รายชื่อสนามแข่ง 12 เมือง

เมือง Berlin
ชื่อสนาม : โอลิมปิก สเตเดี้ยม
คุณภาพสนาม : ออกแบบและปรับปรุงใหม่
งบประมาณลงทุน : 242 ล้านเหรียญยูโร
จำนวนความจุเต็มสนาม : 74,176 ที่นั่ง
จำนวนที่นั่งที่เปิดให้เข้าชม : 66,021 ที่นั่ง
บัตรเข้าชมที่เปิดจำหน่าย : รอบแรก 56,358 ใบ
รอบ 16 ทีม 56,316 ใบ
รอบชิงชนะเลิศ 55,562 ใบ

เมือง Cologne
ชื่อสนาม : ฟีฟ่า เวิลด์คัพ สเตเดี้ยม โคโลญจน์
คุณภาพสนาม : สนามปรับปรุงใหม่
งบประมาณลงทุน : 110 ล้านเหรียญยูโร
จำนวนความจุเต็มสนาม : 46,120 ที่นั่ง
จำนวนที่นั่งที่เปิดให้เข้าชม : 40,590 ที่นั่ง
บัตรที่เปิดจำหน่าย : รอบแรก 35,926 ใบ
รอบ 16 ทีม 35,580 ใบ

เมือง Dortmund
ชื่อสนาม : เวสต์ฟาเล่น สเตเดี้ยม
คุณภาพสนาม : ปรับปรุงใหม่
งบประมาณลงทุน : 31-36 ล้านเหรียญยูโร
จำนวนความจุเต็มสนาม : 66,981 ที่นั่ง
จำนวนที่นั่งที่เปิดให้เข้าชม : 60,285 ที่นั่ง
บัตรที่เปิดจำหน่าย : รอบแรก 50,768 ใบ
รอบ 16 ทีม 50,276 ใบ
รอบรองชนะเลิศ 49,876 ใบ

เมือง Frankfurt
ชื่อสนาม : วาลด์ สเตเดี้ยม
คุณภาพสนาม : สนามสร้างใหม่
งบประมาณลงทุน : 126 ล้านเหรียญยูโร
จำนวนความจุเต็มสนาม : 48,132 ที่นั่ง
จำนวนที่นั่งที่เปิดให้เข้าชม 43,324 ที่นั่ง
บัตรที่เปิดจำหน่าย : รอบแรก 38,437 ใบ
รอบก่อนรองชนะเลิศ 37,925 ใบ

เมือง Gelsenkirchen
ชื่อสนาม : อารีน่า อัฟชาลเก้
คุณภาพสนาม : สนามสร้างใหม่
งบประมาณลงทุน : 192ล้านเหรียญยูโร
จำนวนความจุเต็มสนาม : 53,084 ที่นั่ง
จำนวนที่นั่งที่เปิดให้เข้าชม : 48,426 ที่นั่ง
บัตรที่เปิดจำหน่าย : รอบแรก 43,920 ใบ
รอบก่อนรองชนะเลิศ 43,574 ใบ

เมือง Hamburg
ชื่อสนาม : ฟีฟ่า เวิลด์คัพ สเตเดี้ยม ฮัมบูร์ก
คุณภาพสนาม : สนามสร้างใหม่
งบประมาณลงทุน : 97 ล้านยูโร
จำนวนความจุเต็มสนาม : 51,055 ที่นั่ง
จำนวนที่นั่งที่เปิดให้เข้าชม : 45,442 ที่นั่ง
จำนวนบัตรที่เปิดจำหน่าย – รอบแรก 40,918 ที่นั่ง
รอบก่อนรองชนะเลิศ 40,226 ที่นั่ง

เมือง Hannover
ชื่อสนาม : ฟีฟ่า เวิลด์คัพ สเตเดี้ยม, ฮันโนเวอร์
คุณภาพสนาม : ปรับปรุง
งบประมาณลงทุน : 63 ล้านเหรียญยูโร
จำนวนความจุเต็มในสนาม : 44,652 ที่นั่ง
จำนวนที่นั่งที่เปิดให้เข้าชม : 39,297 ที่นั่ง
บัตรที่เปิดจำหน่าย : รอบแรก 34,311 ใบ
รอบ16 ทีม 33,965 ใบ

