ญี่ปุ่น สร้างสวนแห่งความโชคดี เฉลิมพระเกียรติฯ

นายคัทสึฮิโระ ชิโนะฮาระ กงสุลใหญ่ญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย กล่าวว่า งานพืชสวนโลกที่จัดในเมืองไทยครั้งนี้ ญี่ปุ่นให้ความสำคัญมากที่จะร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาส 60 ปีแห่งการครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และในวโรกาสที่ทรงมีพระชนมายุ 80 พรรษา และในโอกาสสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ญี่ปุ่น 120 ปีญี่ปุ่นโดยประเทศญี่ปุ่นได้เข้าร่วมเฉลิมพระเกียรติฯ ด้วยการจัดสวนนอกอาคาร และ ในอาคาร โดยสวนนอกอาคารใช้พื้นที่ 1,500 ตารางเมตร และใช้คอนเซ็ปต์ สวนแห่งความโชคดี โดยเตรียมนำเสนอภูเขาไฟฟูจิและดอกบัวโอกะฮาสุ จากเมล็ดอายุกว่า 2 พันปีที่จัดแสดงเพียงสองแห่งในโลกคือราชวังอิมพีเรียลและมหาวิทยาลัยโตเกียวมาจัดแสดงในงานมหกรรมพืชสวนโลกเท่านั้นหุบเขาหมอกคิริทานิ เกาะเต่าแห่งอายุที่ยั่งยืน เกาะกะเรียนแห่งความโชคดี มั่นใจสร้างเสร็จก่อนเปิดงาน

นายคัทสึฮิโระ ชิโนะฮาระ กงสุลใหญ่ญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย กล่าวต่อว่า ขณะนี้สวนจากประเทศญี่ปุ่น เริ่มดำเนินการแล้วเสร็จกว่าร้อยละ 35 ขณะนี้โครงสร้างพื้นฐานเสร็จเรียบร้อยแล้ว การจัดสวนนอกประเทศครั้งนี้เป็นหนึ่งในจำนวนหลายสวนที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยจัดมาและเป็นงานที่ใหญ่ที่สุดในเขตร้อนชื้น โดยญี่ปุ่นได้จำลองภูเขาไฟฟูจิ บ่อน้ำ และหินญี่ปุ่นเขียนข้อความ “รู้ความพอ” ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งที่ญี่ปุ่นก็มีวัดโยอันจิ ที่ถ่ายทอดแนวคิดนี้มาช้านาน โดยญี่ปุ่นจะนำดอกบัวโอกะฮาสุ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นปลูกขึ้นจากเมล็ดที่มีอายุกว่า 2 พันปี และมีอยู่เพียงสองแห่งในโลกคือพระราชวังอิมพีเรียลและมหาวิทยาลัยโตเกียว มาปลูกในส่วนจัดแสดง และจะส่งมอบให้ไทยเมื่อจบงาน

“นอกจากจะเป็นการกระชับความสัมพันธ์อันยาวนานหลายร้อยปีระหว่างไทยและญี่ปุ่นแล้ว การจัดงานครั้งนี้ ยังเป็นเวทีสำคัญในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่างๆ ที่เข้าร่วมงานทั้งในระดับรัฐบาลและประชาชน โดยเฉพาะผู้เข้าชมงาน ซึ่งจะมีทั้งประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติจากทั่วโลก ที่จะได้มีโอกาสชมความหลากหลายของพืชพันธุ์ไม้ ศิลปวัฒนธรรม จากชาติ นอกจากนี้ในส่วนของ สวนเฉลิมพระเกียรติฯภายในอาคาร สวนของประเทศญี่ปุ่น เน้นศิลปะของการจัดสวนสไตล์ญี่ปุ่น โดยมีการเปลี่ยนดอกไม้และการตกแต่งทุกสัปดาห์ เพื่อให้เกิดความหลากหลาย นอกจากนั้นยังจัดกิจกรรมภายในสวน อาทิ การสาธิตพิธีชงชาแบบญี่ปุ่น และศิลปะการพับกระดาษแบบญี่ปุ่น เป็นต้น” นายคัทสึฮิโระ กล่าว(จบ)

ด้านความก้าวหน้าการเตรียมจัดงาน ขณะนี้การก่อสร้างและระบบสาธารณสุขคืบหน้า 80% เร็วกว่าแผน 5% และระบบป้องกันน้ำท่วมได้ดำเนินการสมบูรณ์แล้ว

ด้านการร่วมงานของต่างประเทศ 33 ประเทศ จาก 5 ทวีป ยืนยันเข้าร่วมงาน โดย24 ประเทศเข้าสร้างสวนนานาชาติภายนอกอาคาร 25 สวน (หนึ่งสวนจากจังหวัดเฮียวโกะ โอซาก้า และเกียวโตจากญี่ปุ่น) มูลค่าการลงทุนจัดสวนทั้งหมดประมาณ 800 ล้านบาท ซึ่ง 90% ได้แสดงความจำนงมอบสวนให้ประเทศไทย นอกจากนี้อีก 7 ประเทศเข้าสร้างสวนนานาชาติภายในอาคาร 12 ประเทศเข้าร่วมส่วนแสดงนิทรรศการพันธุ์ไม้ในอาคาร (ไต้หวันเข้าร่วมในนามสมาคมภาคเอกชน) ด้านการแสดงศิลปวัฒนธรรม นานาชาติส่งเข้าร่วม15 ประเทศ และมี 11ประเทศจัดให้เป็น National Days และ4ประเทศจัดให้เป็น National Weeks

ด้านการร่วมงานของในประเทศ 22 องค์กรยืนยันเข้าร่วมจัดสวนประเภทองค์กร ประกอบด้วย 8 หน่วยงานราชการ, 3 ธนาคาร, 3 รัฐวิสาหกิจ และ 8 บริษัทเอกชน เป็นสวนจัดในแนวคิดทฤษฎีและโครงการในพระราชดำริ และมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมจาก 37 จังหวัด 91 ชุด

ด้านกิจกรรมระหว่างงาน มีการจัดประกวดระดับนานาชาติเต็มรูปแบบตามหลักเกณฑ์สมาคมพืชสวนระหว่างประเทศเป็นครั้งแรกของไทย 12 หมวดการประกวด 532 ประเภท

ด้านส่วนแสดงพิเศษ
• หอคำหลวง การก่อสร้างคืบหน้ากว่า 70% เร็วกว่าแผน 3 % เริ่มเข้าตกแต่งตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคม
• สวนนิทรรศการพันธุ์ไม้เขตร้อนชื้น มีพื้นที่กว่า 80 ไร่ รวบรวมพันธุ์ไม้กว่า 2,200 ชนิด 2.5 ล้านต้น คืบหน้าตามแผน คาดว่าจะเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้เขตร้อนชื้นเพื่อการศึกษาที่สมบูรณ์ที่สุด
• ส่วนแสดงกล้วยไม้ มีพื้นที่ 4 ไร่ ในคอนเซ็ปท์ “Orchid of the World” มีพันธุ์กล้วยไม้แปลกและหายากกว่า 10,000 พันธุ์ มากกว่า 50,000 ต้น และจัดทำสวนป่ากล้วยไม้เลียนแบบธรรมชาติใหญ่ ที่สุดของประเทศ
• สวนสมุนไพร มีการสาธิตการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรที่สมบูรณ์แบบ แหล่งรวมความรู้แพทย์แผนไทยของชาวไทยภูเขา

เวลาเข้าชมงาน: เปิดให้เข้าชมงานได้ตั้งแต่เวลา 9.00 – 20.00 น.