กรุงเทพฯ วันที่ 30 มีนาคม 2548 – ออราเคิล คอร์ปอเรชั่น เอเชีย-แปซิฟิก แถลงผลประกอบการประจำไตรมาส 3 ของปีการเงิน 2548 (สิ้นสุด ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2548) บริษัทฯ มีรายได้ทั่วภูมิภาครวมทั้งสิ้น 425 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา และคิดเป็นร้อยละ 14 ของรายได้ทั่วโลก และร้อยละ 20 ของรายได้จากการออกใบอนุญาตใหม่ทั่วโลกประจำไตรมาสนี้ ทั้งนี้ รายได้จากการออกใบอนุญาตใหม่สำหรับซอฟต์แวร์กลุ่มแอพพลิเคชั่นและกลุ่มเทคโนโลยีหลักของออราเคิลในภูมิภาคนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21 และร้อยละ 8 ตามลำดับในไตรมาสที่ 3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2547 และเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 24 และร้อยละ 12 ตามลำดับเมื่อนับตั้งแต่ต้นปีการเงิน 2548 จนถึง ณ ขณะนี้ (ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1- 3 ของปีการเงิน 2548) (ตัวเลขทั้งหมดเป็นการคำนวณในสกุลเงินเหรียญสหรัฐ)
ดีเร็ก วิลเลียมส์ รองประธานบริหาร บริษัท ออราเคิล คอร์ปอเรชั่น เอเชีย-แปซิฟิก กล่าวว่า “ผลประกอบการที่โดดเด่นของออราเคิลในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกประจำไตรมาส 3 เป็นผลจากการมุ่งสร้างความสำเร็จในการดำเนินงาน 3 ด้าน ได้แก่ การเติบโตอย่างต่อเนื่องในตลาดแอพพลิเคชั่น การเติบโตของลูกค้าในอุตสาหกรรมหลักๆ เพิ่มมากขึ้น และการรักษาระดับการเติบโตของกลุ่มเทคโนโลยีหลัก ได้แก่ ระบบฐานข้อมูล แอพพลิเคชั่น เซิร์ฟเวอร์ และทูลส์อย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ” และเสริมว่า “ขณะนี้ เราอยู่ในช่วงการเสริมความแข็งแกร่งในธุรกิจของออราเคิลในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญและผลประกอบการในไตรมาส 3 จะช่วยเสริมความเป็นผู้นำในตลาดของออราเคิลให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การผนึกกำลังร่วมกันระหว่างออราเคิลและพีเพิลซอฟท์ ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการปฏิวัติอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ทั่วโลก ทั้งยังช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้ออราเคิลในการแข่งขันในภูมิภาคนี้มากยิ่งขึ้น ด้วยจุดแข็งของทั้งสองบริษัทที่ผนวกรวมกัน ทำให้เราสามารถนำเสนอนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ที่ทันสมัยให้กับลูกค้า และสร้างความได้เปรียบในเชิงธุรกิจอย่างต่อเนื่อง”
ออราเคิลและพีเพิลซอฟท์ ผนึกความเป็นผู้นำตลาด การเข้าซื้อกิจการของพีเพิลซอฟท์ ทำให้ปัจจุบันออราเคิลมีพนักงานเกือบ 50,000 คนทั่วโลก ซึ่งในจำนวนนี้ เป็นนักพัฒนาแอพพลิเคชั่น 8,000 คน ที่พร้อมพัฒนาและให้การสนับสนุนแก่ลูกค้า 23,000 รายทั่วโลก
“ออราเคิล เป็นบริษัทซอฟต์แวร์ระดับองค์กรรายใหญ่ที่สุดในโลก และด้วยการผนึกกำลังร่วมกับพีเพิลซอฟท์ ส่งผลให้ออราเคิลก้าวเป็นผู้นำตลาดในอุตสาหกรรมทุกกลุ่ม ได้แก่ สื่อสารโทรคมนาคม สถาบันการเงิน ธุรกิจสื่อและบันเทิง ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ” ดีเร็ก
วิลเลียมส์ กล่าวและเสริมว่า “ออราเคิลมีความพร้อมทั้งด้านทีมงานและทรัพยากรในการบุกตลาด ทั้งในกลุ่มซอฟต์แวร์โครงสร้างพื้นฐาน (ระบบฐานข้อมูล) และแอพพลิเคชั่นต่างๆ และนี่คือสิ่งที่ลูกค้าของเราในเอเชีย-แปซิฟิกต้องการลูกค้าต้องการบริษัทผู้ให้บริการที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทั้งสองด้านเพื่อพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและแอพพลิเคชั่นที่ลดความซับซ้อนลง ใช้งานง่าย ซึ่งปัจจุบัน ออราเคิลมีประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ทั้งสองกลุ่ม ทั้งยังมีพนักงานระดับคุณภาพที่จะสามารถให้การสนับสนุนลูกค้าได้อย่างสมบูรณ์แบบ ปัจจัยเหล่านี้จะเสริมความแกร่งให้ออราเคิลมีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นและมีการเติบโตอย่างรวดเร็วเหนือคู่แข่งขัน”
