มาตรฐานอาหารกับการพัฒนาที่ไม่หยุดยั้ง

ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์อาหารจำเป็นต้องผ่านการรับรองมาตรฐานคุณภาพด้านต่างๆ หลายประเภท มาตรฐานเหล่านี้ ต่างก็มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจถึงความปลอดภัยและคุณภาพของ ผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย อย่างไรก็ดี ยังมีผู้คนอีกมากที่เห็นว่ามาตรฐานดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อย่าง ชัดเจน หากแต่สร้างความสับสนและความลังเลแก่ผู้บริโภค หรือแม้กระทั่งทำให้เกิดความรู้สึกกังวลมากยิ่งขึ้น ในที่นี้ Jacob Faergemand, Jamie Hunt, Benoit Mathieu และ Chris Garner จากบริษัท BVQi จะกล่าวถึง มาตรฐานที่สำคัญในวงการอุตสาหกรรมอาหาร และจะทำการวิเคราะห์ว่ามาตรฐานแบบใหม่ที่สถาบัน มาตรฐาน ISO กำลังพัฒนาอยู่นั้น จะตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรมอาหารเพียงใด

วัตถุประสงค์หลักของมาตรฐานนั้น ได้แก่ การช่วยส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค เมื่อผู้ผลิตอาหารหรือผลิตภัณฑ์ได้รับการรับรองมาตรฐาน มาตรฐานดังกล่าวจะเป็นหลักฐานสำคัญอย่างเป็นรูปธรรม ในการให้ข้อมูลว่า ผลิตภัณฑ์นั้นๆ ผลิตตามกระบวนการที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ทั้งในด้านคุณภาพและความ ปลอดภัย ดังนั้น ท่านอาจจะสรุปว่า มาตรฐาน ISO 9001 ซึ่งเป็นมาตรฐานระบบการจัดการที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก นั้นก็น่าจะเพียงพอแล้ว

แต่ปัจจัยบ่งชี้หนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า มาตรฐาน ISO 9001 นั้นไม่น่าจะเพียงพอสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร ก็คือ การที่ภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ ก็มีการพัฒนามาตรฐาน “ISO 9001” ในรูปแบบของตนเองขึ้นมา โดยมีการเสริมข้อกำหนด เฉพาะด้านเข้าไป เช่น ข้อกำหนด TSI6949 สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ และ AS/EN/JISQ 9100 สำหรับอุตสาหกรรม การบินและอวกาศ เป็นต้น บางคนอาจแย้งได้เช่นเดียวกันว่า อุตสาหกรรมอาหารก็มีลักษณะเฉพาะตัวเช่นเดียวกัน ดังจะ เห็นได้จากการจัดตั้งระบบ HACCP (Hazard analysis critical control point หรือระบบการวิเคราะห์อันตราย และควบคุมจุดวิกฤต) ระบบ HACCP นั้นได้รับการยอมรับเป็นอย่างดีทั้งจากฝ่ายนิติบัญญัติ เจ้าพนักงานและผู้ประกอบ ธุรกิจด้านอาหาร บุคคลเหล่านี้เห็นว่าระบบ HACCP นั้น เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการบริหารจัดการและ ควบคุมอันตรายในอาณาบริเวณที่มีการแปรรูปอาหาร ขณะนี้ สถาบันมาตรฐาน ISO กำลังอยู่ในขั้นตอนพัฒนาระบบ HACCP ระดับสากล (ISO 22000) ซึ่งจะทำให้มีความครอบคลุมมากยิ่งขั้น

