เป็นการเคลื่อนไหวที่สำคัญอีกครั้งหนึ่งในวงการโอเปอเรเตอร์เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ โดยการเป็นพาร์ทเนอร์กันของ “ทรูมูฟ เอช” และ “เฟซบุ๊ก” ในการเปิดบริการ Free Basics เป็นการให้ลูกค้าทรูมูฟ เอชทั้งระบบรายเดือน และเติมเงินสามารถใช้งานเฟซบุ๊ก และเว็บไซต์อื่นๆ ที่เป็นคอนเทนต์ พาร์ทเนอร์ได้แบบฟรีดาต้า ไม่เสียค่าบริการอินเตอร์เน็ต
โดยที่ Free Basics เป็นส่วนหนึ่งของ internet.org บิ๊กโปรเจ็คต์ของนายมาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก ได้ก่อตั้งในปี 2013 เป็นองค์กรที่สนับสนุนให้คนคนทั่วโลกได้เข้าถึงอินเทอร์เน็ต เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของคน แต่ภายหลังในปี 2015 เว็บไซต์ internet.org ก็ได้ถูกแทนที่ด้วย freebasics.com เพื่อเป็นแพลตฟอร์มให้ผู้คนได้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตในเว็บไซต์พื้นฐานผ่านโทรศัพท์มือถือ โปรเจ็คต์นี้ได้เน้นกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาในทวีปเอเชีย, แอฟริกา และอเมริกาใต้
ในการที่เฟซบุ๊กจะเผยแพร่ Free Basics ไปในแต่ละประเทศนั้น รูปแบบความร่วมมือก็เป็นการจับมือกับพาร์ทเนอร์ที่เป็นโอเปอเรเตอร์เครือข่ายโทรศัพท์มือถือในประเทศนั้นๆ เช่นเดียวกันกับที่บ้านเราที่ร่วมมือกับทางทรูมูฟ เอช ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่ 6 ในเอเชียที่เปิดบริการ Free Basics
5 ประเทศในเอเชียที่ผ่านมา ได้แก่ อินเดีย (Reliance Communications), ฟิลิปปินส์ (Smart Communications), อินโดนิเซีย (Indosat), บังคลาเทศ (Robi) และปากีสถาน (Telenor Pakistan)
ความน่าสนใจอยู่ที่การแข่งขันของโอเปอเรเตอร์ ที่เรียกว่าที่ผ่านมาส่วนใหญ่เป็นการกระหน่ำทำแคมเปญเรื่องของ “Device” หรืออุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ มีการทำราคาให้ต่ำลงเรื่อยๆ ในระดับ Entry ระดับราคาไม่กี่พันบาทก็สามารถเล่นอินเทอร์เน็ตได้ เพื่อดึงดูดให้ผู้ใช้งานฟีเจอร์โฟนมาใช้สมาร์ทโฟน และนำมาสู่การเป็นลูกค้าของแต่ละค่าย และเปิดใช้แพคเกจอินเทอร์เน็ต
แต่ภายใต้ความร่วมมือนี้เหมือนเป็นการกระตุ้นด้วย “คอนเทนต์” ที่จะเป็นตัวสร้างประสบการณ์ในการเล่นอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภค จากเดิมที่ใช้ดีไวซ์เป็นตัวกระตุ้นมาตลอด เพื่อดึงผู้ใช้หน้าใหม่ให้ใช้อินเทอร์เน็ต
ดร.กิตติณัฐ ทีคะวรรณ หัวหน้าคณะผู้บริหารดำเนินการพาณิชย์ ธุรกิจโมบายล์ และผู้อำนวยการบริหารธุรกิจรีเทล บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า การทำตลาดต่อไปมองว่าต้องทำคู่ขนานกันระหว่างเรื่องดีไวซ์ และคอนเทนต์ เพราะประเทศไทยยังมีสัดส่วนอีก 46% ของประชากรที่ยังไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ บางประเทศที่พัฒนาแล้วมีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในอัตราสูง มีโครงข่ายเข้าถึงทั่วประเทศ แต่บ้านเราถึงแม้ว่าจะมีโครงข่ายที่พร้อมครอบคลุมทั่วประเทศ แต่ผู้บริโภคบางกลุ่มที่เขายังมีข้อจำกัดบางอย่าง หรือกำลังซื้อน้อย เราก็ต้องกระตุ้น และสร้างทางเลือกให้เขาทั้งดีไวซ์ราคาถูก และคอนเทนต์จะเป็นตัวตอบโจทย์ที่สำคัญที่จะทำให้เขาใช้อินเทอร์เน็ต
สิ่งที่ทางเฟซบุ๊ก และทรูมูฟ เอชคาดหวังจากความร่วมมือครั้งนี้ก็คือมีคนใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น และก็นำพามาสู่จำนวนผู้ใช้เฟซบุ๊กเพิ่มขึ้นเช่นกัน สร้างการเติบโตให้เฟซบุ๊ก ส่วนทางด้านของทรูมูฟ เอช ก็คาดหวังให้มีลูกค้าที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันที่มีจำนวนซิมทั้งหมด 19.92 ล้านซิม มีการใช้อินเทอร์เน็ต 50% และยังมีการใช้ฟีเจอร์โฟนอยู่ 20-30%
