StarCore เปิดตัวสถาปัตยกรรม StarCore V5

ซาน โฮเซ่, แคลิฟอร์เนีย–(บิสิเนส ไวร์)–24 ต.ค.2548 StarCore เปิดตัวสถาปัตยกรรม StarCore(TM) V5 ในวันนี้ โดย StarCore V5 คือสถาปัตยกรรมเวอร์ชันล่าสุดของทางบริษัท ซึ่งจะช่วยให้อุปกรณ์ไร้สายและอุปกรณ์มัลติมีเดียแบบพกพามีประสิทธิภาพในการทำงานทะลุขีดสุด

คุณลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรม StarCore V5
นอกจากจะมีคุณลักษณะที่โดดเด่นของสถาปัตยกรรมเวอร์ชันก่อนหน้านี้รวมอยู่ในตัวแล้ว StarCore V5 ยังมีคุณลักษณะที่แปลกใหม่หลายอย่าง ซึ่งประกอบด้วย การมีชุดคำสั่งใหม่เพิ่มมากขึ้นอีก 47 ชุดคำสั่ง ซึ่งจะส่งผลให้โปรเซสเซอร์สามารถทำงานร่วมกับคอมไพเลอร์และระบบปฏิบัติการ รวมถึงประมวลผลชุดคำสั่งที่มีลักษณะเป็นแบบ Single-Instruction Multiple-Data (SIMD) และทำงานด้านมัลติมีเดียและ Viterbi ได้อย่างมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น โดยชุดคำสั่งใหม่ดังกล่าวเป็นผลลัพธ์จากการประยุกต์ใช้เทคโนลยีที่ทำให้ชุดคำสั่งมีความยาวแปรผันได้ (Variable Length Instruction Set: VLES) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเฉพาะและจดสิทธิบัตรโดย StarCore โดยช่วยให้สามารถผสมผสานการประมวลผล DSP และการมีพื้นที่สำหรับจัดเก็บชุดคำสั่งได้อย่างลงตัว เมื่อเทียบกับไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ดีที่สุดในท้องตลาดขณะนี้ Fully-Interlocked pipeline และ Branch-Prediction Logic ช่วยในการออกแบบสถาปัตยกรรม โดย StarCore V5 สามารถประมวลผลคำสั่งที่ได้จากการคอมไพล์ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ และสามารถทำงานด้วยความถี่สูงขึ้นแต่ใช้หน่วยความจำน้อยลงได้ ตลอดจนปรับปรุงชุดคำสั่งด้านมัลติมีเดียและการสื่อสารข้อมูลให้มีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้แอปพลิเคชันทางด้านการสื่อสารข้อมูลและมัลติมีเดียมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน อีกทั้งระบบจัดการหน่วยความจำของระบบปฏิบัติการ เช่น Linux(R) ก็ทำงานได้ราบรื่นยิ่งขึ้น นอกจากนี้สถาปัตยกรรม V5 ใหม่นี้มีรหัสคำสั่งเลขฐาน 2 (Binary-code) ที่สอดคล้องกับสถาปัตยกรรม StarCore ทุกเวอร์ชันก่อนหน้านี้ จึงทำให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ของผู้ใช้งาน

ประสิทธิภาพในการทำงาน
StarCore ได้ปรับปรังทั้งในส่วนของโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมและหลักการทำงาน ซึ่งส่งผลให้สามารถประมวลผลได้เร็วถึง 1 GHz รอบการทำงานในโปรเซสเซอร์ประสิทธิภาพสูงที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 90 นาโนเมตร (nm) ทั้งนี้อุปกรณ์ที่ใช้โปรเซสเซอร์ดังกล่าวจะเหมาะสำหรับใช้ในงานด้านมัลติมีเดียที่มีคุณภาพสูง การเข้าและถอดรหัสวิดีโอแบบเรียลไทม์ โดยในขณะเดียวกันก็ช่วยให้ผู้ใช้งานที่ต้องการให้อุปกรณ์ใช้พลังไฟฟ้าในแบตเตอร์รี่ได้ยาวนาน สามารถพัฒนาอุปกรณ์ที่มีสถาปัตยกรรมสอดคล้องกับสถาปัตยกรรม V5 ที่ใช้กำลังไฟฟ้าต่ำในการทำงานได้ แต่ยังคงมีประสิทธิภาพในการทำงานสูง ซึ่งไม่เคยมีโปรเซสเซอร์ที่ประมวลผลในระดับ DSP ใดทำได้มาก่อน

ซูมิท ซาดานา รองประธานอาวุโส ฝ่ายการพัฒนาธุรกิจและกลยุทธ์ของ Freescale กล่าวว่า “เรายินดีมากที่สถาปัตยกรรม V5 ถูกรวมอยู่ในโร้ดแม็ปของ StarCore”

