เทรนด์ ไมโคร เผยผลกระทบที่เกิดจากพฤติกรรมผู้ใช้งานแบบเคลื่อนที่

บริษัท เทรนด์ ไมโคร อินคอร์ปอเรท (ชื่อในตลาดหุ้นโตเกียว: 4704) ผู้นำด้านซอฟต์แวร์ และการบริการด้านการป้องกันไวรัสบนเครือข่าย และระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เปิดเผยผลการศึกษาพฤติกรรมของพนักงานในองค์กรที่มีรูปแบบการทำงานแบบเคลื่อนที่

ในช่วงไม่กี่ปีมานี้เทคโนโลยีแบบพกพาและการทำงานแบบเคลื่อนที่เพิ่มจำนวนสูงขึ้น แม้ว่าวิธีการดังกล่าวจะช่วยให้พนักงานสามารถเข้าถึงองค์กร เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน แต่ก่อให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้นตามไปด้วย จากการศึกษาของบริษัท เทรนด์ ไมโคร พบว่าผู้ใช้ที่ทำงานแบบเคลื่อนที่มากขึ้นนั้น มีแนวโน้มจะส่งข้อมูลที่เป็นความลับผ่านทางบริการรับส่งข้อความ(ไอเอ็ม) หรือทางเว็บเมล์เพิ่มขึ้น

การศึกษาครั้งนี้ระบุว่าพนักงานในองค์กรในประเทศญี่ปุ่น ทั้งที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือทำงานแบบเคลื่อนที่มีแนวโน้มที่จะส่งข้อมูลลับไปให้เพื่อนร่วมงานหรือหุ้นส่วนทางธุรกิจผ่านทางบริการรับส่งข้อความหรืออีเมล์มากกว่าผู้ใช้ตามบ้านทั่วไป

ขณะที่ในสหรัฐอเมริกา พบว่า 58% ของผู้ตอบแบบสอบถามที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากภายนอกเครือข่ายองค์กรผ่านทางแล็บท็อป ยอมรับว่าใช้วิธีส่งข้อมูลที่เป็นความลับผ่านทางเว็บเมล์ ในขณะที่มีเพียง 42% ของผู้ตอบแบบสอบถามที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านทางระบบเครือข่ายขององค์กร

ส่วนผู้ตอบแบบสอบถามจากประเทศเยอรมนี อังกฤษ และสหัฐอเมริกา ระบุว่าผู้ใช้งานแบบเคลื่อนที่มีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมออนไลน์ที่เสี่ยงกว่าผู้ใช้คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เช่น การเยี่ยมชมเว็บไซต์เครือข่ายชุมชนและดาวน์โหลดภาพยนตร์ขณะที่อยู่ในเครือข่ายขององค์กร ทั้งนี้ข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามของชาวเยอรมัน ระบุว่า 54% ของผู้ใช้อุปกรณ์แบบเคลื่อนที่มักจะดาวน์โหลดไฟล์ปฏิบัติการ (.exe) ในขณะที่พวกเขากำลังเชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายขององค์กร เปรียบเทียบกับผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่มีเพียง 41%

มีเพียงญี่ปุ่นประเทศเดียวเท่านั้นที่พบว่าผลการสำรวจแตกต่างจากประเทศอื่นๆ โดยในญี่ปุ่น มีเพียง 49% ของผู้ใช้งานแบบเคลื่อนที่ที่ดาวน์โหลดไฟล์ปฏิบัติการ ขณะอยู่ในเครือข่ายองค์กร เปรียบเทียบกับผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่มีจำนวน 60%

การศึกษาครั้งนี้ ติดตามผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งเป็นผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ในองค์กร จำนวน 1,600 คน จากประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมนี และญี่ปุ่น สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ในทุกประเทศที่ทำการสำรวจ (ยกเว้นประเทศญี่ปุ่น) พบว่ามีผู้ใช้งานแบบเคลื่อนที่ (เชื่อมต่อเครือข่ายผ่านอุปกรณ์พกพา) เพิ่มมากขึ้น และทำให้พวกเขามีแนวโน้มจะได้รับสแปม และการโจมตีแบบฟิชชิงมากขึ้นด้วย

• ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าช่วงสามเดือนที่ผ่านมา 77% ของผู้ใช้งานแบบเคลื่อนที่ รายงานว่าได้รับ สแปมขณะทำงาน เมื่อเทียบกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่มีจำนวน 68%

• นอกจากนี้ ในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา ยังพบด้วยว่า 40% ของผู้ใช้งานแบบเคลื่อนที่ในสหรัฐอเมริกา ถูกโจมตีด้วยฟิชชิงขณะทำงาน เปรียบเทียบกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่มีจำนวนเพียง 31% เท่านั้น

• ขณะที่ผู้ใช้งานแบบเคลื่อนที่ในอังกฤษ พบว่าในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา 76% รายงานว่าได้รับ สแปมขณะทำงาน เมื่อเทียบกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่มีจำนวน 63%