มาตรฐานสารพันที่ไม่เคยพอ

แล้วเหตุใดจึงยังต้องมีมาตรฐานอาหารเฉพาะด้านอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งๆ ที่มีมาตรฐานที่อยู่บนพื้นฐาน ISO 9001 และโปรแกรม HACCP อยู่แล้ว ตัวอย่างเช่น ผู้ประกอบการอาจขอใบรับรองมาตรฐานองค์กรผู้ค้าปลีกอังกฤษ (British Retailer Consortium : BRC) หรือมาตรฐานอาหารสากลเยอรมัน ( German International Food Standard : IFS) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ทางผู้ผลิตจะต้องได้รับก่อนที่จะขายสินค้าให้กับผู้ค้าปลีกในประเทศที่ระบุไว้ ส่วนผลิตภัณฑ์นั้น สามารถนำไปขอรับรองมาตรฐาน EurepGAP (Good agricultural practice) หรือรับรองว่าปลอดจีเอ็มโอ หรือเป็น ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ เป็นต้น ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าการเลือกขอรับรองมาตรฐานใดมาตรฐานหนึ่งนั้นจะขึ้นอยู่กับ ความต้องการเฉพาะด้านของลูกค้าหรือผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง

จากการที่มีมาตรฐานต่างๆ อยู่เป็นจำนวนมากนั้น ผู้ผลิตอาหารและผู้จัดจำหน่ายจึงมักจะประสบความยุ่งยาก และสับสนกับการหามาตรฐานรับรองให้กับสินค้าและการผลิตของตนในการจะส่งสินค้าไปขายยังตลาดเป้าหมายได้สำเร็จ ยิ่งไปกว่านั้น ยิ่งตลาดมีความเป็นสากลมาเท่าไร การเรียกร้องให้มีใบรับรองมาตรฐานก็เพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

ในการทำความเข้าใจว่ามาตรฐานสำคัญๆ เหล่านี้ สามารถนำไปใช้ในกรณีใดและด้วยเหตุผลใดนั้น ก่อนอื่น เราควรพิจารณาจากห่วงโซ่การผลิตอาหาร (Food supply chain) ในแบบ “ไร่นาสู่โต๊ะอาหาร” (field to table) เสียก่อน แผนภูมิที่ 1 แสดงให้เห็นถึงมาตรฐานสำคัญ ๆ ที่นำไปใช้ในห่วงโซ่การผลิตขั้นต่างๆ ส่วนด้านล่างนั้น แสดงให้เห็นถึง มาตรฐานที่สามารถนำไปใช้กับทุกห่วงโซ่การผลิต (มาตรฐานแบบไขว้ หรือ transversal) จากนี้ไป จะเป็นการแจกแจงถึงมาตรฐานที่สำคัญแต่ละประเภทและความสัมพันธ์

มาตรฐาน EurepGAP

มาตรฐาน EurepGAP ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลขององค์การ Food Plus กำลังได้รับการยอมรับมากขึ้น ในระดับสากลว่าเป็นมาตรฐานที่ดีในการประกันคุณภาพผลผลิตจากฟาร์ม มาตรฐาน EurepGAP มีความยืดหยุ่นในการ เทียบเคียงกับระบบมาตรฐานท้องถิ่นมากกว่ามาตรฐานใหญ่ๆ ที่มีอยู่ เหตุนี้เองจึงทำให้มาตรฐาน EurepGAP เป็นที่ ยอมรับในวงกว้างมากขึ้น ขณะเดียวกันก็กำลังมีการพัฒนาระบบประกันคุณภาพสำหรับภาคการผลิตที่มีลักษณะพิเศษ เฉพาะตัว ซึ่งจะมีรายละเอียดมากขึ้นและระดับการประกันคุณภาพก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย ขณะนี้ มาตรฐาน EurepGAP มีระบบประกันคุณภาพสำหรับปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์ประเภทของสด เป็นต้น

AG 9000

AG 9000 เป็นระบบรับรองคุณภาพอาหารจากสหรัฐอเมริกาที่กำลังอยู่ในช่วงการพัฒนา ใช้ในการประกัน คุณภาพเมล็ดธัญพืชจากเมล็ดสู่ไซโล (seed to silo) โดยมีเป้าหมายในการสร้างมาตรฐานให้กับช่วงหนึ่งของห่วงโซ่การ ผลิตอาหารเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับห่วงโซ่ที่อยู่ถัดไปในวงจรการผลิต ขณะนี้ การพัฒนากำลังอยู่ในขั้นต้นเท่านั้น และ อาจมีการร่วมมือพัฒนากับคณะกรรมการเทคนิคหรือคณะทำงานมาตรฐาน ISO ที่กำลังพัฒนามาตรฐาน ISO 22000

มาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์

“เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีการออกข่าวว่า ฉลากบรรจุภัณฑ์ของอาหารบางชนิดอาจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด (ยกตัวอย่าง เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารที่ใช้คำว่า “อาหารพื้นบ้าน” นั้น อาจจะผลิตจากโรงงานภายในนิคมอุตสาหกรรมก็เป็นได้) ข่าว ดังกล่าวทำให้ผู้คนหันมาสนใจที่จะตรวจสอบข้อเท็จจริงมากขึ้น โดยอาศัยจากการดูว่าผลิตภัณฑ์นั้นผ่านการรับรองจาก องค์กรตรวจสอบและรับรองมาตรฐานอิสระหรือไม่”
สินค้าเกษตรอินทรีย์เป็นสินค้าที่สำคัญอีกประเภทที่มีการเคลื่อนไหวให้มีการตรวจสอบมาตรฐานอย่างจริงจัง บริษัท BVQi ในฝรั่งเศสให้ความสำคัญกับปรากฏการณ์นี้และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีกับระบบรับรองคุณภาพระดับชาติสำหรับ
สินค้าเกษตรอินทรีย์” (agriculture biologique”) แนวคิดดังกล่าวนี้มีโอกาสที่จะได้รับการยอมรับในวงกว้าง ซึ่งทางบริษัท BVQi กำลังผลักดันให้มีการให้บริการส่วนนี้ในระดับสากล โดยระบบรับรองมาตรฐานดังกล่าวของ BVQi จะตรวจประเมิน (audit) ระบบตรวจสอบแหล่งที่มาของโรงงานเพื่อให้แน่ใจว่าวัตถุดิบและส่วนผสมนั้นมาจากแหล่งกำเนิดที่เป็นเกษตร อินทรีย์ เพื่อที่จะสามารถรับประกันได้ว่าผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายนั้นเป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์จริง

สินค้าเกษตรอินทรีย์หลักๆ ที่มีการตรวจสอบอย่างเข้มงวดได้แก่ ข้าวโพด ถั่วเหลือง และ ต้นเรพ มีการให้ความ สำคัญกับระบบบริหาร (Management system) เช่น นโยบาย การวิเคราะห์ความเสี่ยง และ การฝึกอบรม โดยเน้นเป็น พิเศษในด้านวัตถุดิบ การนำเข้าวัตถุดิบมายังโรงงาน การสอบกลับ (Traceability) การควบคุมการผลิต การเก็บสต็อค สินค้า การขนส่ง การสุ่มเก็บตัวอย่างและการตรวจวิเคราะห์

มาตรฐาน BRC

ผู้ค้าปลีกที่ต้องการปกป้องชื่อเสียงของตนต้องการให้ซัพพลายเออร์ของตนได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรม องค์กร ผู้ค้าปลีกอังกฤษ หรือ BRC จึงพัฒนามาตรฐานหลัก ๆ 2 มาตรฐานเพื่อมาใช้กับภาคอุตสาหกรรมอาหาร กล่าวคือ มาตรฐานอาหารสากลสำหรับผู้ผลิตสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของตนเองและมาตรฐานบรรจุภัณฑ์สำหรับวัสดุที่จะนำ มาใช้ในการทำบรรจุภัณฑ์

มาตรฐานเหล่านี้พัฒนาขึ้นมาเพื่อ “ช่วยเหลือผู้ค้าปลีกในการปฏิบัติตามข้อบังคับทางกฎหมายและปกป้อง ผู้บริโภค โดยการกำหนดกฎเกณฑ์พื้นฐานในการตรวจสอบบริษัทผู้ส่งสินค้าอาหารที่มีเครื่องหมายการค้าที่จำหน่ายแก่ ผู้ค้าปลีก” ส่วนประกอบสำคัญของมาตรฐานนี้ คือ

– ต้องผลิตภายใต้มาตรฐาน HACCP
– เอกสารรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ QMS
– มาตรฐาน GMP (good manufacturing practices) ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อมโรงงาน ผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และบุคลากร

