SAS โซลูชั่นการจัดเก็บข้อมูลที่ดีที่สุดสำหรับองค์กรขนาดกลาง

องค์กรธุรกิจขนาดกลาง ต่างก็ต้องการโซลูชั่น ทางด้านการจัดเก็บข้อมูลสำหรับระบบการจัดการซัพพลายเชนในรูปแบบออนไลน์ และการจัดเก็บข้อมูลใกล้เคียงสำหรับข้อมูลและการสำรองข้อมูลที่มีความสำคัญไม่มากนัก

ขณะที่งบประมาณทางด้านไอทีได้ลดลง โซลูชั่น ทางด้านการจัดเก็บข้อมูลจึงต้องพัฒนาให้มีประสิทธิภาพต่อราคามากขึ้น และง่ายต่อการที่จะรวมเข้ากับโครงสร้างของระบบเดิม โดยที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด หรือไม่มีเลยย บริษัทจึงควรที่จะเชื่อมั่นในการลงทุนทางด้านโครงสร้างของระบบไอทีใหม่ๆ เพื่อที่จะช่วยในการป้องกันข้อมูลได้ ซึ่งโซลูชั่น ใหม่ๆ นี้ ต่างก็สามารถที่จะตอบสนองต่อความต้องการทางด้านประสิทธิภาพที่มากขึ้น รวมถึงการบำรุงรักษา การปรับขยายขนาด และความเข้ากันได้ เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่ล้าสมัย สำหรับการทำงานในอนาคต ภาพรวมของการเปลี่ยนแปลงการจัดเก็บข้อมูลในระดับองค์กร ซึ่งมีการเพิ่มระดับความต้องการในการทำงาน และความต้องการในการเข้าถึงข้อมูลบนเซิร์ฟเวอร์ ทำให้ SCSI (สกาสี่) คือคำตอบที่ชัดเจนที่สุด ในทางเลือกทั้งหมด ซึ่งจากช่วงเวลาที่ผ่านมากว่า 20 ปี SCSI ได้มีประสิทธิภาพ การปรับเปลี่ยนขนาด และความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย แต่ด้วยสถาปัตยกรรมแบบขนาน และมีการแชร์ข้อมูล บนบัส ซึ่งจำกัดที่ระดับหนึ่ง

ทุกวันนี้ทางผู้จัดการในระบบไอที ยังคงใช้ SCSI ในเฉพาะกรณีที่สำคัญ ขณะที่การลงทุนส่วนใหญ่นั้นได้ย้ายไปสู่ระบบที่มีความสำคัญไม่มากไปแล้ว หรือมีการแอคเซสข้อมูลไม่มาก จากระบบSCSI แบบออนไลน์ ไปสู่ระบบที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างต่ำกว่า

ซึ่งปัจจุบันพื้นทีการเก็บข้อมูลและรวมถึงราคาต่อไดรฟ์ที่ลดลง ต่างก็เริ่มเติบโตมากขึ้น โดยในเซิร์ฟเวอร์ราคาไม่แพง ต่างก็ได้หันมาใช้ไดรฟ์แบบ ATA กันมากขึ้น ซึ่งรวมไปถึงการปรับแต่งต่างๆ และการจำกัดข้อจำกัดของความยืดหยุ่นและการปรับขนาดในอนาคตเอาไว้
จากการออกแบบที่อยู่บนพื้นฐานของระบบขนาด ที่มีปัจจัยอยู่ที่ความน่าเชื่อถือ และประสิทธิภาพเป็นหลัก Serial Attached SCSI (SAS) ได้ถูกกำหนดขึ้นเป็นมาตรฐานใหม่ สำหรับประสิทธิภาพและการปรับขนาดได้ และยังสร้างปรากฏการณที่ไม่เคยมีมาก่อน สำหรับความเข้ากันได้ของระบบและความยืดหยุ่นสำหรับโซลูชั่น ทางด้าน การจัดเก็บข้อมูลในองค์กร ซึ่งคุณสมบัตินี้ ช่วยให้ผู้จัดการทางด้านไอที มีประสิทธิภาพในการลดจำนวนของส่วนประกอบต่างๆ ทางด้านไอทีในองค์กรไปได้ ความถึงลดความซับซ้อนที่เกิดขึ้น ในโซลูชั่น ทางด้าน Storage นอกจากนี้ SAS ยังมีความเหมาะสมทางด้านอื่นๆ อีก เช่น ให้ความจุสูงขณะที่ มีราคาในการสร้างที่ต่ำกว่า เพื่อเหมาะสำหรับโซลูชั่น ที่ราคาประหยัด นอกจากนั้นในการประยุกต์ใช้งานยังสามารถที่จะรวมกันระหว่า SAS และ SATA เข้ากันได้ ซึ่งเหมาะสำหรับองค์กรขนาดกลาง โดยมีค่าใช้จ่ายต่อประสิทธิภาพที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและการทำงานที่เหมาะสมได้ง่าย

