กลุ่มบริษัทเอสซีจี – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 23 Apr 2024 12:18:35 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 SCGD ตั้งเป้าโต 2 เท่าภายใน 6 ปี! โหมตลาดกระเบื้อง-สุขภัณฑ์ใน “เวียดนาม” ลุยสร้างโรงงานเพิ่ม https://positioningmag.com/1470826 Tue, 23 Apr 2024 10:05:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1470826
  • ผลการดำเนินงาน SCGD ไตรมาส 1/67 รายได้หด -6.1% แต่กำไรเติบโต 28.4% จากการควบคุมต้นทุน และการขายสินค้ากลุ่มกำไรสูงได้มากขึ้น
  • ปี 2567 เคาะลงทุนไลน์ผลิตกระเบื้องเพิ่มที่โรงงานหนองแค จ.สระบุรี และลงทุนติดตั้งโซลาร์เซลล์เพิ่มเพื่อลดต้นทุนลงอีก
  • แผนระยะยาวต้องการทำรายได้โต 2 เท่า ภายในปี 2573 โดยจะเร่งยอดขายกระเบื้องและสุขภัณฑ์ในอาเซียน โดยเฉพาะ “เวียดนาม” ที่มีแผนจะสร้างโรงงานเพิ่ม
  • “นำพล มลิชัย” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสซีจี เดคคอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGD เปิดเผยผลการดำเนินงานไตรมาส 1 ปี 2567 ของ SCGD ว่า บริษัทมีรายได้จากการขาย 6,784 ล้านบาท ลดลงร้อยละ -6.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ทำกำไรได้ 258 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.4 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน (หากไม่รวมผลกระทบจากการปรับโครงสร้าง และรายการ Non-Recurring อื่นๆ ในปีก่อนหน้า)

    เป็นผลมาจากบริษัทสามารถยืนราคาขายสินค้ากระเบื้องและสุขภัณฑ์ไว้ได้ และยังขายสินค้ากลุ่มที่มีกำไรสูงได้มากขึ้น ประกอบกับมีการลดต้นทุนค่าพลังงานด้วยการติดตั้งโซลาร์เซลล์และโครงการ Hot Air Generator รวมถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตมาก่อนหน้านี้ ทำให้มีต้นทุนที่ลดลงในไตรมาสที่ผ่านมา

    “นำพล มลิชัย” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสซีจี เดคคอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGD

    เมื่อคำนึงถึงสภาวะตลาดรวมของกระเบื้อง วัสดุปิดผิว และสุขภัณฑ์ ทั้งในไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นตลาดหลักของ SCGD มีสภาวะที่ยังอยู่ในระยะติดลบ ยังไม่ฟื้นตัว แต่บริษัทสามารถทำกำไรสวนตลาดได้จึงถือเป็นผลการดำเนินงานที่น่าพอใจ

    สำหรับเหตุการณ์ที่น่าจับตาในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้คือเหตุการณ์ความไม่สงบในเมียนมา ซึ่งนำพลระบุว่ามีผลกระทบต่อยอดขายของ SCGD ที่ส่งออกไปเมียนมาอยู่บ้างแต่ไม่ถึงครึ่งหนึ่ง เนื่องจากช่องทางการกระจายสินค้าผ่านทางเมียวดีและแม่สอดถูกปิด ทำให้บริษัทต้องหาทางกระจายสินค้าผ่านด่านอื่นทดแทน

     

    อนุมัติลงทุนโซลาร์เซลล์-ไลน์ผลิตกระเบื้อง

    ด้านความคืบหน้าการลงทุนที่ได้อนุมัติไปก่อนหน้านี้ของ SCGD และคาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ภายในปีนี้ทั้งหมด ได้แก่

    1.โครงการติดตั้ง Hot Air Generator เพื่อลดต้นทุนพลังงานที่โรงงานในประเทศไทยอีก 2 แห่ง ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคมนี้

    2.โครงการปรับปรุงสายการผลิตกระเบื้องไวนิล SPC (กระเบื้องยางลายไม้) โดยจะเริ่มผลิตกระเบื้องไวนิล SPC สำหรับป้อนตลาดในประเทศไทยได้ตั้งแต่ช่วงปลายไตรมาสที่ 2 ด้วยกำลังการผลิต 1.8 ล้านตารางเมตรต่อปี

    3.โครงการไลน์ผลิตสินค้ากลุ่มกระเบื้องพอร์ซเลน และ กระเบื้องขนาดใหญ่ อีก 2.2 ล้านตารางเมตรต่อปี ในพื้นที่ภาคกลางของประเทศเวียดนาม

