กรุงเทพฯ วันที่ 29 เมษายน 2548 – บริษัท ออราเคิล เอเชีย-แปซิฟิก ประกาศกลยุทธ์ก้าวสู่ความเป็นผู้นำตลาดแอพพลิเคชั่นระดับเอ็นเตอร์ไพรส์ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก พร้อมเดินหน้าเพิ่มส่วนแบ่งตลาดอย่างต่อเนื่อง
“ปัจจุบัน ออราเคิลไล่เบียดเอสเอพีอย่างกระชั้นชิดในตลาดแอพพลิเคชั่นระดับเอ็นเตอร์ไพรส์ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยเราสามารถแซงเอสเอพีในตลาดระบบบริหารซัพพลายเชน (Supply Chain Management: SCM) และตลาดระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Capital Management: HCM) ทั่วโลกได้แล้ว” มาร์ค กิ๊บส์ รองประธานอาวุโส กลุ่มธุรกิจแอพพลิเคชั่นและอุตสาหกรรม ประจำภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก บริษัท ออราเคิล คอร์ปอเรชั่น กล่าวและเสริมว่า “ในปีที่ผ่านมา ธุรกิจแอพพลิเคชั่นของเราในภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิกมีการเติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า เมื่อเทียบกับการเติบโตของเอสเอพี และเมื่อผนวกกับการเข้าซื้อกิจการของพีเพิลซอฟท์แล้ว ทำให้ออราเคิลมีความแข็งแกร่งสูงสุด ทั้งทางด้านพนักงาน ผลิตภัณฑ์ บริการและฐานลูกค้า ทั้งยังมีการเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและมั่นคงอีกด้วย”
ด้วยการผนึกความแข็งแกร่งระหว่างออราเคิลและพีเพิลซอฟท์เข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ปัจจุบัน ออราเคิลมีพนักงานมากกว่า 50,000 คนและมีลูกค้าในตลาดแอพพลิเคชั่นกว่า 23,000 รายทั่วโลก เฉพาะในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ออราเคิลมีลูกค้าแอพพลิเคชั่นมากกว่า 3,500 ราย โดยมีรายได้จากการออกใบอนุญาตสำหรับแอพพลิเคชั่นใหม่ของปี 2548 จนถึง ณ ขณะนี้ (ตั้งแต่ไตรมาส 1 จนถึงไตรมาส 3 ของปีการเงิน 2548 หรือ ตั้งแต่มิถุนายน 2547 – กุมภาพันธ์ 2548) เพิ่มขึ้น 24%1
ปรับทิศธุรกิจ มุ่งเพิ่มยอดขายและสร้างตลาดแอพพลิเคชั่นให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง
ออราเคิล เอเชีย-แปซิฟิก ได้ปรับทิศทางการดำเนินธุรกิจตั้งแต่เดือนกันยายน 2547 พร้อมทั้งมุ่งให้ความสำคัญสูงสุดกับกลุ่มธุรกิจแอพพลิเคชั่นในตลาดเอเชีย-แปซิฟิก ทั้งนี้ แผนการดังกล่าวส่งผลให้ออราเคิลหันมาให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตสูง รวมทั้งทรัพยากรด้านทีมขายและฝ่ายสนับสนุนแอพพลิเคชั่นอย่างเต็มรูปแบบ
“การปรับทิศทางธุรกิจในเดือนกันยายนที่ผ่านมา ถือเป็นปรากฏการณ์ครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การทำตลาดแอพพลิเคชั่นในภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก” กิ๊บส์ กล่าวและเสริมว่า “เมื่อมองย้อนกลับไปในปีที่ผ่านมา คู่แข่งหลักของเราในตลาดแอพพลิเคชั่นคือบริษัทที่มุ่งทำตลาดด้านแอพพลิเคชั่นเพียงอย่างเดียว เราจึงปรับแผนธุรกิจโดยเฉพาะการเพิ่มทีมขายเพื่อเน้นเจาะตลาดด้านแอพพลิเคชั่นมากขึ้น ซึ่งการเติบโตของบริษัทหลังจากปรับโครงสร้าง ได้ตอกย้ำถึงความสำเร็จสูงสุดของการปรับใช้แนวทางดังกล่าว”
ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก รายได้จากการออกใบอนุญาตใหม่สำหรับการใช้แอพพลิเคชั่นประจำไตรมาสนี้ (ไตรมาสที่ 2 ปีการเงิน 2548 หรือในช่วงเดือนกันยายน ตุลาคม และพฤศจิกายน 2547) เพิ่มขึ้นร้อยละ 46 เทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา
ออราเคิล เอเชีย แปซิฟิก วาง 4 กลยุทธ์หลัก เพื่อแซงหน้าเอสเอพี ออราเคิลกำหนด 4 กลยุทธ์หลักเพื่อสร้างการเติบโตให้แก่ธุรกิจแอพพลิเคชั่น ดังนี้