1. ข้อมูลพื้นฐาน : Parallel SCSI vs. Parallel ATA

การทำงานร่วมกันได้สำหรับพาราเรล SCSI และ พาราเรล ATA ต่างก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่ต้องห่วง เพราะการทำงานของทั้งสองรูปแบบนั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงตามรูปแบบของการนำไปใช้งานเบื้องต้น ซึ่งแทบจะไม่เกี่ยวข้องกันเลย โดย SCSI ได้มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนสำหรับการใช้งานอย่างหนักในองค์กร ซึ่งต้องการความสามารถที่หลากหลาย ความง่ายในการควบคุม และการปรับแต่งที่สะดวก ขณะที่ ATA ได้ถูกออกแบบมาให้เหมาะสมสำหรับการทำงานบนเดสก์ทอปคอมพิวเตอร์ ซึ่งต้องการความเรียบง่ายในการใช้งาน และมีราคาที่ถูกกว่า

ในการทำให้บรรลุถึงเป้าหมายที่แตกต่างกัน ทั้งสองอินเทอร์เฟซต่างก็ได้ถูกสร้างขึ้นให้มีความแตกต่างกันทางด้านเทคโนโลยี และใช้งานร่วมกันไม่ได้เลย ซึ่งพาราเรล SCSI นั้น ออกแบบมาให้ทำงานในลักษณะของการส่งข้อมูลผ่านทางระบบบัส ซึ่งสามารถรองรับได้สูงสุดถึง 16 พอร์ต ในลักษณะของการเชื่อมต่อแบบลูกโซ่บนเคเบิลเพียงเส้นเดียว โดยการกำหนดพอร์ตนั้นจะกำหนดโดยโฮสต์ของ SCSI ในการเลือกใช้และสื่อสารข้อมูลในสำหรับทุกๆ พอร์ที่อยู่บนสายโซ่เดียวกัน ความยาวของสายเคเบิลสามารถกำหนดได้อย่างมากที่ 12 เมตร โดยสามารถมีอินเทอร์เฟซที่ใช้งานได้ทั้งแบบอินเทอร์นอล (ภายในเซิร์ฟเวอร์) และเอ็กเทอร์นอล (JBOD หรืออุปกรณ์ภายนอก)

โปรโตคอลการทำงานของ SCSI ได้รองรับคำสั่งที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานร่วมกับระบบการจัดการดิสก์ที่ซับซ้อนในองค์กร เช่น โปรแกรมประยุกต์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ การกู้ข้อมูลที่ผิดพลาดที่ก้าวหน้ากว่า และการปรับแต่งทางด้านประสิทธิภาพ โดยความแตกต่างแล้ว ATA ได้ถูกประยุกต์มาจากการเชื่อมต่อที่เรียกว่า Point-to-point โดยเป็นการเชื่อมต่อระหว่างพอร์ตสองพอร์ตเข้าหากัน ซึ่งต่างก็ไม่จำเป็นต้องมีใช้วิธีการกำหนดแอดเดรสเข้ามาเกี่ยวข้อง (โดยพื้นฐานแล้วได้ใช้ระบบ Master/Slave ในการทำงานก็เพียงพอแล้ว) ซึ่งวิธีการนี้จะควบคุมเฉพาะไดร์ฟแบบอินเทอร์นอลเท่านั้น และสายเคเยิลก็มีความยาวที่สั้นกว่า (1 เมตร) และไม่สามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ที่ต่อภายนอกได้ โปรโตคอลของ ATA จะเป็นลักษณะของรีจิสเตอร์ ซึ่งทำให้ง่ายและมีราคาที่ถูกกว่า

2. จุดเด่นของ SAS ที่มีต่อองค์กรธุรกิจระดับกลาง

SAS ต่างก็ได้มีการพัฒนาที่เหมาะสมสำหรับการทำงานได้มากขึ้น โดยเน้นที่โซลูชั่น ที่ให้ประสิทธิภาพสูงเมื่อเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่าย โดยประยุกต์ใช้งานให้เหมาะสมสำหรับการปรับแต่งจากส่วนกลาง ขณะที่ก็ยังแน่ใจว่าการลงทุนสำหรับโซลูชั่น แบบ SAS นั้นจะสามารถป้องกันได้

