ไทยฮิตแชตผ่าน LINE ยอด 12 ล้านรายในไทย

แรงฮิตของ “LINE” ในไทยทำให้ผู้บริหารชาวเกาหลีของ LINE ต้องมาประกาศความสำเร็จ  ผู้ใช้บริการ LINEในไทย โตทะลุ 12.27 ล้านราย และถ้าวัดจากการใช้งานต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง มีคนไทยมากกว่า 50% จะเข้ามาใช้งานอย่างน้อย 1 ครั้งภายใน 24 ชั่วโมง ติดอันดับ 1 ของโลก เรียกว่าคนไทยใช้ LINE ถี่มากกว่าคนญี่ปุ่นและไต้หวันด้วยซ้ำ 

บทสรุปความสำเร็จของ LINE มาจาก

1.การใช้ข้ามแพลตฟอร์ม โดยออกแบบให้สมาร์ทโฟนที่มีระบบปฏิบัติการต่างกัน ไอโอเอส แอนดรอยด์,แบล็คเบอร์รี่, วินโดว์โฟน ใช้งานร่วมกันได้

2.LINE เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคค่อนข้างดี โดยใช้ “สติ๊กเกอร์” มาเป็นตัวดึงดูด ไม่ต้องพิมพ์ข้อความ โดยคาแร็กเตอร์การ์ตูนสามารถสะท้อนความรู้สึกและความหมายที่ต้องการสื่อได้ง่ายกว่า และสนุกกว่าการส่งข้อความตัวอักษรเข้ากับพฤติกรรมของคนไทยและเอเชียบางประเทศ 

3.LINE มีการต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพิ่มฟังก์ชันการใช้งานตลอดเวลา เช่น การส่งข้อความใช้ได้ทั้งเสียง วิดีโอ มีเกมให้เล่น มีแอปฯ ถ่ายภาพและตกแต่งภาพ รวมถึงการเพิ่ม Time lineให้สื่อสารกันได้คล้ายกับเฟซบุ๊ก เพื่อดึงดูดให้ผู้เล่นใช้เวลาอยู่กับ LINE นานขึ้นเรื่อยๆ เรียกว่าใครทำอะไรดี LINE มีหมด และเติมจุดแข็งที่คู่แข่งไม่มี อย่างสติ๊กเกอร์ลงไป  

Akira Morikawa ประธานบริหาร NHN ญี่ปุ่น กล่าวถึงโปรดักต์ของตังเองเอาไว้ว่า “ความเรียบง่าย” (Simple) ถือเป็นหัวใจหลักของ LINE โดยเฉพาะ User Interface ที่น่ารักแต่ใช้ง่ายก่อนหน้าที่จะมาพัฒนาแอปพลิเคชั่นบนมือถือ NHN ญี่ปุ่นเคยล้มเหลวจากการทำโปรแกรมในพีซีมาก่อน โดยข้อได้เปรียบของการพัฒนาแอปพลิเคชั่นมือถือในญี่ปุ่น คือ ตลาดพัฒนาเรื่องนี้ไปมาก มีโซเชี่ยลมีเดียเฉพาะที่ใช้ในประเทศและมีผู้เชี่ยวชาญมากมายจึงทำให้พัฒนาได้เร็ว และผลจากความนิยมของ LINE ทำให้บริการทั้งหลายของบริษัทจะมีนามสกุล LINE ต่อท้ายทั้งหมด   

ส่วนแนวทางการดำเนินธุรกิจในปี 2013 ผู้บริหาร LINE ระบุว่า ยังคงยึด 4 แนวทางธุรกิจเดิมที่ทำมาในปี 2012 ประกอบด้วย

1.การเพิ่มมัลติฟังก์ชัน ไม่ว่าจะเป็นเกม เครื่องมือการใช้งาน แอปฯ กล้องถ่ายภาพ แอปฯ ตกแต่งภาพที่จะมีเพิ่มในปีหน้ามากกว่า 10 แอปฯ

2.การเพิ่มอุปกรณ์ที่สามารถใช้งานจากปัจจุบันที่มีในสมาร์ทโฟนและเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น

3.เตรียมพร้อมให้บริการในระบบปฏิบัติการใหม่ๆ Cross Platform ที่จะออกสู่ตลาด

4.การให้บริการในแง่ของโซเชี่ยลแพลตฟอร์มที่ครบถ้วนมากขึ้น หลังจากเปิดให้บริการ Timeline ไปก่อนหน้านี้แล้ว 

