เอเอ็มดี เจแปน ยื่นฟ้องอินเทล เค.เค.

โตเกียว–(บิสิเนส ไวร์)–30 มิ.ย.2548 – เอเอ็มดี เจแปนพยายามฟื้นฟูภาวะการแข่งขันที่เป็นธรรมและเปิดกว้างสำหรับตาลาดพีซีและเซิร์ฟเวอร์ของญี่ปุ่น

บริษัทเอเอ็มดี เจแปน (AMD Japan) ซึ่งตั้งอยู่ในย่านชินจูกุ กรุงโตเกียว และมีเดวิด เอ็ม. อูเซะ ดำรงตำแหน่งประธานและผู้อำนวยการฝ่ายผู้แทนนั้น ได้ยื่นฟ้องบริษัทอินเทล เค.เค. (Intel K.K.) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือในญี่ปุ่นขอบริษัทอินเทล คอร์ปอเรชั่น ต่อศาลสูงโตเกียวและศาลเขตโตเกียว สำหรับความเสียหายที่เกิดจากการละเมิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาดของญี่ปุ่น

การยื่นฟ้องในศาลสูงโตเกียวได้เรียกร้องค่าเสียหายมูลค่า 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 5.5 พันล้านเยน) หลังจากที่มีรายงานของคณะกรรมาธิการการค้าที่เป็นธรรมของญี่ปุ่น (JFTC) ในหมวดการเสนอแนะ ณ วันที่ 8 มี.ค.2548 ว่า อินเทล เค.เค.ได้ละเมิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาด การเสนอแนะของ JFTC สรุปว่าอินเทล เค.เค.ได้แทรกแซงกิจกรรมทางธุรกิจของเอเอ็มดี เจแปนโดยการจัดหาเม็ดเงินจำนวนมากแก่กลุ่มผู้ผลิตพีซีของญี่ปุ่น 5 ราย (เอ็นอีซี, ฟูจิตสึ, โตชิบา, โซนี่ และฮิตาชิ) โดยมีเงื่อนไขให้กลุ่มบริษัทดังกล่าวปฏิเสธที่จะซื้อโพรเซสเซอร์ของเอเอ็มดี และเนื่องด้วย การกระทำที่ผิดกฎหมายดังกล่าว เอเอ็มดี เจแปนจึงได้รับความเสียหายอย่างมาก โดยสูญเสียยอดขายทั้งหมดที่ได้จากโตชิบา, โซนี่และฮิตาชิ ขณะที่ยอดขายที่ได้จากเอ็นอีซีและฟูจิตสึนั้น ก็ลดลงอย่างมาก การยื่นฟ้องในศาลสูงโตเกียวมีขึ้นหลังจากที่อินเทล เค.เค.ยอมรับการเสนอแนะของ JFTC ในการยอมรับข้อเสนอแนะดังกล่าว อินเทล เค.เค.ไม่ได้โต้แย้งรายงานของ JFTC แต่อย่างใด

การฟ้องร้องเพิ่มเติมที่ยื่นต่อศาลเขตโตเกียวนั้นจะเป็นการเรียกร้องค่าชดเชยมูลค่าหลายล้านดอลลาร์ในความเสียหายจากการดำเนินการต่อต้านการแข่งขันต่าง ๆ นอกเหนือจากสิ่งที่ได้ครอบคลุมในขอบเขตของข้อเสนอแนะของ JFTC การกระทำที่ต่อต้านการผูกขาดเหล่านี้ยังมีผลของการแทรกแซงสิทธิของเอเอ็มดี เจแปนในการดำเนินธุรกิจทั่วไปและกิจกรรมด้านการตลาด

ในข้อร้องเรียนดังกล่าว เอเอ็มดี เจแปนได้ชี้ให้เห็นตัวอย่างที่เฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับการดำเนินการที่เป็นการต่อต่านการแข่งขันของอินเทล ดังต่อไปนี้

— ชี้นำให้ผู้ผลิตพีซีของญี่ปุ่นรายหนึ่งยกเลิกรูปแบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมดที่ใช้โพรเซสเซอร์ที่ผลิตโดยเอเอ็มดี ออกจากแคตาล็อกผลิตภัณฑ์ปและเว็บไซท์ของบริษัทผู้ผลิตดังกล่าว เพื่อแลกกับการให้เงินจำนวนมากแก่ผู้ผลิตรายดังกล่าว

— สร้างความกดดันต่อลูกค้าของเอเอ็มดีรายหนึ่ง ซึ่งมีกำหนดที่จะเข้าร่วมในการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ของเอเอ็มดี ในท้ายที่สุด ลูกค้ารายดังกล่าวก็ต้องยกเลิกการเข้าร่วมงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ดังกล่าว

— แทรกแซงการจัดโปรโมชั่นร่วมของเอเอ็มดีและลูกค้ารายหนึ่ง ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการโปรโหมตพีซีที่ใช้โพรเซสเซอร์รุ่นใหม่ที่ได้รับการพัฒนาโดยเอเอ็มดี ในช่วงเวลาไม่นานก่อนที่การจัดโปรโมชั่นดังกล่าวจะเริ่มขึ้น อินเทลก็ได้ซื้อพีซีทั้งหมด ที่มีโพรเซสเซอร์ของเอเอ็มดี และเปลี่ยนเป็นพีซีที่ใช้โพรเซสเซอร์ของอินเทลแทน อินเทล เค.เค. ได้จ่ายเงินจำนวนมากแก่ลูกค้ารายนี้เพื่อเป็นแรงจูงใจในการร่วมมือในการแทรกแซงในช่วงนาทีสุดท้ายนี้