    4.โครงการการผลิตกระเบื้องพอร์ซเลน 9.1 ล้านตารางเมตรต่อปี ในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศเวียดนาม คาดว่าจะเริ่มเดินสายการผลิตได้ในช่วงปลายปี 2567

    SCGD
    ตัวอย่างสินค้ากลุ่มกระเบื้องพอร์ซเลนจาก COTTO

    นำพลกล่าวต่อว่า เมื่อไตรมาสที่ 1 ทางบริษัท SCGD มีการอนุมัติการลงทุนมูลค่ารวม 290 ล้านบาท ใน 3 โครงการ เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ดังนี้

    1.โครงการลงทุนติดตั้งโซลาร์เซลล์ 5.5 เมกะวัตต์ เงินลงทุน 140 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณต้นปี 2568

    2.โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารคลังสินค้า เงินลงทุน 70 ล้านบาท โดยการติดตั้งระบบบริหารคลังสินค้าและรถยกระบบอัตโนมัติ

    3.โครงการไลน์การผลิตกระเบื้องขนาดใหญ่ที่หนองแค เงินลงทุน 80 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มเดินสายการผลิตได้ภายในสิ้นปี 2567

     

    แผนระยะยาว ปี 2573 ตั้งเป้ารายได้โต 2 เท่า

    นำพลประเมินตลาดกระเบื้องและสุขภัณฑ์ในอาเซียนว่า ถึงแม้เมื่อไตรมาสที่ 1 จะยังอยู่ในช่วงซบเซา แต่มองว่าในอนาคตภูมิภาคนี้จะมีเศรษฐกิจที่เติบโตแน่นอน และจะทำให้ตลาดกระเบื้องและสุขภัณฑ์โตได้ปีละ 4-5%

    SCGD จึงตั้งเป้าว่าภายในปี 2573 บริษัทจะทำรายได้โต 2 เท่า หรือขึ้นไปแตะปีละ 60,000 ล้านบาท และจะเติบโตด้วย 4 กลยุทธ์ ดังนี้

    1.ธุรกิจกระเบื้องและวัสดุปูพื้นและผนัง

    – เตรียมขยายการลงทุนโรงงานในพื้นที่ภาคใต้ของเวียดนาม ซึ่งปัจจุบันบริษัทยังมีส่วนแบ่งตลาดไม่สูงนัก

    – เพิ่มสินค้าประเภทกำไรสูงและมีนวัตกรรมให้มากขึ้น เช่น กระเบื้องยางลายไม้ (SPC), กระเบื้องพอร์ซเลน, กระเบื้องทนแรงขูดขีด (X-Strong), กระเบื้องที่เหมาะกับสัตว์เลี้ยง ลดการเสื่อมของข้อเท้าและการลื่นล้ม (Paw & Play)

    – เพิ่มสินค้าวัสดุตกแต่งพื้นและผนังให้มากขึ้น เช่น วัสดุปิดผิวบันได วัสดุตกแต่งผนัง

    – ขยายเครือข่ายช่องทางจัดจำหน่าย

    สินค้าเก็บงานให้ครบวงจร เช่น คิ้วกระเบื้อง จมูกบันได

    2.ธุรกิจสุขภัณฑ์

    – ตั้งเป้ารายได้ที่มาจากธุรกิจสุขภัณฑ์เติบโต 2 เท่าเป็นปีละ 10,000 ล้านบาท

    – เพิ่มตัวแทนจำหน่ายสุขภัณฑ์ในต่างประเทศ ต่อยอดช่องทางจัดจำหน่าย โดยในเวียดนามจากเดิม 17 รายเป็น 39 ราย ฟิลิปปินส์จากเดิม 78 รายเป็น 85 ราย และอินโดนีเซียจากเดิม 28 ราย เป็น 37 ราย

    SCGD
    QUIL by COTTO แบรนด์สุขภัณฑ์และอุปกรณ์ห้องน้ำระดับพรีเมียม

    3.ขยายธุรกิจสู่ผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวเนื่อง

    SCGD มีการขายสินค้าที่เกี่ยวเนื่องเพื่อตอบโจทย์ให้ครบวงจร เช่น กาวและยาแนว ประตู หน้าต่าง ชุดเฟอร์นิเจอร์ครัว และอื่นๆ ซึ่งปัจจุบันสินค้ากลุ่มนี้สามารถทำยอดขายได้มากกว่าปีละ 300 ล้านบาทแล้ว

