บริษัท เทเลคอมเอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ทีเอ ได้รายงานผลการดำเนินงานโดยมีรายได้รวม (รวมทีเอ ออเร้นจ์) ในงวด 9 เดือนสิ้นสุด 30 กันยายน 2546 เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 10.1 จากระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน เป็น 200.6 พันล้านบาท ทั้งนี้เนื่องจากทีเอ ออเร้นจ์มีรายได้เพิ่มขึ้น
ทีเอ ออเร้นจ์ มีผลประกอบการที่คุ้มทุน ณ ระดับ EBITDA (กำไรจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าใช้จ่ายตัวจ่าย) เป็นครั้งแรกในเดือนกันยายน 2546 ส่งผลให้ EBITDAรวมสำหรับงวด 9 เดือนของบริษัทเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 14.7 เป็น 8.5 พันล้านบาท
รายได้ในไตรมาสนี้ข้องบริษัท (รวม ทีเอ ออเร้นจ์) เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 4 เป็น 6.8 พันล้านบาท เปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยธุรกิจบริการโทรศัพท์พื้นฐานเป็นรายได้เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 4 เป็น 6.8 พันล้านบาท เปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยธุรกิจบริการโทรศัพท์พื้นฐานมีรายได้เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 3.9 เป็น 4.2 พันล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากบริการโทรศัพท์สาธารณะ ซึ่งมีรายได้เพิ่มขึ้นในอัตรร้อยละ 19.4 รายได้จากบริการโครงข่ายข้อมูลดิจิตอล (Digital Data Network-DDN) บริการอินเตอร์เน็ต และอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (Broadband) มีรายไดรวมเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 14.7 เป็น 8.5 พันล้านบาท
หากไม่นับรวม ทีเอ ออเร้นจ์ รายได้ในไตรมาสที่ 3 ลดลงเล็กน้อยในอัตรร้อยละ 2.4 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเป็น 5.6 พันล้านบาท และรายไดรวมสะสมในงวด 9 เดือนลดลงของรายได้รวมสะสมในงวด 9 เดือนลดลงในอัตรเดียวกันเป็น 17.0 พันล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากการลดลงของรายได้จากบริการโทศัพท์พีซีที และธุรกิจอื่นๆ ซึ่งไม่ใช่ธุรกิจหลัก เช่น ธุรกิจกับเหมาติดตั้งโครงข่ายโทรศัพท์
อย่างไรก็ตามบริษัทประสบความสำเร็จในการรักษาฐานลูกค้าของบริการโทรศัพท์พีซ๊ที โดยจำนวนลูกค้าพีซีทีได้เพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ จำนวน 1,880 ราย ทั้งนี้เนื่องจากบริษัทได้มุ่งเน้นโปรแกรมต่างๆ เพื่อรักษาลูกค้า (win-back-program) รวมทั้งได้จัดทำกิจกรรมทางการตลาดเพิ่มชึ้นในไตรมาสนี้
นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร กล่าวว่า “ผลประกอบการของบริษัท ได้สะท้อนกลยุทธ์ในการควบคุมค่าใช้จ่าย และเพิ่มอัตราการทำกำไร เพื่อชดเชยการลดลงของรายได้ ในขณะที่ทีเอยังคงมุ่งเน้นการขยายธุรกิจที่มีการเติบโตสูง เช่น บิรการอินเตอร์เน็ต และอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (Broadband) และบริการ Non-Voice ต่างๆ” ค่าใข้จ่ายโดยรวมในไตรมาสนี้ (ไม่รวม ทีเอ ออเร้นจ์) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนเพียงร้อยละ 1.2 เป็น 3 พันล้านบาท ส่วนใหญ่มีสาเพตุมาจากค่าเสื่อมราคา และค่าใช้จ่ายตัดจ่าย ในขณะที่ค่าใช้จ่ายเฉพาะรายการเงินสด (ไม่นับรวมค่าเสื่อมราคา และค่าใช้จ่ายตัดจ่าย) ลดลงในอัตรร้อยละ 3.9 เป็น 2.7 พันล้านบาท
EBITDA จึงค่อนข้างคงที่เมือเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ที่ระดับ 2.9 พันล้านบาท โดยมีอัตราการทำกำไร (EBITDA Margin) เพิ่มชั้นเป็นอัตราร้อยละ 52.0 จากอัตราร้อยละ 51.2
