คนจน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 23 May 2022 14:55:17 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 COVID-19 ทำให้ความเหลื่อมล้ำยิ่งถ่างออกทั่วโลก “คนรวย” เพิ่มจำนวน “คนจน” ก็เช่นกัน https://positioningmag.com/1386234 Mon, 23 May 2022 08:41:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1386234 Oxfam รายงานว่า “คนรวย” ทั่วโลกเพิ่มจำนวนขึ้น 573 คนหลัง COVID-19 โดยกลุ่มมหาเศรษฐีมีสินทรัพย์รวมกันกว่า 12.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 14% ของจีดีพีโลก ขณะที่คน 263 ล้านคนเสี่ยงที่จะเข้าสู่ระดับ “ยากจนสุดขีด” ภายในปีนี้ แนะเก็บ “ภาษี” เศรษฐีเพิ่มและนำไปช่วยบรรเทาค่าครองชีพคนจน

วันแรกของการประชุม World Economic Forum ที่ดาวอส สวิตเซอร์แลนด์ องค์กรไม่แสวงหากำไร “Oxfam” รายงานสถิติพบว่า หลังจากโลกเผชิญโรคระบาด COVID-19 ทุกๆ 30 ชั่วโมงจะมี “มหาเศรษฐีพันล้าน” เพิ่มขึ้น 1 คน ในขณะที่มี “คนจน” เกือบ 1 ล้านคนเสี่ยงเข้าสู่ภาวะยากจนสุดขีดในช่วงเวลาเดียวกัน

หรือเท่ากับมีคนรวยเพิ่มขึ้น 573 คนนับตั้งแต่เกิด COVID-19 (ข้อมูลเก็บสถิติเมื่อเดือนมีนาคม 2022) ขณะที่มีคน 263 ล้านคนกำลังจะยากจนสุดขีด

ณ เดือนมีนาคม 2021 (หลังผ่านโรคระบาดมาแล้ว 1 ปี) มหาเศรษฐีทั่วโลกมีสินทรัพย์รวมกันกว่า 12.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 14% ของจีดีพีโลก

สาเหตุเป็นเพราะเศรษฐกิจตกต่ำหลังจากเผชิญโรคระบาด ซ้ำร้ายยังมีสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ทำให้ราคาอาหารพุ่งสูง ความเหลื่อมล้ำยิ่งถ่างออก

Photo : Shutterstock

กาเบรียลล่า บูเชอร์ ผู้อำนวยการบริหาร Oxfam International กล่าวว่า เศรษฐีทั่วโลกมารวมกันที่ดาวอสเพื่อ “เฉลิมฉลองให้กับสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์ของตนเอง”

“โรคระบาด และราคาพลังงาน-อาหารที่พุ่งสูงขึ้นกลายเป็นแหล่งขุมทรัพย์สำหรับพวกเขา” บูเชอร์กล่าว “ขณะที่หลายทศวรรษแห่งความพยายามที่จะกำจัดความยากจนสุดขีดกลับเดินถอยหลัง และกำลังเผชิญค่าครองชีพที่พุ่งสูงจนแทบเป็นไปไม่ได้แม้เพียงแค่จะมีชีวิตรอด”

 

บุญหล่นทับจากโรคระบาด

Oxfam กล่าวต่อว่า อุตสาหกรรมที่ได้รับอานิสงส์มากที่สุดคือกลุ่มอาหาร พลังงาน และยา มหาเศรษฐีในกลุ่มอุตสาหกรรมนี้มีสินทรัพย์เพิ่มขึ้น 4.53 แสนล้านเหรียญในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา หรือเท่ากับมีสินทรัพย์เพิ่ม 1 พันล้านเหรียญทุกๆ 2 วัน

ตัวอย่างเช่น Cargill ยักษ์ใหญ่ด้านอุตสาหกรรมอาหาร เป็น 1 ใน 4 บริษัทที่ควบคุมตลาดเกษตรกรรมทั่วโลกมากกว่า 70% บริษัทนี้ยังบริหารโดยครอบครัว Cargill สามารถทำกำไรสุทธิเกือบ 5 พันล้านเหรียญเมื่อปีที่แล้ว เป็นกำไรที่สูงที่สุดในประวัติการณ์ ทำให้ครอบครัว Cargill มีมหาเศรษฐีพันแล้วถึง 12 คน เพิ่มจากจำนวน 8 คนเมื่อก่อนเกิดโรคระบาด

Cargill Food

ส่วนอุตสาหกรรมยา มีมหาเศรษฐีเพิ่มขึ้น 40 คน เพราะเป็นผู้ควบคุมผูกขาดการผลิตวัคซีน ยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อจากบริษัทของตัวเอง

เพื่อป้องกันไม่ให้ความเหลื่อมล้ำมากไปกว่านี้ Oxfam แนะนำให้รัฐบาลแต่ละประเทศเก็บภาษีเพิ่มจากกำไรที่ได้เพิ่มพิเศษเพราะโรคระบาด และนำไปช่วยเหลือคนจนที่ต้องประสบปัญหาค่าครองชีพสูงทั้งจากค่าพลังงานและอาหาร

 

จุดจบการทำกำไรจากวิกฤต?

