กรุงเทพฯ – 22 มีนาคม 2548– บริษัท ควอลคอมม์ อินคอร์ปอเรทเต็ด (หรือมีชื่อในตลาดหุ้นแนสแด็กคือ QCOM) ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกและพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายดิจิตอลระบบ CDMA ชั้นนำของโลก เผยว่า เทคโนโลยีมัลติมีเดียไร้สายความเร็วสูง CDMA2000? 1xEV-DO รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารเชิงพาณิชย์อีกกว่า 100 ชนิดที่วางตลาดในปัจจุบัน หรือที่ได้รับการออกแบบให้รองรับชิปเซ็ทสำหรับแพลทฟอร์มมัลติมีเดีย MSM? และ MSM6500? รวมทั้งชิปเซ็ทสำหรับแพลทฟอร์มมัลติมีเดียพลังสูง MSM6550 กำลังเป็นที่ต้องการอย่างแพร่หลาย โดยปัจจุบัน ผู้ให้บริการจำนวน 17 รายจากทั่วโลกทั้งในภูมิภาคเอเชีย ออสเตรเลีย ยุโรป อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ สนับสนุนอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยี 1xEV-DO ของควอลคอมม์ ให้แก่ผู้จดทะเบียนใช้บริการจำนวนมากกว่า 12 ล้านราย และด้วยอุปกรณ์สื่อสารที่ใช้ชิปเซ็ท 1xEV-DO ของควอลคอมม์ จะทำให้ผู้ใช้บริการสื่อสารไร้สายสามารถท่องโลกอินเทอร์เน็ต ดาวน์โหลดอีเมล์ และใช้ไฟล์ ภาพถ่าย วิดีโอ และอื่นๆ ร่วมกันผ่านเครือข่ายความเร็วในระดับความเร็วเทียบเท่ากับบรอดแบนด์
“ควอลคอมม์ ได้ร่วมมือกับผู้ผลิตอุปกรณ์สื่อสารไร้สายและผู้ประกอบการชั้นนำจากทั่วโลกอย่างใกล้ชิดเพื่อพัฒนาระบบมัลติมีเดียแบบไร้สายให้มีขีดความสามารถรองรับการใช้งานของผู้บริโภค ได้อย่างทั่วถึง” ดร. ซานเจ เค. จาห์ ประธานบริษัท ควอลคอมม์ ซีดีเอ็มเอ เทคโนโลยี่ส์ กล่าวและเสริมว่า “และด้วยเทคโนโลยี 1xEV-DO ทำให้พันธมิตรของเราสามารถคิดค้นและพัฒนาอุปกรณ์มัลติมีเดียแบบครบวงจรเพื่อให้ลูกค้าเลือกใช้ได้อย่างหลากหลายมากที่สุด โดยทำงานบนเครือข่ายข้อมูลความเร็วสูง 1xEV-DO ที่ทรงพลังและเปี่ยมประสิทธิภาพ”
ทั้งนี้ ชิปแบบเดี่ยว MSM6500 สำหรับแพลทฟอร์มมัลติมีเดีย ประกอบด้วยตัวประมวลผล ARM9? ความเร็ว 150 MHz ทั้งยังรองรับการทำงานร่วมกับกล้องดิจิตอลความละเอียด 1.3 ล้านพิกเซล ระบบออดิโอและวิดีโอ สตรีมมิ่ง ความเร็ว 15 fps QCIF และอัตราความเร็วในการอัพเดทภาพ 3 มิติ บนหน้าจอ (refresh rate) อย่างราบรื่นไม่สะดุด ด้วยความเร็ว 400 กิโลบิตต่อวินาที ตลอดจนสนับสนุนการรับสัญญาณระบบจีพีเอสอย่างต่อเนื่องและหลากหลาย โดยใช้เทคโนโลยีค้นหาพิกัดตำแหน่ง gpsOne? ของควอลคอมม์ และบริการถ่ายทอดรายการไปยังผู้ชมจำนวนมากในเวลาเดียวกัน (Broadcast-multicast services)