    4.M&P (Merger & Partnership) ควบรวมกิจการและสร้างความร่วมมือ

    SCGP มีแนวทางธุรกิจที่จะควบรวมกิจการ หรือสร้างความร่วมมือกับเจ้าของกิจการเดิม ในธุรกิจตกแต่งพื้นผิว ธุรกิจสุขภัณฑ์ และธุรกิจผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวเนื่องทั้งในและต่างประเทศ

    อัตราการทำกำไรของ SCGP เป็นประเด็นที่นักลงทุนจับตา เพราะในปี 2566 อัตรากำไรสุทธิของบริษัทอยู่ที่ 1.64% เท่านั้น แต่จากการลงทุนเพื่อลดต้นทุนด้านพลังงานและปรับปรุงประสิทธิภาพทั้งหมด ทำให้เมื่อไตรมาส 1/67 บริษัทสามารถทำอัตรากำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 3.80% ได้แล้ว และนำพลเชื่อว่าจากโครงการลดต้นทุนที่ยังมีต่อเนื่องจะทำให้บริษัทลดต้นทุนได้มากกว่านี้ในอนาคต

    ]]>
    1470826
    เบื้องหลัง ‘สตาร์ทอัพ’ SCG HOME ซุ่มบ่มเพาะใน Nexter Incubator หน่วยค้นหา ‘ดาวดวงใหม่’ https://positioningmag.com/1395421 Mon, 08 Aug 2022 09:38:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1395421 ชื่อของแพลตฟอร์ม “คิวช่าง” (Q-CHANG) น่าจะเคยผ่านหูผ่านตาผู้บริโภคอยู่บ้าง ในฐานะตัวกลางจัดหาช่างซ่อม ปรับปรุง ต่อเติมบ้าน โดยคิวช่างคือหนึ่งในผลผลิตที่มาจาก Nexter Incubator หน่วยงานที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อมาบ่มเพาะ “สตาร์ทอัพ” เฟ้นหาดาวดวงใหม่ทางธุรกิจที่จะช่วยให้ SCG HOME ต่อยอดและขยายธุรกิจได้ในอนาคต

    SCG HOME (เอสซีจี โฮม) นั้นเป็นธุรกิจหนึ่งในกลุ่มธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างของ เอสซีจี ธุรกิจหลักของหน่วยนี้คือการจำหน่ายผลิตภัณฑ์และวัสดุก่อสร้างในช่องทางรีเทล เจาะกลุ่มตลาดลูกค้ารายย่อยที่จะสร้างบ้านเอง ปรับปรุงบ้าน หรือซ่อมแซมต่อเติมบ้าน

    อย่างไรก็ตาม วิสัยทัศน์ของหน่วยธุรกิจนี้เห็นว่าการมีเพียงธุรกิจเดียว ไม่น่าจะยั่งยืนในอนาคตข้างหน้า ทำให้เมื่อปี 2560 บริษัทมีการตั้งหน่วยธุรกิจย่อยออกมาในชื่อ ‘Nexter Incubator’ เพื่อรองรับกระแสดิจิทัล ดิสรัปชันซึ่งเป็นคลื่นลูกใหญ่ในขณะนั้น

    ศานิตย์ ภู่บุบผา ผู้อำนวยการ เน็กซเตอร์ อินคิวเบเตอร์

    “โจทย์ในเวลานั้นคือเกิดวาระครบรอบ 100 ปีเอสซีจี และเรามองว่า เราต้องสร้างธุรกิจใหม่ๆ ให้เร็วขึ้น เพื่อให้เอสซีจีของเรายังอยู่ในตลาดในอีก 100 ปีถัดไป” ศานิตย์ ภู่บุบผา ผู้อำนวยการ เน็กซเตอร์ อินคิวเบเตอร์ กล่าว

    คำตอบของการสร้างธุรกิจใหม่ให้เร็ว คือการทำงานแบบ “สตาร์ทอัพ” โดยเอสซีจีอยู่ในฐานะนักลงทุน ผู้บ่มเพาะ เป็นสนามเด็กเล่นให้ทดลองทำ และมีพนักงานในเครือเป็นผู้เสนอไอเดีย จนถึงการเป็น ‘เถ้าแก่’ คือเป็นผู้ร่วมก่อตั้งด้วยตนเอง

     