เมือง Kaiserslautern
ชื่อสนาม : ฟริตซ์ วอลเตอร์ สเตเดี้ยม
คุณภาพสนาม : ปรับปรุงใหม่
งบประมาณลงทุน : 48.3 ล้านเหรียญยูโร
จำนวนความจุเต็มสนาม : 41,170 ที่นั่ง
จำนวนที่นั่งที่เปิดให้เข้าชม : 41,513 ที่นั่ง
บัตรที่เปิดจำหน่าย : รอบแรก 37,084 ใบ
รอบ 16 ทีม 36,392 ใบ

เมือง Leipzig
ชื่อสนาม : เซนทรัล สเตเดี้ยม
คุณภาพสนาม : สร้างใหม่
งบประมาณลงทุน : 90.6 ล้านเหรียญยูโร
จำนวนความจุเต็มสนาม : 44,199 ที่นั่ง
จำนวนที่นั่งที่เปิดให้เข้าชม : 38,898 ที่นั่ง
บัตรที่เปิดจำหน่าย : รอบแรก 34,384 ใบ
รอบ 16 ทีม 34,038 ใบ

เมือง Munich
ชื่อสนาม : อัลลิอันซ์ อารีน่า
คุณภาพสนาม : สนามสร้างใหม่
งบประมาณลงทุน : 280 ล้านเหรียญยูโร
จำนวนความจุเต็มสนาม : 66,016 ที่นั่ง
จำนวนที่นั่งที่เปิดให้เข้าชม : 59,416 ที่นั่ง
บัตรที่เปิดจำหน่าย : รอบแรก 52,782 ใบ
รอบ 16 ทีม 52,636 ใบ
รองรองชนะเลิศ 52,090

เมือง Nuremburg
ชื่อสนาม : ฟรังเค่น สเตเดี้ยม
คุณภาพสนาม : สนามปรับปรุงใหม่
งบประมาณลงทุน : 56 ล้านเหรียญยูโร
จำนวนความจุเต็มสนาม : 41,926 ที่นั่ง
จำนวนที่นั่งที่เปิดให้เข้าชม : 36,898 ที่นั่ง
บัตรที่เปิดจำหน่าย : รอบแรก 32,341 ใบ
รอบ 16 ทีม 31,995 ใบ

เมือง Stuttgart
ชื่อสนาม : ก็อตลีบ เดมเลอร์ สเตเดี้ยม
คุณภาพสนาม : สนามปรับปรุงใหม่
งบประมาณลงทุน : 51.5 ล้านเหรียญยูโร
จำนวนความจุเต็มสนาม : 54,267 ที่นั่ง
จำนวนที่นั่งที่เปิดให้เข้าชม : 47,757 ที่นั่ง
บัตรที่เปิดจำหน่าย : รอบแรก 39,030 ใบ
รอบ 16 ทีม 38,884 ใบ
รอบชิงที่สาม 38,538 ใบ

โซนนิ่งคนดู

ตั๋วเข้าชมฟุตบอลโลก 2006 มีทั้งหมด 3,070,000 ที่นั่ง ถูกแบ่งสรรโควต้าดังนี้

– 1,112,000 ที่นั่ง ขายอย่างเสรีทั่วโลกผ่านระบบอินเทอร์เน็ต คิดเป็น 36.22%

– 592,000 ที่นั่ง สมาคมฟุตบอลของชาติที่เข้าแข่งขัน คิดเป็น 19.28% (ฟีฟ่าถูกรุมกดดันให้เพิ่มจากเดิมที่ 16 %)

– 490,000 ที่นั่ง ผู้สนับสนุน (Partner 15 ราย และ Supplier 6 ราย) คิดเป็น 16%

– 347,000 ที่นั่ง กลุ่ม “Hospitality” คิดเป็น 11.3 per cent คือลูกค้าระดับสูงที่จะได้บริการเป็นพิเศษทั้งห้องชมการแข่งขัน ที่นั่ง อาหารเครื่องดื่ม ฯลฯ ชั้นดี ในราคาราว 1700 ยูโร หรือราวเกือบ 7 หมื่นบาทต่อการแข่งขัน 1 นัด

– 276,000 ที่นั่ง ‘German football family’ หรือสมาคมฟุตบอลเยอรมัน (German FA) คิดเป็น 9%

– 191,000 ที่นั่ง The ‘international football family’ หรือชาติสมาชิกฟีฟ่าอีก 175 ชาติที่ไม่ได้ผ่านเข้ารอบสุดท้าย คิดเป็น 6.2%

– 63,000 ที่นั่ง สื่อสารมวลชน คิดเป็น 2%