ลูกค้าในเอเชีย-แปซิฟิก เลือกใช้แอพพลิเคชั่นและฐานข้อมูลของออราเคิลในไตรมาสที่ 3
ลูกค้าทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ตั้งแต่องค์กรขนาดใหญ่จนถึงธุรกิจระดับกลางและเล็กล้วนเลือกใช้แอพพลิเคชั่นและระบบฐานข้อมูลของออราเคิลอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการดำเนินธุรกิจที่คล่องตัวและเพิ่มแต้มต่อในการแข่งขันมากขึ้น
ลูกค้าของออราเคิลมากกว่าร้อยละ 50 ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเป็นบริษัทธุรกิจขนาดกลางและเล็ก ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ได้ให้นิยามของธุรกิจขนาดกลางว่า เป็นบริษัทที่มีพนักงานจำนวนตั้งแต่ 100 – 499 คน และเพื่อตอบสนองความต้องการของธุรกิจดังกล่าว ออราเคิลได้ร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตรกว่า 1,500 รายทั่วภูมิภาคเพื่อบุกตลาดดังกล่าว โดยในปัจจุบันออราเคิลมีรายได้จากการทำตลาดผ่านคู่ค้ามากกว่าร้อยละ 80 ของรายได้ทั้งหมดในภูมิภาคแห่งนี้
โซลูชั่นที่สร้างการเติบโตให้กับออราเคิลในตลาดแอพพลิเคชั่นอย่างต่อเนื่องในไตรมาสที่ผ่านมา คือ โซลูชั่นชุดอี-บิสิเนส (E-Business Suite) ที่ได้รับการยอมรับเหนือกว่าโซลูชั่นอื่นๆ ซึ่งประกอบด้วยโมดูลหลัก 4 โมดูล คือ ระบบบริหารจัดการทางการเงิน ระบบบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล ระบบริหารจัดการซัพพลายเชน และระบบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า ด้วยโซลูชั่นที่สมบูรณ์แบบและครบวงจร ผนวกกับความรู้ความเชี่ยวชาญในธุรกิจเชิงลึก จึงเป็นแรงขับเคลื่อนให้ออราเคิลได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากอุตสาหกรรมหลักๆ ทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก อาทิ อุตสาหกรรมด้านสื่อสารโทรคมนาคม สาธารณูปโภค กลุ่มสถาบันและบริการทางการเงิน รัฐบาล การศึกษา ธุรกิจการดูแลรักษาสุขภาพ การผลิต ค้าปลีก ท่องเที่ยว และการขนส่ง
ลูกค้าที่เลือกใช้แอพพลิเคชั่นของออราเคิลในไตรมาสที่ 3 นี้ ได้แก่ แอสตร้า บิสิเนส เซอร์วิส (อินเดีย), แอตแลนติก ฟอร์วาดดิ้ง (ฮ่องกง), ดอร์คาส มาร์เก็ตเม็กเกอร์ (อินเดีย), บริษัท จุยเจียง ฉางเฮอ ออโต้โมบิล จำกัด (จีน), ต้าถัง เพาเวอร์ (จีน), ไดนาคราฟท์ อินดัส-ตรี้ (มาเลเซีย), กลี อิเล็กทรอนิกส์ (ฟิลิปปินส์), การไฟฟ้ากุจาราต (อินเดีย), ฮันลุน ฮาบิแทธส์ (ฮ่องกง), ธนาคารเอชดีเอฟซี (อินเดีย), ไอเดีย เซลลูล่าร์ (อินเดีย), ไอเดียโมบาย คอมมูนิเคชั่น จำกัด (อินเดีย), ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเกาหลี (เกาหลี), ไมตี้ คอร์ปอเรชั่น (ฟิลิปปินส์), มิซกาน ไทยแลนด์ (ประเทศไทย), โอเวอร์ซี-ไชนิส แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (สิงคโปร์), กรมการตำรวจแห่งประเทศสิงคโปร์ แผนกโลจิสติกส์ (สิงคโปร์), สมาพันธ์การค้าไซง่อน ยูเนียน (เวียดนาม), โซโลมอน ซิสเท็กซ์ (ฮ่องกง), ธนาคารยูทีไอ (อินเดีย), เวียดนาม แอร์ไลนส์ (เวียดนาม), เวียดนาม เดลี่ โปรดักส์ (เวียดนาม), กรมการศึกษาและฝึกอบรมแห่งออสเตรเลียตะวันตก (ออสเตรเลีย), วิสตรอน เนเว็บ คอร์ปอเรชั่น (ไต้หวัน) และซินดาร์ท (ฮ่องกง)
นอกจากนี้ ออราเคิลยังคงครองความเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยี ซึ่งครอบคลุมถึงเทคโนโลยีหลักของออราเคิล ได้แก่ ระบบฐานข้อมูลออราเคิล (Oracle Database), แอพพลิเคชั่นเซิร์ฟเวอร์ (Oracle Application Server) และออราเคิล คอลแลบบอเรชั่น สวีท (Oracle Collaboration Suite)
