กระทรวงสาธารณสุขและองค์การอนามัยโลก (WHO) เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมนักวิจัยระดับแนวหน้า

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผู้เชี่ยวชาญระดับแนวหน้าได้เข้าร่วมหารือการประชุมขึ้นในกรุงเทพฯ เพื่อที่จะย้ำถึงสองสาเหตุหลักของโรคปอดบวมและโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่คอยคุกคามชีวิตนี้ อันได้แก่ เชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า เฮโมฟิลัส อินฟลูเอ็นซ่า ชนิดบี (หรือ “ฮิบ”) และ สเตรปโตคอคคัส นิวโมเนียอี หรือ เชื้อนิวโมคอคคัส เมื่อเชื้อแบคทีเรียเหล่านี้เข้าสู่ปอด ซึ่งจะทำให้เกิดปอดบวมชนิดที่พบได้ทั่วไป อีกทั้งยังสามารถลุกลามเข้าสู่กระแสเลือด และ/หรือน้ำไขสันหลัง ทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ แต่ปัจจุบันเรามีวัคซีนที่สามารถป้องกันการติดเชื้อดังกล่าวได้แล้ว ดังจะเห็นได้จากรายงานการวิจัยว่าทุก ๆ ปี โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และโรคปอดบวมที่ร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต ได้คร่าชีวิตเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปีทั่วโลกประมาณ 2 ล้านราย และโดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นในทวีปแอฟริกาและเอเชีย

คำบรรยายภาพ: (จากซ้ายไปขวา) ดร. ศุภมิตร ชุณห์สุทธิวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเวชกรรมป้องกัน กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข, ดร. ฌอน-มารี ออคโว่-เบเล่ ผู้อำนวยการแผนกวัคซีนภูมิคุ้มกันและชีววิทยา องค์การอนามัยโลก, ดร. ออริน เลอวีน ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร ของ PneumoADIP, ดร. ลานา ฮาจเจ๊ะ ผู้อำนวยการฝ่ายโครงการ องค์กรช่วยเหลือและปกป้องเด็กจากโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (The Hib Initiative), ดร. ซาเมอร์ ซาฮา ที่ปรึกษาอาวุโสและศาสตราจารย์โรงพยาบาล Dhaka Shishu, ดร. โธมัส เฌอเรี่ยน ผู้ประสานงานทางด้าน EPI แผนการขยายการสร้างภูมิคุ้มกันโรค วัคซีนและชีววิทยา องค์การอนามัยโลก