    ใช้ระบบ “Internal Start-up” กระตุ้นพนักงานลงมือทำ

    ระบบผลักดันสตาร์ทอัพของ SCG HOME จะแตกต่างจากบริษัทอื่น คือหลักๆ จะเน้นผลักดันพนักงานภายในของบริษัทให้ก่อตั้งสตาร์ทอัพขึ้นมา และถ้าหากไอเดียผ่าน มีความเป็นไปได้จริงทางธุรกิจ บริษัทจะบ่มเพาะผ่านทาง Nexter Incubator พนักงานรายนั้นหรือกลุ่มนั้นจะแปรสถานะจากการเป็นพนักงานเอสซีจี มาสู่การเป็นผู้ร่วมก่อตั้งสตาร์ทอัพ/เจ้าของธุรกิจเต็มตัว แต่เป็นสตาร์ทอัพที่มี ‘พี่เลี้ยง’ คนแรกคือเอสซีจี

    ศานิตย์กล่าวว่า การจะปั้น Internal Start-up ขึ้นมาไม่ใช่เรื่องง่ายที่เกิดได้เอง แต่บริษัทมีการวางโครงสร้างพื้นฐานเพื่อผลักดันให้เกิดขึ้นจริง 5 ประการ คือ

    1.การคัดสรรหา “ทาเลนต์” – บริษัทจะมีการจัดเวิร์กช็อป สัมมนา ที่เกี่ยวข้องกับการก่อตั้งสตาร์ทอัพ ซึ่งจะเป็นแหล่งรวมผู้ที่มีแพสชัน มีความสนใจ

    2.Agile & Lean – สร้างระบบการทำงานใหม่ที่เหมาะกับสตาร์ทอัพซึ่งต้องมีความเร็ว ปรับกฎระเบียบเดิมของบริษัทใหญ่ให้เหมาะสม เพื่อให้รอบการทำงานสั้นลง

    3.สร้าง Sandbox – ปรับระบบให้สตาร์ทอัพมีโอกาสทดลองทำธุรกิจจริงบนสนามของเอสซีจี

    4.Open Innovation – เน้นหาความร่วมมือกับพาร์ตเนอร์ภายนอก ทำให้สตาร์ทอัพแข็งแกร่งขึ้นเร็ว

    5.พร้อมที่จะ Plug-in – หากสตาร์ทอัพรายนั้นมีความพร้อม SCG HOME ก็พร้อมที่จะเปิดระบบ Plug-in นำธุรกิจนั้นเข้ามาเสริมกันทันที

    SCG HOME สตาร์ทอัพ
    SCGHOME.com ถือเป็นสตาร์ทอัพมาก่อน ก่อนที่จะ spin-in มาเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจหลักเอสซีจี

    สุดท้ายปลายทาง หากสตาร์ทอัพสามารถฝ่าด่านทางธุรกิจและมีความแข็งแรงในระดับหนึ่ง ศานิตย์กล่าวว่า จะมีทางเลือก 2 แบบที่จะเกิดขึ้นระหว่าง “Spin-in” เอสซีจีลงทุนทั้งหมดเพื่อนำธุรกิจของสตาร์ทอัพนั้นเข้ามาเป็นหนึ่งในธุรกิจหลัก หรือ “Spin-off” ธุรกิจนั้นเป็นสตาร์ทอัพในมือของพนักงานที่บัดนี้เป็นเจ้าของธุรกิจเต็มตัว มีสิทธิในการระดมทุนจากแหล่งใดก็ได้ ส่วนเอสซีจีจะเข้าลงทุนด้วยหรือไม่และสัดส่วนเท่าใด ขึ้นอยู่กับการเจรจาเป็นรายๆ ไป

    การจะเลือกว่า Spin-in หรือ Spin-off ขึ้นอยู่กับการพูดคุยระหว่างบริษัทและเจ้าของ ซึ่งมักจะมองความเหมาะสมว่าธุรกิจนั้นสร้างมาเพื่อตอบโจทย์ให้กับเอสซีจีเท่านั้น หรือมีศักยภาพที่จะขยายธุรกิจได้กว้างกว่า เหมาะสมที่จะเป็นธุรกิจที่แยกตัวออกไป

     

