ตำแหน่งวงโคจรดาวเทียม (Satellite Postioning)

ตำแหน่งวงโคจรดาวเทียมเป็นทรัพยากรที่มีค่าของโลก ทุกประเทศที่จะส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศจะต้องขอจองตำแหน่งดาวเทียม กับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommucation Union) หรือ ITU โดยมีขั้นตอนแรก ต้องส่งเอกสารเกี่ยวกับดาวเทียม เช่น คุณสมบัติ ที่จะส่งขึ้นสู่วงโคจร (Advance Publication) ให้แก่ ITU จากนั้น ITU จะส่งให้ประเทศสมาชิกพิจารณาคุณสมบัติของดาวเทียม เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนที่สอง (Coordination) ในกรณีคุณสมบัติดาวเทียม และตำแหน่งที่ต้องการรบกวนดาวเทียมดวงอื่น ทั้งที่ส่งขึ้นสู่วงโคจรแล้ว และที่กำลังเตรียมส่ง จากนั้นเมื่อประสานเรียบร้อยแล้ว จะเข้าสู่ขั้นตอนที่สาม คือการจดทะเบียนความถี่ และตำแหน่งดาวเทียม (Notification) หากผู้ที่ได้รับอนุมัติตำแหน่งไปแล้ว ไม่ใช้หรือส่งดาวเทียมภายใน 2 ปีจะต้องมอบคืน ITU

ปัจจุบันดาวเทียมที่ให้บริการสื่อสารจะอยู่ในตำแหน่งวงโคจรดาวเทียมค้างฟ้า (Geostationary Satellite) ที่กำหนดหมุนอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระยะห่างจากพื้นโลก 36,000 กิโลเมตร มีความเร็วหมุนรอบโลก เท่ากับโลกหมุนรอบตัวเอง โดยดาวเทียมแต่ละดวงจะต้องอยู่ห่างกันอย่างน้อย 2 องศา เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนซึ่งกันและกัน โดยเฉลี่ยมีทั้งหมด 180 ตำแหน่ง สำหรับประเทศไทย ในนามของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร หรือไอซีที ในฐานะหน่วยงานผู้แทนของรัฐบาลไทยมีตำแหน่งดาวเทียมอยู่ในการดูแล 13 ตำแหน่ง และใช้งานแล้วโดยไทยคม 1 ที่ 120 องศาตะวันออก ไทยคม 2 ที่ 78.5 องศาตะวันออก ไทยคม 3 ที่ 78.5 องศาตะวันออก (ใช้เทคนิคให้อยู่ตำแหน่งเดียวกับไทยคม 1) ไทยคม 4 หรือไอพีสตาร์ 119.5 องศาตะวันออก