ไซแมนเทคเผยผลสำรวจปัญหาด้านความปลอดภัย ด้าน Mobile Technology

ไซแมนเทคเผยผลสำรวจปัญหาเรื่องความ ปลอดภัยถือเป็นอุปสรรคตัวฉกาจที่ทำให้หลายบริษัทต้องหยุดคิดก่อนตัดสินใจนำ เอาเทคโนโลยีไร้สายและการควบคุมทางไกลมาใช้งานในองค์กร ตัวเลขการวิจัยจากทั่วโลกโดยดิอีโคโนมิสต์อินเทลลิเจนซ์ยูนิต ซึ่งทางไซแมนเทคเป็นผู้สนับสนุนทุนวิจัย พบว่า กว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของบริษัททั่วโลกต้องระงับแผนงานเหล่านี้เพราะปัญหาเรื่องความปลอดภัย และประมาณ 47 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าต้นทุนและความซับซ้อนถือเป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ที่ประสบ แต่ที่สำคัญคือ หนึ่งในห้าของบริษัทเหล่านี้ต้องเผชิญกับความสูญเสียทางการเงินอันมีสาเหตุ มาจากปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีไร้สายและแพลตฟอร์มโมบายต่างๆ

งานวิจัยของดิอีโคโนมิสต์อินเทลลิเจนซ์ยูนิตได้แสดงให้เห็นข้อบกพร่องในด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับอุปกรณ์ไอทีแบบพกพา (Mobile Devices) ในองค์กรต่างๆ ได้อย่างชัดเจน โดย 82เปอร์เซ็นต์ ของบริษัททั่วโลกยอมรับว่า ภัยจากการโจมตีของไวรัสบนเครือข่ายโมบายนั้นอยู่ในระดับที่เท่าเทียมหรืออาจ จะสูงกว่าเมื่อเทียบกับระบบเครือข่ายแบบธรรมดา และในขณะที่บริษัทกว่า 81 เปอร์เซ็นต์ได้มีการตรวจสอบปัญหาด้านความปลอดภัยบนคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก แต่มีเพียงแค่ 26 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ใส่ใจถึงปัญหาด้านความปลอดภัยบนโทรศัพท์แบบสมาร์ทโฟน และในขณะที่จำนวนการใช้งานอุปกรณ์ไอทีแบบพกพาในองค์กรมีเพิ่มมากขึ้น แต่กลับมีบริษัทเพียง 9 เปอร์เซ็นต์ที่รวมเอาอุปกรณ์ไอทีแบบพกพาเข้าไว้ในแผนกลยุทธ์หลักด้านการจัดการความปลอดภัยของระบบไอทีในองค์กร สำหรับส่วนที่เหลือ 10 เปอร์เซ็นต์นั้น บริษัทไม่มีแม้แต่มาตรวัดสำหรับจัดระดับความปลอดภัยบนแพลตฟอร์มโมบาย ; 39 เปอร์เซ็นต์ ยอมให้พนักงานเชื่อมต่ออุปกรณ์โมบายเข้ากับระบบเครือข่ายของบริษัทได้ด้วยตัวเอง ; และอีก 39 เปอร์เซ็นต์มีการเชื่อมต่ออุปกรณ์โมบายเข้ากับระบบเครือข่ายหลักขององค์กรแต่ขาดแผนด้านความปลอดภัย

“แต่ ละองค์กรควรศึกษาแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับเทคโนโลยีโมบายและเรื่องระบบรักษา ความปลอดภัยให้ดีก่อนที่จะเกิดความสูญเสียจากการโจมตีระบบในรูปแบบต่างๆ” นาย พอล มิลเลอร์ ผู้อำนวจการโซลูชันด้านโมบายและระบบไร้สาย จากไซแมนเทค คอร์ปอเรชัน กล่าว “ทุกวันนี้เรื่องความปลอดภัยเกี่ยวข้องกับหลายๆ ส่วนในบริษัท การเลือกโซลูชันแบบที่จัดการปัญหาได้สารพัดอาจไม่เหมาะสมนัก ฉะนั้นองค์กรจึงควรมองหาโซลูชันในการป้องกันที่ออกแบบมาเฉพาะทาง นอกจากนี้แม้ปัจจุบันบริษัทหลายแห่งรับรู้ถึงความเสี่ยงและภัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีโมบาย แต่น่าแปลกที่บริษัทจำนวนไม่มากนักที่มีมาตรการด้านความปลอดภัยและนโบายสำหรับป้องกันภัยเหล่านั้น”

งานวิจัยครั้งนี้ของดิอีโคโนมิสต์อินเทลลิเจนซ์ยูนิตเป็นการสอบถามความคิดเห็นจากผู้บริหารบริษัทชั้นนำทั่วโลกกว่า 240 แห่ง โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับการรับรู้ถึงความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีโมบาย นอกจากนี้ยังมีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับความพร้อมในการรับมือกับอันตรายด้านความปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นกับองค์กรด้วย โดยข้อมูลทั้งหมดจะถูกนำมาจัดแสดงในเชิงกลุ่มเพื่อหาระดับความใส่ใจด้านความปลอดภัยและการใช้ซอฟต์แวร์โซลูชันเข้าช่วยแก้ปัญหา และมีการเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างประเทศในแต่ละภูมิภาคให้เห็นอย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น 55 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทในยุโรปตะวันตกมีการติดตั้งซอฟต์แวร์เพื่อป้องกันปัญหาด้านข้อมูลแบบโมบาย ในขณะที่บริษัทในแถบเอเชีย-แปซิฟิคมีความตื่นตัวในด้านนี้ 44 เปอร์เซ็นต์ และในประเทศแถบอเมริกาเหนือมีเพียง 36 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

