Major Bowl เปิดสาขาแรกที่สุขุมวิท-เอกมัย 20 เลน เมื่อ 7 ปีก่อน ความเคลื่อนไหวที่ผ่านมามักเป็นแบบ Minor change ไม่หวือหวานัก แม้จะนำรูปแบบ “The first boutique bowling in Thailand” มาใช้ที่สาขาเซ็นทรัล พระราม 3 ก็ตาม แต่กลุ่มลูกค้าก็ยังไม่ขยายวงกว้างเท่าที่ควร ดังนั้นเพื่อความสดใหม่และเพื่อเพิ่มรายได้ 30% พร้อมขยายฐานสู่กลุ่มคนรุ่นใหม่ จึงทำการ Re-branding ครบวงจร คือ เปลี่ยนชื่อจาก Major Bowl เป็น Major Bowl Hit เปลี่ยนโลโก้ ทำ decoration ใหม่ ขยายสาขา และนำ presenter มาใช้เป็นครั้งแรก…พอลล่า เทเลอร์
“เลือกพอลล่า เพราะมีพลัง สดใส และ dynamic สามารถสื่อถึงความเป็น Major Bowl Hit ได้ชัดเจน consumer จะ get มากขึ้น” นัยสันต์ จันทรศรี CBO-Chief Bowling Officer หรือประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายโบว์ลิ่งคนแรกของ Major Bowl Hit บอก
“โบว์ลิ่งเป็น Sport Entertainment มาตัวเปล่า ก็เล่นได้ enjoy ทั้ง playing eating อาจจะมี dancing และ singing แถมด้วยอีกต่างหาก ขึ้นอยู่กับอารมณ์มันส์ส่วนตัว แต่ที่ Major Bowl Hit ลูกค้าจะได้รับประสบการณ์ที่แตกต่าง จะก้าวข้ามไปสู่ความเป็น trendy มากขึ้น HIT คือ nick name ที่สะท้อนถึงสถานที่รวบรวมทุกสิ่งที่ hit ได้แก่ Hit Society (โบว์ลิ่งระดับ world class ห้องคาราโอเกะทันสมัย บาร์และร้านอาหารสุด hip) Hit Music Hit Sport และ Hit Fashion &Trend”
ภาพรวม ธุรกิจโบว์ลิ่งมีจำนวนเลนทั้งหมด 850 เลน มูลค่ารวม 1,000 ล้านบาท โดยตลาดรวมโต 10% สิ้นปี 2547 Major Bowl Hit จะมี 314 เลน คิดเป็นสัดส่วน 36.94% ใช้งบลงทุน 200 ล้านบาท (แต่จากข้อมูลของ P.S. Bowl บอกว่า P.S. Bowl มีทั้งหมด 318 เลน)
ถึงที่สุดแล้ว สิ่งหนึ่งที่ Major Bowl Hit ได้เปรียบและเป็นต่อคู่แข่งอย่างเหลือเฟือคือ จำนวนสาขา เลน และทำเลที่ตั้ง ที่ครอบคลุมกว่าทุกรายในตลาด ที่สำคัญความเป็น Entertainment Complex ของ Major Cineplex สามารถสนองความต้องการของผู้บริโภคได้แทบทุกด้าน
Brand : Major Bowl Hit
Company : บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจโรงภาพยนตร์ โบว์ลิ่งและคาราโอเกะ ธุรกิจสื่อโฆษณา (บริษัท เมเจอร์ ซีนีแอด จำกัด) ธุรกิจบริการให้พื้นที่เช่า และฟิตเนสเซ็นเตอร์
Positioning : Boutique Bowling ระดับโลก
Target : กลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่ที่หลากหลายมากขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น และคนทำงาน
Strategy : ใช้กลยุทธ์ Celebrity Marketing, above the line และ below the line พร้อมด้วย marketing campaign ออกบัตรสมาชิกสนอง lifestyle ของลูกค้า แบ่งเป็น บัตร U-Hit สำหรับนักศึกษา Smart-Hit สำหรับบุคคลทั่วไป และบัตรสะสมแต้ม Hit Reward เพื่อเพิ่มความถี่ในการกลับมาใช้บริการ
Competitor : คู่แข่งที่ใช้ theme ของความทันสมัย และแสงสีที่เร้าใจใกล้เคียงกับ Major Bowl Hit ที่สุด คือ SF Strike Bowl ของ SF ตั้งอยู่บนชั้น 7 มาบุญครอง ภายใต้แนวคิด “One floor Entertainment” แต่ทั้งนี้ยังมีสาขาและจำนวนเลนน้อยมาก และคู่แข่งรายอื่นๆ คือ P.S. Bowl (เน้นเปิดสาขากับเดอะมอลล์), BSC BOWL ขณะที่ตามต่างจังหวัดส่วนใหญ่จะเป็นโบว์ลิ่งแบบ stand alone หรือไม่ก็อยู่ตาม sport club ของโรงแรม เป็นต้น
Did you know?
ปี 2546 จำนวนสาขาของ Major Bowl 9 สาขา 224 เลน
ปี 2547 จำนวนสาขาของ Maior Bowl 15 สาขา 314 เลน
* คาดว่าสิ้นปี 2548 จะมีเกือบ 500 เลน จากการเปิดสาขาเพิ่มที่แจ้งวัฒนะ อ้อมใหญ่ สยามพารากอนและในต่างจังหวัด
กราฟเปรียบเทียบสาขาในกรุงเทพฯปริมณฑล และต่างจังหวัด
– ปี 2546
จำนวนเลนของ Major Bowl ในกรุงเทพฯและปริมณฑล 212 เลน
จำนวนเลนของ Major Bowl ในต่างจังหวัด 12 เลน (นครสวรรค์)
– ปี 2547
จำนวนเลนของ Major Bowl ในกรุงเทพฯและปริมณฑล 274 เลน
จำนวนเลนของ Major Bowl ในต่างจังหวัด 40 เลน (นครสวรรค์ ฉะเชิงเทรา อุดรธานี)
ปีนี้ Major Cineplex จะมุ่งเน้นขยายการลงทุน Major Bowl Hit เป็นหลัก (ขยายตัวทั้งแบบ Stand Alone และอยู่ในพื้นที่ Major Cineplex) เพราะเป็นธุรกิจที่ทำรายได้ดีรองจากธุรกิจโรงภาพยนตร์ ไตรมาส 1 ของปี 2547 รายได้รวม 604 ล้านบาท แบ่งเป็น
ธุรกิจโรงภาพยนตร์ 66 % 402 ล้านบาท
ธุรกิจโบว์ลิ่งและคาราโอเกะ 12 % 70 ล้านบาท
ธุรกิจให้บริการเช่าพื้นที่ 12 % 74.36 ล้านบาท
ธุรกิจโฆษณาในโรงภาพยนตร์ 7 % 40 ล้านบาท
รายได้อื่นๆ 3 % 19 ล้านบาท