Insight By Far East DDB ฉบับเดือนมิถุนายน ขอเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการรับสื่อวิทยุ ต่อจากฉบับที่แล้ว โดยจะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการร่วมกิจกรรมที่รายการวิทยุ จัดขึ้น รวมทั้งรูปแบบการใช้สื่อโฆษณาทางวิทยุ ที่สามารถเข้าถึง และสร้างความจดจำในยี่ห้อ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
– ลักษณะกลุ่มเป้าหมาย
ทำการศึกษา พฤติกรรม การรับสื่อวิทยุจากกลุ่มเป้าหมาย เพศชาย และ หญิง จำนวน 852 ตัวอย่าง ในเขตกรุงเทพมหานคร อายุระหว่าง 15 – 49 ปี แบ่งเป็น 7 กลุ่มอาชีพ คือ นักเรียน , นักศึกษา, พนักงานบริษัทฯ , เจ้าของธุรกิจส่วนตัว , ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ, อาชีพอิสระ และแม่บ้าน
– เล่นง่าย.. ได้รางวัลทันที กิจกรรมที่สนใจเข้าร่วม
เมื่อถามถึงรูปแบบการจัดกิจกรรม ทางวิทยุ ที่สนใจ เข้าร่วมรายการนั้นส่วนใหญ่ สนใจ เข้าร่วมรายการ โดยอาจเป็นส่ง SMS หรือ โทรศัพท์ เข้าร่วมตอบคำถาม , เล่นเกมส์ ซึ่งสามารถรู้ผล และได้รางวัลทันที โดยไม่ต้องรอลุ้นให้เสียเวลา
– 3,000 – 10,000 บาท มูลค่ารางวัลล่อใจ
สำหรับมูลค่าของรางวัล ที่สามารถล่อใจ ให้เข้าร่วมรายการนั้น กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่มีความเห็นว่า ควรมีมูลค่า ตั้งแต่ 3,000 – 10,000 บาท และอยากได้เป็นรางวัลเงินสด มากกว่าของรางวัลประเภทอื่น
– วัยโจ๋ 15 – 19 ปี กลุ่มหลัก เล่นเกมส์ / ร่วมรายการ
การศึกษาพบว่า กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 20 เคยเข้าร่วมสนุกกับกิจกรรมที่จัดทางรายการวิทยุ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มอายุ 15 – 19 ปี มากกว่ากลุ่มอื่น
– สื่อวิทยุ เกาะติดวัยรุ่น เข้าถึงทุกที่ .. ทุกช่องทาง
นอกเหนือจากการฟังวิทยุจากเครื่องรับวิทยุทั่วไปแล้ว กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 39 ยังฟังวิทยุ จากทางช่องทางอื่น ทั้งจากอินเตอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือโดยเฉพาะกลุ่มนักเรียนอายุ 15 – 19 ปี นั้น แทบจะมีเสียงเพลงจากรายการวิทยุอยู่คู่กาย ส่วนสถานีวิทยุที่นิยมฟัง ผ่านทางช่องทางดังกล่าว ยังคงเป็นคลื่นยอดนิยมของวัยรุ่น คือ Virgin Hitz (FM95.5), Hot Wave (FM 91.5) และ Cool FM (FM93.0)
– โฆษณาในวิทยุเข้าถึง แต่..ยังไม่โดนใจ
ผู้ฟังรายการวิทยุ ร้อยละ 72 ฟังโฆษณาในรายการวิทยุ แม้จะมีเพียงส่วนน้อยที่ฟังอย่างสนใจ แต่ถึงกระนั้น จากการศึกษาพบว่า ยังไม่มีโฆษณาใดที่โดนใจ และ สร้างความจดจำให้แก่กลุ่มผู้ฟัง
– สปอต : ผู้สนับสนุนช่วง แบบใด จดจำได้ดีกว่า …
เมื่อถามถึงรูปแบบ การโฆษณาในรายการวิทยุระหว่าง สปอตโฆษณา กับเป็นสปอนเซอร์ สนับสนุนช่วงในรายการแบบใดที่สามารถสร้างความจดจำแก่ผู้ฟังวิทยุได้ดีกว่า ปรากฎว่า กลุ่มเป้าหมาย รู้สึกว่าสปอตวิทยุ สร้างความจดจำได้ดีกว่าโดยให้เหตุผลว่าติดหู/ ดึงดูด/ มีสีสัน ในขณะที่กลุ่มที่รู้สึกว่า การเป็นสปอนเซอร์สนับสนุนช่วง ในรายการสร้างความจดจำได้ดีกว่าให้เหตุผลว่าการที่ดีเจย้ำให้ได้ยินบ่อยๆทำให้คุ้นหู จดจำง่ายและได้พูดชื่อสินค้าขณะร่วมเล่นเกมส์ ดังนั้น วิธีการที่น่าสนใจที่จะเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่การใช้สื่อโฆษณาในรายการวิทยุ คือ การนำทั้ง 2 รูปแบบ มาผสมผสานกันโดย อาจซื้อเป็น Package ซึ่งจะได้ทั้งสปอตวิทยุ และ ผู้สนับสนุนช่วงรายการ