ในสหราชอาณาจักร มาตรฐาน BRC ได้รับการยอมรับเป็นอย่างดี สำหรับซัพพลายเออร์ในประเทศอื่นนั้น ซัพพลายเออร์ยุโรปจำนวนมากเลือกที่จะรับประกันคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าอาหารด้วยการขอรับรองมาตรฐาน ISO 9001 และ HACCP ดังนั้น ผู้ผลิตสินค้าอาหารยุโรปเหล่านี้จึงจำเป็นต้องขอรับรองมาตรฐาน BRC หรือ IFS หรือมาตรฐานอื่นที่เหมือนกันเพิ่ม โดยต้องใช้วิธีสร้างระบบบริหารที่วางอยู่บนพื้นฐานระเบียบหรือกฎเกณฑ์ที่มีลักษณะ ร่วมของมาตรฐานต่างๆ ซึ่งนั่นหมายความว่า บริษัทรับรองมาตรฐานสามารถสร้างประโยชน์ในเชิงมูลค่าให้กับลูกค้า เนื่องจากผู้ตรวจสอบสามารถนำความรู้และความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับมาตรฐานต่าง ๆ ไปปรับใช้ให้ตรงกับความต้องการนี้ ได้เป็นอย่างดี

มาตรฐาน IFS

IFS เป็นมาตรฐานที่พัฒนาขึ้นมาโดย Hauptverband des Deutschen Einzelhandels ประเทศเยอรมัน (HDE) โดย เป็นมาตรฐานระบบรายงาน (Reporting System) สำหรับทุกบริษัทที่ผลิตและ/หรือแปรรูปอาหาร มาตรฐานดังกล่าววาง อยู่บนพื้นฐานการใช้รายการตรวจสอบ (Checklist) และ สกอร์ริ่งแมทริกส์ (Scoring matrix) ข้อกำหนดหลักๆ ของ มาตรฐาน ได้แก่

• การระบุจำนวนจุดวิกฤติ (Critical control point) ที่จำเป็นต่อการควบคุมตรวจสอบและสามารถดำเนินการควบคุม ตรวจสอบได้
• การใช้ระบบติดตามหรือ CCP monitoring ด้วยการจดบันทึกอย่างละเอียดชัดเจนและสม่ำเสมอ
• ระบบบริหารจัดการที่ประกันว่าพนักงานรู้ซึ้งถึงหน้าที่รับผิดชอบของตนและมีการวัดประสิทธิภาพในการทำงาน
• ระบบสอบกลับ (Traceability) ของผลิตภัณฑ์
• การใช้มาตรการแก้ไขป้องกัน (corrective action)

เร็วและดี นี่คือ มาตรฐานบริการ

มาตรฐานที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นเป็นมาตรฐานสำหรับผู้ประกอบการผลิตอาหารเป็นหลัก ต่อไปนี้ จะได้กล่าวถึง มาตรฐานสำหรับผู้ค้าปลีก การค้าปลีกอาหารเป็นภาคอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการแข่งขันสูงที่สุดภาคหนึ่งของโลก แรงกดดันในการส่งและขายสินค้าให้เร็วขึ้นสดขึ้นและมีค่าใช้จ่ายในห่วงโซ่การผลิต (Supply chain) ที่ลดลงมีมากขึ้น ทุกวัน มาตรฐานใดบ้างที่จัดเป็น “เครื่องมือ” ที่ผู้ค้าปลีกสามารถนำไปใช้ บริษัท BVQi มีโครงการสำคัญ 2 โครงการที่ ดำเนินร่วมกับผู้ค้าปลีกรายใหญ่ในยุโรป กล่าวคือ

• โครงการรับรองมาตรฐานการบริการ
โครงการนี้จะทำให้สามารถรับรองคุณภาพการบริการของผู้ค้าปลีกเพื่อสร้างจุด เปรียบเทียบอ้างอิง (Benchmark) ของระดับขีดความสามารถที่ต้องการ การรับรองมาตรฐานบริการสามารถกระทำ ตามมาตรฐานที่ตกลงร่วมกันหรือระหว่างร้านค้าปลีกที่มีตารางอันดับความสามารถ (Performance) โดยสามารถมุ่ง เน้นไปยังส่วนที่ถือว่าดีที่สุดในการบริการและสามารถนำไปทำซ้ำกับร้านค้าอื่นได้