    “คิด สร้าง ซ่อม อยู่” วัฏจักรบ้านที่ SCG HOME สนใจ

    ด้านโจทย์ของ SCG HOME ว่าต้องการสตาร์ทอัพทำธุรกิจในด้านใด ต้องกลับมาที่การเป็นธุรกิจเรื่อง ‘บ้าน’ ของบริษัท ศานิตย์อธิบายว่าวัฏจักรของบ้านนั้นคือ “คิด สร้าง ซ่อม อยู่” แต่ที่ผ่านมาบริษัทตอบโจทย์หลักๆ เฉพาะการสร้าง ทำให้ธุรกิจที่สนใจจะมาตอบในส่วนอื่นๆ ที่เหลือของวัฏจักร หากจัดหมวดหมู่แล้วจะมี 5 ส่วนที่สนใจบ่มเพาะ คือ

    • Retail Experience: พัฒนาประสบการณ์ลูกค้าในร้านค้าปลีก (เสริมธุรกิจปัจจุบันที่มีอยู่)
    • Service Solution: บริการเกี่ยวกับการทำบ้าน
    • Healthy Living: พัฒนาการอยู่อาศัยที่สมดุลทั้งกาย จิต ปัญญา และสังคม
    • Smart Living: พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกอัจฉริยะในการอยู่อาศัย
    • Net Zero Living: พัฒนานวัตกรรมลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในการอยู่อาศัย
    สตาร์ทอัพ SCG HOME
    อีกหนึ่งสตาร์ทอัพที่กำลังฟูมฟัก Design Connext ช่วยให้ลูกค้าและสถาปนิกออกแบบบ้านมาเจอกัน ผลพวงของการสร้างบ้านทำให้ SCG HOME มียอดขายต่อเนื่องจากแอปฯ นี้ด้วย

    ผ่านไป 5 ปีของการตั้งโจทย์และการปรับระบบในบริษัท ศานิตย์บอกว่า บริษัทมีโปรเจกต์นำเสนอและทดลองทำปีละ 10-20 โปรเจกต์ แต่ที่จะผ่านด่านแต่ละด่านจนเข้าขั้นการเป็นธุรกิจจริงไม่ใช่เรื่องง่าย ขณะนี้ที่นับว่าสำเร็จแล้วในระดับหนึ่งมี 4 โปรเจกต์ คือ

    • Design Connext (ดีไซน์ คอนเนค) แพลตฟอร์มกลางเชื่อมต่อสถาปนิกกับลูกค้าสร้างบ้าน สร้างยอดขายมูลค่าสะสม 142 ล้านบาท มีสถาปนิกบนเครือข่ายกว่า 2,500 คน ลูกค้าบนเครือข่ายกว่า 6,600 คน
    • SCGHOME.COM แพลตฟอร์มออนไลน์ของ SCG HOME (ปัจจุบัน Spin-in เป็นส่วนหนึ่งของบริษัทแล้ว)
    • คิวช่าง (Q-CHANG) แพลตฟอร์มกลางเชื่อมต่อช่าง/แม่บ้านกับลูกค้า สร้างยอดขายมูลค่าสะสม 280 ล้านบาท คำสั่งจ้างมากกว่า 65,000 ครั้ง มีช่างบนแพลตฟอร์มกว่า 1,350 ทีม ครบทุกจังหวัดในไทย
    • My Home (มาย โฮม) แอปพลิเคชันช่วยเจ้าของบ้านในการดูแลบ้าน เช่น แจ้งเตือนถึงรอบล้างแอร์ แนะนำวิธีตรวจสอบอุปกรณ์ในบ้าน

    คิวช่าง ถือเป็นธุรกิจที่สร้างความหวังให้กับกลยุทธ์นี้เพราะหลังก่อตั้งมา 3 ปี ถือว่าเริ่มติดตลาดแล้ว โดยปีก่อนทำรายได้ 87 ล้านบาท ปีนี้ตั้งเป้าจะเติบโต 3 เท่าเป็น 250 ล้านบาท และคาดว่าจะเริ่มขยายไปในกลุ่มประเทศอาเซียนเร็วๆ นี้ ขณะนี้อยู่ระหว่างพูดคุยว่าจะ ‘Spin-off’ หรือไม่

    จุดหมายปลายทางของ SCG HOME คือการปั้นให้สตาร์ทอัพเหล่านี้เป็นธุรกิจใหม่ที่ scale up จนเป็นแหล่งรายได้สำคัญแหล่งใหม่ …หรืออาจจะใหญ่กว่าธุรกิจเดิมได้ก็ยิ่งดี!