สำหรับองค์กรในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่เลือกใช้เทคโนโลยีของออราเคิลในไตรมาส ที่ผ่านมา ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน), กองอากาศยานแห่งอินเดีย (อินเดีย), บีเอสเอ็นแอล (อินเดีย), สำนักงานคณะกรรมการภาษีสรรพสามิตและศุลกากร (อินเดีย), ไชน่า โมบาย กรุ๊ป (จีน), สำนักงานสวัสดิการสังคมจงซิ่ง (จีน), ฟูเจี้ยน โมบาย (จีน), สำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาแห่งประเทศอินเดีย (อินเดีย), โกลบ เทเลคอม (ฟิลิปปินส์), โกรเซอร์รี่ โลจิสติกส์ ประเทศสิงคโปร์ (สิงคโปร์), ธนาคารเอชดีเอฟซี (อินเดีย), สำนักควบคุมการประกันสุขภาพ (เกาหลี), เฮ็กซาแวร์ (อินเดีย), กรมสรรพากรภายในประเทศ (นิวซีแลนด์), ธนาคารกุ๊กหมิน (เกาหลี), เกาหลี เทเลคอม เพาเวอร์เทล (เกาหลี), บริษัท กรุงไทย คอมพิวเตอร์ เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (ประเทศไทย), ธนาคารเมย์แบงก์ (มาเลเซีย), สหพันธ์สหกรณ์การเกษตรแห่งชาติ (เกาหลี), ธนาคารสาราสวัส (อินเดีย), บริษัท ซานต้า เน็ทเวิร์คกิ้ง จำกัด (จีน), ชิปปิ้ง คอร์ปอเรชั่น ประเทศอินเดีย (อินเดีย), ซิโน-ทรานส์ (จีน), ทาทา มอเตอร์ส (อินเดีย), เทเลคอม มาเลเซีย (มาเลเซีย), บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และเวนเจอร์ อินโฟเท็ก โกลบัล ไพรเวท จำกัด (อินเดีย)
สร้างสรรค์นวัตกรรมและลดต้นทุนในการเป็นเจ้าของ สร้างความพึงพอใจสูงสุดให้แก่ลูกค้า
ความสำเร็จของออราเคิลทั้งธุรกิจแอพพลิเคชั่นและเทคโนโลยีตอกย้ำถึงการยอมรับของลูกค้าที่ตระหนักถึงข้อได้เปรียบในการเลือกผู้ให้บริการที่มีทั้งซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่น ฐานข้อมูล สถาปัตยกรรมและโซลูชั่นแบบครบวงจร ปัจจุบัน ลูกค้าที่ต้องการสร้างแต้มต่อในการแข่งขันสามารถวางแผนการใช้ระบบไอทีเชิงกลยุทธ์และติดตั้งซอฟต์แวร์ที่สมบูรณ์แบบ เพื่อช่วยลดต้นทุนในการเป็นเจ้าของระบบโดยรวม ทั้งยังสามารถบริหารข้อมูลทางธุรกิจได้อย่างราบรื่น เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และมีทิศทางในการดำเนินธุรกิจที่มีเอกภาพและสามารถควบคุมบริหารจัดการธุรกิจได้ครอบคลุมทั่วโลก
“ลูกค้าในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกหลายรายตระหนักถึงประโยชน์ในการใช้ซอฟต์แวร์ของออราเคิลในการดำเนินธุรกิจขององค์กรที่ใช้ข้อมูลเป็นสำคัญ (Information-driven enterprises) อาทิ บริษัท ฉางอัน ออโตโมบาย กรุ๊ป, แอลจี ฟิลลิปส์ แอลซีดี และมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ออราเคิลยังคงมุ่งมั่นในการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมทั้งในรูปของเทคโลยีใหม่ๆ อาทิ RFID และสถาปัตยกรรมที่มุ่งเน้นบริการเป็นหลัก (Service Oriented Architecture) หรือเทคโนโลยีที่เน้นการพัฒนาในระยะยาวได้แก่ โพรเจ็คท์ ฟิวชั่น (Project Fusion) ที่มุ่งมุ่งสร้างผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรมและคุ้มค่า รวมทั้งลดต้นทุนในการเป็นเจ้าของระบบโดยรวมสำหรับลูกค้าและพันธมิตรทั่วโลก” ดีเร็ก วิลเลียมส์ กล่าวทิ้งท้าย
เกี่ยวกับออราเคิล
ออราเคิล (ชื่อย่อในตลาดหุ้นแนสแด็ก: ORCL) เป็นบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายซอฟต์แวร์ระดับองค์กรรายใหญ่ที่สุดของโลก ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับออราเคิล สามารถเข้าไปดูได้ที่ http://www.oracle.com
# # #
เครื่องหมายการค้า
ออราเคิล เจดีย์เอ็ดเวิร์ดส และ พีเพิลซอฟท์ เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบริษัท ออราเคิล คอร์ปอเรชั่น บริษัทอื่นๆ เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทนั้นๆ