WORLD CTL 2008 การประชุมวิชาการระดับโลกเรื่องการเปลี่ยนถ่านหินเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม

การประชุมวิชาการระดับนานาชาติครั้งแรกเกี่ยวกับการเปลี่ยนถ่านหินเป็นของเหลว หรืองาน WORLD CTL 2008 จะจัดขึ้น ณ กรุงปารีส ระหว่างวันที่ 3-4 เมษายน 2552 โดยคณะกรรมการพลังงานของโลก สถาบันถ่านหินโลกและการปิโตรเลียมแห่งประเทศฝรั่งเศส (IFP) การประชุมครั้งนี้จะมีผู้เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนถ่านหินให้เป็นของเหลวหรือ CTL (Coal-To-Liquids) ผู้เชี่ยวชาญจากภาคอุตสาหกรรมที่ใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เช่นด้านปิโตรเคมี ยานยนต์ และการบิน ตลอดจนซัพพลายเออร์เกี่ยวกับ CTL เช่น หน่วยงานด้านวิศวการ สถาบันการเงิน หรือผู้จัดหาสินค้าตัวเร่งปฏิกิริยาที่จะนำทักษะความรู้มาสู่โปรแกรมที่เต็มไปด้วยความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญในสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคตของแหล่งพลังงานนี้

การเปลี่ยนถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงเหลวหรือ CTL กลายเป็นหัวใจหลักของแนวคิดเกี่ยวกับพลังงาน 30% ของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ในแอฟริกาใต้ผลิตมาจากถ่านหิน กองทัพอากาศของสหรัฐอเมริกาเพิ่งทำการทดลองใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีกรรมวิธีผลิตข้างต้นกับเครื่องบินรบ B-52 และจะทำการทดสอบกับกองเรือรบก่อนสิ้นปี 2554 นอกจากนี้ China University of Petroleum ได้ริเริ่มโครงการ CTL ในขณะที่ China Shenhua ซึ่งเป็นหน่วยงานชั้นนำของประเทศจีนจะดำเนินโครงการ CTL ในปี 2551 ซึ่งมีกำลังการผลิต 20,000 บาร์เร็ล ต่อวัน

การประชุมวิชาการ WORLD CTL 2008 จะเป็นที่แห่งแรกสำหรับการแลกเปลี่ยนความท้าทายเชิงยุทธวิธี สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีและเศรษฐกิจ

สำหรับแผนกลยุทธ์ CTL มีส่วนทำให้ลดการพึ่งพาพลังงานของหลายๆ ประเทศที่มีปริมาณของถ่านหินมากและมีน้ำมันเชื้อเพลิงปริมาณน้อย จะทำให้ผู้ประกอบการเหมืองถ่านหินได้ผลประโยชน์เพิ่มขึ้น และบริษัทเกี่ยวกับปิโตรเลียมมีแหล่งซัพพลายที่หลายหลายมากขึ้น การอภิปรายระหว่างผู้บริหารระดับสูงของกลุ่มผู้ประกอบการเหมืองถ่านหินและบริษัทปิโตรเลียมช่วยเปิดมุมมองเกี่ยวกับอุตสาหกรรมทั้งสองให้กว้างขึ้น

ถ่านหินเป็นสารที่ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงในเชิงเคมี ซึ่งเป็นสิ่งที่ในวงการ CTL วิตก ดังนั้น สำหรับแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมและจะนำประเด็นนี้มาอภิปรายเพื่อเปรียบเทียบกับแหล่งพลังงงานอื่นๆ โดยนักวิจัยและผู้ประกอบการอุตสาหกรรมจะได้นำเสนอแนวทางแก้ไขนำร่องหรือแนวทางที่ได้มีการใช้การแล้ว รวมถึงข้อได้เปรียบในเชิงสิ่งแวดล้อมของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้จากกระบวนการ CTL หรือเรียกว่า “น้ำมันเชื้อเพลิงสังเคราะห์” เมื่อเทียบกับน้ำมันเชื้อเพลิงแบบธรรมดา

สำหรับแผนงานด้านเทคโนโลยี ประสิทธิภาพเชิงเทคนิค เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของกระบวนการผลิตจะได้นำเสนอโดยบริษัทชั้นนำทั้งด้านเทคโนโลยี “โดยตรง” และ “โดยอ้อม”

ประเด็นปัญหาจำเพาะเชิงเศรษฐศาสตร์ของวิธีการ CTL เป็นสิ่งสำคัญ ผลกำไรจากการลงทุนจะถูกกระทบจากความไม่แน่นอนหลายอย่าง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของราคาถ่านหินและน้ำมัน ระยะเวลาและความไม่แน่นอนของอัตราการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันจากรัฐบาล ต้นทุนจากมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม หลักประกันที่ลดลงที่ให้สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตและผู้ประกอบการอุตสาหการ ความชำนาญเชิงอุตสาหกรรมที่ถูกจำกัด ขณะนี้มีเพียงผู้ประกอบการรายเดียว

นอกเหนือจาก CTL แล้วการประชุมวิชาการ WORLD CTL 2008 ยังเปิดโอกาสให้แสดงการผลิตสารเคมีและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องจากถ่านหิน หรือ “Coal-To-Chemicals” และการแทนที่ถ่านหินด้วยวัตถุดิบที่เป็นชีวมวล หรือ “Biomass-To-Liquids”

ช่วงการปิดงาน จะมีการมอบรางวัล World CTL Award 2008 ให้แก่ Dr. Wasaka นักวิจัยและดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการของ New Energy and Industrial Technology Development Organization (NEDO) จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงโดดเด่นและประสบความสำเร็จระดับโลกด้าน CTL ที่มีการทำงานเกี่ยวกับการค้นพบ การพัฒนา การริเริ่มกระบวนการผลิตและความสำเร็จของเทคโนโลยี CTL โดยมีผู้มอบรางวัลคือ Mr. Yves Chauvin เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเคมีประจำปี 2548

นอกจากนี้ ยังจะมีงานแสดงสินค้าในบริเวณข้างเคียงพื้นที่จัดการประชุม โดยผู้ประกอบการจะมีโอกาสพบปะลูกค้าปัจจุบันและลูกค้าในอนาคตได้

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมของ World CTL สามารถค้นหาได้ที่ www.world-CTL2008.com