    ]]>
    1395421
    เอสซีจีซื้อบริษัทนวัตกรรมและเทคโนโลยีในนอร์เวย์ พร้อมรุกธุรกิจบรรจุภัณฑ์ HVA คุณภาพสูงในอินโดนีเซีย เสริมความแข่งแกร่งธุรกิจเคมีภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ มุ่งสู่ผู้นําธุรกิจอย่างยั่งยืนในอาเซียน https://positioningmag.com/58998 Thu, 18 Dec 2014 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=58998
    เอสซีจี เข้าซื้อหุ้นบริษัท Norner ผู้เชี่ยวชาญนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านวัสดุและพอลิเมอร์จากประเทศนอร์เวย์ พร้อมรุกธุรกิจบรรจุภัณฑ์ในอาเซียน โดยเข้าซื้อหุ้นบริษัท PT Indoris Printingdo ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ HVA คุณภาพสูงในประเทศอินโดนีเซีย มุ่งพัฒนาสินค้า HVA เพื่อก้าวสู่ผู้นําธุรกิจอย่างยั่งยืนในอาเซียน
     
    นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เปิดเผยว่า บริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ จํากัด ได้เข้าซื้อหุ้นในส่วนแรกร้อยละ 51 ของบริษัท 
    Norner Holding AS หรือ Norner Group และจะเข้าซื้อหุ้นในส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 49 ภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 คิดเป็นมูลค่ารวม 
    340 ล้านบาท สําหรับการเข้าถือหุ้นทั้งหมด โดย Norner Group เป็นศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่มีความเชี่ยวชาญด้านวัสดุและพอลิเมอร์ 
    ตั้งอยู่ที่เมืองสแตททาเล ประเทศนอร์เวย์ ปัจจุบัน ให้บริการด้านคําปรึกษาซึ่งครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการผลิตพอลิเมอร์ (Polymerization) จนถึงการขึ้นรูปพลาสติก (Plastics Application) สําหรับการใช้งานหลากหลายประเภท อาทิ พลาสติกสําหรับอุตสาหกรรมน้ํามันและแก๊ส ท่อ และบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ นอกจากนี้ Norner Group ยังมีห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่ครบครัน รวมถึงความพร้อมด้านนักวิจัยและเจ้าหน้าที่เทคนิค นับเป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนําด้านการวิจัยและพัฒนาพลาสติกระดับโลก
     
    เอสซีจียังเดินหน้าขยายธุรกิจบรรจุภัณฑ์ในอาเซียน โดยบริษัทกลุ่มสยามบรรจุภัณฑ์ จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท เอสซีจี เปเปอร์ จํากัด (มหาชน) และ Rengo Company Limited ประเทศญี่ปุ่น ในสัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 70 และ 30 ตามลําดับ ได้เข้าถือหุ้นร้อยละ 90 ในบริษัท PT Indoris Printingdo หรือ Indoris มูลค่ากิจการรวม 290 ล้านบาท โดยเป็นส่วนของหนี้สินจํานวน 60 ล้านบาท ซึ่ง Indoris เป็นผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์คุณภาพสูงที่ได้รับการยอมรับจากลูกค้าซึ่งเป็นบริษัทข้ามชาติที่มีฐานการผลิตในประเทศอินโดนีเซีย ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูง (High Value Added Products: HVA) อาทิ กล่องออฟเซต ปัจจุบัน มีกําลังการผลิต 8,000 ตันต่อปี ห่างจากกรุงจาการ์ต้าไปทางทิศตะวันตกประมาณ 40 กิโลเมตร ทั้งนี้ ในปี 2556 ที่ผ่านมา Indoris มียอดขายรวม 153 ล้านบาท
     
    การลงทุนครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการต่อยอดการพัฒนาสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูง หรือ HVA เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขัน และพัฒนาธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนแล้ว ยังสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของเอสซีจีในการขยายเข้าสู่ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ในประเทศอินโดนีเซียอย่างต่อเนื่อง หลังจากการเข้าถือหุ้นในบริษัท PT Primacorr Mandiri (Primacorr) เมื่อเดือนกันยายน 2556 ที่ผ่านมา ซึ่งเอสซีจียังคงมุ่งมั่นแสวงหาโอกาสในการเติบโตอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อมุ่งสู่ผู้นําธุรกิจอย่างยั่งยืนในภูมิภาคอาเซียนต่อไป

    ]]>
    58998
    เอสซีจีแถลงผลประกอบการไตรมาสที่สาม และ 9 เดือนแรกของปี 2557 มุ่งผลักดันสินค้า HVA ต่อเนื่อง คว้าที่ 1 ของโลกด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน 4 ปีซ้อนจาก DJSI https://positioningmag.com/58684 Thu, 30 Oct 2014 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=58684

