ธนาคารไทยพาณิชย์ตอกย้ำแนวคิด “พันธมิตรธุรกิจ” ด้วยกลยุทธ์ 2 ด้าน ทั้งการให้บริการที่ดี และการจัดกิจกรรมสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ลูกค้าธุรกิจ โดยกิจกรรมหลักๆ ได้แก่ SCB CEO Forum, SCB Business Matching และ SCB Young Entrepreneur Program : SCB-YEP
ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัจจุบันธุรกิจ SME เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นการสร้างความแข็งแกร่งแก่ภาคธุรกิจ SME จึงเป็นสิ่งที่ธนาคารให้ความสำคัญมาตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ภายใต้การดำเนินงานของกลุ่มลูกค้าธุรกิจ (SCB Business Banking Group) ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2550 สินเชื่อ SME ของธนาคารเติบโตประมาณ 15% ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าตลาด ต่อเนื่องจากปี 2549 ที่สินเชื่อธุรกิจ SME ของธนาคารขยายตัวถึง 36% สำหรับครึ่งปีหลังนี้ธนาคารยังคงมุ่งขยายสินเชื่อกลุ่ม SME อย่างต่อเนื่อง โดยสินเชื่อธุรกิจ SME คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 24% ของสินเชื่อทั้งหมดของธนาคาร
สำหรับกลยุทธ์หลัก 2 ด้าน ได้แก่ การให้บริการที่ดี โดยมีการนำระบบ Electronic Loan Origination System หรือกระบวนการอนุมัติสินเชื่อโดยไม่ใช้กระดาษมาใช้ เพิ่มจำนวนพนักงานดูแลลูกค้ากลุ่ม SME อีกประมาณ 30% นอกจากนั้น ยังมีการฝึกอบรมให้มีความเข้าใจในลูกค้าแต่ละกลุ่มเพื่อการให้บริการได้ตรงตามความต้องการ การจัดกิจกรรม สร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added Activity) อันจะเป็นการส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้ประกอบการมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น โดยยึดแนวคิด “พันธมิตรธุรกิจ” ที่พร้อมให้การสนับสนุนลูกค้า SME ในทุกด้าน กิจกรรมหลัก ๆ 3 กิจกรรมที่จัดขึ้น ได้แก่
กิจกรรมแรก การจัดสัมมนาสำหรับผู้บริหารระดับ CEO หรือ SCB CEO Forum โดยธนาคารเชิญ ผู้บริหารระดับสูงจากภาคธุรกิจขนาดใหญ่และมีความสำคัญระดับประเทศมาพบและร่วมพูดคุยกัน ปัจจุบันจัดไปแล้ว 4 ครั้ง ทั้งในอุตสาหกรรมน้ำมัน การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ การก่อสร้าง และการเตรียมรับการเติบโตของภูมิภาคสุวรรณภูมิ
กิจกรรมที่สอง ได้แก่ โครงการพัฒนาทักษะเจ้าของธุรกิจยุคใหม่ (SCB Young Entrepreneur Program : SCB-YEP) เป็นโครงการที่ส่งเสริมผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่เป็นทายาทเจ้าของธุรกิจขนาดกลางให้มีโอกาสเสริมสร้างประสบการณ์นอกตำราและสร้างพันธมิตรธุรกิจระหว่างกัน โดยรุ่นที่ 1 ที่เพิ่งปิด โครงการไปประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ธนาคารเตรียมเปิดรุ่นที่ 2 ในเดือนกันยายนนี้
กิจกรรมที่สาม ได้แก่ SCB Business Matching ที่เปิดโอกาสให้กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจที่มีความ เกี่ยวเนื่องกันได้มีโอกาสนำเสนอธุรกิจและสร้างเครือข่ายพันธมิตรธุรกิจระหว่างกัน ในครั้งแรกได้จัด Business Matching สำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป และอุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารแปรรูป เมื่อเดือนมิถุนายน 2550 ซึ่งในงานมีการจัดสัมมนาเสริมความรู้ผู้ประกอบการในหัวข้อ “กลยุทธ์บรรจุภัณฑ์สร้างมูลค่าเพิ่มอาหารแปรรูป” ด้วย
สำหรับกิจกรรมในวันนี้ เป็นการจัด SCB Business Matching ครั้งที่ 2 สำหรับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเหล็ก ทั้งผู้จำหน่ายเหล็ก และผู้ใช้เหล็กเป็นวัตถุดิบในการผลิต และมีการสัมมนา หัวข้อ “แนวโน้มตลาดเหล็กโลกใน 3 ปีข้างหน้า” โดย คุณวิกรม วัชระคุปต์ ผู้อำนวยการสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย โดยกิจกรรม SCB Business Matching มีหลักการคล้ายกับ “ธนาคารพ่อสื่อ” ช่วยลูกค้าจับคู่ผู้ซื้อและผู้ขายในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกัน และเสริมศักยภาพผู้ประกอบการ SME ด้านข้อมูล ความรู้ที่เป็นประโยชน์ เพราะธนาคารตระหนักดีว่าปัญหาของผู้ประกอบการ SME ในปัจจุบัน คือ การหาคู่ค้าที่เชื่อถือได้ และต้นทุนด้านการตลาดของลูกค้าซึ่งค่อนข้างสูงและไม่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งขนาดใหญ่ได้
ธนาคารไทยพาณิชย์ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมศักยภาพของลูกค้าและผู้ประกอบการในภาคธุรกิจ SME ทุกด้าน โดยพร้อมที่จะเป็นพันธมิตรทางธุรกิจและเติบโตไปพร้อมกับลูกค้า เพื่อร่วมผลักดันเศรษฐกิจไทยให้เติบโตบนรากฐานอันมั่นคงต่อไป ด้วยเครือข่ายสาขาของธนาคารที่มีมากที่สุดในประเทศไทย และนโยบายของธนาคารในการมุ่งเน้นสู่การเป็นสถาบันการเงินชั้นนำที่ให้บริการทางการเงินครบวงจร (Premier Universal Bank)