รีวิวนวัตกรรม Teleclinic แพลตฟอร์มคัดกรอง COVID-19 ก่อนถึงมือหมอ สะดวก ใช้ง่าย ไม่โหลดไม่ได้แล้ว!

จากวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ส่งผลกระทบมากมายทั้งต่อชีวิต และเศรษฐกิจ ทำให้หลายธุรกิจต่างต้องหยุดชะงักเพราะมาตรการล็อกดาวน์ อีกทั้งยังมีมาตรการรักษาระยะห่างทางสังคม หรือ Social Distancing อีกด้วย เพื่อความปลอดภัยของทุกคนในสังคม

ในช่วงที่ผ่านมาหลายคนคงเห็นแล้วว่า กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อมากที่สุดก็ไม่ใช่ใครที่ไหน คือ กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็น หมอ พยาบาล บุรุษพยาบาล หรือบุคคลที่ทำงานอยู่ในโรงพยาบาลทั้งหมด มีความเสี่ยงในการติดเชื้อมากกว่าใครเพื่อน อีกทั้งยังมีภาระที่หนักอึ้ง เพราะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกวัน

จะดีกว่าไหมถ้ามีนวัตกรรมที่ช่วยลดความเสี่ยง และช่วยแบ่งเบาภาระงานจากบุคลากรทางการแพทย์ได้?

ทาง “ทรู” จึงได้ผุดนวัตกรรม Teleclinic ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแพลตฟอร์มเทคโนโลยีด้านสุขภาพ VHealth เรียกว่าเป็นการยกระดับสาธารณสุขยุคดิจิทัลไปอีกขึ้น สำหรับการฝ่าวิกฤต COVID-19 ในตอนนี้ โดยครั้งนี้ได้ร่วมมือ “โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย” , “โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต” , “โรงพยาบาลตราด” เปิดตัวแอปพลิเคชัน Chula Teleclinic , Vachira Phuket Teleclinic และ Trat Teleclinic ตอนนี้ได้เปิดให้ดาวน์โหลดได้ฟรี และประเดิมใช้งานจริงได้แล้ว โดยจะขยายการใช้งานไปยังโรงพยาบาลอื่นๆ อีกหลายแห่งทั่วประเทศ

รีวิวแบบจัดเต็ม สะดวก ใช้ง่าย

Chula Teleclinic , Vachira Phuket Teleclinic และ Trat Teleclinic ได้เปิดให้ดาวน์โหลดได้ฟรีแล้วตั้งแต่ช่วงปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งได้ถูกออกแบบให้มีฟังก์ชันการใช้งานที่ง่าย และสะดวก ประชาชนทั่วไป และหมอสามารถใช้งานได้ นำเทคโนโลยีดิจิทัลต่างๆ มาประยุกต์ใช้

โดยจะสาธิตวิธีการใช้งานแบบละเอียด สำหรับผู้ที่ต้องการประเมินความเสี่ยงการติดเชื้อ COVID-19 แบบไม่ต้องเสี่ยงเดินทางไปโรงพยาบาล

  • ขั้นแรกดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Chula Teleclinic , Vachira Phuket Teleclinic หรือ Trat Teleclinic พร้อมกับลงทะเบียน กรอกรหัส OTP เพื่อความปลอดภัย

  • เมื่อลงทะเบียนเรียบร้อย เข้ามาสู่ช่วงแรกในการประเมินความเสี่ยงในการติดเชื้อ จะมีคำถามด้วยกันทั้งหมด 10 ข้อ ตั้งแต่การเก็บข้อมูลส่วนตัวเบื้องต้น ชื่อ เพศ อายุ เบอร์โทรศัพท์ ไปจนถึงข้อมูลด้านสุขภาพ โรคประจำตัว และความเสี่ยงในการติดเชื้อ การเดินทาง การอยู่ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ รวมถึงอาการเบื้องต้น ไอ มีไข้ อาการเหนื่อย เพื่อทำการวิเคราะห์อาการในเบื้องต้น

  • เมื่อทำแบบประเมินเสร็จแล้วเรียบร้อย ทางระบบจะแสดงผลความเสี่ยงตั้งแต่ระดับ Group 0-4 ซึ่ง Group 0-1 จะเป็นกลุ่มที่ไม่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ ไม่จำเป็นต้องมาโรงพยาบาล แค่กักตัวดูอาการที่บ้าน ส่วน Group 2-4 จะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยง ให้รอเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับทางออนไลน์ เพื่อนัดหมายในการเข้ารับการตรวจ
  • สำหรับกลุ่มที่มีความเสี่ยง ทางเจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับมาเพื่อนัดหมายในการคุยกับคุณหมอผ่าน “วิดีโอ คอนเฟอร์เรนซ์” เป็นการใช้เทคโนโลยีทุกรูปแบบจริงๆ ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ทุกๆ คน รวมทั้งมีการออกตั๋วสำหรับเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล สำหรับกลุ่มที่คุณหมอมีความเห็นให้ต้องเข้ารับการรักษา

แพทย์เข้าใช้งานได้สะดวก ช่วยลดเวลาการทำงาน

ในส่วนของบุคลากรทางการแพทย์ก็เข้าใช้งานแอปพลิเคชันนี้ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ลดเวลา และความเสี่ยงในการเจอผู้ป่วย COVID-19 ได้มากมาย อีกทั้งยังมีระบบ Dashboad รวบรวมข้อมูลของคนไข้ทุกคนทั้งข้อมูลภาพรวมสถานะของผู้ที่เข้ามาทำการประเมินความเสี่ยง ประวัติการตอบคำถามตามแบบประเมิน และผลที่ระบบทำการคัดกรองเบื้องต้น เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การนัดหมายพูดคุยปรึกษาแพทย์ทาง วิดีโอ คอนเฟอร์เรนซ์ และการออกใบนัดหมายให้คนไข้เข้ามารับการรักษาได้ทันที

ด้วยเทคโนโลยีทั้งหมดนี้จึงช่วยลดเวลา และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ และช่วยให้โรงพยาบาลสามารถบริหารจัดการบุคลากรทางการแพทย์ที่มีจำกัดได้เหมาะสมกับจำนวนผู้ป่วยอีกด้วย

สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Chula Teleclinic ได้แล้ววันนี้ ที่ App Store หรือ Play Store รองรับระบบ ios และ Android: http://onelink.to/n5cn7n

ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Vachira Phuket Teleclinic ได้แล้ววันนี้ ที่ Play Store : https://bit.ly/2zMacYu

ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Trat Teleclinic ได้แล้ววันนี้ ที่ Play Store : https://bit.ly/2ZjQbDz