• 80% ของผู้ใช้งานแบบเคลื่อนที่ในเยอรมนี รายงานว่าได้รับสแปมขณะทำงาน ในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่มีจำนวน 70%

จากผลการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ผู้ใช้งานแบบเคลื่อนที่ส่วนใหญ่มักจะมีความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค และมีความรู้เรื่องภัยคุกคามความปลอดภัย เช่น ฟาร์มมิง และฟิชชิง ยกตัวอย่างเช่น ในสหรัฐอเมริกา 61% ของผู้ใช้งานแบบเคลื่อนที่จะตื่นตัวเรื่องภัยคุกคามบนเว็บมากกว่าผู้ใช้คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่มีจำนวนเพียง 49% เท่านั้น

แนวโน้มของพฤติกรรมเสี่ยงดังกล่าวกำลังสร้างความกังวลเป็นอย่างมาก เพราะภัยคุกคามบนเว็บในปัจจุบันเริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งภัยคุกคามทางเว็บยุคใหม่จะมีองค์ประกอบมากขึ้น และชาญฉลาดมากขึ้นด้วย รวมทั้งมีการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อปรับเปลี่ยนตัวเอง, ซ่อนตัว, ติดต่อสื่อสาร และส่งผ่านข้อมูลที่ขโมยมา เมื่อแฮคเกอร์มีการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปแบบขององค์กรมากขึ้น และยังได้รับแรงจูงใจด้านตัวเงินมากขึ้น ดังนั้นโอกาสของการก่ออาชญกรรมจึงสูงขึ้นกว่าที่เคยเป็น

“พฤติกรรมเสี่ยงของผู้ใช้งานแบบเคลื่อนที่ที่เพิ่มมากขึ้น เป็นสิ่งที่ท้าทายผู้ดูแลระบบไอทีและผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย” นายไรมันด์ จีนส์ ประธานฝ่ายเทคโนโลยีด้านป้องกันมัลแวร์ บริษัท เทรนด์ ไมโคร กล่าวว่า “ผู้ใช้งานแบบเคลื่อนที่อาจไม่รู้ตัวว่าความเสี่ยงที่พวกเขากระทำต่อระบบเครือข่ายขององค์กร และพฤติกรรมดังกล่าวกำลังเพิ่มความเสี่ยงต่อความปลอดภัยขององค์กร และมีผลกระทบต่อลูกค้าของพวกเรา นั่นคือ ผู้ใช้งานยอมรับว่ามีการส่งข้อมูลที่เป็นความลับโดยใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น บริการรับส่งข้อความ และเมื่อการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่แพร่หลายรวมเข้ากับความซับซ้อนของการป้องกันภัยคุกคามบนเว็บได้สร้างความ ท้าทายครั้งสำคัญด้านการรักษาความปลอดภัยขององค์กรในทศวรรษนี้”

เครื่องมือที่ใช้ในการป้องกันภัยคุกคามบนเว็บแบบเดิมนั้นไม่สามารถป้องกันภัยคุกคามบนเว็บได้อย่างสมบูรณ์ และในขณะนี้ยังไม่มีวิธีการเพียงอย่างเดียวหรือเทคโนโลยีเดียวที่จะมาแก้ไขสถานการณ์เหล่านี้ให้ดี ขึ้นได้ ดังนั้นจึงต้องมีการนำเอาเทคโนโลยีการป้องกันแบบหลายระดับชั้นมารับมือกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ๆ ยุทธศาสตร์ป้องกันภัยคุกคามบนเว็บ (Web Threat Protection Strategy) ของบริษัท เทรนด์ ไมโคร ถือเป็นแนวทางการป้องกันภัยคุกคามแบบหลายระดับชั้นที่สามารถป้องกันภัยคุกคามได้อย่างครอบคลุม ซึ่งรวมเทคโนโลยีใหม่ที่ป้องกันภัยคุกคามบนเว็บ ตั้งแต่เกตเวย์ ในระบบเครือข่าย และที่เครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งรับมือกับ ภัยร้ายก่อนจะเข้าสู่เครือข่ายด้วย ช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น และสามารถตอบโต้ภัยคุกคามบนเว็บรูปแบบใหม่ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงสุด

เกี่ยวกับบริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์
บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์. เป็นผู้นำระดับโลกด้านซอฟต์แวร์ และการบริการด้านการป้องกันไวรัสบนเครือข่าย และการรักษาความปลอดภัยข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1988 เทรนด์ ไมโครได้มอบโซลูชั่นให้แก่ผู้บริโภค และองค์กรทุกขนาด ด้วยซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และบริการด้านความปลอดภัยที่ได้รับรางวัลมากมาย ด้วยสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และศูนย์ดำเนินการในกว่า 30 ประเทศ โซลูชั่นของเทรนด์ ไมโคร ได้จำหน่ายผ่านองค์กรผู้แทนจำหน่าย และผู้ให้บริการต่างๆ ทั่วโลก สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม และทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ และบริการของเทรนด์ ไมโคร คลิกไปได้ที่ เว็บไซต์ www.trendmicro.com