เลแมน บราเดอร์ส เผยรายงานล่าสุดระบบพยากรณ์แนวโน้มการเกิดวิกฤติทางการเงิน

กรุงเทพฯ – 16 ธันวาคม 2546 เลห์แมน บราเดอร์ส บริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนระดับโลกเปิดเผยรายงานล่าสุดเกี่ยวกับระบบพยากรณ์วิกฤติทางการเงินล่วงหน้า “เดมอกคลี่ส์” (Damocles) ประจำไตรมาส 4 ซึ่งเป็นระบบที่ใช้วัดและประเมินความเสี่ยงทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาที่มีแนวโน้มจะประสบภาวะวิกฤติทางการเงิน

เลห์แมน บราเดอร์ส ใช้ระบบเดมอกคลี่ส์ในการประเมินความเสี่ยงในการเกิดภาวะวิกฤติทางการเงินของประเทศสำคัญต่างๆ ประกอบด้วย อาร์เจนตินา, บราซิล, จีน, ฮ่องกง, อินโดนีเซีย, เกาหลีใต้, มาเลเซีย, เม็กซิโก, ฟิลิปปินส์, โปแลนด์, สิงคโปร์, แอฟริกาใต้, ได้หวัน, ไทย และตุรกี ซึ่งรายงานล่าสุดยังได้รวมประเทศฮังการี และรัสเซียเพิ่มด้วย

ทั้งนี้ ประเทศที่ระบบเดมอกคลี่ส์กำหนดค่าความเสี่ยงรวมกันเท่ากับหรือมากว่า 75 คะแนน หมายถึงว่า สภาพเศรษฐกิจของประเทศนั้นมีโอกาสที่จะเกิดวิกฤติได้ แต่หากประเทศดังกล่างมีค่าความเสี่ยงรวมกันมากกว่า 100 คะแนน หมายความว่า วิกกฤติทางเศรษฐกิจสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา สำหรับรายงานล่าสุดประจำเดือนกันยายน 2546 นั้น ระบบเดมอกคลี่ส์ ระบุว่า ประเทศโปแลนด์มีค่าความเสี่ยงต่ำสุด คือ เท่ากับ ศูนย์คะแนน ขณะที่ประเทศฮังการี มีค่าความเสี่ยงสูงสุด คือ 27.9 คะแนน

นายร็อบ ซับบาราแมน นักเศรษฐศาสตร์อาวุโล ประจำภูมิภารเอเชียของเลห์แมน บราเดอร์ส กล่าวว่า ระบบเดมอกคลี่ส์ ได้บ่งชี้ว่า ภูมิภาคเอเชียมีระบบเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเมื่อเทียบกับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ทั่วโลก ทั้งนี้เพราะภูมิภาคเอเชียมีปริมาณเงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่หนี้ต่างประเทศมีแนวโน้มลดต่ำลง จึงทำให้อย่างน้อยที่สุดในขณะนี้ ภูมิภาคเอเชียโดยรวมมีความเสี่ยงต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ทั่วโลก

ในส่วนของประเทศไทย ได้รับการจัดอันดับที่ดีที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย โดยหลังจากที่ประเทศไทยรักษาค่าความเสี่ยงเท่ากับศูนย์เป็นระยะเวลา 10 เดือน ไทยเริ่มมีค่าความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในเดือนกันยายน 2546 เนื่องจากการปรับตัวสูงขึ้นของอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริงถ่วงน้ำหนักด้วยดุลการค้า อย่างไรก็ตาม การที่ไทยมีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเพิ่มขึ้น มีปริมาณเงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศสูงเป็นประวัติการณ์ มีปริมาณหนี้ต่างประเทศลดลง และที่สำคัญนโยบายทางการคลังของไทย มีผลให้ไทยได้รับการจัดอันดับดังกล่าว

ผลสรุปการพยากรณ์วิกฤติทางการเงินของไทย พบว่า มีค่าคะแนนในปี 2546 ที่ 0.0 คะแนน โดยมีการเปลียนแปลงเล็กน้อยในระหว่างปี และมีปัจจัยที่อาจมีผลกระทบต่อความเสี่ยงในอนาคตได้ คือ ความเปราะบางของภาคเอกชน และภาคสถาบันการเงิน