จากภาพ :ชี้ค อาเหม็ด บิน ซาอิด อัล มัคตุม ประธานและผู้อำนวยการ สายการบินเอมิเรตส์และบริษัทในเครือ ประกาศผลประกอบการของบริษัทในเครือเอมิเรตส์ ที่สามารถสร้างผลกำไรได้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 20 ปี ด้วยกำไรสุทธิ 4.64 หมื่นล้านบาท (1.45 พันล้านเหรียญสหรัฐ) จากผลประกอบการปีงบประมาณซึ่งสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2551 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 54.1 จากปีก่อนหน้า
• ผลกำไรของบริษัทในเครือเอมิเรตส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.1 หรือประมาณ 4.64 หมื่นล้านบาท (1.45 พันล้านเหรียญสหรัฐ)
• ผลกำไรของสายการบินเพิ่มขึ้นร้อยละ 62.1 หรือประมาณ 4.38 หมื่นล้านบาท (1.37 พันล้านเหรียญสหรัฐ)
• ผลกำไรสุทธิของดนาต้าเพิ่มขึ้นถึงประมาณ 2.65 พันล้านบาท (83 ล้านเหรียญสหรัฐ)
• สายการบินและบริษัทในเครือทำกำไรสุทธิต่อเนื่องกันเป็นปีที่ 20
• เจ้าของหุ้นได้รับปันผลประมาณ 8.71 พันล้านบาท (272.5 ล้านเหรียญสหรัฐ)
• บริษัทในเครือเอมิเรตส์ได้บริจาคเงินประมาณ 40.93 หมื่นล้านบาท (12.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ให้กับเศรษฐกิจของดูไบ
บริษัทในเครือเอมิเรตส์ ประกาศผลประกอบการในโอกาสครบรอบการทำกำไรสุทธิต่อเนื่องกันเป็นปีที่ 20 ด้วยสถิติผลกำไรเป็นประวัติการณ์ แม้จะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันและสภาพการณ์ทางธุรกิจที่ท้าทายในช่วงครึ่งปีหลังของปีงบประมาณ 2550-2551
รายได้สุทธิของบริษัทในเครือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.1 ด้วยผลกำไรที่สูงขึ้นประมาณ 4.64 หมื่นล้านบาท (1.45 ล้านเหรียญสหรัฐ) ของปีงบประมาณซึ่งสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2551 ในขณะที่ผลกำไรเพิ่มขึ้นประมาณ 3.58 แสนล้านบาท (11.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับรายได้ 2.72 แสนล้านบาท (8.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ในปีก่อนหน้า โดยผลกำไรสุทธิของบริษัทในเครือเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 13.2 จากร้อยละ 11.4 ในปีก่อนหน้า
บัญชีสมดุลของบริษัทในเครือยังคงไว้ซึ่งความแข็งแกร่ง ด้วยมูลค่าประมาณ 1.22 แสนล้านบาท (3.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ) เมื่อเทียบกับมูลค่าประมาณ 1.12 แสนล้านบาท (3.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ในปีก่อนหน้า เอมิเรตส์จะแบ่งเงินปันผลจำนวนประมาณ 8.71 พันล้านบาท (272.5 ล้านเหรียญสหรัฐ) ให้แก่เจ้าของ คือ รัฐบาลดูไบ สำหรับปีงบประมาณ 2550-2551 บริษัทในเครือเอมิเรตส์จะทำการบริจาคเงินโดยตรงจำนวนประมาณ 1.92 แสนล้านบาท (6 พันล้านเหรียญสหรัฐ) และโดยอ้อมอีกประมาณ 2.17 แสนล้านบาท (6.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ให้แก่ เศรษฐกิจดูไบ