หากรวม ทีเอ ออเร้นจ์ ค่าใช้จ่ายโดยรวมในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นในอัตรร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 4.1 เมื่อเที่ยบกับไตรมาสเดียวกันปีที่แล้ว เป็น 6.8 พันล้านบาท ในขณะที่ค่าใช้จ่ายเฉพาะรายการเงินสด (ไม่นับรวมค่าเสื่อมราคา และค่าใช้จ่ายตัดจ่าย) ลดลงในอัตราร้อยละ 3.5 เป็น 4 พันล้านบาท
ดังนั้นจีงมีผลให้ EBITDA ( รวมทีเอ ออเร้นจ์) ในไตรมาสนี้ เพิ่มขึ้นในอัตรเร้อยละ 17.0 เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่นอ เป็น 2.8 พันล้านบาท โดย EBITDA Margin เพิ่มขึ้นเป็นอัตราร้อยละ 41.4 จากอัตราร้อยละ 36.8 ทั้งนี้เนื่องจากทีเอ ออเร้นจ์มีผลประกอบการที่ดีขึ้น
บริษัทได้รับรู้รายได้จากทีเอ ออเร้นจ์จำนวน 1.2 พันล้านบาทในไตรมาสนี้ นับเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปี 2545 ในอัตราร้อยละ 53.3 แต่มีจำนวนลดลงจากไตรมาสที่แล้วในอัตราร้อยละ 10.2 ซึ่งส่วนใหญ่เป็ฯการลดลงของรายได้จากการขายสินค้า
อย่งไรก็ตาม บริษํทรับรู้ผลขาดทุน EBITDA จากทีเอ ออเร้นจ์ลดลงเป็ฯ 98 ล้านบาทในไตรมาสที่ 3 นี้ เปรียบเทียบกับผลขาดทุน EBITDA จำนวน 154 ล้านบาทในไตรมาสที่แล้ว ทั้งนี้เนื่องจากทีเอ ออเร้นจ์มีค่าใช้จ่ายลดลง ดดยส่วนใหญ่เป็นต้นทุนขาย และค่าใช้จ่ายในการขายและการส่งเสริมการตลาด
ในไตรมาสนี้บริษัทมีผลขาดทุนสุทธิโดยรวมจำนวนประมาณ 1.5 พันล้านบาท เปรียบเทียบกับผลขาดทุนจำนวน 1.4 พันล้านบาท ในไตรมาสที่ 3 ปี 2545 และผลขาดทุนจำนวน 847 ล้านบาทในไตรมาสที่แล้ว
ผลขาดทุนที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วส่วนใหญ่เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตรแลกเปลี่ยน โดยในไตรมาสนี้ค่าเงินบาทเปรียบเทียบกับสกุลเยนได้อ่อนตัวลง ทำให้บริษัทมีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 306 ล้านบาท ในขณะที่มีผลกำไรจากอัตรแลกเปลี่ยนจำนวน 262 ล้านบาทในไตรมาสที่แล้ว
นายวิลเลี่ยว แฮริส หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการเงิน (CFO) กล่าวว่า “บริษัทได้ดำเนินการปรับปรุงงบดุลอย่างต่อเนื่อง โดยได้ลงนามในสัญญาเงินกู้ฉบับใหม่วงเงิน 21.4 พันล้านบาทกับกลุ่มธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินในประเทศจำนวน 11 แห่ง เพื่อใช้คืนเงินกู้สกุลบาทเดิมจำนวนเท่ากัน”
นายแฮริส กล่าวเพิ่มเติมว่า “การลงนามในสัญยาดังกล่าวมีขึ้นเมื่อเดือนที่แล้วโดยจะมีผลให้บริษัทสามารถลดภาระดอกเบี้ยจ่ายลงได้ปีละประมาณ 200 ล้านบาท รวมทั้งขยายระยะเวลาในการชำระหนี้ออกไป และทำให้บริกำทมีความคล่องตัวในการดำเนินงานมากขึ้น นอกจากนี้กระแสเงินสดที่เพิ่มขึ้นทำให้บริษัทมีความพร้อมสำหรับโอกาสต่างๆ จะมีขึ้น รวมั้งมีความพร้อมสำหรับการเข้าสู่ตลาดที่จะมีการเปิดเสรีต่อไป”
ในท้ายที่สุด นายศุภชัย กล่าวถึงกลยุทธ์ “TA Group Synergy” ที่ได้ประกาศไปเมื่อเร็วๆ นี้ว่า “ความร่วมมือกันทางธุรกิจอย่างใกล้ชิด ระว่างทีเอ กับ TA Orange และ UBC โดยมีแนวคิดว่าการดำเนินงานหลายๆ ด้านมีส่วนคล้ายกัน หรือสามารถสนับสนุนกันได้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการ พื้นที่บริการ โครงข่าย หรือด้าน IT ดังนั้ นการแสวงหาโอกาสที่จะผสานความร่วมมือระห่างบริการโทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์เคลื่อนที่ และเคเบิลทีวีนั้ จะทำให้กลุ่มเทเลคอมเอเชียสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในด้านการลงทุน และโครงสร้งพื้นฐานลง รวมทั้งสามารถนำเสนอบริการที่ดีกว่าให้กับลุกค้าได้มากยิ่งขึ้น
Earnings Announcements
บริษัท เทเลคอมเอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ทีเอ
บริษัท ทีเอ ออเร้นจ์ จำกัด