จูนิเปอร์ เน็ตเวิร์คส์ ปี 2547 และทิศทางเทคโนโลยีปี 2548 ที่กำลังมาเยือน

ไฮไลท์จูนิเปอร์ เน็ตเวิร์คส์ของปี พ.ศ. 2547

– เรื่องที่ดำเนินไปตามแผนที่วางไว้
– เรื่องที่ไม่เป็นไปตามแผนงาน

ปีนี้จัดเป็นปีแห่งการก้าวกระโดดสู่ความสำเร็จของ จูนิเปอร์ เน็ตเวิร์คส์ เริ่มด้วยการขยายกิจการด้วยการซื้อ NetScreen มาด้วยมูลค่า สี่พันล้านเหรียญสหรัฐ ตลอดจนการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ในสายเร้าติ้งที่เรียกว่า CPE จูนิเปอร์ เน็ตเวิร์คส์ ได้เปลี่ยนตัวเองจากเวนเดอร์เร้าเตอร์สำหรับกลุ่มเซอร์วิสโปรวายเดอร์ มาสู่ผู้นำเสนอระบบเครือข่าย และโซลูชั่นเพื่อความปลอดภัยของระบบเครือข่าย ด้วยลูกค้าระดับ25 บริษัทสื่อสารชั้นนำ (carrier) ของโลกทุกรายมาจนถึงระดับออฟฟิซเล็กๆ ต่างก็วางใจใช้โซลูชั่นของจูนิเปอร์ เน็ตเวิร์คส์ได้เท่าเทียมกัน ในแง่การเงิน ไตรมาสที่ผ่านมาเดือนกันยายนถือเป็นประวัติการณ์ที่ดีที่สุดของจูนิเปอร์ เน็ตเวิร์คส์ สามารถกล่าวได้เต็มภาคภูมิถึงยอดรายรับที่เติบโตในอัตราร้อยละ48 ในภาคพื้นเอเชียแปซิฟฟิก เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ จูนิเปอร์ เน็ตเวิร์คส์ยังเติบโตในแง่ของพนักงานที่เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวเป็นจำนวน 400 คน ถึงต้องขยายพื้นที่สำนักงานใหญ่ (ภาคพื้น) ที่ฮ่องกงเป็นสองเท่าอีกด้วย

จูนิเปอร์ เน็ตเวิร์คส์มองถึงการเติบโตของตนว่าไม่เพียงแต่สร้างรากฐานให้แก่บริษัทเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างรากฐานของอุตสาหกรรมสายนี้ด้วย จูนิเปอร์ เน็ตเวิร์คส์ได้สร้างและโปรโมตคุณสมบัติสำคัญของระบบเครือข่ายเสมือน (virtual network) เริ่มต้นถึงสิ้นสุด จากส่วนบนสู่ส่วนล่าง จากโครงสร้างของผู้ใช้ระบบสาธารณะและผู้ให้บริการระบบเครือข่าย จนถึง โครงสร้างของระบบเครือข่ายส่วนตัว (private network) ของเหล่าบริษัทธุรกิจทั้งเล็กและใหญ่ และบัดนี้ จูนิเปอร์ เน็ตเวิร์คส์ เติบโตเกินหน้ากว่าที่เคยเป็นในยุคที่เศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งมิใช่เป็นประสบการณ์ที่หลายบริษัทนักจะมีโอกาสเช่นเดียวกันนี้ในวงการอุตสาหกรรมระบบเครือข่าย

เป้าหมายหลักของจูนิเปอร์ เน็ตเวิร์คส์ตั้งแต่เมื่อครั้งก่อตั้งบริษัทในปี พ.ศ. 2539 นั้นมีชัดเจน จูนิเปอร์ เน็ตเวิร์คส์ได้วางเป้าไว้ ณ จุดที่จัดเป็นปัญหาเชิงกลยุทธ์และเป็นโอกาสมาโดยตลอด โดยพุ่งไปที่ปัญหาความปลอดภัยของระบบเครือข่าย ซึ่งเป็นจุดที่จูนิเปอร์ เน็ตเวิร์คส์ต้องการเข้าไปแก้ปัญหา เริ่มต้นจากส่วนบนของตลาดและสร้างทางลงมายังส่วนล่าง โดยมองเห็นเป็นความเชื่อมโยงกันดังนี้ คอร์เร้าติ้งนั้นต้องอาศัยบรอดแบนด์ ซึ่งต้องอาศัยระบบเครือข่ายที่ทันสมัย ซึ่งจะทำงานได้ดีก็ต่อเมื่อมีความปลอดภัยในการใช้งานสื่อสารต่างๆ และจากภาพการอาศัยกันและกันทั้งหมดนี้ เรากำลังมองดูอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจเป็นที่รู้จักกันในนาม อุตสาหกรรมระบบเครือข่ายเสมือน (virtual network industry)

