กรุงเทพฯ – TCS รับมือเศรษฐกิจซึมระยะยาว เร่งพัฒนาเทคโนโลยีเครือข่ายสารสนเทศช่วยลดต้นทุน ประหยัดพลังงาน รักษาสิ่งแวดล้อม แต่แข่งขันในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพออกอย่างต่อเนื่อง หลังเปิดตัวโซลูชั่นการสื่อสารแบบรวมศูนย์ หรือ Unified Communications and Collaboration เข้าทำตลาดเป็นรายแรกๆ และได้รับการตอบรับอย่างเนืองแน่น จากงาน ‘TCS Solution Day 09’ ที่ผ่านมา การไฟฟ้านครหลวง แนะ Fully Integration Solution จาก Network พื้นฐานมีแนวโน้มสดใส แต่อย่าลืมระบบ Anti Virus การไฟฟ้านครหลวง แนะ Fully Integration Solution จาก Network พื้นฐานมีแนวโน้มสดใส แต่อย่าลืมระบบ Anti Virus ด้านลาดกระบังชี้ พรบ.คอมพิวเตอร์ 2550 เป็นตัวกำหนดทิศทางเทคโนโลยีเครือข่ายที่จะเกิด
ไพบูลย์ ชีวินศิริวัฒน์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เดอะ คอมมูนิเคชั่น โซลูชั่น จำกัด (TCS) A Premier Network Communication Integrator เปิดเผยว่า ภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น TCS มิได้เพิกเฉย ต่อสถานการณ์ดังกล่าว บริษัทฯ พยายามพัฒนาโซลูชั่นที่สำคัญ จำเป็นต่อการเพิ่มประสิทธิภาพ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของลูกค้า ซึ่งจะเน้นการนำโครงสร้างไอซีทีพื้นฐานที่มีอยู่เดิมมาพัฒนาเพิ่มเติมให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการเลือกเทคโนโลยีที่ประหยัดพลังงานไฟฟ้า ประหยัดทรัพยากรธรรมชาติและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายอย่างได้ผลจริง
หนึ่งในเทคโนโลยีเครือข่ายสารสนเทศที่มีคุณสมบัติโดดเด่นดังกล่าว ได้แก่ โซลูชั่น Unified Communications and Collaboration (UCC) เทคโนโลยีการสื่อสารแบบรวมศูนย์ ที่สามารถลดต้นทุนการเดินทาง โทรคมนาคม และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกิดจากการติดต่อสื่อสาร แต่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานจากการสื่อสารของพนักงานภายในองค์กรอย่างไร้รอยต่อ รวมทั้งช่วยประหยัดพลังงาน ซึ่ง TCS เริ่มศึกษา และวางแผน พร้อมเตรียมทีมงานรองรับการทำตลาด ก่อนที่จะเปิดตัวเมื่อปลายปีที่ผ่านมา โดย UCC ได้รับความสนใจจากลูกค้าอย่างรวดเร็ว เห็นได้ชัดจากงาน TCS Solution Day 09 ที่จัดไปเมื่อเร็วๆ นี้ มีลูกค้าตอบรับหัวข้อสัมมนาเกี่ยวกับ UCC อย่างเนืองแน่น ซึ่งเปรียบเสมือนดัชนีบ่งบอกถึงทิศทางของโซลูชั่นเน็ตเวิร์กปีนี้ ได้ดี
“ TCS ในฐานะที่เป็นผู้นำทางด้านระบบเครือข่ายสารสนเทศ เราเห็นควรที่จะคัดสรรเทคโนโลยีที่สามารถช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เราจึงมุ่งมั่นพัฒนาโซลูชั่นที่ช่วยในการประหยัดทรัพยากรธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเทคโนโลยีทางด้าน Virtuallization ไม่ว่าจะเป็น Network Virtualization และ Server Virtualization เช่น Firewall , MPLS VPN เป็นต้น เป็นอีกหนึ่งโซลูชั่นที่ช่วยประหยัดการใช้พลังงาน และสามารถลดต้นทุนทางด้านฮาร์ดแวร์ แต่เพื่มศักยภาพของระบบงานได้มากขึ้น “ นายไพบูลย์กล่าว
สำหรับงาน TCS Solution Day 09 ที่จัดขึ้นภายใต้คอนเซ็ปท์ Efficient Solution Relevant to Economic Crisis ที่ผ่านมานั้น ได้รับความสนใจจากผู้บริหารระบบสารสนเทศเป็นพิเศษ มีจำนวนผู้เข้าร่วมงานสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก จึงเป็นที่น่าสังเกตุว่า แม้จะเป็นผู้บริโภคกลุ่มไหนต่างก็เตรียมรับมือเศรษฐกิจที่ผันผวนอย่างรุนแรงด้วยการมองหาโซลูชั่นที่ตอบสนองด้านการประหยัดค่าใช้จ่าย และให้ความสำคัญกับการรณรงค์รักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อลดภาวะโลกร้อนอีกด้วย