รายงานผลประกอบการของสายการบินเอมิเรตส์และบริษัทในเครือประจำปี 2550-2551 ประกอบด้วย รายงานของสายการบินเอมิเรตส์ ดนาต้า และบริษัทในเครืออื่น ๆ โดยมี ชี้ค อาเหม็ด บิน ซาอิด อัล มัคตุม ประธานและผู้อำนวยการ สายการบินเอมิเรตส์และบริษัทในเครือ เป็นประธานแถลงข่าว ซึ่งจัดขึ้นที่ดูไบ เมื่อเร็วๆ นี้
ตัวเลขผลประกอบการล่าสุดของกลุ่ม สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จในการเติบโตด้านความต้องการของผู้โดยสาร จากการขยายการจัดการธุรกิจไปยัง 6 ทวีป ซึ่งได้แก่ การลงทุนอย่างต่อเนื่องในด้านต่าง ๆ ในปัจจุบัน ทั้งด้านเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์และด้านการบริการผู้โดยสาร ในขณะที่ยังสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายในทุกภาคส่วนได้ ดูได้จากจำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการของสายการบินเอมิเรตส์จำนวน 21.2 ล้านคนในปีงบประมาณล่าสุด โดยเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าจำนวน 3.7 ล้านคน อีกทั้งการเติบโตของ ดนาต้า ฝ่ายจัดการภาคพื้นดินนานาชาติของบริษัทในเครือเอมิเรตส์ ที่ได้ขยายไปในท่าอากาศยานจำนวน 17 แห่งใน 7 ประเทศ
ชี้ค อาเหม็ด บิน ซาอิด อัล มัคตุม ประธานและผู้อำนวยการ สายการบินเอมิเรตส์และบริษัทในเครือ กล่าวว่า “นับเป็นอีกปีหนึ่งที่บริษัทในเครือของเราได้รับผลประกอบการที่น่าพอใจสูงเป็นประวัติการณ์ ถึงแม้ว่าจะเป็นช่วงแห่งความท้าทายของธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงครึ่งปีหลังที่ได้รับผลกระทบอย่างสูงจากราคาน้ำมัน และถึงแม้ว่าผลกระทบดังกล่าวจะได้รับการชดเชยด้วยผลกระกอบการจากการจัดการด้านอื่น”
“แม้จะมีการคาดการณ์ในระยะยาวว่าจำนวนผู้โดยสารที่เดินทางในชั้นหนึ่งและชั้นประหยัดจะลดลง แต่เรากลับมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่เราทำให้การเดินทางในที่นั่งชั้นดังกล่าวกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง และสนับสนุนเรื่องปัจจัยในการเลือกที่นั่งในเครื่องบินของเราต่อไปในอนาคต นับเป็นความโชคดีของสายการบินเอมิเรตส์ ที่ตั้งอยู่ ณ ดูไบ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของเส้นทางสายไหมระหว่างโลกตะวันออกและตะวันตก เราเชื่อมั่นว่าสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจที่ซบเซาจะถูกบรรเทาให้ดีขึ้นได้ด้วยความเจริญก้าวหน้าในธุรกิจแถบตะวันออกกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวและการค้าที่กำลังเติบโตเป็นอย่างสูง
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันยังคงครองสัดส่วนค่าใช้จ่ายที่สูงที่สุดติดต่อกันเป็นปีที่ 4 กล่าวคือ ร้อยละ 30.6 ของค่าใช้จ่ายการการปฏิบัติงานทั้งหมด ซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 29.1 ในปีที่แล้ว และ 27.2 ในปีก่อนหน้า
