เทรนด์ ไมโคร แถลงสรุปผลวิจัยภัยคุกคาม ปี 49 พร้อมแนะวิธีป้องกันภัยไวรัส

เทรนด์ ไมโครแถลงผลสำรวจวิจัยภัยคุกคาม ปี 2549 ภัยคุกคามเพิ่มขึ้น 163% คาดปี 2550 ภัยคุกคามบนเน็ตจะเติบโตเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว พร้อมแนะผู้ใช้งานระวังภัยคุกคามทางเน็ต เช่น การขโมยข้อมูลเฉพาะตัวหรือข้อมูลสำคัญ การติดตั้งบ็อต แอดแวร์/สปายแวร์

บริษัท เทรนด์ ไมโคร (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำในตลาดผลิตภัณฑ์ป้องกันไวรัสเครือข่าย ซอฟต์แวร์ และบริการด้านความปลอดภัยข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เปิดเผยถึงรายงานภัยคุกคามประจำปี 2549 และการคาดการณ์ในปี 2550 โดยงานวิจัยชิ้นนี้รวบรวม และวิเคราะห์โดยทีมงานเทรนด์แล็บส์พบว่าในปี 2549 มีการก่ออาชญากรรมที่เน้นการขโมยข้อมูลเฉพาะตัว การจารกรรม และรีดไถองค์กร โดยบ็อตเน็ตเป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมในกลุ่มแฮคเกอร์มากที่สุด และในปี 2550 นี้ คาดว่าภัยคุกคามบนอินเทอร์เน็ตจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น โดยภัยคุกคามดังกล่าวใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการดำเนินกิจกรรมประสงค์ร้ายต่างๆ และยังตั้งเป้าโจมตีไปยังเว็บไซต์ที่เป็นเครือข่ายทางสังคมด้วย

เนื่องจากแบนด์วิธหรือช่องสัญญาณการสื่อสารข้อมูลในหลายประเทศมีขนาดเพิ่มขึ้น ดังนั้นการดาวน์โหลดไฟล์สื่อต่างๆ โปรแกรม และข้อมูลชนิดอื่นๆ จึงกำลังเป็นที่นิยม บรรดาแฮคเกอร์วายร้ายจึงหันมาใช้ไซต์เครือข่ายสาธารณะเป็นเครื่องมือในการซ่อนมัลแวร์ร้ายของพวกตนมากขึ้น โดยผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจะไม่รู้สึกสงสัยเลยว่าตัวเองได้ดาวน์โหลดไฟล์ร้ายลงในเครื่องแล้ว รูปแบบการทำงานดังกล่าวถือเป็นการกระตุ้นให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อร้ายจำนวนมากได้

ขณะที่เงินยังคงเป็นแรงผลักดันสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการก่อภัยคุกคามเป็นส่วนใหญ่ ในช่วงปี 2549 สแปมรูปภาพครองอันดับหนึ่งที่มีการใช้งานโดยแฮคเกอร์ ที่มาพร้อมกับการค้ายาปลอมที่ผิดกฎหมาย นอกจากนี้แฮคเกอร์กลุ่มผู้สร้างสปายแวร์และมัลแวร์ก็กำลังหันมาสร้างรายได้จากเหยื่อที่เป็นผู้ใช้ตามบ้านและในองค์กรธุรกิจมากขึ้นด้วย

นายรัฐสิริ ไข่แก้ว ผู้จัดการฝ่ายขายประจำประเทศไทย บริษัท เทรนด์ ไมโคร (ประเทศไทย) จำกัดกล่าวว่า “อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ได้พัฒนากลายเป็นอาชญากรรมที่มีการจัดตั้ง ไม่ใช่เกมของผู้โจมตีแต่ละคนอีกต่อไป เงินยังเป็นตัวผลักดันสำคัญ และจากงานวิจัยพบว่ารูปแบบการโจมตีเริ่มเปลี่ยนจากระดับที่รวดเร็วและวงกว้างไปเป็นการโจมตีที่ชาญฉลาดขึ้นโดยเน้นไปที่กลุ่มเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง ภัยคุกคามบนอินเทอร์เน็ตที่ไม่สามารถมองไม่เห็นได้กำลังเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ และผู้ใช้ควรระมัดระวังให้มากกว่าที่เคยเกี่ยวกับสิ่งที่จะดาวน์โหลดและติดตั้ง เนื่องจากภัยคุกคามลูกผสมนี้ฉลาดกว่าที่เคยพบเจอ และมีความพยายามอย่างมากที่จะขโมยข้อมูลส่วนบุคคล องค์กร หรือเงินของเหยื่อมาให้ได้”

ทั้งนี้ บริษัท เทรนด์ ไมโครคาดว่าแนวโน้มดังกล่าวจะยังคงถูกใช้โดยบรรดาแฮคเกอร์ในปี 2550 และต่อๆ ไป สำหรับผลการวิจัยที่น่าสนใจที่ได้จากรายงานภัยคุกคามปี 2549 และการคาดการณ์ในปี 2550 ของบริษัท เทรนด์ ไมโคร อาจสรุปได้ดังนี้

 ภัยคุกคามดิจิทัลเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณ 163% เมื่อเทียบกันปีต่อปี

 ภัยคุกคามบนอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเกือบ 15% ตั้งแต่เดือนธันวาคมที่ผ่านมา โดยมีรายงานในปีนี้แจ้งเข้ามาเกือบห้าแสนครั้ง
 การรับมือกับสปายแวร์เริ่มทวีความยุ่งยากขึ้นและแอดแวร์บางตัวมีแนวโน้มว่าจะกลายเป็นมัลแวร์ที่ก่อให้เกิดการโกงคลิก (click fraud) ได้

 บริษัท เทรนด์ ไมโครพบว่าโดยเฉลี่ยแล้วในแต่ละเดือนจะมีสแปมกว่าสองล้านชิ้นกระจายอยู่ทั่วอินเทอร์เน็ต

 บ็อตยังคงเพิ่มจำนวนขึ้น บริษัท เทรนด์ ไมโครบันทึกสถิติการเพิ่มจำนวนโดยเฉลี่ยของบ็อตที่ระดับ 15% นับตั้งแต่เดือนธันวาคมที่ผ่านมาด้วยจำนวนกว่า 140,000 ตัวที่ถูกตรวจพบ

ด้านแนวทางการป้องกันภัยคุกคามในองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก สามารถป้องกันได้ โดยปฏิบัติตามแนวทางดังนี้

 ใช้วีธีการสแกนเอชทีทีพี (HTTP) โดยให้ผู้ใช้ส่งต่อเว็บไซต์ที่จะเข้าไปเยี่ยมชมทั้งหมด ไปที่อุปกรณ์สแกน และต้องมีการปฏิเสธไม่ให้เข้าเว็บนั้น หากยังไม่ได้ผ่านขั้นตอนการสแกน

 อย่าอนุญาตให้โปรโตคอลที่ไม่จำเป็นเข้าสู่เครือข่ายองค์กรได้

 ใช้ซอฟต์แวร์สแกนช่องโหว่ในเครือข่าย การอัพเดทระบบปฏิบัติการอย่างสม่ำเสมอสามารถลดผลกระทบของการเกิดช่องโหว่ใหม่ๆ ในเครือข่ายได้

 จำกัดสิทธิ์พิเศษของผู้ใช้เครือข่ายทั้งหมด

 ใช้การสแกนที่ป้องกันสปายแวร์สำหรับองค์กร

 สนับสนุนการรณรงค์ให้ผู้ใช้เกิดการตระหนักในเรื่องของความปลอดภัย

และสำหรับผู้ใช้ตามบ้าน บริษัท เทรนด์ ไมโครขอแนะนำให้ปฏิบัติดังนี้
 ระวังเว็บเพจที่ต้องให้เราติดตั้งซอฟต์แวร์ อย่ายอมให้มีการติดตั้งซอฟต์แวร์ใหม่จากเบราเซอร์ของผู้ใช้จนกว่าผู้ใช้จะเชื่อมั่นในเว็บเพจนั้น และผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ดังกล่าว

 ใช้ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสและสปายแวร์ในการสแกนโปรแกรมที่ดาวน์โหลดมาจากอินเทอร์เน็ต ซึ่งรวมถึงการดาวน์โหลดสิ่งต่างๆ จากเครือข่ายพีทูพี (P2P) ด้วย ทั้งจากทางเว็บ และโดยใช้ เซิร์ฟเวอร์ FTP ไม่ว่าจะจากแหล่งใดก็ตาม

 ระวังอีเมลแปลกๆ และอีเมลที่ไม่คิดว่าจะได้รับ ไม่ว่าผู้ส่งจะเป็นใครก็ตาม อย่าเปิดไฟล์แนบท้ายหรือคลิกลิงค์ที่มีอยู่ในข้อความอีเมลเหล่านั้น

 เปิดใช้งานคุณลักษณะ “Automatic Update” ในระบบปฏิบัติการวินโดว์สของคุณและใช้ตัวอัพเดทใหม่ทันทีที่เปิดให้ใช้งานได้

 ใช้บริการสแกนสแกนไวรัสแบบเวลาจริง หมั่นตรวจสอบว่าบริการนั้นอัพเดทและกำลังทำงานอยู่เสมอ

สำหรับสำเนาของรายงานฉบับสมบูรณ์ ดูได้ที่ www.trendmicro.com

เกี่ยวกับบริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์
บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์. เป็นผู้นำระดับโลกด้านซอฟต์แวร์และการบริการด้านการป้องกันไวรัสบนเครือข่าย และการรักษาความปลอดภัยข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต บริษัทก่อตั้งขึ้นในปี 1988 โดยทำหน้าที่จัดหาซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และบริการด้านความปลอดภัยที่ได้รับรางวัลมากมายให้กับผู้ใช้ส่วนบุคคลและองค์กรในทุกขนาด มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และมีหน่วยธุรกิจอยู่ในกว่า 30 ประเทศ สำหรับผลิตภัณฑ์ของเทรนด์ ไมโคร ได้จำหน่ายไปยังองค์กรธุรกิจ ตัวแทนจำหน่ายแบบมูลค่าเพิ่ม และผู้ให้บริการ สนใจข้อมูลและชุดทดลองใช้งานผลิตภัณฑ์จากเทรนด์ ไมโครได้ที่ เว็บไซต์ www.trendmicro.com