• การตรวจสอบห่วงโซ่การผลิต (Supply chain)
โดยสินค้าอาหารจะต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ มากมาย ก่อนที่จะนำขึ้น ไปขายในห้างร้าน เช่น การตรวจสอบความสดและความสะอาดของอาหารทะเลที่กระทำกันในหลายขั้นตอนสำคัญ ในห่วงโซ่การผลิต (ตั้งแต่การจับจนถึงขายในห้างร้าน) เพื่อประกันว่าผู้ซื้อจะได้สินค้าในสภาพที่ดีที่สุดเท่าที่จะ เป็นไปได้

มาตรฐาน HACCP

HACCP เป็นมาตรฐานอาหารปลอดภัยที่วางอยู่บนหลักการป้องกันความผิดพลาด จุดวิกฤติที่ต้องควบคุม (Critical point control) ถือเป็นจุดเชื่อมสำคัญในห่วงโซ่การผลิตอาหาร ซึ่งถ้าขาดการตรวจสอบติดตามอย่างใกล้ชิด อาจ ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้

หลักการของ HACCP ประกอบด้วยการเคลื่อนย้าย การเตรียม และการเก็บสต็อคอาหารอย่างถูกต้องตาม สุขลักษณะ มีการกำหนดจุดวิกฤติเพื่อตรวจสอบการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย เชื้อโรค ราและยีสต์ และเพื่อกำจัดวัตถุ และสารเคมีที่เป็นอันตราย มาตรฐาน HACCP ได้รับการยอมรับเป็นอย่างดีในระดับสากล อย่างไรก็ตาม ในระดับท้องถิ่น ยังมีการใช้มาตรฐานเฉพาะเช่นกัน ซึ่งมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับเป็นอย่างดี มีอาทิเช่น Danish DS 3027:2002 (เดนมาร์ก) และ Dutch HACCP (ฮอลแลนด์) นอกจากนี้ ยังมีเอกสารแนะนำ ISO 15161 ที่ให้รายละเอียด เกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ระหว่าง ISO 9001 และ HACCP ซึ่งจะช่วยให้ผู้ผลิตสามารถสร้างระบบบริหารที่สอดคล้องกับทั้งสอง มาตรฐานได้

ผู้ผลิตจำนวนมากขอรับรองมาตรฐาน HACCP เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบด้านสุขอนามัยอาหารของสมาคม ยุโรปนั่นเอง

ISO 22000 มาตรฐานน้องใหม่แห่งวงการ

สำนักงานรับรองมาตรฐาน ISO กำลังเตรียมมาตรฐาน ISO 22000 ที่จะนำมาใช้กับอาหารสัตว์และกิจการ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหารคน มาตรฐานดังกล่าวเน้นไปที่ผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาระบบบริหารความปลอดภัย อาหาร (Food safety management system) ให้มีความชัดเจน สอดคล้องและสมบูรณ์ในระดับที่สูงกว่าระดับที่ กำหนดไว้ในกฎหมาย โดยจะเป็นที่รวมของข้อกำหนดในมาตรฐานต่างๆ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเพื่อประกันความปลอดภัย ของสินค้าตลอดเส้นทางห่วงโซ่อาหาร โดยเน้นไปที่การสื่อสารแบบอินเตอร์แอคทีฟ ระบบบริหารและการควบคุมอันตราย (Hazard control)

การสื่อสารแบบอินเตอร์แอคทีฟ

มาตรฐาน ISO 22000 จะกำหนดให้มีการวางแผนและดำเนินการให้มีการสื่อสาร แบบอินเตอร์แอคทีฟอย่างต่อเนื่อง (เช่น การหาข้อมูลเชิงรุก การแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างเปิดเผยและต่อเนื่องกับลูกค้าสายตรง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วคือผู้ค้าปลีก) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

