เมื่อ “แบรนด์” ต้องเปลี่ยนมือ

กำลังเป็นประเด็นร้อนที่เกิดขึ้นในหลายธุกิจ สำหรับการ กระแส “ซื้อขายหุ้นและควบรวมกิจการ” ที่ส่งผลให้หลาย “แบรนด์ดัง” ของไทยที่ก่อตั้งมานานนับสิบ กำลังถูกเปลี่ยนมือเปลี่ยนเจ้าของ

เริ่มจากกรณีของธุรกิจเพย์ทีวี เมื่อซีทีเอช สวอปหุ้นกับจีเอ็มเอ็ม บี บริษัทลูกของบริษัทจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่  ที่ทำธุรกิจ “เพย์ทีวี” ทั้งคู่มองว่างานนี้ได้ประโยชน์ทั้งคู่ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ได้ล้างขาดทุน ส่วนซีทีเอช มองว่า สามารถฐานลูกค้า รายการต่าง ช่องสัญญาณดาวเทียม และระบบหลังบ้าน การติดตั้ง คอลเซ็นเตอร์ ของจีเอ็มเอ็ม บี มาช่วยให้ “ซีทีเอช” ขยับขยายธุรกิจ โดยมีลิขสิทธิ์ฟุตบอลพรีเมียร์ลีกเป็นไฮไลท์ได้ดียิ่งขึ้น

อีกกรณีเป็นของค่ายเกรฮาวด์ เจ้าของแบรนด์แฟชั่นเสื้อผ้าเกรฮาวด์ และร้านอาหารเกรฮาวด์ คาเฟ่ ชื่อดังที่อยู่มายาวนานถึง 30 ปี ตัดสินใจขายหุ้นทั้งหมด ด้วยเม็ดเงิน 1,800 ล้านบาท  ให้กับบริษัททรัพย์ศรีไทย  เจ้ากิจการท่าเรือ และลิขสิทธิ์แฟรนไชส์ร้านดังกิ้นโดนัท โอปองแปง   โดย ภาณุ อิงคะวัต เจ้าของก่อตั้งและผู้บริหารเกรย์ฮาว ให้เหตผลว่า เพื่อต้องการเงินทุน และประสบการณ์จากทรัพย์ศรีไทยมาช่วยลงทุนขยายสาขาทั้งในและต่างประเทศ 

ในขณะที่ทรัพย์ศรีไทย มองเห็น “เกรฮาวด์แฟชั่น” เป็นแบรนด์แฟชั่น และธุรกิจร้านอาหารของเกรฮาว์ คาเฟ่ เป็นแบรนด์ที่มีฐานลูกค้า คนรุ่นใหม่และคนชั้นกลาง ซึ่งจะมาช่วยต่อยอดให้กับธุรกิจร้านอาหาร ที่ทรัพย์ศรีไทยที่ความสำคัญค่อนข้างมากเพิ่มขึ้น โดยที่การซื้อหุ้นในครั้งจะทำให้ทรัพย์ศรีไทย กลายเป็นเจ้าของไลฟ์สไตล์แบรนด์ ทั้ง “แฟชัน” และ “ร้านอาหาร” ชื่อดังของไทยแทน “เกรฮาวด์”

ตามมาด้วย กรณีของ บริษัท เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ของกลุ่มไมเนอร์ ได้ลงนามลงทุนจัดตั้งบริษัทร่วมทุนแห่งใหม่ คือ บริษัท บีทีเอ็ม (ไทยแลนด์) จำกัด เพื่อธุรกิจเบเกอรี่ค้าปลีก และพัฒนาขยายสาขาภายใต้แบรนด์ เบร็ดทอล์ค ในประเทศไทย

โดย บริษัท เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 50% และ บริษัท เบร็ดทอล์ค (ไทยแลนด์) จำกัด ถือหุ้น 50% มีทุนจดทะเบียน 7,920,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ หรือ 205 ล้านบาท

