ผ่า กลยุทธการตลาดผ่าน 4 แพลทฟอร์ม Facebook, Snapchat, Twitter และ Pandora

เมื่อการสื่อสารแบบเดิมๆ เริ่มจะไปไม่ถึงกลุ่มคนยุคใหม่ เหล่าผู้บริหารของ Facebook, Snapchat, Twitter และ Pandora ได้นำเสนอ 4 กลุยทธสำคัญในยุคนี้ สำหรับการทำการตลาดผ่านโซลเชียลเน็ตเวิร์ก

ที่งาน Mobile Day ในนิวยอร์กเมื่อเร็วๆ นี้ ผู้บริหารจาก 4 โซลเชียลเน็ตเวิร์กสุดฮิตแห่งยุค ได้แสดงความเห็นถึงการทำโฆษณาผ่านสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์กไปถึงกลุ่มเป้าหมายอายุ 18 – 34 ปี ที่ตามข้อมูลระบุว่าเริ่มจะ “เมิน” สื่อกระแสหลักมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าทั้งแบรนด์ และเจ้าของเครือข่ายไม่สามารถเพียงแค่วิเคราะห์ว่าคนรุ่นนี้ “ตื่นเต้น” กับโฆษณาแบบไหนได้อีกต่อไปแล้ว แต่ต้องเรียนรู้พฤติกรรมการใช้ชีวิตในโลกดิจิตอลของพวกเขา และเพื่อวางแผนการตลาดไปตามพฤติกรรมเหล่านี้นั้นยิ่งไปกว่านั้น เทรเวอร์ จอห์นสัน ผู้อำนวยการฝ่ายเอเยนซีของ  Facebook ยังมองว่าพฤติกรรมของกลุ่มคนยุค “2000s” ไม่ได้เป็นแค่พฤติกรรม “เฉพาะกลุ่ม” แต่กำลังจะเป็น “แนวโน้ม” ของโลกในอนาคตต่อไปด้วย

Snapchat … “ความใกล้ตัว” คือปัจจัยสำคัญ

สตีฟ ฮวาง ผู้อำนวยการฝ่ายแผนการ และปฏิบัติการแห่ง Snapchat แอพที่ให้ผู้ใช้สามารถแชทกับเพื่อนๆ ด้วยรูปภาพหรือภาพถ่าย เชื่อว่าแบรนด์ต้องพยายามทำอะไรให้ “ใกล้ตัว” กับกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะคนยุค “2000s” ให้มากที่สุดโดยผู้ใช่ Snapchat ส่วนใหญ่ก็คือกลุ่มที่มีอายุประมาณ 18 – 24 ปี ซึ่งถือเป็นกลุ่มคนไม่ค่อยชอบการโฆษณา และแผนการตลาดแบบโต่งๆ อยู่แล้ว คนกลุ่มนี้มักจะสบายใจกับการดูคลิป และภาพของเพื่อนๆ มากกว่า ซึ่ง Snapchat ก็สามารถตอบโจทย์ข้อนี้ได้อย่างตรงๆ ด้วยการนำเสนอโฆษณาไปกับภาพ และคลิปส่วนตัวของผู้ใช้ได้อย่างแนบเนียน

 

Facebook … เตะตาให้ได้ในเวลา 3 วินาที

Facebook ประสบความสำเร็จไม่น้อยกับการเพิ่มแอดโฆษณาในรูปแบบวิดีโอซึ่งตั้งค่าให้เล่นอัตโนมัติผ่านทุกระบบเครือข่ายสัญญาณ บนหน้า News Feed โดยจะเล่นแค่วิดีโอแต่ไม่มีเสียง หากต้องการฟังเสียงก็เพียงแค่คลิกเพื่อชมวิดีโอแบบเต็มจอพร้อมเสียงได้เองซึ่ง เทรเวอร์ จอห์นสัน แห่งของ Facebook ก็มองว่าคลิปสั้นๆ ความยาวไม่กี่วินาทีสามารถให้ข้อมูลกับลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และดูง่ายๆ แต่แบรนด์ก็ต้องเรียกร้องความสนใจจากผู้ชมให้ได้ภายในระยะเวลา 3 วินาทีด้วย เพื่อให้ผู้ใช้หยุดดูคลิปอีก 5 หรือ 10 วินาที และถ้าโฆษณาได้ผลจริงๆ เขาก็อาจจะคลิ๊กเพื่อชมคลิปต่ออีก 10 นาทีก็ได้คลิปวิดีโอเป็นวิธีที่เหมาะสมกับคนรุ่น “2000s” มากที่สุดอยู่แล้ว เพราะคนรุ่นใหม่อยากจะได้ข้อมูลเร็วๆ แบบไม่ต้องใช้ความพยายามในการรับข้อมูลอะไรมากมาย ซึ่งคลิปสั้นๆ ความยาวไม่กี่วินาที และปราศจากเสียง ก็ดูจะกระตุ้นความสงสัยไคร้รู้ของกลุ่มเป้าหมายได้ดี