SAS ได้ถูกสร้างขึ้น โดยมีปัจจัยหลักๆ อยู่สามประการประกอบด้วยประสิทธิภาพ การปรับขยายขนาด และความเข้ากันได้ โดยขึ้นอยู่กับการรองรับขององค์กรที่ผ่านการยอมรับในความสามารถของ SCSI มาแล้ว (ให้ความน่าเชื่อถือในระดับขององค์การขนาดใหญ่, ชุดคำสั่งที่ก้าวหน้า และสมบูรณ์พร้อมที่สุด, และเหมาะสมสำหรับแอพพลิเคชันขนาดใหญ่ที่ทำงานบนระบบของ SCSI

2.1 ประสิทธิภาพ

ด้วยอัตราการถ่ายโอนข้อมูลขนาด 3.0 กิกะบิตต่อวินาที ก็เป็นสิ่งที่ชัดเจนสำหรับเป้าหมายที่จะไปสู่ระดับ 12.0 กิกะบิต ซึ่งจะทำให้เพิ่มประสิทธิภาพได้ในอนาคต โดย SAS ถูกออกแบบมาเป็นสถาปัตยกรรมแบบ Point-to-Point ที่ให้ใช้งานประสิทธิภาพของแบนด์วิดธ์ได้สูงสุด จากการออกแบบมาให้ใช้เส้นทางเพียงหนึ่งเดียวสำหรับอุปกรรืแต่ละตัว ซึ่งจะเป็นการลดข้อจำกัดของระบบพาราเรล SCSI ที่ใช้ระบบแชร์บั ที่จะทำให้ระบบนั้นช่าลงไปได้ โดยจะทำให้การปรับขยายขนาดนั้น ดีกว่าระบบเก่าที่เป็นสายโซ่ และการทำงานในระบบฟูลดูเพล็กซ์ ยังช่วยให้ข้อมูลสามารถที่จะส่งไปและกลับได้พร้อมๆ กันทั้งสองทิศทาง ซึ่งจะทำให้ได้ประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นเป็นสองเท่า และด้วยระบบพอร์ตของมูลแบบดูอัล หากว่าคอนโทรลเลอร์ตัวใดตัวหนึ่งของ SAS เกิดล่มสลายลง พอร์ตพิเศษ ก็จะเข้ามาช่วยเหลือในการทำงานโดยอัตโนมัติ ทำให้ไม่เกิดการสะดุดของข้อมูลขึ้น นอกจากนั้นระบบดูอัลพอร์ตยังสามารถรวมกันเป็นหนึ่งเดียว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการส่งข้อมูลขึ้นได้อีก

2.2 การขยายขนาด

สวิตช์ที่ราคาถูก เช่น ตัวเพิ่มขยาย ที่ปรับแต่งมีประสิทธิภาพสูงสุดได้โดยง่าย จากการเพิ่มไดรฟ์เข้าไปเพิ่มเพิ่มทั้งขนาดความจุและการนำข้อมูลเข้า ด้วยสามารถที่จะขยายเพิ่มขยายขนาด ได้ถึง16,384 ดีไวซ์ (โดยที่ SAS แต่ละดีไวซ์ สามารถมีได้สูงสุด 128 แชนแนล และแต่ละแชนแนลสามารถต่อได้ถึง 128 อุปกรณ์ ซึ่งเท่ากัน 16,384 อุปกรณ์) เปรียบเทียบกับพาราเรล SCSI ที่สามารถต่อได้ 16 อุปกรณ์ ในโดเมนของ SAS โดยปราศจากการลดประสิทธิภาพของระบบลง ซึ่งระบบของ SCSI หลายๆ ระบบ สามารถเชื่อมต่อกันได้โดยง่าย และให้ผลลัพธ์ของเอาพุตของข้อมูลได้ค่อนข้างสูง