การกระทำเหล่านี้เป็นเพียงส่วนน้อยของการบีบบังคับทั่วโลกของอินเทลของอินเทลต่อบรรดาลูกค้า เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกค้าดังกล่าวทำธุรกิจกับเอเอ็มดี เจแปน บริษัทเอเอ็มดี ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเอเอ็มดี เจแปน ก็ได้ยื่นฟ้องในสหรัฐเมื่อวันที่ 27 มิ.ย.2548 เพื่อที่จะยุติพฤติกรรมทางธุรกิจที่ผิดกฎหมายของอินเทล

อินเทลยังคงปฏิเสธที่จะยอมรับว่าการดำเนินการของบริษัทเป็นสิ่งที่ผิด แต่กระนั้น การกระทำที่เป็นการต่อต้านการผูกขาด ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะจำกัดส่วนแบ่งตลาดของเอเอ็มดีนั้น ก็ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงการใช้สถานภาพที่โดดเด่นในตลาดโพรเซสเซอร์ของอินเทลไปในทางที่ผิด

เดวิด เอ็ม อูเซะ ประธานและผู้อำนวยการฝ่ายตัวแทนของเอเอ็มดี เจแปนกล่าวว่า “การกระทำที่ผิดกฎหมายเหล่านี้ได้จำกัดการแข่งขันที่เป็นธรรมและทำให้มีทางเลือกน้อยลงสำหรับผู้บริโภคในตลาดคอมพิวเตอร์ ในเดือนมีนาคมปีนี้ JFTC พบว่าอินเทล เค.เค.ละเมิดกฎหมายอย่างชัดเจน เอเอ็มดี เจแปนหวังที่จะนำการแข่งขันที่เป็นธรรมและเปิดกว้างมาสู่ตลาดคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกที่แท้จริง”

สถานะของเอเอ็มดีในการแข่งขันที่เป็นธรรมและเปิดกว้าง

เอเอ็มดียึดมั่นในการแข่งขันที่เป็นธรรมและเปิดกว้าง รวมถึงการส่งมอบมูลค่า และการแข่งขันที่หลากหลายให้กับตลาด เทคโนโลยีที่ก้าวล้ำของเอเอ็มดีจะทำให้ผู้ใช้สามารถฟันฝ่าไปสู่ระดับใหม่ของประสิทธิภาพ, ขีดความสามารถ และการสร้างสรรค์ บรรดาธุรกิจและผู้บริโภคจะมีอิสระในการเลือกผลิตภัณฑ์ต่างๆซึ่งมาจากนวัตกรรมที่ต่อเนื่อง และเมื่อตลาดทำงาน ผู้บริโภคจะมีทางเลือกและทุกคนจะชนะ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาดูจาก http://www.amd.com/breakfree

เกี่ยวกับเอเอ็มดี เจแปน

เอเอ็มดี เจแปน เป็นบริษัทในเครือและเป็นตัวแทนฝ่ายขายที่ได้รับมอบหมายของบริษัทเอเอ็มดี อิงค์ (AMD, Inc. (NYSE:AMD)) ซึ่งออกแบบและผลิตไมโครโพรเซสเซอร์, แฟลชเมมโมรี่ และโพรเซสเซอร์ประหยัดพลังงานสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สื่อสาร ตลอดจนอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ต่างๆ AMD มุ่งมั่นในการนำเสนอโซลูชั่นมาตรฐานเพื่อตอบสนองทุกๆ ความต้องการของผู้ใช้เทคโนโลยี ตั้งแต่องค์กรธุรกิจและหน่วยงานรัฐบาลไปจนถึงผู้ใช้ทั่วไป สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ http://www.amd.com

AMD, เครื่องหมายลูกศรของ AMD และชื่ออื่นๆ ที่ประกอบด้วยชื่อเหล่านี้ เป็นเครื่องหมายการค้าของ Advanced Micro Devices, Inc. ขณะที่ชื่ออื่นๆ ที่ปรากฏนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นข้อมูลเท่านั้น และอาจเป็นเครื่องหมายการค้าของเจ้าของบริษัทที่เกี่ยวข้อง

ติดต่อ: ฝ่ายประชาสัมพันธ์บริษัทเอเอ็มดี
มาริ ฮายาชิ, +81 3 3346 7560 (ญี่ปุ่น)
อีเมล์: mari.hayashi@amd.com
เดฟ โครลล์, 408-749-3310 (สหรัฐ)
อีเมล์: dave.kroll@amd.com
ฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์
ไมค์ ฮาส, 408-749-3124 (สหรัฐ)
อีเมล์: mike.haase@amd.com
รูธ ค็อตเตอร์, 408-749-3887 (สหรัฐ)
อีเมล์: ruth.cotter@amd.com
ฝ่ายรัฐบาลสัมพันธ์
เจนส์ ดรูว์ส, +49 351 277 1015 (ยุโรป)
อีเมล์: jens.drews@amd.com