    ผลประกอบการเอสซีจีไตรมาสที่สาม มีรายได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาขายของธุรกิจเคมีภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้น แต่กำไรลดลงจากปีก่อน เนื่องจากในไตรมาสที่สาม ปี 2556 มีกำไรจากรายการที่ไม่เกิดขึ้นเป็นประจำ ประกาศเดินหน้าโครงการลงทุนกว่า 3,000 ล้านบาท ในธุรกิจซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง และสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูง (HVA) ตามกลยุทธ์มุ่งสู่ผู้นำอย่างยั่งยืนในอาเซียน พร้อมคว้าที่ 1 ของโลกด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในสาขาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง (Construction Materials Industry) เป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน จากการประเมินและจัดอันดับของ DJSI

    นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เปิดเผยว่า งบการเงินรวมก่อนสอบทานของเอสซีจี ในไตรมาสที่สาม ปี 2557 มีรายได้จากการขาย 124,275 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากราคาขายของธุรกิจเคมีภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่รายได้จากการขายใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน มีกำไรสำหรับงวด 7,846 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 20 จากปีก่อน เนื่องจากในไตรมาสที่สาม ปี 2556 มีกำไรจากรายการที่ไม่เกิดขึ้นเป็นประจำ 1,701 ล้านบาท จากการปรับมูลค่าเงินลงทุนในบริษัทสยามซานิทารีแวร์ จำกัด และบริษัทสยามซานิทารีฟิตติ้งส์ จำกัด และจากการขายเงินลงทุนในบริษัทโตโต้ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ให้กับ TOTO Group

    ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2557 เอสซีจี มีรายได้จากการขาย 370,835 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มีกำไรสำหรับงวด 24,759 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 13 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีกำไรจากรายการที่ไม่เกิดขึ้นเป็นประจำ 1,701 ล้านบาท ในไตรมาสที่ 3 ปี 2556 ประกอบกับมีการปันกำไรในบริษัทย่อยไปให้ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมมากขึ้น และส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมลดลง

    สำหรับธุรกิจของเอสซีจีในอาเซียน นอกเหนือจากประเทศไทย ใน 9 เดือนแรกของปี 2557 มีรายได้จากการขาย 32,565 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9 ของรายได้รวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ ในไตรมาสที่สามของปี 2557 ธุรกิจของเอสซีจีในอาเซียนมีรายได้จากการขาย 11,204 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9 ของรายได้รวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากการขายที่เพิ่มขึ้นของ Vina Kraft ผู้ผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในเวียดนาม และ Prime Group ผู้ผลิตกระเบื้องเซรามิกรายใหญ่สุดของเวียดนาม รวมถึงคอนกรีตผสมเสร็จและปูนซีเมนต์ในกัมพูชา ทั้งนี้ เอสซีจี มีสินทรัพย์รวมในอาเซียน นอกเหนือจากประเทศไทย ณ วันที่ 30 กันยายน 2557 มูลค่า 79,235 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 17 ของสินทรัพย์รวมของบริษัท

    สินทรัพย์รวมของเอสซีจี ณ วันที่ 30 กันยายน 2557 มีมูลค่า 473,405 ล้านบาท

    ผลการดำเนินงานในไตรมาสที่สาม ปี 2557 แยกตามรายธุรกิจดังนี้

    เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง มีรายได้จากการขายในไตรมาสที่สาม 46,382 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากรายได้ของกลุ่มธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนและรายได้จากการส่งออกที่เพิ่มขึ้น โดยมีกำไรสำหรับงวด 3,072 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 43 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากในไตรมาสที่ 3 ปี 2556 มีกำไรจากรายการที่ไม่เกิดขึ้นเป็นประจำ 1,701 ล้านบาท

    เอสซีจี เคมิคอลส์ มีรายได้จากการขายในไตรมาสที่สาม 64,337 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1 จากไตรมาสก่อน เนื่องจากปริมาณการขาย Polyolefins ที่ปรับตัวลดลง แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น โดยมีกำไรสำหรับงวด 4,188 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 85 จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากส่วนต่างราคาที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับบริษัทร่วมมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น

    เอสซีจี เปเปอร์ มีรายได้จากการขายในไตรมาสที่สาม 16,276 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 จากไตรมาสก่อน ซึ่งเป็นผลจากปริมาณขายที่เพิ่มขึ้นของทั้งสายธุรกิจเยื่อและกระดาษ และสายธุรกิจบรรจุภัณฑ์ มีกำไรสำหรับงวด 715 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 19 จากไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 10 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตาม EBITDA ที่ลดลง