อย่างไรก็ดี TCS วางนโยบายด้านการรองรับการให้บริการติดตั้งทั้งก่อนและหลังการขาย โดยผู้ เชี่ยวชาญที่ได้รับCertified ในแต่ละ Solution ด้วยความชำนาญและประสบการณ์อย่างมากมาย พร้อมการสนับสนุนจาก Partner ระดับโลกที่เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ได้แก่ Alcatel-Lucent, Bluecoat Systems, Juniper Networks , CheckPoint , Nortel และMicrosoft ซึ่งเมื่อรวมตัวกันเพื่อผลักดัน Solution ในการทำตลาด จึงทำให้ธุรกิจในยุคแห่งเทคโนโลยีสามารถนำระบบเครือข่ายสารสนเทศมาทำงานได้เต็มศักยภาพ องค์กรสามารถเร่งเครื่องเดินหน้าเต็มกำลังตามวิสัยทัศน์ที่จะมุ่งไป เปรียบเสมือนการตอกย้ำความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้าอีกทางหนึ่ง
นายพลีเดช พึ่งสวัสดิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการระบบสื่อสารและคอมพิวเตอร์ การไฟฟ้านครหลวง กล่าวภายในงาน TCS Solution Day 2009 ถึงทิศทางของระบบเครือข่ายที่น่าจะได้รับความสนใจจากมุมมองของผู้ใช้งานว่า ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต้องอาศัยระบบ Network เป็นโครงสร้างพื้นฐานอยู่แล้ว ดังนั้น การเติมเต็ม หรือ Fully Integration Solution จึงมีแนวโน้มที่น่าจะเกิดขึ้น และด้วยการพัฒนาของเทคโนโลยีไร้สาย การดูแลรักษาความปลอดภัยของระบบจึงเป็นเรื่องที่ยากยิ่งขึ้น และที่สำคัญคือยังมีผู้ที่มีความรู้เรื่องการดูแลรักษาความปลอดภัยของระบบเครือข่าย อย่างแท้จริงอยู่น้อยมาก จึงควรจะมีโซลูชั่นที่สามารถครอบคลุมการรักษาความปลอดภัยทุกประเภทของระบบเน็ตเวิร์ก
“เช่นเรื่องของ AV (anti virus) เชื่อว่าเกือบทุกองค์กรต้องมีปัญหาเรื่องนี้ แต่ไม่มีใครออกมาพูด และเรายังหาคนที่รู้จริงเรื่องนี้น้อยมาก หากเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ส่วนตัวในบ้านก็ยังไม่เท่าไหร่ เมื่อเจอไวรัส แต่ถ้าเป็นระดับองค์กร ปัญหาเรื่องไวรัสเป็นเรื่องใหญ่มาก อยากให้มีการพัฒนาทั้งด้านอุปกรณ์ และพัฒนาความสามารถของบุคคลากรในด้านนี้ ให้มากขึ้นเพื่อความมั่นใจของผู้ใช้งาน “
ทั้งนี้ องค์กรภาครัฐ หรือ รัฐวิสาหกิจ จะมีปัญหาในด้านการ Implement ระบบที่ไม่สามารถทำได้ทันที เพราะการออกTOR ต้องใช้เวลาและขั้นตอนมาก จึงแนะให้ Implement ระบบเล็กๆ หรือ User เฉพาะกลุ่มก่อน หรือ การเตรียมInfrastructure ขององค์กรให้พร้อมเพื่อรองรับไว้ล่วงหน้า
อาจารย์นรฤทธิ์ สุนทรศารทูล หัวหน้าทีมระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูล สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวถึงเทคโนโลยีที่คาดว่าจะได้รับความสนใจในอนาคตอัน ใกล้ คือ เทคโนโลยี Virtualization แต่การนำมาใช้งานจริงคงต้องรออีกระดับนึงเหมือนกับ IP V6 ที่เกือบ 10 ปียังไปไม่ถึง 50 เปอร์เซ็นของที่คาดหวังไว้ เพราะความเข้ากันได้กับระบบเดิมนั้นไม่มี
อย่างไรก็ดี ผลจากการบังคับใช้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2550 คาดว่า ระบบการพิสูจน์ตัวตน เพื่อเข้าใช้งานระบบต่าง ๆ จะเป็นระบบที่มีความสำคัญมากในอนาคต แต่ยังไม่มีระบบสำเร็จรูปใดที่สามารถทำตามความต้องการขององค์กร และสามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์เครือข่าย รวมถึงระบบงานต่าง ๆ ได้ ดังนั้นทิศที่จะก้าวไปคงอิง พ.ร.บ. ในการจัดการกับการใช้บริการเครือข่ายขององค์กรต่าง ๆ เป็นหลัก รวมถึงการเข้ากันของระบบต่าง ๆ เพื่อให้มีการจัดการที่ง่ายขึ้น
“ แต่ข้อกำหนดในพ.ร.บ. ก็เป็นส่วนที่เข้ามาควบคุมการเติบโตของ Network และเป็นการปิดกั้นการเกิดบริษัทใหม่ๆ จึงอยากฝากถึงบริษัทต่าง ๆ ที่นำเทคโนโลยีมานำเสนอต้องทำการบ้านมากกว่าเดิม เพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เหล่านั้นมาทำงานในระบบเครือข่ายได้ทันที ผ่านการตรวจสอบตามข้อกำหนดต่างๆ เพื่อให้ความรวดเร็วในการจัดซื้อจัดหา “ อ.นรฤทธิ์ กล่าวในตอนท้าย