CAT รุกปักธงธุรกิจสื่อสารข้อมูล ชูความปลอดภัยผสานความเร็วด้วยแบนด์วิธ

CAT รุกปักธงธุรกิจสื่อสารข้อมูล (Datacom) ชูความปลอดภัยผสานความเร็วด้วยแบนด์วิธสูงสุดในประเทศไทยถึง 40 Gbps พร้อมโชว์นวัตกรรมเชื่อมต่อโครงข่ายสื่อสารข้อมูลเต็มรูปแบบ

บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (CAT) เปิดตัวรุกธุรกิจสื่อสารข้อมูล เน้นการบริหารด้านโครงข่ายสื่อสารข้อมูลแบบ Multimedia เพื่อการส่งผ่านข้อมูล ภาพ และเสียงอย่างปลอดภัยและมีเสถียรภาพด้วยแบนด์วิธสูงสุดในประเทศถึง 40 Gbps เพื่อจัดงานแสดงศักยภาพโครงข่ายสื่อสารข้อมูลที่ทันสมัยในงาน “CAT Datacom Network Showcase” 7-8 ตุลาคมศกนี้ ที่ศูนย์การประชุมแห่ง-
ชาติสิริกิติ์

คุณสมพล จันทร์ประเสริฐ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจบรอดแบนด์ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT เผยว่า “ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา CAT ในฐานะผู้ให้บริการสื่อสารข้อมูลทั้งในและระหว่างประเทศ ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีและขยายโครงข่ายสื่อสารข้อมูลมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง CAT เองได้รับความน่าเชื่อถือในฐานะตัวแทนประเทศไทยร่วมกับพันธมิตรในการบริการสื่อสารข้อมูลทั่วโลก CATสร้างโครงข่ายทั่วประเทศบนเทคโนโลยี Next Generation SDH ผ่านเคเบิ้ลใยแก้วที่มีความยาวกว่า 30,000 กม. และระบบ DWDM ที่เชื่อมโยงบริการ Convergence Service คือ Data Voice Internet และ Network Security ควบคู่ไปกับ IP Network ซึ่งปัจจุบัน CAT สามารถให้บริการรองรับแบนด์วิธสูงสุดในประเทศถึง 40 Gbps เพื่อการใช้งานสื่อสารข้อมูลของธุรกิจทั้งภายในและระหว่างประเทศ เช่น กลุ่มธุรกิจการเงิน ธุรกิจบริการ และภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น เพราะด้วยระบบโครงข่ายการเชื่อมโยงข้อมูลที่รวดเร็ว ปลอดภัย ครอบคลุมทุกพื้นที่ ย่อมสร้างความได้เปรียบในการดำเนินธุรกิจ อีกทั้ง CAT ยังมีความพร้อมด้านบุคลากรผู้เชี่ยวชาญให้บริการตลอด 7 วัน 24 ชั่วโมงด้วยศูนย์บริการทั้งส่วนกลาง และภูมิภาครวม 106 แห่ง มีการรับประกัน Bandwidth เต็มศักยภาพ เพราะรู้ว่าความสำเร็จของธุรกิจส่วนหนึ่งมาจากเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ทันสมัย และปลอดภัย เราจึงพร้อมที่จะอยู่เคียงข้างกับทุกองค์กรเพื่อก้าวสู่ความสำเร็จร่วมกัน

สำหรับกลุ่มธุรกิจสื่อสารข้อมูลของ CAT (CAT Datacom) แบ่งงานบริการหลักเป็น 3 ส่วนคือ 1. บริการให้เช่าวงจรสื่อสารข้อมูลในประเทศผ่านเคเบิลใยแก้วนำแสง และระหว่างประเทศผ่านเคเบิลใต้น้ำ ได้แก่ CAT Private Line, CAT Ethernet และ CAT MPLS 2. บริการสื่อสารผ่านดาวเทียม และ 3. บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ โดยทั้งสามบริการนี้เป็นการให้บริการในลักษณะของ Private Network ที่มีความปลอดภัยสูง”