“กลยุทธ์การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานแต่ในขณะเดียวกันก็ลดการใช้กำลังไฟฟ้าและมีรหัสคำสั่งที่เป็นเลขฐาน 2 ที่มีความสอดคล้องกับสถาปัตยกรรมเวอร์ชันก่อนหน้านี้ของ StarCore ส่งผลให้สถาปัตยกรรม V5 เป็นทางเลือกสำหรับแพลตฟอร์มที่น่าจับตามองในอนาคต พร้อมทั้งช่วยให้เราสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผลิตภัณฑ์ และในขณะเดียวกันก็ช่วยลดเวลาในการนำผลิตภัณฑ์ดังกล่าวออกสู่ตลาด ด้วยการเพิ่มความคุ้มค่าในการลงทุนด้านซอฟท์แวร์ในแพลตฟอร์มของสถาปัตยกรรม” นายซาดานากล่าว

เคร็ก กาเร็น ผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรม แผนกสื่อสารข้อมูลของ Agere System กล่าวว่า “ด้วยประสิทธิภาพในการทำงานที่สูงขึ้นและมีชุดคำสั่งเกี่ยวกับวิดีโอ-มัลติมีเดียของสถาปัตยกรรม StarCore V5 ทำให้สถาปัตยกรรมนี้เหมาะสำหรับตลาดใหม่ในส่วน Multimedia gateway ที่ Agere ให้ความสนใจอยู่”

“การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของชุดคำสั่งกลุ่มดังกล่าว ประกอบกับการมีสัญญาณนาฬิกาความถี่สูงทำให้สถาปัตยกรรมนี้เหมาะสำหรับงานด้านเสียงและวิดีโอในอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก เช่น แพลตฟอร์มสำหรับเข้าใช้ระบบจากระยะไกล (Remote access platform) เครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการมัลติมีเดีย และ Multimedia gateway เป็นอย่างยิ่ง” นายกาเร็นกล่าว

อเล็กซ์ เบดาริด้า ผู้จัดการทั่วไปของ StarCore กล่าวว่า “เราได้พบกับสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจด้วยความยากลำบากในช่วงที่เริ่มต้นออกแบบสถาปัตยกรรมนี้ เพราะมีผู้ใช้งานกลุ่มหนึ่งที่ให้ความสำคัญในด้านระบบโครงสร้างพื่นฐาน ซึ่งต้องการให้โปรเซสเซอร์มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้และมีจำนวนของช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสมกับต้นทุนในการทำกล่องอุปกรณ์ ส่วนอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ใช้งานอุปกรณ์พกพามีความต้องการให้อุปกรณ์ใช้กำลังไฟฟ้าต่ำและมีประสิทธิภาพในการประมวลผลงานด้านมัลติมีเดียและการสื่อสารข้อมูลสูง ซึ่งทุกฝ่ายต่างต้องการให้สามารถเขียนโปรแกรมบนสถาปัตยกรรมได้ง่าย ซึ่งหมายความว่าสถาปัตยกรรมต้องมีรหัสคำสั่งเลขฐาน 2 ที่สอดคล้องกับซอฟต์แวร์ที่มีอยู่ และสามารถนำไปใช้งานร่วมกับ SoCs ที่มีอยู่ได้ง่าย”

“ทีมงานด้านเทคนิคของเราสามารถทำให้สถาปัตยกรรมมีคุณสมบัติดังที่กล่าวว่ามาได้ โดยอันที่จริงมากกว่าที่กล่าวมาเสียด้วยซ้ำ ชุดคำสั่งของสถาปัตยกรรม StarCore V5 ทำให้สามารถพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีการทำงานที่ซับซ้อนได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์เฉพาะ ซึ่งทำหน้าที่ประมวลผลงานมัลติมีเดียและ Viterbi นอกจากนี้การขจัดข้อจำกัดในการเขียนโปรแกรมที่เป็นอุปสรรคต่อการประมวลผลในระดับ DSP ทำให้สามารถเขียนโปรแกรมควบคุมสถาปัตยกรรม V5 ได้ง่ายเช่นเดียวกับการเขียนโปรแกรมควบคุมไมโครคอลโทรเลอร์ทั่วๆ ไป” นายเบดาริต้ากล่าว

การวางจำหน่าย
โปรเซสเซอร์หลักของ Starcore และส่วนประกอบของระบบในระดับ IP มีลิขสิทธิ์ในการใช้งานที่แตกต่างกันไป โดยมีเทคโนโลยีซิลิกอนผสมเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก ทั้งนี้ จะมีการวางจำหน่ายโปรเซสเซอร์หลักและระบบย่อยที่ถูกออกแบบตามสถาปัตยกรรม StarCore V5 ในต้นปี พ.ศ. 2549

เกี่ยวกับ StarCore
StarCore เป็นผู้นำในการพัฒนาสถาปัตยกรรมโปรเซสเซอร์ที่มีสมรรถนะสูง, โปรเซสเซอร์หลัก และย่อยสำหรับอุตสาหกรรมด้านการสื่อสารและสินค้าอีเล็คทรอนิคส์ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสตาร์คอร์ รวมทั้งทรัพย์สินทางปัญญาและบริการของบริษัท สามารถเข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์ http://www.starcore-dsp.com

ติดต่อ: สตาร์คอร์, ออสติน
อัลเลน ไฮแมน, โทร.512-682-8558
อีเมล์: pr@starcore-dsp.com