“คาราวานอาหารเช้ากระหึ่มกรุงเทพฯ” เบสท์ฟู้ดส์-การ์ดีเนีย รณรงค์คนไทยไม่พลาดมื้อสำคัญ

ทันทีที่โรงเรียนส่วนใหญ่เปิดเทอม การจราจรก็หนาแน่นขึ้นทันตาเห็น โดยเฉพาะช่วงเช้าตรู่ที่รถกว่าครึ่งในกรุงเทพมหานครและเมืองใหญ่ต่าง ๆ ล้วนมุ่งหน้าไปที่โรงเรียนเพื่อส่งบุตรหลาน ก่อนที่ผู้ปกครองทั้งหลายจะรีบเร่งฝีเท้าอีกครั้งเพื่อไปให้ทันเข้าทำงานที่บริษัทฯ

นี่คือภาพที่เห็นกันเป็นปกติโดยเฉพาะในเมืองหลวงของประเทศไทย ที่มีการพูดกันว่าเด็กส่วนใหญ่“โตบนรถ” เพราะว่าตื่นเช้าขึ้นก็ต้องรีบอาบน้ำแต่งตัวขึ้นรถไปโรงเรียน โดยไม่มีเวลานั่งรับประทานอาหารเช้าอย่างมีความสุขที่โต๊ะอาหาร

พ่อแม่ที่ห่วงใยสุขภาพลูก ๆ จึงต้องเร่งตื่นขึ้นมาตั้งแต่เวลาที่ไก่ยังไม่โห่เพื่อมาปรุงอาหารเช้าใส่กล่องอาหารให้ลูก ๆ ได้ทานกันบนรถ ในขณะที่ตัวเองค่อยไปหาอะไรทานที่ออฟฟิต ซึ่งหากไปทันเวลางานก็พอได้ทานมื้อเช้าบ้าง หากไม่ทันเวลาก็ผลัดไปเริ่มต้นเอามื้อเที่ยงไปเลย

และนี่คือที่มาของการจัด “คาราวานอาหารเช้า ต้อนรับเปิดเทอม” โดย เบสท์ฟู้ดส์ และการ์ดีเนีย ส่งขบวนคาราวานรสเวสป้ากว่า 20 คัน พร้อมปอม ปอม สาวสวย หนุ่มหล่อ และรถบรรทุกอาหารเช้าเป็น “ขนมปังและสเปรดรสทูน่า และเชดด้า ชีส” วิ่งไปบนถนนสายหลักของกรุงเทพฯ ในยามเช้าตรู่ เพื่อมอบชุดอาหารเช้าที่ทานได้สะดวก อร่อยหลากหลาย และได้คุณค่าทางโภชนาการ เพื่อรณรงค์ให้คนไทยโดยเฉพาะเยาวชนไทยและผู้ปกครอง ได้มีทางเลือกในการบริโภคอาหารมื้อเช้า “ขนมปังไฮไฟเบอร์ผสมอินนูลิน และแซนด์วิชสเปรด หรือแยม” ที่ไม่ต้องใช้เวลายาวนานในการตระเตรียม ทำให้พ่อแม่มีเวลามากขึ้น ในยามเช้าเพื่อเตรียมตัวไปทำงาน และลูก ๆ ได้ทานมื้อเช้าที่อิ่ม อร่อย สะดวกในการทานได้ทุกที่ทุกเวลา แถมยังครบโภชนาการ

นางกียานนท์ เสณีตันติกุล คุณแม่ของ ด.ช.พีรวัส และ ด.ช. รัฐพล เสนีตันติกุล นักเรียนชั้น ม.1 และป.4 ของโรงเรียนชื่อดัง ให้สัมภาษณ์ขณะพาบุตรไปโรงเรียนว่า “ปกติจะให้น้องทานอาหารเช้าทุกวันเป็นมื้อหนักเลยค่ะ ก็คือทานข้าวสวย และกับข้าว 3 อย่างที่หลากหลาย แต่ถ้าวันไหนรีบ ๆ เพราะว่าน้องต้องเข้าโรงเรียนเร็ว น้องก็จะต้องทานข้าวบนรถค่ะ”