จากกลยุทธ์ดังกล่าว สิ่งที่เห็นชัดเจนที่สุดก็คงเป็นสารพัดเกมตระกูล LINE ยกตัวอย่างเช่น LINE Pop เกมที่เล่นง่าย แต่ฮิตติดลมบนด้วยยอดดาวน์โหลด 10 ล้านดาวน์โหลดภายใน 97 วัน ต่อไป เกมที่ออกมาของ LINE มักจะเป็นเกมที่เจาะกลุ่มเด็กและผู้หญิงซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ของตลาดเกม ซึ่ง LINE ทำให้เกมแพร่กระจาย ด้วยการแจกหัวใจ ยิ่งแจก ยิ่งขอ ก็ยิ่งแพร่หลาย  

ถึง LINE Pop จะฮิตแค่ไหน ก็มีวันเบื่อ ล่าสุด LINE ได้เตรียมออกเกมใหม่ LINE BUBLE  รับมือกับช่วงกระแส LINE Pop เริ่มซาลง 

นี่คือกลยุทธ์ที่ LINE นำมาเพิ่มยอดผู้ใช้ และดึงดูดให้อยู่กับ LINE ต่อเนื่อง ใช้ทั้งสติ๊กเกอร์ เกม   

ความน่าสนใจของ LINE คือ การมีโมเดลหารายได้ชัดเจนจากการขายสติ๊กเกอร์ ซึ่งไลน์เริ่มจากการให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดสติ๊กเกอร์ฟรี จากนั้นก็ทยอยปล่อยสติ๊กเกอร์น่ารักๆ เป็นคาแร็กเตอร์การ์ตูนดังมาให้ดาวน์โหลดแบบเสียเงิน โดย LINE ใช้วิธีจับมือ และแบ่งรายได้กับกับเจ้าของลิขสิทธิ์คาแร็กเตอร์การ์ตูนดัง เช่นการจับมือกับ Sanrio เจ้าของคาแร็กเตอร์การ์ตูนยอดนิยมของสาวๆ ทั่วโลก อย่างคิตตี้ หรือล่าสุด LINE ได้ลิขสิทธิ์มิกกี้เมาส์ของดีสนีย์เอามาทำเป็นสติ๊กเกอร์แล้ว รวมถึงการจับมือกับ PSY ออกสติ๊กเกอร์กังนัมสไตล์

วิธีนี้ ทำให้ LINE มีสติ๊กเกอร์ใหม่ๆ มาให้ผู้ใช้ไม่เบื่อ และยังมีรายได้มาต่อยอดผลิตภัณฑ์ ยิ่ง LINE เป็นที่นิยม การหาพันธมิตรก็ยิ่งง่ายขึ้น ปัจจุบัน LINE ได้รายได้จากสติ๊กเกอร์อย่างเดียวมากกว่า 140 ล้านบาทต่อเดือน มีสติ๊กเกอร์มากกว่า 3,400 แบบ จาก 100 เซต 

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

style=”font-weight: bold;”>ระบบปฏิบัติการใช้งานบน LINE แอนดรอยด์ 55% iOS 40% BB
และวินโดวส์  5%

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

จำนวนผู้ใช้ ญี่ปุ่น
: 41.51 ล้าน ไทย
: 12.27 ล้าน ไต้หวัน
: 11.83 ล้าน ประเทศอื่นๆ 
: 34.39 ล้าน สัดส่วนระหว่างญี่ปุ่น
ต่อ ประเทศอื่นๆ 4:6

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

ท๊อป 5 ประเทศ
(จากจำนวนผู้ใช้มากสุด) 1. ญี่ปุ่น 2. ไทย 3. ไต้หวัน 4. เกาหล 5. สเปน

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

ความถี่ในการใช้งาน – 80.3% ต่อเดือน (นับถึงเดือนธันวาคม 2555)

คู่แข่งที่ต้องจับตา 

What’sApp แอปพลิเคชั่นแชตยอดนิยมในฝั่งยุโรปและสหรัฐอเมริกา เพราะความเรียบง่ายและส่งข้อความได้เร็ว แต่จากโมเดลธุรกิจของ What’s App ที่ต้องจ่ายเงิน 0.99 เหรียญเพื่อดาวน์โหลดแอปฯ ไปใช้งานในการขยายตลาดมาในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม มีข่าวลือเรื่องของการระดมทุนระลอกใหม่ หรือเจรจาธุรกิจกับธุรกิจดอทคอมอื่นๆ อยู่บ่อยครั้ง ทำให้เชื่อได้ว่า What’s App ก็น่าจะยังสู้ต่อในสงครามแอปฯ แชต ปัจจุบัน What’s App มีผู้ใช้งาน100 ล้านรายต่อวัน 