โปรแกรมบริหารความเสี่ยงในราคาน้ำมันของสายการบินฯ ยังคงได้รับรางวัลต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง โดยโปรแกรมดังกล่าวช่วยให้บริษัทประหยัดเงินได้ 7.74 พันล้านบาท (242 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในช่วงปี 2550-2551 ในช่วงที่ราคาน้ำมันดิบเวสเท็กซัส (WTI crude) ทรงตัวอยู่ในราคาประมาณ 2,878 บาท (90 เหรียญสหรัฐ) ต่อบาร์เรล ในช่วงครึ่งปีหลังของปีงบประมาณล่าสุด ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าราคาเดิมถึงร้อยละ 50 จากราคาประมาณ 1,918.80 บาท (60 เหรียญสหรัฐ) ในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ในภาพรวม โปรแกรมบริหารความเสี่ยงในราคาน้ำมันช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายได้ 3.2 หมื่นล้านบาท (1 พันล้านเหรียญสหรัฐ) นับตั้งแต่ปีงบประมาณ 2543-2544 เป็นต้นมา
ในระหว่างการเปิดการรายงานผลประกอบการประจำปี 2550-2551 ชี้ค อาเหม็ด ได้เน้นย้ำถึงพัฒนาการที่สำคัญของบริษัทในเครือฯ ซึ่งรวมถึงการย้ายบุคลากรส่วนใหญ่ที่ดูไบไปยังสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ การเปิดให้บริการเส้นทางใหม่จำนวน 11 เส้นทางทั่วโลกสำหรับผู้โดยสารและเพื่อการขนส่งสินค้าทางอากาศ รวมถึงเส้นทางแห่งแรกในอเมริกาใต้ อีกทั้งการสั่งซื้อเครื่องบินอย่างเป็นประวัติการณ์ที่งาน ดูไบ แอร์ โชว์ 2550 ที่นับได้ว่าเป็นยอดการสั่งซื้อเครื่องบินพาณิชย์ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ด้วยมูลค่ารวมประมาณ 1.12 ล้านล้านบาท (34.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ) จากราคาในท้องตลาด
ชี้ค อาเหม็ด ให้ข้อสังเกตว่า ศักยภาพในการดึงดูดและรักษาไว้ซึ่งบุคลากรชั้นยอดของบริษัทฯ ซึ่งมีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องก็เป็นความท้าทายอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญที่สุด
ชี้ค อาเหม็ด กล่าวว่า “ตามที่วางแผนไว้ ในช่วงทศวรรษหน้า สิ่งที่ท้าทายที่สุดสำหรับเราคือการค้นหานักบิน วิศวกร ลูกเรือ และบุคลากรที่มีศักยภาพในหลายภาคส่วนของธุรกิจ ถือเป็นความโชคดีที่เอมิเรตส์เป็นองค์กรที่มีวัฒนกรรมภายในองค์กรที่แข็งแกร่งมานาน โดยในปีที่ผ่านมามีผู้เข้าชมเวปไซต์เพื่อค้นหาตำแหน่งงานผ่านทางการเปิดรับสมัครงานออนไลน์กว่า 3 ล้านคน โดยเราได้รับใบสมัครเป็นจำนวนกว่า 288,000 ใบที่ส่งเข้ามาเพื่อสมัครงานในตำแหน่งต่างๆ ของบริษัทในเครือฯ การได้ทำงานที่ดูไบถือว่ามีข้อได้เปรียบหลายประการ เนื่องจากเป็นเมืองที่มีความพร้อมที่จะต้อนรับผู้มาเยือนถึง 15 ล้านคนภายในปี 2553 อีกทั้งยังมีการลงทุนอย่างมหาศาลในด้านสาธารณูปโภคเพื่อรองรับความต้องการและดึงดูดชาวต่างชาติจำนวนมากให้เข้ามาทำงานในเมือง
ชี้ค อาเหม็ด ยังเน้นย้ำถึงความสนับสนุนของบริษัทในเครือเอมิเรตส์ที่มีให้แก่สายการบินโลว์คอสต์แห่งใหม่ของดูไบ ที่ก่อตั้งขึ้นเป็นอีกภาคส่วน ทั้งที่มิได้เป็นส่วนหนึ่งของบริษัทในเครือ เอมิเรตส์ และยังเป็นสายการบินที่จะเป็นคู่แข่งในระดับภูมิภาค โดยกล่าวว่า “สายการบินแห่งใหม่นี้นับเป็นส่วนแบ่งทางการตลาดมูลค่าสูง และต้องยอมรับว่าเอมิเรตส์มีส่วนแบ่งก้อนโตจากสายการบินใหม่นี้ แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันก็มีสายการบินต่าง ๆ ที่ให้บริการ และเราก็มีความยินดีที่ได้ต้อนรับสายการบินเหล่านั้นเข้ามาในภูมิภาคตะวันออกกลาง”