    นายกานต์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในไตรมาสสุดท้ายของปี 2557 คาดว่าจะเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น และจะเห็นผลชัดเจนขึ้นในปี 2558 ทั้งนี้ เอสซีจียังคงเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจของไทยและอาเซียนจะมีความแข็งแกร่งและเติบโตอย่างยั่งยืน จึงขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด คณะกรรมการบริษัทฯ ได้อนุมัติงบลงทุนมูลค่ากว่า 3,000 ล้านบาท ในโครงการขยายการลงทุนธุรกิจปูนสำเร็จรูป (Mortar) ปูนสำเร็จรูป HVA สำหรับงานก่ออิฐและงานฉาบผนัง ที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ สะดวกต่อการใช้งาน และเหมาะกับการใช้ในงานก่อ-ฉาบอิฐมวลเบา โดยเอสซีจีได้ขยายกำลังการผลิตปูนสำเร็จรูป 2 ล้านตันต่อปี เป็นเงินลงทุนรวมประมาณ 2,800 ล้านบาท โดยก่อสร้างที่จังหวัดขอนแก่นและลำปาง และคาดว่าจะเริ่มดำเนินการผลิตได้ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2559 และโครงการร่วมทุนธุรกิจค้าปลีกวัสดุก่อสร้างในอาเซียน โดยเอสซีจีจะเข้าร่วมทุนในสัดส่วนร้อยละ 50:50 กับบริษัทสยามโกลบอลเฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) เพื่อจัดตั้งบริษัทโกลบอลเฮ้าส์อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด โดยเป็นเงินลงทุนในส่วนของเอสซีจีประมาณ 200 ล้านบาท เพื่อสร้างโอกาสในการขยายธุรกิจค้าปลีกวัสดุก่อสร้างในรูปแบบคลังสินค้าในอาเซียน

    ความคืบหน้าการลงทุนในอาเซียนของเอสซีจี ยังคงเดินหน้าต่อเนื่องตามแผนที่วางไว้ โดยโครงการโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ในอินโดนีเซีย และโครงการโรงงานผลิตปูนซีเมนต์แห่งที่สองในกัมพูชาจะแล้วเสร็จ และเริ่มผลิตได้ในปี 2558 ส่วนโครงการปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ในเวียดนาม คาดว่าจะสามารถสรุปวงเงินลงทุนได้ภายในต้นปีหน้า นอกจากนี้ การลงทุนในโครงการ Precast Concrete Panel นวัตกรรมผนังสำเร็จรูป เพื่อทดแทนการก่ออิฐและฉาบผนังแบบเดิม ที่มีความแข็งแรง ติดตั้งง่าย ลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง ขณะนี้อยู่ระหว่างก่อสร้างโรงงาน 2 แห่ง คือที่จังหวัดชลบุรี และนิคมอุตสาหกรรมเหมราช จังหวัดสระบุรี คาดว่าจะสามารถผลิตได้ในไตรมาสที่สอง ปี 2558

    สำหรับการพัฒนาสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม (HVA) เพื่อเติบโตสู่ผู้นำธุรกิจอย่างยั่งยืนในอาเซียนนั้น ที่ผ่านมา เอสซีจีมียอดขายสินค้า HVA เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยไตรมาสที่สามของปีนี้ เอสซีจีมียอดขายสินค้า HVA 42,582 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และคิดเป็นร้อยละ 34 ของยอดขายรวม ขณะที่สินค้า SCG eco value มียอดขาย 36,091 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และคิดเป็นร้อยละ 29 ของยอดขายรวม

    นอกจากนี้ เอสซีจี ยังดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อมุ่งสร้างการเติบโตอย่างสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ล่าสุด เอสซีจีได้รับการประเมินและจัดอันดับในดัชนีวัดประสิทธิผลการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนดาวน์โจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices – DJSI) ให้เป็นที่ 1 ของโลก (Industry Leader) ในสาขาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง (Construction Materials) เป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน และอยู่ในระดับ Gold Class ติดต่อกันเป็นปีที่ 7 ตั้งแต่ปี 2551 สะท้อนความมุ่งมั่นของเอสซีจีในการสร้างประโยชน์สูงสุดต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย พร้อมร่วมผลักดันให้ทุกภาคส่วนนำแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อยกระดับการดำเนินงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน และสร้างเครือข่ายการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน

    ]]>
    58684