บาร์เทอร์คาร์ด วางเป้าหมายเพิ่มจำนวนสมาชิกและพันธมิตรทางธุรกิจ

บาร์เทอร์คาร์ด เครื่องมือสำหรับนักธุรกิจในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ โดยไม่ใช้เงินสดที่ใหญ่และเติบโตเร็วที่สุดในโลก ปัจจุบันบาร์เทอร์คาร์ดมีสำนักงานให้บริการไปใน 12 ประเทศทั่วโลกกว่า 120 สาขา อาทิ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อังกฤษ ดูไบ จอร์แดน

โดยผลดำเนินงานของบาร์เทอร์คาร์ด ประเทศไทย ในปี 2551 มียอดการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างสมาชิกบาร์เทอร์คาร์ดในแต่ละเดือนอยู่ที่ประมาณ 80-100 ร้อยล้านบาท และต่อปีอยู่ที่ประมาณ 1,000 ล้านบาท คิดเป็นการเติบโตที่ 15% และในส่วนของสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการก็มีการเติบโตขึ้น 15% เช่นกัน

บริษัทฯ มีการทำการตลาดผ่านกิจกรรมเพื่อสังคม สร้างการรับรู้แก่สมาชิก พันธมิตรทางธุรกิจและผู้ที่สนใจเข้าร่วมธุรกิจ บาร์เทอร์คาร์ด โดยเน้นตามจังหวัดหัวเมืองใหญ่ทั่วประเทศ

คุณวรวัฒน์ โรจน์รังษี กรรมการผู้จัดการ เปิดเผยว่า บาร์เทอร์คาร์ดสนับสนุนการหาสมาชิกใหม่เข้าร่วมธุรกิจอีกเป็นจำนวนมาก นั่นหมายความว่า บาร์เทอร์คาร์ดก็จะมีสินค้าและบริการให้สมาชิกได้มีการแลกเปลี่ยนกันมากขึ้น และส่งผลให้ยอดในการแลกเปลี่ยนเติบโตขึ้นในแต่ละปี

ในภาพรวมของตลาดธุรกิจในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจชะลอตัว อุปสรรคของธุรกิจส่วนใหญ่คือ เรื่องของกระแสเงินสด บาร์เทอร์คาร์ดเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส โดยการช่วยธุรกิจต่างๆ ประหยัดเงินสดที่ใช้ในกิจการช่วงเวลาที่บริษัทต่างๆ ต้องทำทุกวิถีทางในการรักษาเงินสดไว้ อีกทั้งยังมีความต้องการระบายสินค้าออกเป็นจำนวนมาก บาร์เทอร์คาร์ดเป็นเครื่องมือของนักธุรกิจ ในการที่จะช่วยระบายสินค้าในสต๊อกและลดช่วงเวลาว่างของธุรกิจ โดยการแนะนำธุรกิจต่างๆ ให้แก่สมาชิกรายอื่นๆ ที่อยู่ในเครือข่ายของบาร์เทอร์คาร์ด ในช่วง 3-4 ปี ที่ผ่านมาธุรกิจในบ้านเรามีการแข่งขันค่อนข้างรุนแรง บาร์เทอร์คาร์ดเองก็เช่นกัน แต่เรามีส่วนแบ่งทางการตลาดประมาณ 95% เรามองว่า การแข่งขันเป็นสิ่งที่ดี เพราะคอนเซ็ปท์ในเรื่องของการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างสมาชิกโดยไม่ใช้เงินสดนั้นคนไทยอาจจะยังไม่คุ้นเคย เมื่อมีการแข่งขันเข้ามาทุกคนก็ช่วยกันในการให้ความรู้และโฆษณาประชาสัมพันธ์กับนักธุรกิจถึงวิธีการในการแลกเปลี่ยนโดยไม่ใช้เงินสด ซึ่งมันก็เป็นการส่งเสริมและกระตุ้นตลาดทางหนึ่งเช่นกัน

ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 ไปจนถึง ปี 2552 บาร์เทอร์คาร์ดอินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย ได้วางกลยุทธ์ขยายจำนวนสมาชิกและพันธมิตรทางธุรกิจ ให้ครอบคลุมพื้นที่ตลาดยุโรป เนื่องจากข้อได้เปรียบในเรื่องของหน่วยเงินสกุลยูโร ในส่วนของประเทศไทย ปัจจุบันบาร์เทอร์คาร์ด มีสำนักงานทั้งหมด 6 สาขา ในกรุงเทพ 3 สาขา และต่างจังหวัด 3 สาขา ได้แก่ สาขาสีลม ทองหล่อ ลาดพร้าว พัทยา ภูเก็ต และ เชียงใหม่ และเตรียมเดินหน้าขยายสำนักงานไปยังหัวเมืองใหญ่ทั้ง 4 ภาคของประเทศไทย อาทิ ภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และทางภาคอีสาน ถือเป็นเป้าหมายใหญ่ที่เราเตรียมเดินหน้าเพื่อให้บริการแก่สมาชิกให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ

ในปี 2552 บริษัทฯ ได้วางตัวเลขเป้าหมายในการเติบโตด้านการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริหารไว้ที่ 20% คาดว่าจะสามารถทำยอดแลกเปลี่ยนอยู่ที่ประมาณ 2,000 ล้านบาท โดยจะใช้กลยุทธ์ด้านการตลาดต่างๆ กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และกิจกรรมทางการค้ากับสมาชิกปัจจุบัน

บาร์เทอร์คาร์ดมีจุดแข็งในด้านการดำเนินธุรกิจอยู่ 3 ส่วนดังนี้
1. International Barter Network หมายความว่า ลูกค้าที่อยู่เมืองไทยก็สามารถ ใช้บาร์เทอร์คาร์ด เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างที่มีอยู่กว่า 55,000 รายใน 12 ประเทศทั่วโลกได้

2. IT Infrastructure บาร์เทอร์คาร์ดได้พัฒนามาตลอดในส่วนของ ไอที เทคโนโลยี ที่เน้นในเรื่องของการบันทึกข้อมูล ฐานข้อมูลของสมาชิกและความสะดวกรวดเร็วในการเรียกข้อมูลมาใช้ในการให้บริการสมาชิก ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นจุดได้เปรียบในการแข่งขัน

3. เรื่องของการให้บริการที่เราเข้าใจความต้องการของสมาชิก เนื่องจากเรามีความชำนาญในธุรกิจนี้มากว่า 10 ปี เราให้ความสำคัญกับเจ้าหน้าที่ปฎิบัติงานกับสมาชิกโดยตรง ด้วยการจัดอบรม สัมมนาเพื่อพัฒนาการให้บริการสมาชิก

คุณเรวดี วัฎฎานุรักษ์ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาการขาย กล่าวถึงคุณสมบัติของผู้ที่ต้องการเข้าเป็นสมาชิกบาร์เทอร์คาร์ด ว่าหลักการในการคัดเลือกคือผู้ที่สามารถเป็นสมาชิกของบาร์เทอร์คาร์ด นั้นจะต้องเป็นเจ้าของกิจการที่มีธุรกิจสินค้าหรือบริการเป็นของตนเอง และเป็นบุคคลที่สามารถตอบคำถามทั้ง 3 ข้อต่อไปนี้
1. คุณยังต้องการรับลูกค้าเพิ่มขึ้นอยู่หรือไม่
2. คุณต้องการที่จะเก็บเงินสดไว้กับบริษัทมากขึ้นหรือไม่
3. คุณยินดีที่จะมีวงเงินเครดิตปลอดดอกเบี้ยหรือไม่