ขณะที่ ด.ช. อิสระกุล บุญเชิด นักเรียนชั้น ป.3 โรงเรียนเทพวิทยา เล่าว่า “ผมทานข้าวเช้าทุกวันครับ ซื้อทานเองบ้าง คุณแม่ทำให้ทานบ้าง ถ้าวันไหนรีบก็จะต้องหาซื้อทานเอง”

จากการสำรวจของกรมอนามัย พฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าของวัยเรียนพบว่า เด็กวัยอายุ 6-11 ร้อยละ 30 ไม่บริโภคอาหารเช้า และมีพฤติกรรมการไม่บริโภคอาหารเช้าเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะในนักเรียนหญิงอายุ 12-14 ปี ร้อยละ 52 ไม่บริโภคอาหารเช้า และในกลุ่ม วัยทำงานอายุ 15-59 ปี ในกรุงเทพมีการบริโภคอาหารเช้าเพียงร้อยละ 53.9 ซึ่งส่วนใหญ่จะตอบว่าไม่มีเวลา

ผลกระทบจากการไม่ทานอาหารเช้า เป็นสิ่งที่ไม่อาจมองข้ามได้ เพราะส่งผลโดยตรงในด้านการพัฒนาการของเด็กในวัยเรียน และพัฒนาการทางอารมณ์ สมอง และความจำ รองศาสตราจารย์.ดร. ประไพศรี ศิริจักรวาล หัวหน้าฝ่ายมนุษยโภชนาการ สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า“มีงานวิจัยที่ชัดเจนสำหรับเด็ก ที่ทานอาหารเช้าเป็นประจำ กับเด็กที่ไม่ทานอาหารเช้า ในเด็กโตที่ทานอาหารเช้าเป็นประจำ เห็นได้ชัดจากความสามารถในการตอบคำถาม การรับข้อมูลที่ครูสอนและผลการเรียน ของเด็กที่ทานอาหารเช้าจะดีกว่าเด็กที่ ไม่ทานอาหารตอนเช้า แต่ในผู้ใหญ่คนที่เคยทานแล้วไม่ได้ทานสิ่งที่เห็นได้ชัดก็คือจะมีอารมณ์ หงุดหงิด และในบางคนมีอาการปวดศีรษะ ถ้าเราต้องการใช้ความคิด ออกความเห็นความคิดจะรู้สึกว่าสมองเราช้า ไม่แล่น นั้นเป็นเพราะสมองเราขาดอาหาร”

“ผู้ที่ไม่ทานมื้อเช้าส่วนใหญ่จะชอบทานของจุกจิกทานไปเรื่อย ๆเพราะหิว ซึ่งจะได้น้ำมันและโซเดียมเยอะ เกิดพลังงานสะสมมาก เป็นต้นเหตุของโรคอ้วน อินซูลินที่เป็นตัวควบคุมน้ำตาลในเลือดก็สูงอยู่ตลอดเวลา ในระยะยาวได้ อาจส่งผลให้เกิด โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคอ้วนได้” รองศาสตราจารย์.ดร. ประไพศรี กล่าวเสริม

โดยปรกติร่างกายจะมีการดึงพลังงานออกมาใช้อยู่ตลอดเวลา รวมถึงเวลากลางคืนที่ร่างกายกำลังพักผ่อน ซึ่งมีช่วงรอยต่อของ มื้อเย็นและมื้อเช้าประมาณ 10-12 ชั่วโมง ซึ่งผู้ที่ไม่ทานมื้อเช้าแต่ไปรับประทานมื้อเที่ยง ซึ่งจะส่งผลให้ร่างกาย ขาดอาหาร เป็นเวลา 15-17 ชั่งโมง ซึ่งก่อให้ เกิดอาการ ปวดหัว มึนตึง คิดอะไรไม่ออก หงุดหงิด อารมณ์เสีย และขาดสมาธิในการทำงานและเรียนหนังสือ ซึ่งเกิดจากภาวการณ์ ขาดน้ำตาลในเลือด

คนที่มองข้ามความสำคัญของมื้อเช้า แล้วแก้ตัว ว่าไม่มีเวลา เดี๋ยวค่อยกินรวมกับมื้อเที่ยง คงต้องเปลี่ยนความคิดกันแล้ว เพราะอาหารมื้อแรกนี้ มีส่วนช่วยให้ชีวิตและสุขภาพคุณดีขึ้นอย่างมาก !