Facebook Massenger ความพยายามในการปรับปรุง Facebook เวอร์ชั่นที่ใช้ในโทรศัพท์มือถือในไฉไล สร้างความว้าวให้กับผู้ใช้ เช่นเดียวกับที่ผู้ใช้ชื่นชอบเฟซบุ๊กบนพีซี แต่ก็ดูจะยังไม่ประสบความสำเร็จถูกใจมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ค เพราะถึงจะปรับปรุงแล้วปรับปรุงอีกกี่เวอร์ชั่น ก็ยังเล่นฟีเจอร์ที่เล่นในพีซีได้ไม่หมดสักที สำหรับเฟซบุ๊ก เมสเซนเจอร์ เป็นฟีเจอร์ในพีซีหรือแอปพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟน ที่แสดงให้เห็นถึงความต้องการป้องกันจุดอ่อนของเฟซบุ๊ก ทำให้คนแชตกันอยู่แต่บนเฟซบุ๊ก ไม่หนีไปที่แอปพลิเคชั่นอื่น เพราะคู่แข่งอย่าง LINE นอกจากจะมีการแชตที่โดดเด่นแล้ว ในระยะหลัง ฟีเจอร์ Timeline ของ LINE ที่ทำให้คนแชร์สเตตัส และรูปภาพ คล้ายกับฟังก์ชันหลักของเฟซบุ๊ก ก็เริ่มมีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นฟซบุ๊กนอกจากพัฒนาเฟซบุ๊กตัวหลักแล้ว แอปพลิเคชั่นเฟซบุ๊ก เมสเซนเจอร์ก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ดึงให้ผู้ใช้งานอยู่บนเฟซบุ๊กให้นานที่สุด แทนที่จะไปใช้แอปพลิเคชั่นอื่น 

KakaoTalk แอปพลิเคชั่นแชตใหม่ที่พัฒนาโดย Beom-Soo Kim อดีตซีอีโอของ NHN บริษัทแม่ของ LINE นั่นเอง ตอนนี้มีผู้ใช้งาน 57 ล้านคน มีข้อความถูกส่งวันละ 3.4 พันล้านต่อวัน ในเกาหลีแอปพลิเคชั่นนี้ได้รับความนิยมแซงหน้า LINE ไปแล้ว ในตลาดไทยตอนนี้ยังไม่เข้ามาทำตลาดอย่างจริงจัง แต่บรรดากูรูด้านไอทีก็มีการพูดถึงกันบ้างแล้ว 

 

รู้จัก Tencent 

Tencent : บริษัทไอทีอันดับ 1 ของจีน ก่อตั้งเมื่อพฤศจิกายน 1998 ให้บริการเว็บไซต์, แอปพลิเคชั่น เกมออนไลน์ โดยวาง Positioning ของบริษัทเป็น One-Stop Online Lifestyle ในอดีตบริการที่คุ้นหูมากที่สุดก็คงจะเป็นโปรแกรมแชต QQ แต่ตอนนี้ต้องยกให้ WeChat ปัจจุบันบริษัท Tencent  ได้รับการจัดอันดับว่าเป็นบริษัทไอทีอันดับ 4 รองจาก Google Amazon และ Facebook ในแง่ Market Capitalization มีทรัพย์สินอยู่ประมาณ 3,700 ล้านเหรียญ ในประเทศไทย Tencent เข้ามาลงทุนธุรกิจซอฟต์แวร์ แต่ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดก็คือเว็บไซต์สนุก ดอทคอม ส่วน Pony Ma ซีอีโอของ Tencent ได้รับการจัดอันดับจากฟอร์บส์ว่าเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดอันดับ 4 ของจีน จากการที่ Tencent เป็นเจ้าของกิจการอันหลากหลายก็ทำให้ต่อยอดธุรกิจได้มากมาย เช่น แผนเปิดระบบจ่ายเงินที่เรียกว่า “TenPay” ภายในสองเดือนที่จะถึงนี้ แม้ว่าตอนนี้ยังไม่เป็นที่เปิดเผยรายละเอียดมากนัก แต่นักวิเคราะห์ในต่างประเทศเชื่อว่าระบบนี้จะช่วยให้ผู้ใช้งานซื้อไอเท็มพิเศษในแอปฯ หรือเอาไปใช้จ่ายเงินในร้านค้าโดยการสแกนโค้ดที่ตัวสินค้า และยังมีข่าวว่า WeChat อาจขยายความสามารถตัวเองไปถึงการทำ E-Commerce ผ่านระบบโลคัลดีลและคูปองที่เรียกว่า “Micro Group Buy” เพราะว่า Tencent มีหุ้นใน Gaopeng เว็บไซต์ทางการของกรุ๊ปปอนที่ Tencent กับกรุ๊บปปอนถือหุ้นร่วมกันในลักษณะ Joint Venture โดยถ้าหากว่าทั้งสองแนวทางนี้เป็นจริงก็เท่ากับว่า WeChat จะเป็นแอปฯ แชตที่เชื่อมตัวเองไปสู่ระบบการซื้อขายสินค้าได้จริง และถ้าหากว่าโมเดลนี้สำเร็จก็อาจขยายไปสู่ประเทศอื่นๆ