Twitter … เซเล็บออนไลน์

แน่นอนว่า “เซเล็ป” ยังเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับการทำการตลาด แต่ในมุมมองของ สเตฟานี เพรเกอร์ แห่ง Twitter กลับมองว่านิยามของ “เซเล็ป” ในวันนี้ไม่เหมือนเมื่อก่อนอีกแล้ว เพราะตอนนี้ไม่ใช่แค่ ดาราดัง หรือนักร้องซูเปอร์สตาร์เท่านั้นที่เป็นเซเล็ป แต่คน “ธรรมดาๆ” คนหนึ่ง ที่มีจุดเด่นส่วนตัวบางอย่าง อาจกลายเป็นคนดังในช่วงข้ามคืน จนมีคนตาม Twitter หรือ Facebook เป็นแสนเป็นล้านอย่างเหลือเชื่อ และกลายเป็นผู้ทรงอิทธิพลของโลกออนไลน์ ซึ่งแน่นอนว่าสามารถช่วยแบรนด์ในการทำประชาสัมพันธ์ได้เพรเกอร์ ยังมองว่าปัจจุบัน “เซเล็ปออนไลน์” เริ่มจะทรงอิทธิพลมากกว่าเซเล็ปกระแสหลักแบบเดิมๆ แล้วทาง Twitter ก็ทราบดีถึงเรื่องนี้ จึงมีการเปิดตัวแอพ Periscope สำหรับถ่ายทอดสดทั้งภาพวิดีโอและเสียงเพื่อรองรับเหล่าคนดังในโลกออนไลน์ พร้อมซื้อบริษัทเอเยนซี Niche เอาไว้แล้วด้วย

Pandora … คิดสร้างสรรค์ จากฐานข้อมูล

ด้านบริการสตรีมมิ่งเพลงในรูปแบบวิทยุ Pandora ก็เสนอว่าการออกแบบสินค้าทางออนไลน์ ตลอดจนการออกแบบแผนการตลาด ควรจะเป็นการสร้างสรรค์ที่ผ่านการประเมินจากข้อมูลอย่างละเอียดก่อน ทามาราเบดโดรเชียน แห่ง Pandora ได้ยกตัวอย่างว่ากลุ่มผู้หญิงอายุ 18 – 24 ปี ที่ใช้บริการของ Pandora มักจะชอบฟังผลงานของนักไวโอลิน ลินด์เซย์ สเตอร์ลิง ที่ดังมาจาก YouTube กันมาก แต่กลายเป็นว่า 80% ของคนที่ฟังผลงานของ สเตอร์ลิง กลับเลือกฟังเพลงของเธอผ่านแอพทางโทรศัพท์มือถือเพียงอย่างเดียวเท่านัน้ แต่กลับไม่ได้ติดตามฟังทางช่องทางอื่นเลย ซึ่ง เบดโดรเชียน มองว่าข้อมูลลักษณะนี้สามารถช่วยในการวางแผนการตลาดได้เป็นอย่างดี

……………………

สรุปแล้วทั้ง 4 กลยุทธล้วนมีจุดรวมเหมือนกันอยู่หนึ่งประการนั่นก็คือการ “ทำการตลาด” เหมือน “ไม่ได้ทำการตลาด” นั่นเอง

โดยพื้นฐานแล้วคนยุคนี้ไม่ชอบให้ใครมาเสนอขายอะไร และไว้ใจ ตลอดจนตอบรับสื่อที่ค่อนข้างมีความเป็นส่วนตัวมากกว่า นักการตลาดจึงต้องพยายามหาวิธีสร้างสรรค์ใหม่ๆ ในการให้ข้อมูลกับกลุ่มเป้าหมาย ผ่านช่องทางการสื่อสารในชีวิตประจำวัน แบบ Snapchat, Facebook หรือ Twitter ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สื่อสารกันเองมากขึ้นเรื่อยๆ

 

ที่มา :  http://kingkong.com.au
          http://www.adweek.com