองก็มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูง และต้องการให้ลูกค้าขยายการลงทุนในภูมิภาคนี้ด้วย
ในส่วนของเศรษฐกิจไทย เขามองว่าตัวเลขอัตราการเติบโตของสินเชื่อในช่วง 2-3 ปีนี้น่าจะอยู่ในระดับเดียวกับ GDP ของไทย
ประธานกลุ่มธุรกิจธนกิจพาณิชย์