โซลูชั่น MSM6550 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีแพลทฟอร์มมัลติมีเดียพลังสูงของควอลคอมม์มีสมรรถนะในการประมวลผลสูงขึ้น โดยใช้ตัวประมวลผล ARM9 225 MHz เพื่อสนับสนุนการทำงานร่วมกับกล้องดิจิตอลที่ให้ความละเอียด 4.0 ล้านพิกเซล ระบบออดิโอและวิดีโอ ออน ดีมานด์ ความเร็ว 30 fps QVGA และอัตราความเร็วในการอัพเดทภาพ 3 มิติบนหน้าจอ (refresh rate) ความละเอียด 7 ล้านพิกเซล พร้อมด้วยฮาร์ดแวร์เร่งความเร็วในการแสดงภาพ นอกจากนี้ ชิปเซ็ท MSM6550 ยังสนับสนุนระบบโทรศัพท์ด้วยภาพด้วยความเร็ว 15 fps QCIF โดยใช้โซลูชั่น Mediacasting หรือระบบส่งข้อมูลผ่านสื่อที่เรียกว่า MediaFLO? และระบบจีพีเอสแบบต่อเนื่องโดยใช้เทคโนโลยีค้นหาพิกัดตำแหน่ง gpsOne
สำหรับแผนการพัฒนาโซลูชั่นตระกูล DO ของควอลคอมม์ ประกอบด้วยชิปเซ็ท MSM6800? พร้อมด้วยเทคโนโลยี CDMA2000 1xEV-DO Rev. A เพื่อเพิ่มคุณลักษณะการทำงานใหม่ๆ ให้กับเครือข่าย 1xEV-DO ในปัจจุบัน ดังนี้
• คุณภาพของการให้บริการ (Quality of Service: QoS) – เสริมประสบการณ์ด้านมัลติมีเดียให้แก่ลูกค้า โดยสนับสนุนระบบให้สามารถบริหารจัดการผู้ใช้งานและแอพพลิเคชั่นต่างๆ ตามลำดับความสำคัญที่แตกต่างกัน
• บริการเผยแพร่ข้อมูลไปยังหลากหลายแห่ง (Platinum Multicast) – ช่วยให้ผู้ให้บริการเครือข่ายสามารถให้บริการระบบมัลติมีเดีย เพื่อส่งภาพและเสียงที่ชัดเจนให้แก่ผู้ใช้หลายคนได้พร้อมๆ กัน
• บริการส่งแพ็คเก็ตข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด (Optimized for packet data service) – สนับสนุนความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดถึง 3.1 Mbps สำหรับการรับส่งข้อมูลแบบ forward link และ 1.8 Mbps สำหรับระบบ reverse link ทำให้มีต้นทุนในการรับส่งข้อมูลต่อบิทต่ำสุด ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการปรับระบบการรับส่งข้อมูลเมื่อเปรียบเทียบกับเทคโนโลยีเครือข่าย WAN แบบไร้สายประเภทอื่นๆ
• บริการไอพี (IP-based Services) ได้แก่ บริการสื่อสารด้วยเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP) ที่มีระบบเสียงอันชัดเจน และแอพพลิเคชั่นหลากหลายประเภท อาทิ โซลูชั่นเกม 3 มิติแบบอินเตอร์แอคทีฟสำหรับกลุ่มผู้เล่นขนาดใหญ่ ระบบรับส่งข้อความแบบทันทีพร้อมด้วยคอนเท้นท์มัลติมีเดียที่สมบูรณ์แบบ และระบบโทรศัพท์ภาพ เพื่อสร้างความประหยัดและคุ้มค่าสูงสุด
นอกจากนี้ ชิปเซ็ทของควอลคอมม์ยังสนับสนุนโซลูชั่นมัลติมีเดีย Launchpad? อันล้ำสมัย ระบบเชื่อมต่อ ระบบค้นหาตำแหน่ง ระบบการเชื่อมโยงการทำงานกับผู้ใช้ และระบบจัดเก็บข้อมูลที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ รวมทั้งโซลูชั่น gpsOne ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสำหรับโทรศัพท์มือถือที่พัฒนาจากระบบจีพีเอสและมีการใช้งาน อย่างแพร่หลายที่สุดของโลก
