ชาญณรงค์ แนะ โรงเรียนเอกชนร่วมสร้างคุณภาพการสอนที่แท้จริง คือทางออกในการรับมือนโยบายเรียนฟรี ของรัฐบาล
ในปี 2554 จะมีโรงเรียนเอกชน ปิดตัวอีกไม่ต่ำกว่า 10 โรงใน กรุงเทพมหานคร
กรุงเทพฯ 8 กุมภาพันธ์ 2553 : นายชาญณรงค์ ลักษณียนาวิน ผู้บริหารโรงเรียนในเครือภาษานุสรณ์ ในฐานะนักการศึกษาและผู้บริหารโรงเรียนเอกชน เปิดเผยว่าจากทิศทางการพัฒนาการศึกษาของไทย และนโยบายเรียนฟรี ของรัฐบาล ที่ทำให้คนไทยเริ่ม จะมั่นใจในมาตรฐานการศึกษาของไทยมากขึ้นไม่มากก็น้อย ผนวกกับสภาวะเศรษฐกิจ ลุ่มๆดอนๆ พ่อแม่ผู้ปกครองจำนวนหนึ่งจึงต้องใช้นโยบายเรียนฟรีของรัฐบาล พร้อมส่งผลให้ โรงเรียนเอกชน หลายแห่งในปี 2551 – 2552 ประสบปัญหาทางการเงิน และได้ปิดตัวไปจำนวนหนึ่ง พร้อมแนะทางออกของการรับมือ “วิกฤตเศรษฐกิจ” คือการสร้างจุดขายในเรื่องคุณภาพของมาตรฐานการศึกษาที่แท้จริง อีกทั้งยังคาดว่า ยังมีโรงเรียนเอกชนอีกหลายแห่ง มีแนวโน้มปิดกิจการจากผลพวงวิกฤตเศรษฐกิจและการบริหารจัดการต้นทุน
ธุรกิจการศึกษาต่างกับธุรกิจประเภทอื่น เพราะธุรกิจประเภทอื่นเมื่อมีผู้แข่งขั่นหลายราย การแข่งขันนั้นจะทำให้ คุณภาพสินค้าและบริการดีขึ้นส่งผลประโยชน์แก่ผู้บริโภค และธุรกิจการศึกษา มีโรงเรียนเอกชนใน กรุงเทพมหานครกว่า 900 โรงเรียน นักเรียนกว่า 300,000 – 400,000 คน ตัวเลขปี 2552 แต่การแข่งขันนั้น ไม่ส่งผลต่อคุณภาพของการศึกษาที่สูงขึ้น ตามการแข่งขัน แต่กลับสร้างจุดขายของ โรงเรียนด้วย ความหรูหราของอาคาร วัสดุอุปกรณ์ที่ ดีเยี่ยม หรือแม้แต่บางแห่งแข่งขันกันด้วยชุดเครื่องแบบที่ดึงดูดใจ ซึ่งในฐานะนักการศึกษาที่ เป็นทั้งประธานสภาวัฒนธรรมเขตบางแค และผู้บริหารโรงเรียน กลับอย่างเห็นการแข่งขันที่ส่งผลต่อ “คุณภาพของเด็กไทย” อย่างแท้จริง นายชาญณรงค์ ลักษณียนาวิน ผู้บริหารโรงเรียนในเครือภาษานุสรณ์ กล่าว
การพัฒนาคุณภาพของเด็กไทยในปัจจุบัน นั้นเราควรมีการสร้างกลยุทธ์ในการนำเสนอข้อมูลให้กับเด็กๆ ที่แยบยลมากขึ้น เพื่อให้เด็กๆ เกิดความสนุกสนาน และเข้าใจโดยไม่ต้องท่องจำแต่เป็นความเคยชิน ยกตัวอย่างการเรียน การสอนของโรงเรียนเอกชนนอกระบบนั้นส่วนใหญ่บริหารจัดการโดย “คนรุ่นใหม่” ครูรุ่นใหม่ ที่เข้าใจในการสร้างแรงดึงดูด ในการสอนของตนเอง อาทิ การเรียนภาษาจากเพลง การเรียนประวัติศาสตร์ผ่านการแสดง การเรียนจริยะธรรมผสมผสาน การเล่นโยคะ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ “คนรุ่นใหม่” นั้นสามารถทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ ไม่น่าเบื่อ ซึ่งภาคเรียนเอกชน ในระบบ นั้นต้องปรับตัวให้ทัน เพื่อที่จะสามารถพัฒนาคุณภาพเด็กไทยได้สูงสุด
จากนโยบายเรียน ฟรี ของภาครัฐบาล และสถาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย ถือว่าเป็นโอกาสที่ดี ที่ภาคการศึกษาเอกชน ต้องปรับกลยุทธ์ จากการลงทุนสิ่งก่อสร้างใหม่ๆเพื่อดึงดูดตาเพียงอย่างเดียวเพราะ อาจทำให้โรงเรียนเกิดต้นทุนนับหลาย ร้อยล้านและอาจส่งกระทบต่อค่าเล่าเรียนที่สูงอย่างน่าใจหาย และอาจทำให้ ตัวเลขการปิดการสูงสูงขึ้น
ในทางกลับกันโรงเรียนเอกชนสามารถสร้างจุดขายของตนเองจากการเฟ้นหาองค์ความรู้และวิธีการสร้างคุณภาพการเรียนการสอน จากต้นทุนที่ต่ำกว่าหลายสิบเท่าแต่ต้องใช้เวลานับปีเพื่อสร้างสรรค์คุณภาพการสอน
อย่างได้ก็ตามในฐานะที่เป็นองค์กรเพื่อการศึกษาเราต้องไม่หยุดนิ่งที่การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนของเราให้สมกับเป็นองค์กรที่พ่อแม่ ผู้ปกครองนับแสนคนต่อปี ให้ความไว้วางใจ ให้เราเป็นบ้านหลังที่ 2 “บ้านแห่งการเรียนรู้” นายชาญณรงค์ ลักษณียนาวิน ผู้บริหารโรงเรียนในเครือภาษานุสรณ์ กล่าวสรุป