“ปัญหาเรื่องความปลอดภัยเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ฉุดรั้งการเติบโตของโมบายคอมพิวติ้งในองค์กร และถ้าบริษัทต่างๆ ยังคงไม่สนใจที่จะหาทางป้องกัน ก็อาจทำให้บริษัทเหล่านี้พลาดโอกาสที่จะได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีโมบายไปอย่างน่าเสียดาย” นายกาเร็ธ ลอฟท์เฮาส์ ผู้อำนวจการด้านการวิจัยเฉพาะทาง จากดิอีโคโนมิสต์อินเทลลิเจนซ์ยูนิต กล่าว

ในรายงานด้านปัญหาความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ตจากไซแมนเทค ฉบับที่ 9 ซึ่งตีพิมพ์ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2549 ได้ระบุเอาไว้ว่า อัตราการเติบโตของโค้ดอันตรายที่มุ่งจู่โจมอุปกรณ์โมบาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมาร์ทโฟน อยู่ในระดับที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี พ.ศ. 2548 อีกทั้งยังได้ยกตัวอย่างโค้ดอันตรายรูปแบบใหม่ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสมาร์ทโฟนไว้อีกหลายตัวอย่างด้วย เช่น Cardtrp ซึ่งเป็นโค้ดอันตรายตัวแรกที่สร้างปัญหาได้ทั้งบนสมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการซิมเบียนและวินโดวส์ หรืออย่างช่วงปลายปี พ.ศ. 2548 ก็มี Pbstealer ที่แพร่กระจายตัวเองโดยอ้างเป็นไฟล์สมุดโทรศัพท์ แต่เมื่อผู้ใช้ดาวน์โหลดไฟล์ดังกล่าวเข้ามาที่สมาร์ทโฟน โค้ดโทรจัน (Trojan – โค้ดอันตรายที่อ้างถึงการทำงานอย่างหนึ่ง แต่ความจริงมุ่งสร้างความเสียหายให้แก่ระบบ) ก็จะทำงานและส่งข้อมูลในสมุดโทรศัพท์ โน้ตแพด ปฏิทินงาน และรายการงานที่จะทำ ผ่านระบบบลูทูธไปยังสมาร์ทโฟนเครื่องอื่นๆ ที่อยู่ในระยะใกล้เคียงกัน ซึ่งโทรจันเหล่านี้อาจทำให้ข้อมูลลับในองค์กรถูกเปิดเผยอย่างไม่รู้ตัว ที่สำคัญภัยดังกล่าวจะยิ่งส่งผลกระทบในวงกว้างมากขึ้นตามการเติบโตของระบบเครือข่ายโมบาย

“กลยุทธ์ด้านความปลอดภัยบนระบบโมบายจะช่วยบรรเทาปัญหาในแต่ละองค์กรได้ โดยในช่วงเริ่มต้นบริษัทควรทดลองใช้ระบบป้องกันภัยโมบายกับกลุ่มผู้ใช้ประมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์ เพื่อหาแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของบริษัท ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้การติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยแบบโมบายในภาพรวมทำได้สะดวกและรอบคอบยิ่งขึ้น” มิลเลอร์ กล่าว

ไซแมนเทคมีโซลูชันที่สามารถปกป้องอุปกรณ์โมบายที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการที่หลากหลาย ทั้งซิมเบียน ปาล์มโอเอส ไมโครซอฟท์วินโดวส์โมบายและพ็อกเก็ตพีซี โดย “ไซแมนเทค แอนตี้ไวรัส รุ่นแฮนด์เฮลด์คอร์ปอเรต 3.5” มาพร้อมกับโซลูชันสำหรับป้องกันไวรัสบนอุปกรณ์โมบายที่ครบถ้วน ป้องกันได้ทั้งโค้ดอันตรายที่อาจติดต่อผ่านเว็บ อีเมล์ ไวร์ไฟ หรือแม้แต่บลูทูธและอินฟราเรด และทำงานได้บนปาล์มโอเอส ไมโครซอฟท์วินโดวส์โมบาย และพ็อกเก็ตพีซี ส่วนเครื่องที่ใช้ระบบปฏิบัติการซิมเบียนนั้นก็มี “ไซแมนเทค โมบาย ซีเคียวริตี้ สำหรับซิมเบียน” ที่ปกป้องข้อมูลอัตโนมัติแบบเรียลไทม์ และสามารถเรียกสแกนเครื่องได้ทุกเวลาที่ต้องการ โดยทำงานร่วมกับสมาร์ทโฟนได้ทั้งซีรีย์60 และซีรีย์ 80

เกี่ยวกับ ไซแมนเทค
ไซแมนเทค เป็นผู้นำระดับโลกด้านโซลูชั่นที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่องค์กรทั้งในระดับเอ็นเตอร์ไพร์ซ และองค์กรส่วนบุคคล ในเรื่องการใช้งานข้อมูลร่วมกัน รวมถึงความพร้อมในการเรียกใช้และความปลอดภัยของข้อมูล โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ คิวเปอร์ติโน มลรัฐแคลิฟอร์เนีย และมีศูนย์ปฏิบัติการอยู่กว่า 40 ประเทศ รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถเยี่ยมชมได้ที่ www.symantec.com