• ประกันว่ามีการกำหนดรายละเอียดการตรวจสอบเพื่อความปลอดภัยของอาหารอย่างถูกต้องเหมาะสมและมีกระบวนการควบคุมตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพในทุกขั้นตอนโดยอาศัยข้อมูลจากการสื่อสารระหว่างผู้มีส่วนร่วมในห่วงโซ่อาหารทุกราย
• ให้ข้อมูลและหลักฐานตามความต้องการของลูกค้าและซัพพลายเออร์ในด้านความเป็นไปได้ ความจำเป็น และผลกระทบที่มีต่อผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย โดยอาศัยข้อมูลจากการสื่อสารระหว่างลูกค้าและซัพพลายเออร์

ระบบบริหาร ISO 22000 จะนำข้อกำหนดของ ISO 9001 มาพิจารณาเพื่อเพิ่มความเหมาะสม และประสิทธิภาพ ในการนำไปใช้ของมาตรฐานทั้งสอง

การควบคุมอันตราย (Hazard control)

ระบบการควบคุมอันตรายที่มีประสิทธิภาพจะต้องเกิดจากการผสมผสานกันอย่างสมดุลระหว่างโครงการรับรอง
มาตรฐานที่จำเป็นต้องทำก่อนตามความประสงค์ของลูกค้าและแผนจัดทำมาตรฐาน HACCP ที่ละเอียดครบถ้วน ซึ่ง ISO 22000 เป็นเสมือนจุดรวมระหว่างหลักมาตรฐาน HACCP และมาตรฐานเบื้องต้นอื่น ๆ (เช่น BRC และ IFS เป็นต้น) โดยการใช้การวิเคราะห์อันตราย (Hazard analysis) มากำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินมาตรการควบคุมอันตราย (Hazard control)

ISO 22000 แยกมาตรฐานเบื้องต้นออกเป็นส่วนโครงสร้างพื้นฐานและบำรุง และส่วนปฏิบัติการ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับข้อกำหนดพื้นฐานด้านสุขอนามัยอาหาร (Food hygiene) และการปฏิบัติที่ดี (Good practices) อย่างถาวร และเกี่ยวข้องกับการควบคุมหรือลดความเสี่ยงอันตรายในอาหารตามจุดที่ตรวจพบ ทั้งในตัวผลิตภัณฑ์ เองและกระบวนการแปรรูป ส่วน HACCP นั้นใช้สำหรับบริหารจุดวิกฤติ (Critical control point) ที่ต้องกำจัด ป้องกัน หรือลดความเสี่ยงอันตรายในผลิตภัณฑ์ในจุดที่ตรวจพบระหว่างการวิเคราะห์อันตราย

ความท้าทายของ ISO 22000 อยู่ที่ทำอย่างไรจึงจะได้รับการยอมรับจากผู้ประกอบธุรกิจทุกขั้นในห่วงโซ่ การผลิตอาหาร เป็นที่ค่อนข้างแน่นอนแล้วว่า มาตรฐาน HACCP ท้องถิ่นระดับชาตินั้นจะถูกแทนที่โดย ISO 22000 อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีความชัดเจนว่า ผู้ค้าปลีกจะ ยอมรับมาตรฐาน ISO 22000 หรือไม่ แต่สิ่งที่จะทำให้ ISO 22000 เป็นที่ยอมรับก็คือความเป็นสากลของตัวมาตรฐาน ซึ่งในภาวะที่มีการผลิตสินค้าจากแหล่งต่างๆ ออกสู่ตลาดสากลมากขึ้น เรื่อย ๆ การใช้มาตรฐาน ISO เดียวกันทั่วโลก ย่อมก่อให้เกิดความเชื่อมั่นได้เป็นอย่างดี

ความยืดหยุ่นในมาตรฐานอาหารและทิศทางในตลาดสากล

การที่จะระบุว่า “มาตรฐานใดดีที่สุด” จะต้องนำเงื่อนไขเหล่านี้มาพิจารณา กล่าวคือ
• มาตรฐานใดจะเป็นที่ยอมรับในหมู่ลูกค้าของท่านมากที่สุด
• มาตรฐานใดสามารถทำให้ ท่านบรรลุเป้าหมายสำคัญในด้านความปลอดภัยและคุณภาพอาหารได้ดีที่สุด
• มาตรฐานใดส่งเสริมธุรกิจของท่านและให้ต้นทุนห่วงโซ่การผลิต (Supply chain) ที่ดีที่สุด
• มาตรฐานใดที่ท่านสามารถให้องค์กรภายในประเทศดำเนินการได้พร้อมกับมีมาตรฐานการบริการระดับสูง