ชี้ค อาเหม็ด กล่าวสรุปว่า “ผลประกอบการของบริษัทในเครือเอมิเรตส์ในปีนี้เป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง และเราก็จะไม่หยุดยั้งในการพัฒนาธุรกิจให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นเฉกเช่นในปีที่ผ่านๆ มา เราวางแผนที่จะพัฒนาการเติบโตในอนาคตโดยการลงทุนในด้านเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัย เพื่อให้เราสามารถมอบประสบการณ์ที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพสูงอย่างต่อเนื่องได้ดังที่ผู้โดยสารคาดหวังไว้”
ในปีงบประมาณที่ผ่านมา สายการบินเอมิเรตส์ มีรายได้รวมทั้งหมดประมาณ 3.45 แสนล้านบาท (10.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.3 จากรายได้ 2.59 แสนล้านบาท (8.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ของปีก่อนหน้า โดยมีรายได้จำนวนประมาณ 4.38 หมื่นล้านบาท (1.37 พันล้านเหรียญสหรัฐ) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 62.1 จากรายได้ของปี 2549-2550 ซึ่งมีจำนวน 2.67 หมื่นล้านบาท (844 ล้านเหรียญสหรัฐ)
ในช่วงปี 2550-2551 สายการบินฯ ได้รับเครื่องบินโบอิ้ง 777 ใหม่เพิ่มเป็นจำนวน 11 ลำ ซึ่งรวมถึงเครื่องบินพาณิชย์ โบอิ้ง 777-200LR ลำแรก ในช่วงสิ้นปีงบประมาณ สายการบินเอมิเรตส์มีเครื่องบินจำนวนทั้งสิ้น 114 ลำ ซึ่งรวมถึงเครื่องบินขนส่งสินค้าจำนวน 10 ลำ โดยอายุเฉลี่ยของเครื่องบินอยู่ที่ 67 เดือน ซึ่งเป็นหนึ่งในฝูงบินพาณิชย์ที่มีอายุน้อยที่สุด
ยอดการสั่งซื้ออย่างเป็นประวัติการณ์ที่งาน ดูไบ แอร์ โชว์ 2550 ส่งผลให้สายการบินเอมิเรตส์มียอดการสั่งซื้อเครื่องบินรวม 182 ลำในช่วงปลายเดือนมีนาคม 2551 ทั้งนี้ ยังไม่รวมอีกส่วนหนึ่งที่อยู่ในระหว่างการพิจารณา ซึ่งเป็นมูลค่ารวมประมาณ 1.85 ล้านล้านบาท (58 พันล้านเหรียญสหรัฐ)
ในช่วงปีงบประมาณ 2550-2551 สายการบินฯ ได้เปิดตัว 7 เส้นทางใหม่เพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสาร ซึ่งประกอบไปด้วย นิวคาสเซิล เวนิส เซ้าท์เปาโล อาเมดาบัด โตรอนโต ฮูสตัน และเคปทาวน์
จำนวนผู้โดยสารบนเครื่องเพิ่มขึ้นร้อยละ 79.8 จากร้อยละ 76.2 ของปีก่อนหน้า การให้บริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.6 หรือ 14,739 ล้านตัน-กิโลเมตร โดยความจุเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 หรือ 22,078 ล้านตัน-กิโลเมตร ในขณะที่ผลผลิตเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นปีที่ 6 เป็น 20.47 บาท (64 เซนต์สหรัฐ) ต่อรายได้ต่อตัน-กิโลเมตร ซึ่งสูงขึ้นจากเดิม 18.87 บาท (59 เซนต์สหรัฐ) ในปี 2549-2550 โดยราคาน้ำมันที่สูงและต้นทุนที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้จุดคุ้มทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 62.7 จากร้อยละ 59.9 ในปีที่ผ่านมา
สายการบินเอมิเรตส์ยังคงพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งบนเครื่องบินและบนภาคพื้นดินอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงการปรับรูปโฉมใหม่ของเครื่องบิน โบอิ้ง 777 จำนวน 4 ลำ ที่ให้รูปลักษณ์ใหม่ของที่นั่งในชั้นหนึ่ง ชั้นธุรกิจและชั้นประหยัด อีกทั้งระบบความบันเทิงบนเครื่อง “ไอซ์” (ice) ที่นำเสนอช่องความบันเทิงกว่า 1,000 ช่องให้เลือกสรร