ถ้าเกิดคำตอบทั้งหมด หรือ ข้อใดข้อหนึ่ง คือใช่ ธุรกิจของคุณเหมาะกับบาร์เทอร์คาร์ด แล้ว
ส่วนผลประโยชน์ที่สมาชิกจะได้รับคือ
• สมาชิกของบาร์เทอร์คาร์ด จะได้รับวงเงินเครดิตปราศจากดอกเบี้ย
• สมาชิกสามารถประหยัดเงินสดได้โดยการใช้เครดิตของบาร์เทอร์คาร์ด ที่มีให้ก่อนและชำระคืนเป็นสินค้าหรือบริการของตนเอง
• ช่วยลูกค้าระบายสินค้าในสต๊อก
• ช่วยลูกค้าในการบันทึกข้อมูลในแลกเปลี่ยนและรายงานให้กับลูกค้า
• ลูกค้าจะได้รับการบริการในระดับมืออาชีพ โดยสมาชิกหนึ่งท่านจะมีผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจทำหน้าที่ดูแลอย่างใกล้ชิด ช่วยสนับสนุนในเรื่องการทำ ประชาสัมพันธ์ ดูแลการตลาด การค้าส่ง และเป็นที่ปรึกษาในเรื่องของการทำธุรกิจ เพื่อให้สมาชิกได้รับผลประโยชน์อย่างสูงสุดจากบาร์เทอร์คาร์ด ดังนั้น จึงเรียกได้ว่าเป็นความแข็งแกร่งของบาร์เทอร์คาร์ดที่มีให้กับลูกค้า

ในด้านของกลยุทธ์ในการเพิ่มกลุ่มลูกค้านั้น ได้แบ่งเป็น 2 กลยุทธ์ดังนี้
1. Push Strategy
อันดับแรกคือ การเน้นที่ทีมขาย ทั้งในด้านของการเพิ่มทักษะและศักยภาพของทีมขายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการนำผลประโยชน์ของบาร์เทอร์คาร์ดไปสู่ธุรกิจต่างๆ รวมถึงเพิ่มจำนวนของทีมขายขึ้นเป็น 100% ภายในสิ้นปีหน้า

อันดับสอง คือ การบริหาร Demand และ Supply หรืออุปสงค์และอุปทานในกลุ่มสมาชิกทั้งในส่วนของสินค้าและบริการ โดยทางทีมขายจะมีการทำงานอย่างใกล้ชิดกับฝ่ายพัฒนาการค้าเพื่อรับทราบว่า สินค้าหรือบริการประเภทใดที่เป็นที่ตัองการในขณะนั้น และจะประสานงานไปยังฝ่ายขายเพื่อไปคัดเลือกกลุ่มสมาชิกใหม่เข้ามาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของสมาชิกปัจจุบัน

อันดับสาม คือ การจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น Referral Campaign หรือ โครงการเพื่อนแนะนำเพื่อน เพื่อเพิ่มโอกาสในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการได้มากยิ่งขึ้น หรือ Top Gun Competition หรือการแข่งขันของทีมขายเพื่อมุ่งเพิ่มยอดสมาชิกในพื้นที่นั้นๆ

2. Pull Strategy
– โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างชื่อบาร์เทอร์คาร์ด ได้เป็นที่รู้จักในกลุ่มนักธุรกิจมากยิ่งขึ้น และก่อให้เกิดกลุ่มลูกค้าที่สนใจในบาร์เทอร์คาร์ดมากยิ่งขึ้น
– โดยมีการกำหนดงบประมาณในปี 2009 อยู่ที่ 30 ล้านบาท
– โดยแบ่งเป็น 2 ด้านคือ

o ด้านการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ โดยได้มีการลงโฆษณาและประชาสัมพันธ์ผ่านทางสื่อต่างๆ เช่น นิตยสาร หนังสือพิมพ์ทางด้านธุรกิจ และการโฆษณาที่รถ Airport Express หรือรถบัสรับส่งจากสนามบินสุวรรณภูมิมายังย่านเศรษฐกิจธุรกิจ อาทิ สีลม สุขุมวิท

o การจัดงานกิจกรรมต่างๆ และการเป็นสปอนเซอร์ ให้กับงานกิจกรรมและนิทรรศการต่างๆ

จุฑาทิพย์ อัครวิเชียร ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาการค้า
นอกจากประโยชน์ในเรื่องของการลดค่าใช้จ่ายเงินสด การระบายสินค้าในสต็อกแล้ว พันธมิตรทางธุรกิจก็เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับนักธุรกิจในปัจจุบันนี้ สมาชิกในบาร์เทอร์คาร์ดทุกรายเป็นเจ้าของกิจการ และบาร์เทอร์คาร์ดก็ได้เปิดโอกาสให้สมาชิกได้ทำความรู้จักเป็นเครือข่ายกันหรือพันธมิตรทางธุรกิจซึ่งกันและกัน