ซึ่งการเพิ่มขยายขนาดนี้ สามารถเข้ากันได้กับระบบ SATA ไดรฟ์ โดยในระบบ SAS หนึ่งโดเมน สามารถที่จะประกอบระบบของ SASและ SATA ไดรฟ์ ซึ่งแต่ละอุปกรร์สามารถที่จะกำหนดแอดเดรสของแต่ละชิ้นได้ โดยปราศจากปัญหาของการขัดแย้งในเรื่องการกำหนดแอดเดรสของ SCSI หรือว่าเรื่องการกำหนดจุดเชื่อมต่อได้ไป สายเคเบิลที่ยาวกว่า สามารถที่จะต่อตรงเข้ากับสตอรเรจทั้งสองข้าง และสามารถต่อเข้สกับสตอเรจแอเรียที่แยกจากกันได้ ตัวขยายของ SAS สามารถที่จะขยายได้โดยง่าย มีค่าใช้จ่ายที่ไม่แพง ไปกว่าพาราเรล SCSI และการปรับแต่งระหว่าง SAS/SATA สามารถเป็นไปได้อย่างโดยง่าย

2.3 การใช้งานร่วมกัน

บนพื้นฐานของระบบ SAS ทั้ง Host Bus Adapter (HBA) และตัวเพิ่มขยายต่างก็สามารถใช้งานร่วมกับ SATA ได้ ซึ่งทำให้การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์หลายๆ ชนิด สามารถที่จะมีค่าใช้จ่ายในองค์กรสำหรับหน่วยงานทางด้านไอทีที่ต่ำลง พร้อมกับให้ความยืดหยุ่นในการที่จะเลือกใช้ไดรฟ์ที่ดีที่สุด สำหรับการใช้งาน โดย SAS จะเหมาะสมสำหรับการทำงานที่สำคัญขององค์กร ที่ต้องการการดำเนินการหรือว่าการออนไลน์ข้อมูลที่ต้องการประสิทธิภาพลแความน่าเชื่อถือที่ค่อนข้างสูง และ SATA จะเป็นโซลูชั่น ที่มีประสิทธิภาพต่อราคาที่เหมาะสมกว่า ซึ่งจะเหมาะสำหรับระบบแบ็กอัพหรือว่าระบบเก็บข้อมูลพื้นฐาน และการผสมผสานกันระหว่างไดรฟ์ ต่างก็สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ซึ่งเพียงแค่ติดตั้งไดรฟ์แบบ SAS หรือว่า SATA ลงไปแทนที่ก็เสร็จเรียบร้อยแล้ว

ไดรฟ์ของ SAS ต่างก็มีให้เลือกใช้งานทั้งแบบมาตรฐาน 3.5 นิ้วแ ละ 2.5 นิ้ว ซึ่งไดรฟ์ SAS ขนาด 3.5 นิ้ว สามารถที่จะแชร์การทำงานร่วมกับไดรฟ์แบบ SATA ในมาตรฐานเดียวกันได้ ซึ่งมาตรฐานที่อยู่บนแพลตฟอร์มอันเดียวกันนี้ จะช่วยให้ลดจำนวนของส่วนประกอบที่จำเป็นสำหรับแผนกไอที และเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและการบริหารจัดการวัสดุที่มีอยู่ ซึ่งจะช่วยในการลดค่าใช้จ่ายและความซับซ้อนของระบบการเก็บข้อมูล และสามารถช่อวยลดความต้องการทางด้านการจัดการทรัพยากรรวมถึงการรองรับการใช้งานสำหรับบุคคลกรลงไปได้ด้วย ซึ่งองค์กรธุรกิจขนาดเล็ก สามารถเริ่มต้นที่จะใช้จ่ายกับระบบ SAS ด้วยการใช้ไดรฟ์แบบ SATA ได้ และเมื่อองค์กรได้เติบโตมากขึ้น และมีความต้องการทางด้านการเก็บข้อมูลที่เพิ่มขึ้นตาม ก็สามารถที่จะเพิ่มไดรฟ์แบบ SAS เข้าไปแทนที่ โดยไม่จำเป็นต้องอัพเกรดระบบ เพราะ SAS และ SATA ต่างก็สามารถที่จะรวมเข้ากันเป็นระบบเดียวกันได้ ซึ่งการใช้งานระบบที่เป็น SAS นี้จะช่วยให้สามารถควบคุมการบริหารค่าใช้จ่ายสำหรับระบบสตอเรจในองค์กรได้อย่างเต็มช่วงเวลา

สำหรับผู้ใช้สามารถที่จะมีออปชั่นในการใช้งานไดรฟ์ Seagate Savvio 2.5 นิ้วแบบ SAS เมื่อความต้องการทางด้านข้อมูลต่อวินาทีที่มากกว่านั้น ต้องการมีพื้นที่ใช้สอยที่น้อยลง เพื่อลดภาระทางด้านพื้นที่ของ data center ดังนั้น Savvio ดิสก์ไดรฟ์ที่ออกแบบมาให้มีขนาดที่เล็กลงเท่าที่จะเป็นไปได้ จึงช่วยให้สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ จากการทำงานเซิร์ฟเวอร์มีขนาดที่เล็กลงกว่า50 เปอร์เซ็นต์จากเซิร์ฟเวอร์ที่ให้ประสิทธิภาพระดับเดียวกันในปัจจุบัน ที่ใช้ไดรฟ์ 3.5 นิ้วอยู่