แต่อย่างที่ทราบกันว่าเฟซบุ๊กค่อนข้างจะมีสัมพันธ์อันดีกับทางกลุ่ม “เทเลนอร์” อย่างที่ในปี 2557 เฟซบุ๊กเพิ่งเป็นพาร์ทเนอร์กับทาง “แฮปปี้” ของค่ายดีแทค ในการให้ใช้เฟซบุ๊กฟรีนาน 6 เดือน แต่ครั้งนี้เลือกที่จับมือกับทางทรูมูฟ เอชก่อน
แอนนา ไนเกรน หัวหน้าฝ่าย Partnership ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของเฟซบุ๊ก ได้บอกว่า ความร่วมมือครั้งนี้ไม่ใช่ Exclusive Partner โดยที่ถ้าอีก 2 ราย เอไอเอส และดีแทคมีความต้องการที่จะพาร์ทเนอร์กันในอนาคตก็ยินดี แต่ที่ครั้งนี้ได้ทำการเลือกทรูมูฟ เอชก่อนเพราะมีความพร้อมมากกว่า
ดร.กิตติณัฐ ทีคะวรรณ หัวหน้าคณะผู้บริหารดำเนินการพาณิชย์ ธุรกิจโมบายล์ และผู้อำนวยการบริหารธุรกิจรีเทล บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า การทำตลาดต่อไปมองว่าต้องทำคู่ขนานกันระหว่างเรื่องดีไวซ์ และคอนเทนต์ เพราะประเทศไทยยังมีสัดส่วนอีก 46% ของประชากรที่ยังไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ บางประเทศที่พัฒนาแล้วมีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในอัตราสูง มีโครงข่ายเข้าถึงทั่วประเทศ แต่บ้านเราถึงแม้ว่าจะมีโครงข่ายที่พร้อมครอบคลุมทั่วประเทศ แต่ผู้บริโภคบางกลุ่มที่เขายังมีข้อจำกัดบางอย่าง หรือกำลังซื้อน้อย เราก็ต้องกระตุ้น และสร้างทางเลือกให้เขาทั้งดีไวซ์ราคาถูก และคอนเทนต์จะเป็นตัวตอบโจทย์ที่สำคัญที่จะทำให้เขาใช้อินเทอร์เน็ต
สิ่งที่ทางเฟซบุ๊ก และทรูมูฟ เอชคาดหวังจากความร่วมมือครั้งนี้ก็คือมีคนใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น และก็นำพามาสู่จำนวนผู้ใช้เฟซบุ๊กเพิ่มขึ้นเช่นกัน สร้างการเติบโตให้เฟซบุ๊ก ส่วนทางด้านของทรูมูฟ เอช ก็คาดหวังให้มีลูกค้าที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันที่มีจำนวนซิมทั้งหมด 19.92 ล้านซิม มีการใช้อินเทอร์เน็ต 50% และยังมีการใช้ฟีเจอร์โฟนอยู่ 20-30%
แต่อย่างที่ทราบกันว่าเฟซบุ๊กค่อนข้างจะมีสัมพันธ์อันดีกับทางกลุ่ม “เทเลนอร์” อย่างที่ในปี 2557 เฟซบุ๊กเพิ่งเป็นพาร์ทเนอร์กับทาง “แฮปปี้” ของค่ายดีแทค ในการให้ใช้เฟซบุ๊กฟรีนาน 6 เดือน แต่ครั้งนี้เลือกที่จับมือกับทางทรูมูฟ เอชก่อน
แอนนา ไนเกรน หัวหน้าฝ่าย Partnership ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของเฟซบุ๊ก ได้บอกว่า ความร่วมมือครั้งนี้ไม่ใช่ Exclusive Partner โดยที่ถ้าอีก 2 ราย เอไอเอส และดีแทคมีความต้องการที่จะพาร์ทเนอร์กันในอนาคตก็ยินดี แต่ที่ครั้งนี้ได้ทำการเลือกทรูมูฟ เอชก่อนเพราะมีความพร้อมมากกว่า
เว็บไซต์ที่เป็นคอนเทนต์พาร์ทเนอร์ของ Free Basics นอกจากเฟซบุ๊กแล้ว ยังมีอีก 19 เว็บไซต์ ใน 4 หมวด คือ 1.คอมมูนิตี้ ได้แก่ Messenger, Sanook, Dek-D, Pantip และ WattPad 2.การศึกษา ได้แก่ TaamKru, วิกิพีเดีย, วิกิฮาว, Accuweather, Ask.com และ Bing 3.สุขภาพ ได้แก่ Haamor, Girl Effect, Doctoyme, Malaria no More, BabyCenter & MAMA, UNICEF – Violence Against Children และ UNICEF – Facts for Life 4.หางาน ได้แก่ JobThai
การใช้งานต้องเข้าเว็บไซต์ผ่าน freebasics.com ผ่านโทรศัพท์มือถือเท่านั้น! ใช้ได้ทั้งสมาร์ทโฟน และฟีเจอร์โฟน และไม่สามารถใช้งานได้ในขณะใช้ Wifi จากนั้นจะมีลิงค์ไปยังเว็บไซต์ต่างๆ ที่เป็นคอนเทนต์พาร์ทเนอร์ ถ้ามีการเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์อื่นนอกเหนือจากนี้ จะมีการแจ้งเตือนขึ้นมาเพื่อป้องกันการเสียค่าใช้จ่ายค่าอินเทอร์เน็ต