เรื่องโดย : ดร.ธเนศ ศิริกิจ
กระแสการทำตลาดย้อนยุค Retro Marketing / Retro Brand / Retro-Nova Marketing
ในปัจจุบันเห็นการทำตลาดย้อนยุค ซึ่งการตลาดเรียกว่า Retro Marketing แต่อาจารย์ขอใช้คำว่า “Marketing Memory” คือการทำการตลาดกับความรู้สึก กับ ความทรงจำ
**เหตุใดปัจจุบัน ทำไมการตลาดย้อนยุคกลับมาได้รับความนิยม**
เพราะยังมีกลุ่ม Baby-Boomer ซึ่งจากเดิมอายุ 30-40 ปี เริ่มก้าวมาเป็นอายุ 40-60 ปีแล้ว กลุ่มเหล่านี้จะมีกำลังซื้อค่อนข้างสูง เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีรายได้ มีความมั่นคงในชีวิตและการทำงาน
สิ่งที่สำคัญ Brand หรือตราสินค้าที่ครั้งหนึ่งเคยอยู่ในความทรงจำ เป็น Top of mind Brand ในใจอยู่แล้วและมีความเชื่อศรัทธาในBrandต่างๆอยู่แล้ว ดังนั้นจึงทำให้การตลาดสร้าง Brand ย้อนยุค จึงเป็นกระแส โดยจำกลุ่มที่ต้องการอยากเรียกความทรงจำเก่าๆมาได้ และสร้างความสุขกับสินค้าที่ตนบริโภค และสินค้าเหล่านั้นเป็น Top of mind Brand อยู่แล้ว บางท่านอาจจะมีความศรัทธาและเห็นBrand แล้วคงจะเรียกความทรงจำเดิมกลับมาได้
แต่สิ่งที่สำคัญคือ Brand หรือ Product ต่างๆที่จะทำ ต้อง “เกิดความเชื่อ ความศรัทธาอยู่ในใจ” เพราะถ้าไม่มีความเชื่อ ความศรัทธาใน Brand แล้วต่อให้จัด Campaign อย่างไรหรือ Campaign ดีอย่างไร ถ้าลูกค้าไม่มีความเชื่อ ความศรัทธา ทำยังไงก็ไม่เกิด
หันกลับมาดูสินค้าและ การบริการใน การเรียก Brand เก่าๆคืนกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง คงจะเห็นกระแสที่ได้รับความนิยม คงเป็นมุมมองธุรกิจที่นักธุรกิจมองจากพฤติกรรมผู้บริโภคหรือ Consumer Behavior แล้วจับมาทำธุรกิจเพราะเห็นกระแส
และสิ่งที่สำคัญ การทำการตลาดโดยเอา Brand เดิมมาต่อยอดนั้น ความ Success หรือการประสบความสำเร็จจะมีเปอร์เซ็นต์สูงหรือสร้างได้ง่ายกว่า เพราะต่างเป็น Brand ที่อยู่ในใจอยู่แล้ว Brand ที่อยู่ในใจเรียกว่า Top of mind Brand เพราะจะทำให้ความสำเร็จมีง่ายกว่าการสร้าง Brand ใหม่ซึ่งมีความเสี่ยง
ดังนั้นจะเห็นได้ว่ากระแส Retro Marketing หรือ Retro-Nova Marketing ที่เป็นกระแสปัจจุบันก็นำความทรงจำในอดีตหรือสิ่งต่างๆที่เคยประสบความสำเร็จในอดีตที่เคยหายไปกลับมาอีกครั้ง
คงจะเห็นตั้งแต่สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆแบบย้อนยุค เช่น ตลาดเพลินวาน ตลาดย้อนยุค ตลาด 100 ปี เป็นต้น ได้รับความสนใจ
ปัจจุบันจึงเป็นการตอบโจทย์ได้ดีสำหรับคนไทยซึ่งเป็น Characteristic ของคนไทยที่ชอบหาความทรงจำเดิมๆกลับมา
ดังนั้นกระแสที่เห็นในการซื้อ Brand ที่เคยอยู่ในความทรงจำ ไม่ว่าจะเป็นคุณตันเข้าซื้อกิจการน้ำส้ม “ไบเล่” ด้วยเงินทุนเกือบ 2 พันล้าน (1.78 ล้าน) แน่นอน “ไบเล่ (Bireley)” เป็น brand ที่อยู่ในใจอยู่แล้วจึงสามารถต่อยอดธุรกิจได้ง่าย ความ Success จะมีสูง เนื่องจาก Brand ไบเล่ เคยอยู่ในใจคนยุค 40 ปีขึ้นไปอยู่แล้ว แล้วคนกลุ่มนี้ นอกจากบริโภคสินค้าแล้วยังบริโภคความรู้สึกอีกด้วย (Marketing Memory)
ดังนั้นไม่แปลกเลยแม้แต่ วาเลน บัฟเฟส มหาเศรษฐีที่เข้าไปซื้อกิจการซอสไฮน์และอาหารกระป๋องชื่อดังด้วยราคากว่า 8.68 ล้าน คุณเจริญ เข้าซื้อกิจการ F&N รวมถึงคุณตันที่เข้าซื้อกิจการไบเล่ เหมือนนัดกันเลย คงเป็นการต่อยอดทางธุรกิจเพราะ Brand ที่กล่าวมานั้นมันเป็น Brand ที่อยู่ในใจอยู่แล้วหรือ Top of mind Brand ต้นทุนในการโฆษณาก็คงใช้น้อยกว่าการสร้าง Brand ใหม่ แถมมีคุณค่าทางใจอีก และสำคัญ Brand อะไรที่มีคุณค่าทางใจจะอยู่ได้นาน
และแน่นอนสินค้าที่อยู่ในความทรงจำก็กำลังต่อแถวมาทำตลาดอีกมากมาย ไม่ว่า “คิกคาปู้” ที่หายไปประมาณ 35 ปีแล้ว หรือ Papsi ได้นำเครื่องดื่ม “เมาเทนดิว” มาทำตลาด เปลี่ยนรูปลักษณ์ใหม่ก็ไปได้ดีทีเดียว โดยผสมผสาน “กล้าท้าลอง” ในรูปแบบใหม่และ Brand ที่อยู่ในใจคนอีกรุ่นมาผสมผสาน
เชื่อว่าคงจะมีนักธุรกิจรายอื่นที่กำลังมองๆหรือเรียกคืนชีพ Brand ต่างๆที่อยู่ในใจกลับมาเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภคที่เราใช้กันบ่อย หรือบริโภคบ่อยๆ เพราะจะสร้างความทรงจำได้ง่ายกว่า และที่สำคัญ ความ Success ก็มีง่ายกว่าที่จะสร้าง Brand ใหม่ๆ “เห็น Brand หรือสินค้าที่เคยได้รับความนิยมกลับมาอีกครั้ง รู้สึกตื่นเต้นและมีความสุข”
สงสัยคงต้องหา Big ด้ามเหลือง เขียนเฟื่องจริงๆ มาใช้สักด้ามแล้วล่ะ
คงได้มีเรื่องราว กลยุทธ์ต่างๆมาแลกเปลี่ยนในคราวต่อไป อย่าลืมติดตามครับ(เขียนมาตรงนี้แล้ว คิดถึงสบู่ไลฟ์บอยจัง)
ดร.ธเนศ ศิริกิจ :
ผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาการวางแผนกลยุทธ์การตลาด /อาจารย์ ในระดับปริญญาโท หลายสถาบัน , นักวิชาการ และวิทยากรทั้งภาครัฐและเอกชน
Email : s_thaneth @yahoo.com