2.4 การรวมมาตรฐานของ SCSI

SAS ได้มีการใช้งานถึง 3 โปรโตคอลด้วยกัน ในการพิสูจน์ถึงประสิทธิภาพของอินเทอร์เฟซแบบ SCSI ซึ่งปนะกอบด้วย Serial SCSI Protocol (SSP) ในการสื่อสารกันระหว่างอุปกรณ์ SAS และซอฟแวร์ของ SCSI มีระบบการจัดการแบบ SCSI Management Protocol (SMP) ในการเชื่อมต่อ SAS แบบจุดต่อจุด รวมทั้ง Serial ATA Tunneling Protocol (STP) ที่จะช่วยให้คอนโทรลเลอร์สามารถจะรู้จักและสื่อสารกับอุปกรณ์แบบ SATA ได้

จากชุดคำสั่งของ SCSI ที่มีอยู่ SAS จะมีผลต่อการลงทุนขององค์การเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ของ SCSI รวมทั้งมิดเดิ้ลแวร์และไดรเวอร์ทั้งหลายได้ โดยในปัจจุบันซอฟต์แวร์และมิดเดิ้ลแวร์สำหรับ SCSI ต่างก็เพียงแต่รอการปรับปรุงทางด้าน SMP และ STP เพื่อนำไปสู่ฟังก์ชันการทำงานของ SAS เท่านั้น ซึ่งผู้จัดการทางด้านไอทีทั้งหลายสามารถนำความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ทางด้าน SCSI เพื่อเตรียมพร้อมกับการนำมาใช้กับไดรฟ์ SAS ได้ ซึ่งจะเป็นการง่ายมากสำหรับการพัฒนาไปสู่ SAS

ระบบคิวของคำสั่งของ SCSI ที่ก้าวหน้ามากกว่า จะทำให้เกิดประสิทธิภาพที่สูง สำหรับตอบสนองต่อความต้องการในระดับองค์กร ที่มีเงื่อนไขทางด้านความคับคั่งของข้อมูล (เช่น ความถี่ในการใช้งาน การเข้าถึงข้อมุลจากหลายๆ แหล่ง) ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งผลลัพธ์ของ SCSI ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า มีความน่าเชื่อถือที่ตะสร้างความมั่นใจให้กับระดับองค์กร รวมทั้งทีความมั่นคงต่อการใช้งานที่สำคัญและต้องการการป้องกันที่ดี

3. บทสรุป

จากงบประมาณที่จำกัดที่กดดันต่อการลงทุนขององค์กรระดับกลาง ส่งผลทำให้เกิดการลดค่าใช้จ่ายลง ดังนั้นระบบโซลูชั่น ของสตอเรจที่สามารถลดจำนวนของอุปกรณ์และลดความซับซ้อนของระบบลงได้นั้น จะช่วยป้กงหันไม่ให้การลงทุนได้ในทั้งระยะสั้นและระยะยาว ต่างก็สามารถที่จสร้างความน่าสนใจขึ้นมาได้ ซึ่งการพัฒนาโซลูชั่น ที่ยืดหยุ่นที่สุดนี้ ช่วยให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีที่สุด และมีความคุ้มค่าต่อการลงทุนมากที่สุดจะทำให้เกิดความสำเร็จตามมา

SAS ช่วยให้เกิดความสำเร็จโดยรวมเกิดขึ้น จากการผสมผสานกันระหว่างสี่เงื่อนไขที่น่าสนใจ (ประกอบด้วย ประสิทธิภาพ, การขยับขยาย ความเข้ากันได้ และคุณสมบัติของ SCSI) ไปยังโซลูชั่น ที่เหมาะสม สอดคล้องกัน และเป็นโซลูชั่น ที่ครอบคลุม ซึ่งผลลัพธืนี้ก็คือ Serial Attached SCSI ได้สร้างมาตรฐานใหม่ที่มีประสิทธิภาพสำหรับโซลูชั่น ทางด้านสตอเรจแก่องค์กร ซึ่งเป็นโซลูชั่น ที่เหมาะสมสำหรับองค์กรขนาดกลางนั่นเอง