1. มุ่งเจาะตลาดที่ยังมีการใช้แอพพลิเคชั่นในปริมาณน้อย
ผลการศึกษาล่าสุดของออราเคิล บ่งชี้ว่า ภายหลังการเข้าซื้อกิจการของพีเพิลซอฟท์แล้ว ออราเคิลก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดโลกอย่างแข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยสามารถแซงหน้าเอสเอพีในตลาดซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่นในอุตสาหกรรมหลัก 4 กลุ่ม ได้แก่ การสื่อสารโทรคมนาคม สื่อและความบันเทิง ภาครัฐ และบริการทางการเงิน
นอกจากนี้ ผลการศึกษาดังกล่าวยังยืนยันว่า ออราเคิลยังคงมีแต้มต่อในการแข่งขันสูงในทุกอุตสาหกรรม ทั้งยังขยายบทบาทความเป็นผู้นำระดับโลกในอุตสาหกรรมยานยนต์ การผลิตเชิงอุตสาหกรรม บริการทางวิชาชีพ ค้าปลีก และการดูแลรักษาสุขภาพ
2. สร้างความคุ้มค่าด้วยสถาปัตยกรรมข้อมูลแบบครบวงจร (Integrated Information Architecture) ออราเคิลคิดค้นและพัฒนาสถาปัตยกรรมข้อมูลแบบครบวงจร (Information Architecture) ที่สนับสนุนเทคโนโลยีและแอพพลิเคชั่นชั้นนำระดับโลก เพื่อลดความซับซ้อนทางด้านไอที ทั้งยังเป็นแหล่งข้อมูลแบบครบวงจรแห่งเดียวขององค์กรในการบริหารจัดการลูกค้า ผลิตภัณฑ์ หรือซัพพลายเออร์ส
กิ๊บส์ ให้ข้อคิดเห็นว่า “เป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งเมื่อผมได้พูดคุยกับผู้บริหารสูงสุดฝ่ายไอที หรือ ซีไอโอขององค์กรต่างๆ เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมข้อมูลแบบครบวงจร ซึ่งทุกท่านได้ยอมรับว่า สภาพแวดล้อมการทำงานของระบบสารสนเทศระดับเอ็นเตอร์ไพรส์ในปัจจุบันมีความสลับซับซ้อนและเต็มไปด้วยข้อจำกัดมากมาย แต่ด้วยเทคโนโลยีของออราเคิล จะทำให้สามารถใช้ระบบบริหารจัดการข้อมูลและอินทิเกรชั่น รวมถึงชุดแอพพลิเคชั่นแบบครบวงจรได้จากแหล่งเดียว”
3. บุกตลาดองค์กรขนาดกลาง
เมื่อพิจารณาจากภาพรวมตลาดเอเชีย-แปซิฟิก ออราเคิลมุ่งเดินหน้าขยายส่วนแบ่งในตลาดองค์กรขนาดกลาง โดยนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เป็นทางเลือก อาทิ อี-บิสิเนส สวีท สเปเชียล เอดิชั่น (E-Business Suite Special Edition) และ เจดีเอ็ดเวิร์ดส เอ็นเตอร์ไพรส์วัน (J.D. Edwards Enterprise One) สำหรับองค์กรขนาดกลางถึงเล็ก โดยออราเคิล ยังคงรักษาทีมงานที่รับผิดชอบโซลูชั่นของเจดีเอ็ดเวิร์ดส เอ็นเตอร์ไพรส์วัน ในตลาดหลักทั่วทั้งเอเชีย-แปซิฟิก
“เจดีเอ็ดเวิร์ดส ได้รับการยอมรับมายาวนานในฐานะผู้นำระดับโลกทางด้านแอพพลิเคชั่นสำหรับตลาดธุรกิจขนาดกลาง ปัจจุบัน มีลูกค้าที่ใช้โซลูชั่นเจดีเอ็ดเวิร์ดสจำนวน 600 รายในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และจากจำนวนลูกค้าที่ติดตั้งโซลูชั่น E-Business ของ
ออราเคิลจำนวนกว่า 2,000 ราย ประมาณ 40% เป็นลูกค้าในกลุ่มธุรกิจขนาดกลาง เรามุ่งมั่นนำโซลูชั่นครบวงจร บวกกับทรัพยากรต่างๆ ตลอดจนฐานลูกค้าอันแข็งแกร่งมาสร้างธุรกิจในตลาดองค์กรขนาดกลางให้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ เรายังได้ผนวกรวมผลิตภัณฑ์แอพพลิเคชั่นจาก ออราเคิล พีเพิลซอฟท์ และเจดีเอ็ดเวิร์ดส เพื่อพัฒนาโซลูชั่นใหม่ๆที่ตรงตามความต้องการของลูกค้าได้มากที่สุด” กิ๊บส์ กล่าว
4. มุ่งพัฒนา “โปรเจ็คท์ฟิวชั่น” ตามปณิธานที่ตั้งไว้
“โปรเจ็คท์ฟิวชั่น” คือ ชื่อรหัสของแอพพลิเคชั่น อินทิเกรชั่น และโซลูชั่นที่อิงสถาปัตยกรรมแห่งยุคอนาคตของออราเคิล ซึ่งมีกำหนดจะเปิดตัวสู่ตลาดในปี 2551 นอกจากนี้ คุณสมบัติหลักของระบบฟิวชั่นมิดเดิลแวร์จะนำมาผนวกรวมกับชุด E-Business ของรุ่นใหม่ออราเคิลและพีเพิลซอฟท์ เอ็นเตอร์ไพรส์ 9 รวมทั้ง เจดีเอ็ดเวิร์ดส 8.12