ในทุกกรณี จำเป็นต้องมีหน่วยงานรับรอง (Certification body) ท้องถิ่นที่มีความเชี่ยวชาญที่จำเป็นต่อการทำงาน และ มีความรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นนั้น ๆ การมีความยืดหยุ่นสูงจึงเป็นคุณสมบัติสำคัญของ หน่วยงานรับรองมาตรฐาน

การเลือกหน่วยงานรับรองมาตรฐานท้องถิ่นเป็นสิ่งสำคัญ เพราะแม้กระทั่งผู้ค้าปลีกสหราชอาณาจักรที่รับผลิตภัณฑ์ มาจากผู้ผลิตทั่วโลกยังต้องการให้การตรวจรับรองผู้ผลิตเหล่านั้นกระทำโดยผู้ตรวจรับรอที่ความสามารถที่พูดภาษา ท้องถิ่นและเข้าใจวัฒนธรรมและจารีตประเพณีในท้องถิ่นนั้นได้ การใช้บริการหน่วยงานรับรองมาตรฐานที่มีความรู้ ความเข้าใจถึงจุดร่วมระหว่างมาตรฐานต่างๆ มีความสำคัญเช่นเดียวกัน เพราะจะช่วยให้สามารถประสานมาตรฐานหนึ่ง เข้ากับอีกมาตรฐานหนึ่งได้เป็นอย่างดี

*** ทีมผู้เขียน

– Jacob Faergemand ผู้จัดการฝ่ายอาหาร บริษัท BVQi ประเทศเดนมาร์ก เป็นประธานคณะทำงาน ISO กลุ่ม 8 ดูแลการร่างมาตรฐาน ISO 22000

– Jamie Hunt หัวหน้าฝ่ายธุรกิจอาหารและเกษตรบริษัท BVQi สหราชอาณาจักร มีประสบการณ์กว่าสิบปี ในสาขา อาหารและเป็นหัวหน้าผู้ตรวจรับรองด้านอาหารและสุขภาพ และ ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม

– Benoit Mathieu ผู้จัดการทั่วไปแผนกอาหารและเกษตรบริษัท BVQi ฝรั่งเศส มีประสบการณ์ทำงานในบริษัทมาแล้วกว่า 25 ปี
Chris Garner ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ BVQi Global เป็นผู้ตรวจรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ (QMS) มีประสบการณ์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์มากว่า 15 ปี

เกี่ยวกับบริษัท BVQi

บริษัท BVQi มีสาขาอยู่ในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบ (Accreditation) จากหน่วยงานระดับประเทศต่าง ๆ จำนวน 32 ประเทศ ทำให้ BVQi มีศักยภาพสูงในการให้บริการตรวจสอบและรับรอง มาตรฐานผลิตภัณฑ์ทั้งในด้านคุณภาพ ความปลอดภัยในการบริโภค ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สิ่งแวดล้อมและ สังคม นอกจากนี้ยังสามารถบริการอบรมผู้ตรวจรับรองตามมาตรฐาน IRCA

ในส่วนที่เกี่ยวข้องการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหาร BVQi มีส่วนร่วมในการทำงานในโครงการรับรองมาตรฐาน มากมาย ในประเทศต่างๆ ทั่วยุโรป เช่น การรับรองคุณภาพจุกคอร์ก (สำหรับขวดไวน์) ในประเทศสเปนและโปรตุเกส รับรองต้นกำเนิดไวน์ในสเปนและมาตรฐานฉลากแดง (Red label) สำหรับรับรองคุณภาพอาหารในประเทศฝรั่งเศส เป็นต้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

บีวีคิวไอ ประเทศไทย
ตึกเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ ชั้น 16 เลขที่ 195 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพ 10120
โทรศัพท์ (66 2) 670 4800
โทรสาร (66 2) 670 0510
อีเมล : marketing@bvthailand.com
Website: www.bvthailand.com