ในส่วนของบริการภาคพื้นดิน การบริการรถรับ-ส่ง ได้ขยายไปในจุดหมายปลายทาง 40 แห่ง รวมทั้ง เมืองที่การเข้าถึงเป็นไปอย่างลำบากอย่างเช่น เมืองลูกาโน่ ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และ เมืองเวนิซ ที่ให้บริการโดยใช้เรือลิมูซีนหรูเพื่อรับ-ส่งจากสนามบิน เอมิเรตส์ยังคงก้าวต่อไปในการพัฒนาห้องรับรองผู้โดยสารในเครือข่ายของสายการบินฯ โดยห้องรับรองผู้โดยสารที่เปิดให้บริการล่าสุดคือที่ บริสเบน ที่ซึ่งให้วิวสวยงามเป็นอย่างยิ่งถึง 360 องศา และเป็นห้องรับรองผู้โดยสารแห่งแรกในออสเตรเลียที่ผู้โดยสารสามารถเดินขึ้นเครื่องได้โดยตรงจากห้องรับรองผู้โดยสาร ซึ่งออกแบบมาให้รองรับทางเชื่อมของเครื่องบิน แอร์บัส A380 เช่นกัน
สกายเวิร์ด ซึ่งเป็นโปรแกรมสะสมไมล์ของสายการบินเอมิเรตส์ ได้มีโอกาสต้อนรับสมาชิกคนที่ 3.4 ล้านในรอบปีงบประมาณที่ผ่านมา นอกจากนั้น สกายเวิร์ด ได้เปิดตัว เดอะ เอมิเรตส์ ไฮ สตรีท (The Emirates High Street) แคตตาล็อกสินค้าจัดส่งที่มีความพิเศษ ซึ่งสามารถซื้อสินค้าระดับพรีเมี่ยมหลากหลายชิ้นได้จากการใช้ไมล์สะสมของสกายเวิร์ด หรือการจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิต
www.emirates.com ซึ่งเป็นช่องทางการเข้าถึงสายการบินฯ ทางอินเทอร์เน็ตและอีคอมเมิร์ซ ได้รับการปรับโฉมครั้งใหม่ และเปิดตัวเป็น 76 เวปไซต์ที่มีให้บริการ 10 ภาษา ซึ่งช่วยให้การสำรองที่นั่งผ่านระบบออนไลน์สะดวกยิ่งขึ้น อีกทั้งการใช้งานก็ง่ายขึ้นด้วย
เอมิเรตส์ สกายคาร์โก้ สร้างผลประกอบการได้ดีในช่วงปีแห่งวิกฤตของธุรกิจการขนส่งทางอากาศ ซึ่งส่งผลให้รายได้และจำนวนสินค้าที่ขนส่งของ เอมิเรตส์ สกายคาร์โก้ มีการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ถึงแม้จะประสบกับภาวะราคาน้ำมันสูง ค่าเงินเหรียญสหรัฐอ่อนตัวจากวิกฤตซับไพรม์ และสภาพอากาศย่ำแย่ที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่ที่ทำการเกษตรหลักในพื้นที่ แผนกขนส่งสินค้าของสายการบินฯ ได้ขนส่งสินค้าจำนวน 1.3 ล้านตัน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 จากปริมาณการขนส่ง 1.2 ล้านตันในปีก่อนหน้า คิดเป็นรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 หรือรายได้รวม 5.76 หมื่นล้านบาท (1.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ) เพิ่มขึ้นจากรายได้ 4.8 หมื่นล้านบาท (1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ในปี 2549-2550
รายได้ของแผนกขนส่งสินค้าช่วยเพิ่มรายได้ของการขนส่งโดยรวมของสายการบินฯ ร้อยละ 19 และเป็นอีกครั้งหนึ่งที่เป็นรายได้ในสัดส่วนที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับสายการบินอื่นๆ ที่ใช้ฝูงบินแบบเดียวกัน ในช่วงปีที่ผ่านมา สกายคาร์โก้ เปิดให้บริการเครื่องบินขนส่งสินค้าโดยเฉพาะในเส้นทาง ดิจาบูติ ฮาห์น ตอเลโด และซาราโกซ่า ในช่วงท้ายของปีงบประมาณที่ผ่านมา ฝูงบินของเครื่องบินขนส่งสินค้ามีจำนวน 10 ลำ โดยแบ่งเป็นเครื่องบินเช่า 5 ลำ และเครื่องบินของสกายคาร์โก้อีก 5 ลำ โดยสรุป เอมิเรตส์ สกายคาร์โก้ ได้ขนส่งสินค้าบนเครื่องบินจำนวน 114 ลำ ที่รวมทั้งพื้นที่ขนส่งใต้ท้องเครื่องบินของเครื่องบินพาณิชย์ ไปยัง 99 เมืองใน 6 ทวีป
