เซเรบอสเอาด้วย ขายความงามบนอินเตอร์เน็ต

จากกระแสของการขายสินค้าเพื่อความงามทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นอาหารหรือว่าสินค้าแฟชั่นที่แพร่หลาย สาวๆ หลายคนไม่กลัวที่จะคลิกนิ้วสั่งซื้อสินค้า หรือบางคนก็ตั้งร้านบนเฟซบุ๊ก และเว็บไซต์ กลายเป็นแม่ค้ากันจนสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ มาถึงวันนี้ เซเรบอส ผู้เล่นรายใหญ่ในอุตสาหกรรมอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ จับเทรนด์ดังกล่าวขายอาหารเสริมเพื่อความงามบนโลกออนไลน์เช่นกัน ส่ง “แบรนด์ อินเนอร์ไชน์ มารีนคอลลาเจน เอสเซนต์สตริป” อาหารเสริมเข้าทำตลาดโดยใช้การตลาดแบบ Pure Digital งานนี้ไม่ต้องการพรีเซ็นเตอร์ ไม่มีภาพยนตร์โฆษณา เพราะกลุ่มเป้าหมายของแคมเปญนี้เลิกดูทีวีกันแล้ว

 

สาวยุคใหม่ สวยหน้าจอ 

กลุ่มเป้าหมายหลักของผลิตภัณฑ์ “แบรนด์ อินเนอร์ไชน์ มารีนคอลลาเจน เอสเซนต์สตริป” ตามที่ บุญเลิศ สุขเสรีทรัพย์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เซเรบอส (ประเทศไทย) จำกัด บอกไว้ก็คือ กลุ่ม Early Adopter เป็นคนที่มีทัศนคติชอบลองของใหม่ พฤติกรรมการเสพสื่อมักใช้สื่อออนไลน์และโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คมากกว่ารับสื่อแบบดั้งเดิม เชื่อเพื่อน ผู้เชี่ยวชาญ และค้นหาข้อมูลด้วยตัวเอง ดังนั้นการตลาดของแคมเปญเปิดตัวผลิตภัณฑ์คอลลาเจนแบบสตริปของเซเรบอส จึงใช้สื่อดิจิตอลตั้งแต่แนะนำผลิตภัณฑ์ ไปจนถึงขั้นตอนการขาย ที่งานนี้ไม่มีวางจำหน่ายทั่วไป แต่สั่งซื้อ จ่ายเงินบนอินเทอร์เน็ต แล้วจัดส่งทางไปรษณีย์ ซึ่งโมเดลที่เซเรบอสทำอยู่นี้ ก็มาจากตัวอย่างพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น ต้นตำหรับสินค้าที่เซเรบอสนำเข้ามา เพราะคอลลาเจนตัวนี้ก็ประสบความสำเร็จในญี่ปุ่นโดยเริ่มจากออนไลน์เช่นกัน ก่อนจะได้รับความนิยมแล้วตอนนี้ก็ขายระดับแมส

 

Nowism ต้องเดี๋ยวนี้เท่านั้น  

รูปร่างหน้าตาของคอลลาเจนจากเซเรบอส ถูกทำขึ้นมาเป็นสตริป ตัวซองเป็นทรงแบบแท่ง ตัวผลิตภัณฑ์หน้าตาคล้ายเจลลี่ นอกจากเหตุผลเรื่องธุรกิจที่อัตราการเติบโตของคอลลาเจนที่อยู่ในรูปแบบเครื่องดื่ม มีอัตราการเติบโตไม่ถึง 2 หลัก ยังมีเหตุผลเรื่องเทรนด์ผู้บริโภคที่เป็นแบบ “Nowism” ต้องการอะไรก็ต้องได้เดี๋ยวนี้ บวกกับพฤติกรรมของผู้หญิงที่มักแต่งหน้าเพิ่มทุกครั้งที่เข้าห้องน้ำหรือทานข้าวเสร็จ ก็สะท้อนให้เห็นว่าผู้หญิงต้องการความงามตลอดเวลา คอลลาเจน จึงถูกออกแบบมาให้พกพาสะดวก ใส่กระเป๋าได้ ทานง่าย โดยตัวผลิตภัณฑ์นำเข้าจากญี่ปุ่น เพราะมีนวัตกรรมที่ดี บวกกับตลาดในประเทศไทยก็ยังไม่คุ้มค่าที่เซเรบอสจะตั้งโรงงานผลิตสินค้าตัวนี้เอง

 

จากแมสสู่ออนไลน์ เกมที่เปลี่ยนไป

วิธีการทำการตลาดใช้วิธีการเข้าถึงบล็อกเกอร์ความงาม โดยให้ผลิตภัณฑ์ไปทดลอง 1 อาทิตย์ก่อนหน้าที่จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการ แล้วให้เหล่าคนดังในแวดวงความงามถ่ายรูปลงโซเชี่ยลมีเดยของตัวเอง จนกลายเป็นว่าในช่วงเวลาเดียวกัน มีรูปผลิตภัณฑ์นี้ ปรากฏในอินสตาแกรมพร้อมกันจนเป็นกระแสในกลุ่มของคนที่ติดตามเรื่องความงาม หลังจากนั้นก็จัดอีเวนต์เปิดตัว และมีโปรโมชั่นช่วงเปิดตัวลดราคาประมาณ 100 บาท รวมทั้งมีการแจกผลิตภัณฑ์ฟรีสำหรับผู้ที่มาลงทะเบียนขอรับตัวอย่าง 