กิ๊บส์ กล่าวถึงโซลูชั่น “โปรเจ็คท์ฟิวชั่น” ว่า “เป็นสิ่งที่ตอกย้ำถึงเจตนารมณ์ในระยะยาวของออราเคิลที่ต้องการสนับสนุนลูกค้าให้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยี บริการ ทรัพยากรต่างๆ ได้มากขึ้น เพื่อพลิกโฉมการทำธุรกิจของลูกค้าให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ” และเสริมว่า “โปรเจ็คท์ฟิวชั่น จะช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถติดตั้งระบบบิสิเนส อินเทลลิเจนซ์เพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งยังช่วยปรับปรุงกระบวนการทำธุรกิจให้สอดคล้องกับสภาวะการตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและสามารถตอบรับกับสภาวะการแข่งขันที่รุนแรงได้อย่างรวดเร็ว โดยมีต้นทุนในการเป็นเจ้าของที่ถูกสุด และสามารถสนับสนุนระบบของบริษัทซอฟต์แวร์ระดับเอ็นเตอร์ไพรส์ทุกรายในตลาด”
“และที่สำคัญที่สุด โปรเจ็คท์ฟิวชั่นมิใช่แนวคิด แต่เป็นโซลูชั่นที่ใช้งานได้จริง ซึ่งพัฒนาบนพื้นฐานของเทคโนโลยีสำคัญต่างๆ อาทิ จาวา สถาปัตยกรรมที่มุ่งเน้นการบริการ หรือ เอสโอเอ (Service-Oriented Architecture) ระบบผนวกรวมข้อมูลหลักเข้าด้วยกัน และกริด คอมพิวติ้ง” กิ๊บส์ กล่าวทิ้งท้าย
ออราเคิลไทยขานรับนโยบายบริษัทแม่ พร้อมก้าวสู่ผู้นำตลาดแอพพลิเคชั่นในเมืองไทยในประเทศไทย ออราเคิล มุ่งขยายการเติบโตในธุรกิจแอพพลิเคชั่นอย่างไม่หยุดยั้ง โดยใช้ 4 กลยุทธ์หลักนี้เช่นกัน
นายณัฐศักดิ์ โรจนพิเชฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ออราเคิล คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ออราเคิล ทำตลาดซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่นในประเทศไทยมากว่า 10 ปี โดยมีความแข็งแกร่งทั้งในตลาดบริการทางการเงินและภาคอุตสาหกรรม สิ่งที่เสริมสร้างจุดแข็งของเราในตลาดแอพพลิเคชั่น คือ การผนวกรวมกับพีเพิลซอฟท์ ซึ่งมีความแข็งแกร่งในตลาดระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Capital Management: HCM) ธุรกิจการดูแลรักษา สุขภาพ การธนาคาร และค้าปลีก รวมทั้งผนวกจุดแข็งด้านโซลูชั่นอุตสาหกรรมของเจดีเอ็ดเวิร์ดสเข้าไว้ด้วยกันได้อย่างลงตัว”
“ปัจจุบัน ลูกค้าในเมืองไทยต้องการโซลูชั่นแบ็คออฟฟิศด้านการวางแผนทรัพยากรระดับองค์กร (Enterprise Resource Planning: ERP) รวมทั้งโซลูชั่นแบบครบวงจรทางด้านระบบบริหารความสัมพันธ์ของลูกค้า (Customer Relationship Management : CRM) ระบบบิสิเนส อินเทลลิเจนซ์ และระบบการบริหารซัพพลายเชน (Supply Chain Management : SCM)“ นายณัฐศักดิ์ กล่าวและเสริมว่า “เศรษฐกิจไทยมีการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ขณะที่รัฐบาลไทยมุ่งส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจทุกขนาดให้มีการพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันได้ มากขึ้นด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย ดังนั้น การผนวกออราเคิล พีเพิลซอฟท์ และเจดีเอ็ดเวิร์ดส ทำให้เรามีโซลูชั่นสมบูรณ์แบบที่ตอบสนองความต้องการของธุรกิจทุกรูปแบบ ตั้งแต่องค์กรขนาดใหญ่ระดับเอ็นเตอร์ไพรส์ ไปจนถึงธุรกิจขนาดกลางและเล็ก”
เกี่ยวกับออราเคิล
ออราเคิล (ชื่อย่อในตลาดหุ้นแนสแด็ก: ORCL) เป็นบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายซอฟต์แวร์ระดับองค์กรรายใหญ่ที่สุดของโลก ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับออราเคิล สามารถเข้าไปดูได้ที่ http://www.oracle.com