การตลาดสำหรับสมาชิกปัจจุบัน โดยการจัดกิจกรรมทางการค้า มี 2 รูปแบบ
แบบแรก คือ กิจกรรมทางการค้ากับสมาชิกทั่วประเทศ โดย บาร์เทอร์คาร์ด สำนักงานใหญ่ เป็นผู้จัดขึ้น เป็นกิจกรรมส่วนกลางที่สมาชิกจากทุกที่ได้มีโอกาสมาพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางธุรกิจซึ่งกันและกัน

แบบที่สอง คือ กิจกรรททางการค้าที่แต่ละสาขาจัดขึ้นในพื้นที่ของตนเอง มีการเชิญสมาชิกในสาขาของตัวเอง มาพบปะสังสรรค์ แลกเปลี่ยนข้อมูลทางธุรกิจกัน

และในไตรมาสสุดท้ายปี 2551 บาร์เทอร์คาร์ด มีจัดกิจกรรมหลักๆ 2 กิจกรรมคือ
– กิจกรรม Rally การกุศล “BARTERCARD GO GREEN RALLY” เส้นทางกรุงเทพฯ-ลพบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกกับสมาชิก และสมาชิกกับบริษัทฯ โดยการร่วมกันทำประโยชน์ให้กับสังคม โดยการปลูกต้นไม้เพื่อลดภาวะโลกร้อน การบริจาคสิ่งของที่จำเป็นให้กับนักเรียนที่ขาดแคลนและร่วมกันทำบุญที่วัดพระบาทน้ำพุ

– และในวันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2551 บาร์เทอร์คาร์ดจะมีงานเทรดเอ็กซ์โป ครั้งที่ 31 จัดขึ้นที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ตั้งแต่เวลา 15.00 -21.00 น. บาร์เทอร์คาร์ดเทรดเอ็กซ์โป เป็นกิจกรรมพิเศษสำหรับสมาชิกที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกไตรมาส เป็นอีกหนึ่งช่องทางการตลาดที่บาร์เทอร์คาร์ด จัดให้สมาชิกได้นำสินค้าและบริการของตนเองมาแสดง ประชาสัมพันธ์ ทำการตลาดโดยไม่ต้องใช้เงินสด งานครั้งนี้นอกจากขจะมีบูธมานำเสนอสินค้ามากกว่า 100 บริษัทแล้ว สมาชิกที่เข้ามาร่วมงานยังสามารถประหยัดเงินสดโดยการจับจ่ายสินค้าเพื่อให้เป็นของขวัญในเทศกาลปีใหม่ที่จะมาถึงนี้

รวมถึงร่วมลุ้นรางวัลจากหางบัตรอีกด้วย โดยคาดว่าการจัดงานครั้งนี้จะได้รับการตอบรับจากสมาชิกเป็นอย่างดีและน่าจะมียอดการแลกเปลี่ยนสินค้าไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท

บาร์เทอร์คาร์ด ได้วางเป้าหมายเพื่อเพิ่มจำนวนสมาชิกและพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสสำหรับธุรกิจต่างๆ ในภาวะเศรษฐกิจเช่นปัจจุบัน บาร์เทอร์คาร์ดถือได้ว่าเป็นธุรกิจที่ได้รับการตอบรับมากที่สุด จึงเป็นโอกาสสำหรับนักธุรกิจหรือผู้ที่มีสินค้าและบริการที่เหมาะสมและพร้อมในการแลเปลี่ยนโดยไม่ใช้เงินสด ผนวกกับความตั้งใจและความสามารถในการเป็นคนกลางที่จะให้บริการสมาชิกทุกกลุ่มธุรกิจในการประหยัดเงินสด และเพิ่มยอดขายเพื่อผลกำไรทางธุรกิจอย่างยั่งยืน