การบริการเพื่อการท่องเที่ยวพักผ่อน อีกหนึ่งแผนกของสายการบินเอมิเรตส์ที่มีผลประกอบการกว่า 8 พันล้านบาท โดยมียอดขายอยู่ที่ 1.22 หมื่นล้านบาท (382 ล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งสูงกว่าผลประกอบการในปี 2549-2550 ที่ร้อยละ 22 อราเบียน แอดแวนเจอร์ส และเอมิเรตส์ ฮอลิเดย์ มีนักท่องเที่ยวรวม 397,000 เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 8 อราเบียน แอดแวนเจอร์สยังได้ต้อนรับนักท่องเที่ยวที่มายังดูไบในช่วงปีที่ผ่านมาถึง 297,000 คน โดยเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 13 จากปี 2549-2550
เอมิเรตส์โฮเต็ลแอนด์รีสอร์ท ได้เติบโตจากแรกเริ่มแรกโดยอสังหาริมทรัพย์ภายใต้ชื่อ อัล มหา (Al Maha) ไปจนเป็นกลุ่มบริษัทอสังหาริมทรัพย์ด้านธุรกิจการจัดการโรงแรม การสำรองห้องพักผ่านระบบกลางทั่วโลก แผนกขาย แผนกพัฒนาธุรกิจ การประสานงานผ่านระบบออนไลน์ทั่วโลก และบริการเสริมด้านการออกแบบและพัฒนาสำหรับรีสอร์ทที่กำลังเติบโตในปัจจุบัน
เดอะ ฮาเบอร์ โฮเต็ล แอนด์ เรซิเด้นซ์ ซึ่งตั้งอยู่ที่ ดูไบ มารีน่า ได้เปิดให้บริการในเดือนพฤศจิกายน 2550 และหลังจากนั้นไม่นานก็เป็นที่รู้จักดีในด้านคุณภาพและอัตราการเข้าพักก็สูงขึ้นถึงร้อยละ 85 ภายใน 3 เดือน อัล มหา ยังคงครองความเป็นหนึ่งในรีสอร์ทหรูที่ประสบความสำเร็จที่สุดในโลก ด้วยอัตราการเข้าพักเฉลี่ยร้อยละ 78
กรีน เลคส์ เซอร์วิส อพาร์ทเม้นท์ ซึ่งเป็นที่พักอาศัยหรูของเอมิเรตส์ โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท จะพร้อมเปิดให้บริการในเดือนพฤษภาคม 2551 โวลแก้น แวลเล่ย์ รีสอร์ท แอนด์ สปา ที่มีความเป็นธรรมชาติสูงในบลู เมาน์เท่นของออสเตรเลียจะเปิดให้บริการปลายปี 2552 ซีเชลส์ แคป เทอร์เนย์ รีสอร์ท วิลล่า แอนด์สปา เปิดให้บริการในปี 2553 และการเปิดให้บริการของตึกแฝด 70 ชั้นของ พาร์ค ทาวเวอร์ โฮเต็ล แอนด์ เรซิเด้นส์ ในดูไบ
ดนาต้า มีรายได้การเติบโตที่แข็งแกร่งที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.2 หรือ 2.3 หมื่นล้านบาท (718 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับรายได้ 1.81 หมื่นล้านบาท (565 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในปีก่อนหน้า โดยมีกำไรสูงถึง 2.65 พันล้านบาท (83 ล้านเหรียญสหรัฐ) ทั้งที่อยู่ในช่วงดำเนินการก่อสร้างสำหรับท่าอากาศยานและการจัดการการขนส่งทางอากาศ ที่ท่าอากาศยานดูไบและในช่วงที่มีการจราจรหนาแน่น
ในขณะที่การดำเนินงานของ ดนาต้า กำลังจะก้าวเข้าสู่ปี 50 ในปี 2551 ดนาต้า ยังเป็นส่วนหลักสำคัญของการเจริญเติบโตของการจราจรในดูไบ ด้วยจำนวนเครื่องบิน 119,510 ลำ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 9) ผู้โดยสารจำนวน 35.6 ล้านคน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.4) และปริมาณการขนส่งสินค้า 632,549 ตัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2)