ในแวดวงตลาดระบบเครือข่ายและความปลอดภัยบนระบบเครือข่ายที่จูนิเปอร์ เน็ตเวิร์คส์อยู่นั้น MPLS (multi protocol label switching) เป็นเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความสนใจ – เป็นทิศทางพัฒนาการทางเทคโนโลยีที่จูนิเปอร์ เน็ตเวิร์คส์เล็งเห็นและทำการโปรโมต ซึ่งในปี 2547 นี้เราก็ได้เห็นการก่อตัวของอินเตอร์เน็ตแบ็คโบนรุ่นใหม่เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของเรา อาศัย IPv6 และบริการ IP แบบก้าวหน้าและมีความซับซ้อนมากขึ้น

บรอดแบนด์เองก็ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง องค์กรธุรกิจมากมายต่างหันมาใช้ รวมทั้งในระดับออฟฟิซขนาดเล็กหรือตามบ้าน ดังนั้น จะเห็นได้ว่า เรื่องของความปลอดภัยจึงกลายมาเป็นประเด็นร้อนอันดับหนึ่งของแต่ละบริษัท จากที่เคยอยู่อันดับล่างๆ ในวาระการประชุมมาก่อน พร้อมๆ กันกับเรื่องความปลอดภัยนั้น เราก็กำลังเห็นการเติบโตของ QoS (quality of service) หรือคุณภาพของการบริการแก่ผู้ใช้ระบบเครือข่าย ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคของบรรดา carriers หรือ เซอร์วิสโปรวายเดอร์ทั้งหลายต่างมองหา

และในทั่วภูมิภาคนี้ จูนิเปอร์ เน็ตเวิร์คส์ ยังคาดการณ์ถึงการเติบโตของ VoIP อีกด้วย ซึ่งจะกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการติดตั้งเพื่อใช้งานทั่วไป ทว่า การติดตั้ง VoIP นั้น ยังมักจะขาดคุณภาพอยู่ ซึ่งทางจูนิเปอร์ เน็ตเวิร์คส์เห็นว่าเป็นประเด็นสำคัญและเป็นโอกาสของจูนิเปอร์ เน็ตเวิร์คส์ในการเข้าแก้ปัญหา เนื่องจากจูนิเปอร์ เน็ตเวิร์คส์มีโซลูชั่นเพื่อการนี้พร้อมอยู่แล้ว

ทิศทางเทคโนโลยีของปี 2548

– สิ่งที่จูนิเปอร์ เน็ตเวิร์คส์คาดการณ์ว่าน่าจะเกิดขึ้น
– สิ่งที่เราคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นจากจูนิเปอร์ เน็ตเวิร์คส์

ประสานเข้าด้วยกันจะเข้าแทนที่ความปลอดภัยแบบตัวใครตัวมัน (silos) เป็นคำทำนายจากจูนิเปอร์ เน็ตเวิร์คส์ ก้าวสู่ปี 2548 ด้วยวิสัยทัศน์จากจูนิเปอร์ เน็ตเวิร์คส์ที่เห็นว่าความพร้อมเรื่อง IPv6 ในองค์กร และอินเตอร์เน็ตเคลื่อนที่ จะได้รับความสำคัญเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดตั้ง WiMax ซึ่งจูนิเปอร์ เน็ตเวิร์คส์เห็นว่าจะได้รับความสนใจมากขึ้นเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบเครือข่ายเสมือน ซึ่งการติดตั้ง WiMax นั้นจะเชื่อมโยงโดยตรงกับโครงสร้างระบบเครือข่ายหลัก เพื่อจัดการกับการใช้งานของผู้ใช้จำนวนมาก และเพื่อบริหารความปลอดภัยในการที่ต้องรองรับอุปกรณ์ IPv6 ที่นับวันมีแต่จะเพิ่มจำนวนมากขึ้น รวมทั้งการสื่อสารเข้าระบบในแบบไร้สาย ตามการคาดการณ์ระดับการใช้งานที่จะทะยานสูงขึ้นอย่างอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว

ในปี 2548 จูนิเปอร์ เน็ตเวิร์คส์วางเป้าการทำตลาดในทิศทางดังที่ได้กล่าวมานี้ อันเป็นทิศทางที่เป็นความต้องการของผู้ใช้งานตามจริง ก่อนหน้านี้ จูนิเปอร์ เน็ตเวิร์คส์ ได้เปิดตัว J-series, RA-500 เพื่อรองรับตลาด SMEs ซึ่งความต้องการทางด้านระบบเครือข่ายของตลาดกลุ่มนี้ได้เพิ่มความซับซ้อนยิ่งไปกว่าเดิม ต้องการความปลอดภัย และคุณภาพของการให้บริการ ในระดับเดียวกันกับบริษัทขนาดใหญ่ทั้งหลายเช่นกัน

ความปลอดภัยนั้น เป็นเรื่องของความเชื่อมั่น ความมั่นใจของคนเป็นหลัก ซึ่งจัดว่าเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเติบโตของระบบเครือข่ายเสมือนในการที่องค์กรจะนำไปใช้งาน อันเป็นเหตุผลประการสำคัญที่จูนิเปอร์ เน็ตเวิร์คส์เห็นว่วาความปลอดภัยเป็นประเด็นสำคัญ เป็นคำถามที่ต้องหาคำตอบ เพื่อการเติบโตอย่างรวดเร็วทั่วถึงในอุตสาหกรรมนี้ โดยต้องการให้องค์กรต่างเห็นความสำคัญ นำไปปรับใช้ ดังนั้นจูนิเปอร์ เน็ตเวิร์คส์จึงต้องมุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อจัดการกับปัญหาและนำเสนอโซลูชั่นเพื่อแก้ปัญหา

เทคโนโลยีที่ฉลาดและให้ความเร็วในเวลาเดียวกัน ไม่ว่าจะในสถานการณ์ใดนั้นถือเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความสำคัญอันดับหนึ่งที่ต้องเร่งพัฒนาออกสู่ตลาดก่อนสิ่งอื่นใด ทุกวันนี้ ปัญหาทางเทคนิคที่เราก็คือ เราต้องประสบ คือ เราได้อย่างหนึ่งแต่ต้องขาดอีกอย่างหนึ่งไป เช่น เราสามารถมีระบบที่เร็วแต่เรียบง่ายไร้ความซับซ้อน หรือ มีระบบที่ฉลาดแต่ทำงานช้า ซึ่งไม่ว่าจะเป็นอย่างใด ก็ยอมรับไม่ได้ทั้งสิ้น

ระบบที่ฉลาดและทำงานเร็วนั้น เป็นอีกประการหนึ่งที่ชูให้จูนิเปอร์ เน็ตเวิร์คส์มีความโดดเด่นและแตกต่างจากเวนเดอร์อื่นๆ จะเห็นได้จาก 5GT ที่จำหน่ายในราคาไม่กี่ร้อยเหรียญสหรัฐ จนถึงผลิตภัณฑ์ประเภทคอร์เร้าเตอร์ที่ต้องจัดซื้อกันในราคากว่าล้านเหรียญ ทั้งสองประเภทต่างก็ทั้งฉลาดและเร็วกว่าผลิตภัณฑ์ตัวเลือกอื่นๆ ในสายเดียวกัน

จูนิเปอร์ เน็ตเวิร์คส์วางแผนการขยายงานสู่ความปลอดภัยแบบประสานกันทั้งระบบ รวมทั้งสนับสนุนวิสัยทัศน์ของตนในเรื่อง อินฟราเน็ต ซึ่งเป็นระบบเครือข่าย IP สาธารณะที่ผนวกเอาเอาอินเตอร์เน็ตเข้ากับประสิทธิภาพที่รับประกันได้ที่มาพร้อมกับความปลอดภัยแบบระบบเครือข่ายส่วนตัวเพื่อสนับสนุนการสื่อสารทุกประเภท แนวคิดนี้พัฒนาโดยสมาพันธ์ผู้ก่อตั้งอินฟราเน็ต (Infranet Initiative Council) อันเป็นการรวมตัวของกลุ่มผู้นำอุตสาหกรรม นำโดยจูนิเปอร์ เน็ตเวิร์คส์ ซึ่งกำลังศึกษาวิธีการให้บริการที่รับประกันคุณภาพบนระบบเครือข่ายสาธารณะ