นี่ถือเป็นการปรับตัวครั้งใหญ่ของค่ายเซเรบอส จากปกติที่จะใช้งบการตลาดออนไลน์แคมเปญหนึ่งประมาณ 5% แต่ตอนนี้ลุยดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งเต็มตัว ซึ่งถ้าหากพิจารณามูลค่าตลาดของตลาดอาหารเสริมเพื่อความงามจะพบว่ามีมูลค่าประมาณ 3,500 ล้านบาท และเป็นสินค้าประเภทคอลลาเจน 10% ซึ่งมูลค่าตลาดเพียงแค่ 350 ล้านบาทนี้ การที่เซเรบอสจะหันมาใช้แมสมีเดีย หรือมีพรีเซ็นเตอร์แบบจัดเต็มก็คงเป็นตลาดที่เล็กสำหรับการสื่อสารรูปแบบเดิมๆ

 อย่างไรก็ตาม เกมของยักษ์ใหญ่รายนี้ก็ไม่ใช่ง่ายนักเมื่อต้องเจอการแข่งขันจากผู้ประกอบการรายเล็กรายน้อย ที่ “หิ้ว” สินค้ามาขายเองเกลื่อนโลกออนไลน์ทั้งบนเฟซบุ๊กและเว็บไซต์ อีกทั้งระบบการจ่ายเงินที่ใครอยากซื้อสินค้าในเครือเซเรบอสแบบออนไลน์ ต้องลงทะเบียน แล้วใช้วิธีจ่ายเงินแบบตัดกับบัตรเครดิต ซึ่งนั้นเท่ากับจะเข้าสู่ปัญหาเดิมของการค้าขายออนไลน์ของไทยก็คือ ระบบจ่ายเงินที่ยุ่งยาก ซับซ้อน แต่ถึงยังไงชื่อชั้นของบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือก็น่าจะเป็นประโยชน์ 

“จากการศึกษาคร่าวๆ พบว่าผู้บริโภคจะเลือกซื้อสินค้าประเภทหารเสริมเพื่อความงามจากผู้ผลิตที่มีความน่าเชื่อถือ ส่วนเรื่องเงินค่อนข้างหลากหลายมาก แต่ก็ประมาณเดือนละ 1 พันบาทที่ผู้บริโภคยินยอมจ่าย” 

ความท้าทายของผลิตภัณฑ์คอลลาเจน สตริป ไม่ได้อยู่ที่ในตลาดเมืองไทยเท่านั้น เพราะจากการที่เซเรบอสประเทศไทยเป็นตลาดที่เติบโตสูงสุดในเอเชีย-แปซิฟิกมาไม่ต่ำกว่า 20 ปีแล้ว ทำให้การทำตลาดที่นี่ กลายเป็นตัวอย่างให้กับประเทศอื่นๆ ซึ่งจะเปิดตัวผลิตภัณฑ์นี้ต่อมา ตามสภาพความพร้อมของตลาดประเทศนั้นๆ  

 

InnerShine ซับแบรนด์เพื่อความงาม

การเข้าสู่ตลาดอาหารเสิรมเพื่อความงามของเซเรรบอส เข้ามาในชื่อเต็มๆ ว่า Brands’ InnerShine โดยทำตลาดผ่านซับแบรนด์ InnerShine เป็นการเปิด Sub-Brand หลังจากที่เคยใช้ชื่อ “วีต้า” มาเมื่อ 10 กว่าปีก่อน โดยแบรนด์นี้จะเป็นแบรนด์ที่ทำผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อความงามทั้งหมด โดยอิงกับภาพลักษณ์เดิมของแบรนด์ นั่นคือ ความสวยต้องมาจากภายใน เริ่มที่สุขภาพดีก่อน เหตุผลที่เซเรบอสต้องออกซับแบรนด์ก็เพื่อสร้างความชัดเจนระหว่างสินค้าสุขภาพกับสินค้าความงาม 

 

พฤติกรรมความงามของสาวออนไลน์ 

ยอมจ่ายเงิน 1 พันบาทต่อเดือนเพื่ออาหารเสริมความงาม แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือของพวกเธอ 1.เพื่อน 2.ผู้เชี่ยวชาญ 3.ข่าวสารหรือบทความที่ค้นหาด้วยตัวเอง

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

จุดแข็ง ผลิตภัณฑ์ Positioning
ใหม่ยังไม่มีคู่แข่งทางตรง ซึ่งมีฟอร์มผลิตภัณฑ์แบบเดียวกัน/
นวัตกรรมจากญี่ปุ่น ทำให้สินค้าทานง่าย ไม่มีกลิ่นคาวของคอลลาเจน/
แบรนด์มีความน่าเชื่อถือ อุปสรรค ระบบการจ่ายเงินที่ซับซ้อน
หลายขั้นตอน คู่แข่ง คู่แข่งทางอ้อมทั้งผู้ประกอบการรายเล็กๆ
ในสื่อออนไลน์ และผลิตภัณฑ์คอลลาเจนรูปแบบอื่น เช่น เครื่องดื่ม, แบบเม็ด ความท้าทาย เป็นการใช้สื่อดิจิตอลเต็มรูปแบบครั้งแรกของบริษัท/เป็นตัวอย่างให้กับเซเรบอสประเทศอื่นๆ
/สร้างแบรนด์ InnerShine ให้กลายเป็นแบรนด์สำหรับความงามจากภายใน โอกาส ยังไม่มีคอลลาเจนรูปแบบเดียวกันในตลาดที่ซัพพอร์ตไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่/
ผู้หญิงเปิดรับการช้อปปิ้งออนไลน์มากขึ้น