โครงการครัวไทยสู่โลก ขานรับนโยบายรัฐบาล ร่วมบูรณาการ 3 หน่วยงาน พร้อมเดินหน้าสร้างมาตรฐานอาหารไทย และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับภาคการผลิต เผยแผนล่าสุดสร้างพ่อครัวแม่ครัวไทย 1,000 ราย พร้อมจัดฝึกอบรมให้เชฟทั่วโลก 10,000 ราย เตรียมรุกเปิดตลาดใหม่ในยุโรปและเอเชีย
ดร.ยุทธศักดิ์ สุภสร รองผู้อำนวยการสถาบันอาหาร ในฐานะผู้บริหารศูนย์พัฒนาอาหารไทยและครัวไทยสู่โลก (ศพอท.) เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการพัฒนาอาหารไทยและครัวไทยสู่โลก โดยมี ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการฯ เป็นประธาน และคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ในฐานะรองประธานคณะกรรมการฯ เป็นรองประธานการประชุม ซึ่งได้มอบนโยบายการดำเนินงานโครงการครัวไทยสู่โลก ปี 2548 – 2549 แล้วนั้น
โครงการครัวไทยสู่โลก จะดำเนินงานตามแนวนโยบายเกี่ยวกับการร่วมภาคีหรือร่วมบูรณาการ กับ 3 หน่วยงานหลัก อาทิ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงการท่องเที่ยวฯ บีโอไอ กระทรวงอุตสาหกรรม และบริษัท การบินไทย ฯ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการวางแผนงาน Road map และจะประสานงานกับหน่วยงานหลักเพื่อบูรณาการแผนร่วมกัน และนำเสนอต่อคณะกรรมการฯ เพื่อเดินหน้าแผนงานร่วมกันอย่างจริงจังต่อไป
ดร.ยุทธศักดิ์ กล่าวต่อว่า การดำเนินงานดังกล่าวมีเป้าหมายสำคัญ คือการสร้างมาตรฐานอาหารไทยให้เป็นที่รู้จักทั่วโลกต่อไป รวมถึงเน้นเรื่องการส่งเสริมภาคการผลิตในประเทศให้ไปในทิศทางการสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยผ่านกลไกสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนและสนับสนุนด้านการวิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารไทยใหม่เพื่อป้อนสู่ตลาดโลก รวมถึงการส่งเสริมธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหารไทยในต่างประเทศ โดยการร่วมทุน และสนับสนุนด้านการเงินผ่านธนาคารของรัฐอีกด้วย
สำหรับเป้าหมายการสร้างพ่อครัวแม่ครัวไทยมืออาชีพ คาดว่าในปี 2549 จะสามารถผลิตและสร้างพ่อครัวแม่ครัวได้จำนวนกว่า 1,000 คน เพื่อป้อนธุรกิจร้านอาหารไทยในต่างประเทศ นอกจากนี้ จะจัดให้มีการอบรมและให้ความรู้เรื่องการทำอาหารไทยให้กับพ่อครัวแม่ครัวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ จำนวน 10,000 คนทั่วโลก และพร้อมที่จะจัดตั้งสถาบันด้านการให้ความรู้และอบรมทักษะการทำอาหารไทยต่อไป
ส่วนเป้าหมายการขยายร้านอาหารไทยในต่างประเทศนั้น โครงการครัวไทยสู่โลก ได้ตั้งเป้าหมายที่จะเปิดตลาดใหม่ทั้งยุโรปและเอเชีย ดังนี้ ประเทศอิตาลี 7 แห่ง, สาธารณรัฐประชาชนจีน 71 แห่ง, เอเชียตะวันออกกลาง 104 แห่ง, เกาหลีใต้ 26 แห่ง ,สแกนดิเนียเวีย 40 แห่ง ส่วนประเทศญี่ปุ่น 1,000 แห่งภายในระยะ 5 ปี
สำหรับร้านอาหารไทยในต่างประเทศที่ได้ทำการสำรวจแล้ว (ตลาดเดิม) ได้แก่ สหรัฐอเมริกา 3,825 แห่ง ,อังกฤษ 879 แห่ง,เยอรมนี 793 แห่ง,ออสเตรเลีย 1,135 แห่ง และญี่ปุ่น 522 แห่ง โดยตลาดเก่านี้มีโครงการที่จะมอบตราไทยซีเล็กซ์ และพัฒนาทักษะการให้ความรู้ด้านการทำอาหาร และการผลิตพ่อครัวแม่ครัวโกอินเตอร์ รวมถึงการจัด Road Show เพื่อสร้างภาพลักษณ์ความอร่อยและความปลอดภัย ให้กับอาหารไทย อีกด้วย
นอกจากนี้ ระว่างวันที่ 28 กันยายน – 2 ตุลาคม 2548 ณ อาคาร 106 ไบเทค บางนา โครงการครัวไทยสู่โลก ได้จัดงานแสดงสินค้าอาหารไทยในงาน “ Thai Kitchen to The World 2005” เพื่อเป็นการกระตุ้นและผลักดันให้เกิดการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานอาหารไทย อีกทั้งสร้างการรับรู้ถึงศักยภาพในการผลิตสินค้าอาหาร และบริการต่างๆ ให้คนไทยเกิดทัศนคติที่ดีในการบริโภคสินค้าอาหารของประเทศไทย ซึ่งงานนี้คาดว่าจะมีผู้ผลิตและเจ้าของร้านอาหารคนไทยและต่างชาติเข้าร่วมงานกว่า 250 ราย และเงินสะพัดในการจัดงานไม่ต่ำว่า 500 ล้านบาท
ดร.ยุทธศักดิ์ กล่าวเสริมท้าย