จูนิเปอร์ เน็ตเวิร์คส์มีความเห็นว่าโครงสร้างอินเตอร์เน็ตที่ปลอดภัยและรับประกันคุณภาพบริการได้ เป็น “จุดหมายที่ไม่สามารถหลบเลี่ยงได้” ที่ต้องอุบัติขึ้นในอุตสาหกรรมระบบเครือข่ายนี้ สำหรับจูนิเปอร์ เน็ตเวิร์คส์แล้ว วิวัฒนาการของอินเตอร์เน็ตนั้นแท้จริงเป็นเป้าหมายของสมาพันธ์ผู้ก่อตั้งอินฟราเน็ต (Infranet Initiative Council) ที่เปิดตัวเป็นครั้งแรกในงานเทเลคอม เจนีวา ปี พ.ศ. 2546 โดยจูนิเปอร์ เน็ตเวิร์คส์ร่วมกับลูเซน เทคโนโลยี่ส์ ปัจจุบันมีบริษัท 25 บริษัทที่เข้าร่วมสมาพันธ์ อาทิ บริติช เทเลคอม ดอท์ยช์ เทลเคอม หัวเหว่ย และ เคที (ก่อนหน้านี้คือ โคเลีย เทเลคอม)

วัตถุประสงค์ของจูนิเปอร์ เน็ตเวิร์คส์เรื่องอินฟราเน็ต คือ ความสามารถในการสื่อสารผ่านทางระบบเครือข่ายเสมือนโดยที่สามารถรับประกันประสิทธิภาพได้ถึงระดับแอพพลิเคชั่น ทั้งหหมดนี้ หากจะกลก่าวโดยสรุป คือ จูนิเปอร์ เน็ตเวิร์คส์ต้องการถอยห่างออกมาจากทูลความปลอดภัยแบบเก่าๆ และก้าวสู่ระบบยุคใหม่ที่ความปลอดภัยเป็นส่วนหนึ่งที่ผนวกเข้ามาด้วยกับอุปกรณ์เลย

อินฟราเน็ตต้องอาศัยข้อตกลงบนมาตรฐานสองแบบ ดังนี้ อินเตอร์เฟซแบบไคลเอนต์ (CNI) ให้แอพพลิเคชั่นสามารถแจ้งระบบเครือข่ายถึงสิ่งต้องใช้เพื่อรับประกันคุณภาพการให้บริการ และ อินเตอร์เฟซแบบผู้ให้บริการ (ICI) ซึ่งข้อปลีกย่อยเชิงเทคนิคสามารถส่งผ่านเน็ตเวิร์คโดเมนต่างๆ ได้ ซึ่งผู้ให้บริการ (carriers) จะสามารถแจ้งค่าใช้จ่ายแก่ผู้ใช้ (ลูกค้า) ตามประเภทการสื่อสาร ตามปริมาณข้อมูลที่ส่งผ่านระบบของแต่ละฝ่ายได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่า หากจะให้ระบบอินฟราเน็ตเกิดขึ้นได้จริงๆ ต้องผลักดันมาตรฐานสองส่วนนี้ให้เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกให้ได้

และจูนิเปอร์ เน็ตเวิร์คส์ก็ได้ไปถึงเป้าหมายที่วางไว้เมื่อต้นปีนี้ เมื่อสมาชิกในสมาพันธ์ต่างให้การยอมรับสถาปัตยกรรมอินฟราเน็ต และร่วมกันพัฒนาแอพพลิเคชั่นจำลองขึ้นมาห้าแอพพลิเคชั่นแรกของโลก ที่สามารถทำงานภายในสภาพแวดล้อมอินฟราเน็ตได้ดี แอพพลิเคชั่นเหล่านี้ ประกอบด้วย multi-provider VPNs, fixed-mobile convergence, web radio, web video และ การกระจายการใช้งานซอฟท์แวร์ จูนิเปอร์ เน็ตเวิร์คส์คาดการณ์ว่าจะได้มีความพยายามเกิดขึ้นในการย้ายจากอินเตอร์เน็ตมาสู่อินฟราเน็ต และจูนิเปอร์ เน็ตเวิร์คส์ก็ได้เตรียมแผนงานไว้รองรับอุบัติการณ์เหล่านี้ไว้พร้อมแล้ว