ดอยช์แบงก์โชว์ผลงานเข้าตา ดีลลอจิก, IFR Asia และ Finance Asia กวาดตำแหน่งสุดยอดผู้จัดการหนี้, บริษัทจัดการตราสารหนี้และอนุพันธ์ยอดเยี่ยมปี 49

ธนาคารดอยช์แบงก์พอใจผลการดำเนินงานบริษัทในปี 2549 หลังบริษัทข้อมูลด้านตลาดหลักทรัพย์ระดับโลก “ดีลลอจิก” ยกย่องให้เป็นอันดับหนึ่งในการเป็นผู้จัดการหนี้ของรัฐบาลและเอกชนในภูมิภาคเอเชียในปีที่ผ่านมา พร้อมเผยดอยช์แบงก์ยังคว้ารางวัลบริษัทที่จัดการตราสารหนี้ยอดเยี่ยม (Best Bond House) จาก IFR Asia ตลอดจนบริษัทที่จัดการตราสารหนี้ยอดเยี่ยม (Best Bond House) และ บริษัทจัดการตราสารอนุพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์ประเภททุนยอดเยี่ยม (Best Equity-Linked House) จาก FinanceAsia สำหรับปี 2549 อีกด้วย

ธนาคารดอยช์แบงก์ระบุ ธนาคารดอยซ์แบงก์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมประเทศญี่ปุ่น) ได้เป็นผู้จัดการในการออกตราสารหนี้ในสกุลต่างประเทศ เช่น ดอลลาร์สหรัฐ. ยูโร และเยน ทั้งสิ้น 30 รายการ มูลค่ารวมเทียบเท่า 4.85 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2549 ที่ผ่านมา

สำหรับประเทศไทย ธนาคารดอยช์แบงก์เป็นผู้จัดการตราสารหนี้ประเภทอัตราตอบแทนสูง และมีมูลค่ามากที่สุดเท่าที่เคยมีมาจากผู้ออกตราสารในประเทศไทยด้วยธุรกรรมมูลค่า 465 ดอลลาร์สหรัฐฯ จากบริษัท ทรู มูฟ จำกัด ซึ่งถือว่าเป็นตราสารหนี้ประเภทอัตราตอบแทนสูง และมีมูลค่ามากที่สุดที่บริษัทสื่อสารโทรคมนาคมในภูมิภาคเอเชียในปี 2549 ได้เคยออกมา รวมทั้งยังเป็นตราสารหนี้ในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ มูลค่าสูงที่สุดที่ออกโดยผู้ออกตราสารหนี้ที่เป็นบริษัทไทยอีกด้วย การเสนอขายครั้งนี้ เป็นรายการหลังจากการออกและเสนอขายตราสารหนี้ของบริษัท แอด-วานซ์ อะโกร จำกัดมหาชน ที่มีมูลค่า 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเคยถือว่าเป็นตราสารหนี้ประเภทอัตราตอบแทนสูง และมีมูลค่าสูงที่สุดที่ออกโดยผู้ออกตราสารโดยบริษัทของไทยเมื่อปี 2548

มร. แรกซ์ รากาวาน ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารดอยช์แบงก์ เอจี ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ความสำเร็จของธนาคารมาจากความทุ่มเท และความมุ่งมั่นที่ธนาคารมีให้แก่สำนักงานสาขาของธนาคารที่ปฏิบัติงานอยู่ในประเทศต่างๆ โดยธนาคารดอยช์แบงก์ได้ลงทุนด้วยเงินทุนจำนวนสูงมากในประเทศไทย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการด้านวาณิชธนกิจที่ครอบคลุมครบวงจร โดยที่ได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายของธนาคารทั้งในระดับภูมิภาคและทั่วโลก เราได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับลูกค้าเพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระดับนานาชาติและสามารถจัดหาเงินทุนเพื่อการเติบโตของบริษัทลูกค้าเอง ตลอดจนสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง

มร. ราหุล มูเคอร์จี ผู้อำนวยการฝ่าย ลูกค้าสัมพันธ์ผู้ออกตราสารและผู้ลงทุน (Head of Issuer and Investor Coverage) ธนาคารดอยช์แบงก์ประจำภูมิภาคเอเชีย เผยว่า การจัดอันดับดังกล่าวได้แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของการดำเนินงานด้านตลาดทุนของธนาคารดอยช์แบงก์ในเอเชียเป็นอย่างดี

มร. มูเคอร์จี กล่าวต่อว่า “การดำเนินงานที่แข็งแกร่งของธนาคารดอยช์แบงก์ในประเทศต่างๆ ทั่วภูมิภาคเอเชียสนับสนุนให้ธนาคารจัดรูปแบบการให้บริการทางการเงินที่เฉพาะเจาะจงและตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าอย่างถูกต้อง ตลอดจนผลการดำเนินงานที่ดีเยี่ยมยังแสดงให้เห็นถึงความสามารถของธนาคารในการนำเสนอบริการ ที่มีประสิทธิภาพ มีสภาพคล่องอย่างเพียงพอ และสอดคล้องกับความต้องการเฉพาะแบบของฐานลูกค้าอันหลากหลายในภูมิภาคเอเชียของธนาคารดอยช์แบงก์”

“ปี 2549 นับเป็นปีที่ดีสำหรับธุรกิจตลาดตราสารหนี้ (debt capital markets business) ด้วยสามารถดำเนินการธุรกรรมได้สำเร็จทั้งหมด”

ธนาคารดอยช์แบงก์เพิ่งได้รับรางวัลบริษัทที่จัดการตราสารหนี้ยอดเยี่ยม (Best Bond House) จาก IFR Asia ตลอดจนบริษัทที่จัดการตราสารหนี้ยอดเยี่ยม (Best Bond House) และ บริษัทจัดการตราสารอนุพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์ประเภททุนยอดเยี่ยม (Best Equity-Linked House) จาก FinanceAsia สำหรับปี 2549

เกี่ยวกับธนาคารดอยช์แบงก์
ธนาคารดอยช์แบงก์เป็นธนาคารเพื่อการลงทุนชั้นนำระดับโลกด้วยธุรกิจการให้บริการลูกค้าคหบดีที่มีความแข็งแกร่งและสามารถทำกำไรได้ ทั้งนี้ นอกจากจะเป็นผู้นำในประเทศเยอรมันนีและยุโรปแล้ว ธนาคารยังเติบโตอย่างต่อเนื่องในอเมริกาเหนือ เอเชีย และตลาดใหม่ที่สำคัญที่กำลังโต ธนาคารดอยช์แบงก์ให้บริการการเงินที่เหนือชั้นทั่วโลกด้วยสินทรัพย์ 1,097 พันล้านยูโร และพนักงาน 67,474 คน ใน 73 ประเทศ ตลอดจนธนาคารแข่งขันที่จะเป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นทางการเงินชั้นนำของโลกแก่ลูกค้าที่มีความต้องการสูงด้วยการสร้างมูลค่าตอบแทนที่ยอดเยี่ยมให้แก่ผู้ถือหุ้นและประชาชน

ธนาคารดอยช์แบงก์ สาขาประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2521และเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการทางการเงินชั้นนำในประเทศไทย ด้วยพนักงานประมาณ 140 คน จึงทำให้ดอยช์แบงก์ให้บริการผลิตภัณฑ์และบริการครบวงจรแก่ลูกค้าทั้งประเภทบริษัทที่ดำเนินธุรกิจในประเทศ บริษัทระหว่างประเทศและสถาบันต่างๆ
www.db.com