นายสมพล ยังกล่าวเพิ่มเติมถึงแผนการตลาดว่า “CAT จะทำให้โลกของการเชื่อมโยงข้อมูลและการสื่อสารระหว่างประเทศแคบลงด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเส้นทางที่สั้นที่สุดระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกา โดยการลงทุนสร้างระบบเชื่อมโยงโครงข่ายเคเบิ้ลใต้น้ำ Asia America Gateway หรือ AAG เพื่อให้ลูกค้า CAT ได้สัมผัสประสบการณ์การสื่อสารระหว่างประเทศและการบริการอินเทอร์เน็ตที่รวดเร็วอย่างแท้จริง

CAT ได้ร่วมกับ 6 พันธมิตรกลุ่มผู้ให้บริการโทรคมนาคมใน ASEAN เป็นครั้งแรกในการพัฒนาเทคโนโลยีโครงข่ายสื่อสาร MPLS เพื่อเชื่อมโยงการสื่อสารข้อมูลความเร็วที่สูงถึง 100 เมกะบิต ระหว่างไทย กับสิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย บรูไน และเวียดนาม ทั้งนี้เพื่อตอบสนองด้านความปลอดภัยของข้อมูล และคุณภาพบริการที่ได้มาตรฐานเดียวกันทั้งภูมิภาคอาเซียน และสำหรับประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาว CAT ได้เข้าไปพัฒนาบริการโทรคมนาคมร่วมกับผู้ให้บริการชั้นนำในลาวเพื่อทำให้การติดต่อสื่อสารธุรกิจระหว่างไทยกับลาว สะดวก รวดเร็วมากยิ่งขึ้น และในปีหน้า CAT มีนโยบายที่จะเชื่อมโยงทุกๆ อำเภอเข้าสู่โครงข่าย IP Network ซึ่งจะทำให้ทุกการสื่อสารข้อมูลสามารถเชื่อมโยงได้อย่างไร้ขีดจำกัดอีกด้วย”

สำหรับรายได้ส่วนของ Datacom สิ้นปีคาดว่าประมาณ 7,700 ล้านบาท จากรายได้รวมของCAT ทั้งหมดคาดว่าประมาณ 15,000 ล้านบาท โดยต่ำกว่าการตั้งเป้าไว้เมื่อต้นปี 9-10% ทั้งนี้จัดเตรียมงบประมาณ 90 ล้านบาทสำหรับการวางแผนด้านประชาสัมพันธ์รวมไปถึงการจัดกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่ปี 2552-2553 แนวโน้มในอนาคตจะมุ่งเจาะกลุ่มไอทีภาครัฐมากยิ่งขึ้น

ด้านนายสมยศ ธนพิรุณธร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจบรอดแบนด์ กล่าวเสริมว่า “บริการ CAT Private Line เป็นบริการวงจรส่วนบุคคลในประเทศ และระหว่างประเทศ ที่มีเสถียรภาพและความปลอดภัยในการรับส่งข้อมูลสูงสุดเพราะไม่ต้องแชร์แบนวิธกับผู้อื่น รองรับการใช้งานในรูปแบบ Multimedia ทั้งข้อมูล ภาพ และเสียง ในระดับความเร็วตั้งแต่ 64 Kbps ถึง 155 Mbps บนโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงที่ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ และผ่านระบบเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ สำหรับวงจรส่วนบุคคลระหว่างประเทศ CAT สามารถให้บริการวงจรส่วนบุคคลระหว่างประเทศแบบ One Stop Service โดยมีการรับประกันคุณภาพบริการตลอดเส้นทาง ทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างสำนักงานทั้งภายในประเทศ หรือระหว่างประเทศเป็นไปอย่างไร้ขีดจำกัด เหมาะสำหรับการเชื่อมโยงขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ด้านธุรกิจการเงิน ศูนย์ไอที สถาบันการศึกษา