ก่อนหน้านี้ ไมเนอร์ก็เคยมีข่าวเรื่องความต้องการเข้าไปซื้อหุ้นใน “เอสแอนด์พี” ร้านอาหารแบรนด์ไทย  เพื่อต้องการขยายธุรกิจร้านอาหารเพิ่มเติม

สำหรับบริษัทเบรดทอล์คกรุ๊ป มีแบรนด์ที่ให้บริการในไทย 5 แบรนด์ คือ  ฟู้ดรีพับลิก ทำธุรกิจฟู้ดคอร์ต,โทสต์บ็อกซ์ ร้านอาหาร , ติ่นไท่ฟง ร้านอาหารจีน , เบรดทอล์ค ธุรกิจเบเกอร์รี่และไอซิ่งรูม ร้านเบเกอร์รี่ ซึ่งเบรดทอล์คในไทยปัจจุบันมี 18 สาขา และโทสต์บ็อกซ์ 7 สาขา 


ส่วนอีกกรณีเป็นของอี ฟอร์ แอล เอม จำกัด (มหาชน) หรือ EFORL ซึ่งทำธุรกิจจำหน่ายเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์  ได้ออกมายืนยันถึงการซื้อหุ้น “วุฒิศักดิ์คลีนิค” หลังจากที่มีการลงนามแสดงเจตจำนงค์ในการลงทุนซื้อหุ้น บริษัท วุฒิศักดิ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2557 และได้มีการแต่งตั้งที่ปรึกษากฎหมาย ที่ปรึกษาทางการเงินที่ปรึกษาด้านภาษีอากร และด้านอื่นๆ เข้าทำการศึกษา ในรายละเอียด (Due Diligence) ซึ่งการลงทุนในวุฒิศักดิ์คลีนิค ก็เพื่อกระจาย สร้างโอกาสเพิ่มรายได้ให้กับบริษัทด้วยเช่นกัน

EFORL มีชื่อบริษัทเดิมคือ แอปโซลูท อิมแพค ทำธุรกิจสื่อโฆษณา แต่ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนผู้ถือหุ้นและเปลี่ยนชื่อบริษัท หันมาเน้นการจัดจำหน่ายอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์

ส่วนบริษัท วุฒิศักดิ์ คลินิก ก่อตั้งโดย “ณกรณ์ กรณ์หิรัญ พลภัทร จันทรวิเมลือง” และ นายแพทย์วุฒิศักดิ์ ลิ่มพานิช ได้ร่วมก่อตั้งกันมาเป็นเวลา 10 ปี  และประสบความสำเร็จจากการปั้นแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก ด้วยการใช้ “ดารา” มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ พร้อมกับประโยค “เพราะความสวย รอไม่ได้” ที่กลายเป็นคำติดปากไปในชั่วข้ามคืน จนมีสาขามากกว่า 100 แห่ง และในต่างประเทศอีก 10 กว่าแห่ง

เดิมมีแผนจะเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ช่วงปลายปี 2556 แต่สุดท้ายได้ยกเลิกไป รวมทั้งมีข่าวว่า หนึ่งในสามผู้ก่อตั้ง จึงได้ลดจำนวนหุ้นที่ถือครอง โดยเวลานี้ได้ไปทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่

มีการมองว่า สาเหตุที่เกิดดีล “ซื้อขายหุ้นและกิจการ” ขึ้นมาหลายกรณี ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมกับการแข่งขันที่นับวันจะรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซีจึงต้องหาหุ้นส่วนมาเสริมพลัง เพื่อรับมือกับคู่แข่งจากต่างชาติที่จะเข้ามาในไทย

แต่ที่ต้องจับตามองว่า การขายหุ้น หรือรวมกิจการจะส่งผลให้ “แบรนด์” ดังต่างๆ ที่เคยถูกปลุกปั้นมา เมื่ออยู่ในมือของผู้ถือหุ้นใหม่แล้ว จะส่งผลให้แบรนด์เหล่านี้เดินหน้าได้ต่อไป หรือ ถูกปรับแต่งพลิกโฉมไปตามแนวทางเจ้าของใหม่