ชิปเซ็ทสำหรับแพลทฟอร์มมัลติมีเดียและชิปเซ็ทแพลทฟอร์มมัลติมีเดียพลังสูง สนับสนุนระบบนิเวศน์วิทยา BREW? เพื่อให้มีการพัฒนาแอพพลิเคชั่นและคอนเท็นท์อันล้ำสมัย ส่งผลให้ผู้ให้บริการและผู้ผลิตอุปกรณ์สามารถสร้างความแตกต่างและโดดเด่นให้กับสินค้าและบริการเพื่อเพิ่มรายได้ได้มากขึ้น ชิปเซ็ทของควอลคอมม์ สามารถใช้ได้กับระบบการทำงาน J2ME? ที่ใช้เทคโนโลยีจาวา (Java?) ซึ่งพัฒนาบนชิปเซ็ทให้เป็นเทคโนโลยีต่อยอดจากระบบ BREW
###
ควอลคอมม์ อินคอร์ปอเรทเต็ด (www.qualcomm.com) เป็นผู้นำในการพัฒนาระบบและบริการสื่อสารไร้สายแบบ ดิจิตอล ที่พัฒนาจากเทคโนโลยีดิจิตอลซีดีเอ็มเอ ควอลคอมม์มีสำนักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่เมือง ซานดิเอโก มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา และติดอันดับดัชนีของเอสแอนด์พี 500 รวมทั้งติดอันดับบริษัทฟอร์จูน 500 ในปี 2546 ควอลคอมม์เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แนสแด็ก โดยมีสัญลักษณ์ที่ใช้ในตลาดแนสแด็กคือ QCOM
ข้อมูลที่กล่าวถึงในจดหมายข่าวฉบับนี้นอกจากจะประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของบริษัทฯ แล้ว ยังมีข้อมูลที่เป็นการประเมินสถานการณ์ในอนาคต ซึ่งคำนึงถึงความเสี่ยงและความไม่แน่นอนต่างๆ รวมถึงปัจจัยทางด้านการพัฒนาออกแบบและผลิตชิ้นส่วน อุปกรณ์ระบบซีดีเอ็มเอ ในปริมาณมากได้ตรงตามเวลา และการสร้างผลกำไร รวมทั้งความรวดเร็วในการยอมรับและนำเทคโนโลยี
ซีดีเอ็มเอมาใช้ การเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจในตลาดที่บริษัทดำเนินการ และความเสี่ยงภัยอื่นๆ ได้รับการบันทึก ไว้อย่างละเอียด ในรายงานของบริษัท ที่ได้นำเสนอต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (Securities and Exchange Commission : SEC) และในรายงาน 10-K ณ วันที่ 26 กันยายน 2547 และรายงาน 10-Q ฉบับล่าสุด
ควอลคอมม์ และ BREW เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบริษัท ควอลคอมม์ อินคอร์ปอเรทเต็ด Mobile Station Modem, MSM, MSM6150, MSM6275, MSM6280, MSM6500, MSM6550 และ MSM6800 เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัท ควอลคอมม์ อินคอร์ปอเรทเต็ด CDMA2000 เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของสมาคมอุตสาหกรรมโทรคมนาคม สหรัฐอเมริกา ซึ่งใช้งานภายใต้ใบอนุญาตที่ได้รับ Java และ J2ME เป็นเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายการค้าจดทะเบียน ของบริษัท ซัน ไมโครซิสเต็มส์ อิ๊งค์ ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ARM9 เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบริษัท เออาร์เอ็ม จำกัด สำหรับเครื่องหมายการค้าอื่นๆ เป็นลิขสิทธิ์ของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นๆ