บริการ CAT Ethernet เป็นบริการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงบนเครือข่าย IP (Internet Protocol) Layer 2 แบบ Point to Point และ Point to Multipoint เพิ่มประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสารภายในองค์กรที่มีสำนักงานสาขาย่อยทั้งภายในประเทศหรือต่างประเทศ โดย CAT Datacom สามารถให้บริการ global Ethernet ในภูมิภาคอาเซียนแบบ One Stop Service สามารถรับส่งข้อมูลที่ระดับความเร็วตั้งแต่ 64 Kbps ถึง 1 Gbps สะดวกและรวดเร็วในการปรับเพิ่มความเร็วในการใช้งานเท่าที่ต้องการ มีความยืดหยุ่นสูง รองรับการใช้งานในรูปแบบ Multimedia พร้อมปกป้องข้อมูลทางธุรกิจด้วยความปลอดภัยในการรับส่งข้อมูลระดับสูง เหมาะสำหรับการเชื่อมโยงขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ด้านธุรกิจการเงิน ภาคอุตสาหกรรม SME ศูนย์ไอที สถาบันการศึกษา และบริษัทที่มีสาขากระจายอยู่ทั่วโลก

ส่วนบริการ CAT MPLS เป็นบริการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยี MPLS (Multi Protocol label Switching) บนโครงข่ายไอพี (Layer 3) ที่มีการรับรองคุณภาพบริการ (Quality of Service) รองรับการใช้งาน IP Protocol สามารถใช้งานในรูปแบบ multimedia เพื่อมุ่งตองสนองความต้องการขององค์กรขนาดกลางและขนาดใหญ่ที่มีเครือข่ายสาขาภายในประเทศ หรือต่างประเทศ โดย CAT Datacom สามารถให้บริการระหว่างประเทศแบบ One Stop Service สามารถเลือกใช้บริการตามความเหมาะสมของหน่วยงานหรือองค์กร”

กิจกรรมพิเศษสำหรับปีนี้ที่ CAT Datacom เตรียมจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่คืองาน CAT Datacom Network Showcase นับเป็นการเปิดตัวธุรกิจสื่อสารข้อมูลเต็มรูปแบบ โดยจะจัดขึ้นในช่วงวันที่ 7 – 8 ตุลาคม ศกนี้ ณ ห้องบอลรูม ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ภายในงานจะได้พบกับการจำลองการใช้งาน Application ต่างๆ บนโครงข่ายที่แตกต่างกัน แล้วแต่รูปแบบการใช้งานของแต่ละองค์กร เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้เพิ่มศักยภาพและความคล่องตัวให้กับธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการจำลองรูปแบบการประชุมแบบ video conference การใช้งาน Voice over IP การถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ภายในองค์กร ORG TV บนโครงข่าย CAT MPLS ที่มีความรวดเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลสูง ด้วยการเชื่อมโยงแบบ Multi Point to Multi Point หรือโครงข่าย CAT Ethernet ซึ่งทำงานบนเครือข่าย IP ความเร็วสูง ค่าใช้จ่ายน้อย อีกทั้งมีความยืดหยุ่นต่อการใช้งาน และ CAT Private Line ที่เชื่อมโยงแบบจุดต่อจุดทำให้ผู้ใช้บริการไม่ต้องแชร์ bandwidth กับใคร จึงมั่นใจได้ว่าการเชื่อมโยงโครงข่ายของท่านปลอดภัยสูงสุดอย่างแน่นอน นอกจากนี้ ภายในงานยังจัดสัมมนาด้านเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูลอันทันสมัยให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมงานมากมายหลายหัวข้อจากวิทยากรทีมีชื่อเสียงในแวดวง IT Network อาทิ ดร.โกเมน พิบูลย์โรจน์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และผู้แทนจาก IDC Research นอกจากนี้ CAT Datacom ยังมีกิจกรรมเจาะกลุ่มลูกค้าเพิ่มเติมด้วยการเดินสายจัดโรดโชว์ในนิคมอุตสาหกรรมตามจังหวัดต่างๆ อีกด้วย