แม้ยุคนี้จะเป็นการกําเนิดของ Gen Beta ที่เกิดมาพร้อมกับนวัตกรรมมากมาย แต่การจะเลี้ยงลูกให้มีความมั่นใจในตัวเอง มีความมั่นคงทางอารมณ์ และมีความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งกับตัวเองและโลกภายนอก ก็เป็นอีกสิ่งสำคัญ
เพราะเมื่อเราคิดถึงเด็กที่ประสบความสำเร็จ หลายคนมักจะนึกถึงนักเรียนที่ได้เกรด A ทุกวิชา หรือเด็กที่กวาดถ้วยรางวัลกีฬา หรือได้เข้ามหาวิทยาลัยดี ๆ แต่ความสำเร็จที่แท้จริงไม่ได้วัดจากแค่ผลการเรียน แต่เป็นการเลี้ยงดูเด็กให้มีความมั่นใจในตัวเอง มีความมั่นคงทางอารมณ์ และมีความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งกับตัวเองและโลกภายนอก
Reem Raouda ผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาด้านการเลี้ยงลูก และการสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพ่อ-แม่และลูกมากกว่า 200 ครอบครัว พบว่า พ่อแม่ที่เข้าใจในเรื่องนี้จริง ๆ มักจะใช้กลยุทธ์ที่บางครั้งอาจดูไม่ธรรมดา โดยให้ความสำคัญกับความอยากรู้อยากเห็น ความรักในการเรียนรู้ และความฉลาดทางอารมณ์ มากกว่าทำตามความคาดหวังจากสังคม โดยมีคำแนะนำ 9 ข้อ ดังนี้
- ปล่อยให้ลูกจัดการกับอารมณ์ด้วยตัวเอง
แทนที่จะกังวลเกินไปว่าลูก ๆ จะตอบสนองต่อสถานการณ์ที่ท้าทายอย่างไร พ่อ-แม่ สามารถเป็นแบบอย่างให้ลูก ผ่านการใส่ใจว่าพวกเขาจะ การจัดการความเครียดในชีวิตประจำวันต่อหน้าลูกอย่างไร เพื่อเป็นแบบอย่างของความแข็งแกร่งทางจิตใจและอารมณ์ เพื่อให้ลูกมีความยืดหยุ่นในด้านอารมณ์
- หลีกเลี่ยงการชมแต่คำว่า “เก่งมาก!”
แม้ว่าคำว่า “เก่งมาก” จะมีเจตนาที่ดี แต่ก็อาจทำให้เด็กพึ่งพาการยอมรับจากคนอื่นมากเกินไป ดังนั้น มีพ่อ-แม่บางรายที่เน้นไปที่การเสริมสร้างแรงจูงใจภายใน ช่วยให้ลูกภูมิใจในความสำเร็จของตัวเอง ดังนั้น แทนที่จะพูดชมแบบทั่วไป ๆ แต่ควรกระตุ้นให้ลูกได้คิดทบทวน เช่น “ลูกพยายามหนักมากในเรื่องนี้ — รู้สึกยังไงบ้าง?” เพื่อกระตุ้นให้ลูกได้สะท้อนความรู้สึกของตัวเองและเรียนรู้จากความพยายาม

- มุ่งเน้นที่ความสัมพันธ์กับลูก
การสร้างความสัมพันธ์กับลูก ผ่านการใช้เวลาคุณภาพ โดยการฟังอย่างตั้งใจ และสร้างประสบการณ์ร่วมกัน ซึ่งการปฏิสัมพันธ์กับลูกแบบนี้ จะช่วยให้เด็ก ๆ รู้สึกมีค่า ปลอดภัย และได้รับการเข้าใจ นอกจากนี้ ยังช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้ลูกในการกล้างเสี่ยงและเติบโตได้
- ไม่ลงโทษลูก
หลีกเลี่ยงการลงโทษ เพราะมันจะสร้างความเกลียดชังและความห่างเหิน มากกว่าจะช่วยพัฒนาทักษะอะไร แต่ให้ผลลัพธ์จากการกระทำของลูก ๆ เป็นบทเรียนแทน เช่น หากลูกลืมทำการบ้าน พวกเขาก็จะต้องอธิบายกับครูด้วยตัวเอง ซึ่งนั่นก็จะเป็นโอกาสในการเรียนรู้ความรับผิดชอบและการแก้ปัญหา ซึ่งวิธีนี้ช่วยเสริมสร้างความรับผิดชอบให้กับลูก
- ไม่ให้รางวัลจากผลการเรียน
แทนที่จะให้รางวัลสำหรับเกรดดี ๆ พวกเขามุ่งเน้นไปที่การปลูกฝังความรักในการเรียนรู้ และทำให้ชัดเจนว่า เกรดไม่ได้กำหนดคุณค่าของลูก
- ให้ความสำคัญกับคำถามมากกว่าคำตอบ
พวกเขากระตุ้นให้ลูกถามคำถามอย่าง ทำไม และ อย่างไร แทนที่จะยอมรับคำตอบที่ถูกต้องเพียงอย่างเดียว การทำเช่นนี้จะช่วยเสริมสร้างความอยากรู้อยากเห็น และให้ความมั่นใจแก่ลูกในการท้าทายสิ่งที่เป็นอยู่ ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของผู้นำในอนาคต
- พวกเขาให้ลูกสอนสิ่งต่าง ๆ ให้พวกเขา
ไม่ว่าจะเป็นการแก้โจทย์คณิตศาสตร์หรืออธิบายเกมโปรด ช่วงเวลานี้ทำให้ลูก ๆ รู้สึกมีคุณค่า โดยการถอยออก และปล่อยให้ลูกเป็นผู้นำ โดยการกระทำของพ่อ-แม่แบบนี้ จะช่วยแสดงถึงความเคารพในความสามารถของลูก และช่วยเสริมสร้างความมั่นใจในตัวเอง
- ทำให้การอ่านเป็นนิสัยประจำวัน
การอ่านไม่ใช่ภาระ แต่เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือภาพก่อนนอน หรือการอ่านนิยาย เพื่อให้การอ่านจึงกลายเป็นส่วนธรรมชาติและสนุกในโลกของพวกเขา ช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และความรักในการเรียนรู้ที่ยั่งยืน
- สอนให้ลูกยอมรับอารมณ์ของตัวเอง
พวกเขาปฏิบัติกับอารมณ์เป็นสิ่งที่มีค่า ไม่ใช่สิ่งที่ต้องแก้ไขหรือหลีกเลี่ยง ตัวอย่างเช่น เมื่อเด็กเสียใจหลังจากแพ้เกม การยอมรับแบบง่าย ๆ นี้ ช่วยให้ลูกได้ประมวลผลอารมณ์และสร้างความยืดหยุ่น