ในปี 2550-2551 ดนาต้า ขยายการจัดการภาคพื้นดินไปยังนานาประเทศ ด้วยการลงทุนในธุรกิจการจัดการภาคพื้นดินในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย และจีน ดนาต้าเข้าดูแลการปฏิบัติงานในท่าอากาศยาน 17 แห่งใน 7 ประเทศ นอกจากนั้น ดนาต้า ยังได้เปิดช่องทางที่ 5 สำหรับสินค้าที่ขนส่งทางอากาศระดับพรีเมี่ยม ณ ดูไบ แอร์พอร์ต ฟรีโซน นอกจากนั้น ดนาต้า ยังได้มีส่วนเพิ่มพื้นที่ของ ดูไบ เทอร์มินัล 2 อีก 37,000 ตารางฟุต เพื่อให้บริการเที่ยวบินกว่า 700 เที่ยวต่อสัปดาห์ เพื่อรองรับจำนวนผู้โดยสารที่เดินทางประมาณ 500 ล้านคนต่อปี
ดนาต้า ทราเวล เซอร์วิส ยังคงได้รับการตอบรับอย่างดีจากลูกค้าทั้งธุรกิจค้าปลีกและลูกค้าในระดับองค์กร จากการลงทุนในด้านบุคลากร เทคโนโลยี และ การตลาด โดยรายได้การเติบโตคิดเป็นร้อยละ 26 ดนาต้า ขยายธุรกิจค้าปลีกครอบคลุมไปทั่วสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยมีร้านเปิดใหม่ 7 ร้าน รวมถึงร้านที่ให้บริการด้านการท่องเที่ยวแบบเบ็ดเสร็จที่อาบูดาบี นอกจากนั้นยังขยายแนวคิดด้านที่พักรับรองในวันหยุดพักผ่อนที่ประสบความสำเร็จไปยังร้านใหม่ในดูไบ อีกทั้งยังลงนามในสัญญาตัวแทนการขาย และขยายขอบเขตของผลิตภัณฑ์ และบริการด้านการท่องเที่ยวให้ทวีความล้ำหน้ามากยิ่งขึ้น อาทิเช่น คาเมล โปโล ซึ่งผลิตโดย กัลฟ์ เวนเจอร์ส
ในภาพรวมแผนกบริหารเครื่องสาธารณูปโภค และโครงการของบริษัทในเครือฯ ได้ตกลงดำเนินการก่อสร้างอาคารใหม่ในช่วงปี 2550-2551 คิดเป็นมูลค่า 1.85 หมื่นล้านบาท (578 ล้านเหรียญสหรัฐ) โดยรวมถึง สำนักงานใหญ่ของเครือเอมิเรตส์, ศูนย์วิศวกรรม, ดนาต้า คาร์โก้ ฟรีโซน โลจิสติกส์ เซ็นเตอร์, เดอะ ฮาร์เบอร์ โฮเต็ล แอนด์ เรสซิเดนส์ และศูนย์ฝึกลูกเรือแห่งใหม่ ซึ่งโครงการในปัจจุบันมีมูลค่ารวม 3.52 หมื่นล้านบาท (1.1 ล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งรวมถึงอาคารที่ก่อสร้างใหม่ในดูไบ อาทิ เดอะ เดสทิเนชั่น แอนด์ แมเนจเมนท์ แอนเน็กซ์ เอมิเรตส์ คอล เซ็นเตอร์ และที่พักของบุคลากรที่ ราส อัล คอร์ อัล มาจัน และ มีเดีย ซิตี้
นับถึงวันที่ 31 มีนาคม 2551 บริษัทในเครือฯ มีพนักงานทั้งหมด 35,286 คนจาก 145 สัญชาติทั่วโลก ในช่วงปีงบประมาณที่ผ่านมา บริษัทในเครือได้จ้างพนักงานกว่า 7 พันคน รวมถึงลูกเรือ 2,000 คน และนักบิน 400 คน
สำหรับรายงานฉบับสมบูรณ์ กรุณาเยี่ยมชมที่เวปไซต์ www.ekgroup.com/mediacentre
เกี่ยวกับสายการบินเอมิเรตส์
สายการบินเอมิเรตส์ให้บริการเที่ยวบินสู่ประเทศไทยมานานกว่า 17 ปี ปัจจุบันจากกรุงเทพฯ เอมิเรตส์ให้บริการ 19 เที่ยวบินไป-กลับต่อสัปดาห์สู่ดูไบ, 7 เที่ยวบินไป-กลับต่อสัปดาห์สู่ฮ่องกง และ 7 เที่ยวบินไป-กลับต่อสัปดาห์สู่ซิดนีย์และโอ๊คแลนด์ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดเยี่ยมชมเวปไซต์ที่ www.emirates.com/th หรือติดต่อสำนักงานที่กรุงเทพฯ หมายเลข 02-664-1040-4