องค์กรไม่แสวงหากำไรรายนี้ยังแนะให้รัฐบาล “หยุดการทำกำไรจากวิกฤต” โดยให้เก็บภาษีกำไรส่วนเกินที่ได้มาเพราะวิกฤต COVID-19 เป็นการชั่วคราว โดยเน้นเก็บกับองค์กรขนาดใหญ่ทุกอุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์

ส่วนกรณีมหาเศรษฐี ผู้กุมอำนาจผูกขาดคลาด และกลุ่มคนรวยที่ปล่อยคาร์บอนสูง แนะนำให้เก็ฐภาษีเพิ่มแบบถาวร

องค์กรระบุว่าการเก็บภาษีคนรวยโดยเริ่มต้นเพียง 2% สำหรับกลุ่มเศรษฐีร้อยล้าน (สินทรัพย์ประมาณ 3 พันล้านบาท) และ 5% สำหรับกลุ่มเศรษฐีพันล้าน (สินทรัพย์ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท) จะทำให้โลกนี้เก็บภาษีคนรวยเพิ่มได้ 2.52 ล้านล้านเหรียญต่อปี

เมื่อนำภาษีไปช่วยคนจน จะทำให้คน 2.3 พันล้านคนทั่วโลกพ้นขีดความยากจน สามารถแจกจ่ายวัคซีนได้เพียงพอแก่คนทั้งโลก และสร้างระบบสาธารณสุขให้กับคนที่อาศัยในประเทศยากจนและประเทศระดับกลางล่างได้ทั้งหมด

Source

]]>
1386234
พิษโควิด 2 ปีทำ ‘คนจน’ ทั่วโลกพุ่งแตะ 100 ล้านคน เพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 20 ปี https://positioningmag.com/1368872 Mon, 27 Dec 2021 06:41:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1368872 ธนาคารโลกประมาณการว่าประชากรกว่า 97 ล้านคนทั่วโลกตกอยู่ในความยากจนอันเนื่องมาจากการระบาดใหญ่ในปี 2020 โดยมีรายได้ไม่ถึง 2 ดอลลาร์หรือราว 70 บาทต่อวัน โดยถือเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 20 ปี ขณะที่เหล่ามหาเศรษฐียิ่งทวีความร่ำรวย

ตั้งแต่ทั่วโลกได้เผชิญกับการระบาดของ COVID-19 ความยากจนก็ยิ่งเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากการระบาดยังคงอยู่ โดยในปี 2564 นี้มีจำนวนประชากรถึง 97 ล้านคน โดยมีจำนวนคนจนที่สุดในโลกเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 20 ปีตามการระบุของธนาคารโลก

Carolina Sánchez-Páramo ผู้อำนวยการระดับโลกด้านความยากจนและความเสมอภาคของ World Bank เปรียบว่าโรคระบาดใหญ่กับภัยพิบัติทางธรรมชาติที่จะแพร่กระจายอย่างรวดเร็วกว่าสึนามิที่มีศูนย์กลางในเอเชียตะวันออก ส่งผลให้ความไม่เท่าเทียมกันยิ่งเพิ่มขึ้น

ในขณะที่ผู้คนหลายสิบล้านกำลังตกต่ำลง คนรวยมากก็ร่ำรวยขึ้น โดยเหล่าเศรษฐีกว่า 1,000 คน ใช้เวลาเพียง 9 เดือนในการฟื้นคืนความมั่งคั่งในช่วงการระบาดใหญ่ แต่กับคนจน พวกเขาอาจต้องใช้เวลามากกว่า 10 ปีเพื่อฟื้นตัว ตามรายงานความไม่เท่าเทียมกันประจำปีของ Oxfam International ที่เผยแพร่ในเดือนมกราคม

ชาเมรัน อาเบด กรรมการบริหารของ BRAC International ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรที่ทำงานเพื่อบรรเทาความยากจนทั่วทั้งเอเชียและแอฟริกา ชี้ให้เห็นถึงช่องว่างความมั่งคั่งที่กว้างขึ้น โดยกล่าวว่า

“คนที่ร่ำรวยที่สุด 3 คนของโลก อาจยุติความยากจนข้นแค้นบนโลกได้”

“แต่แน่นอนว่าไม่ใช่ความรับผิดชอบของพวกเขาอย่างเดียว แต่แค่บอกว่าพวกเขามีทรัพยากรเพียงพอในการจัดการกับปัญหา”

Carolina Sánchez-Páramo กล่าวต่อว่า หนึ่งในทางที่จะช่วยได้ก็คือ ทุกคนต้องสามารถเข้าถึงวัคซีนหรือการรักษาบางอย่างสำหรับการระบาดใหญ่ได้อย่างเท่าเทียม เพราะจนกว่าคุณจะควบคุมการระบาดได้ มันยากมากที่จะคิดถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ความไม่เท่าเทียมกันของวัคซีนได้กลายเป็นประเด็นสำคัญ เนื่องจากประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลกหลายแห่งได้กักตุนซื้อปริมาณมากพอที่จะฉีดวัคซีนให้กับประชากรของพวกเขาหลายครั้ง

นอกจากนี้ เหล่ามหาเศรษฐีที่มี 1% อยู่ภายใต้แรงกดดันในประเด็นด้านมนุษยธรรม โดยในเดือนพฤศจิกายน ผู้อำนวยการโครงการอาหารโลกขององค์การสหประชาชาติเรียกร้องให้มหาเศรษฐีที่ร่ำรวยที่สุดในโลก 2 คนคือ เจฟฟ์ เบซอส และ อีลอน มัสก์ ตระหนักถึงปัญหา โดยกล่าวว่า การให้เงิน 6 พันล้านดอลลาร์หรือประมาณ 2% ของมูลค่าสุทธิของ อีลอน มัสก์ สามารถช่วยแก้ปัญหาความหิวโหยของโลกได้

“6 พันล้านเพื่อช่วย 42 ล้านคนที่จะตายอย่างแท้จริง”

โดยการเรียกร้องดังกล่าวได้รับการตอบสนองโดยตรงจาก อีลอน มัสก์ ซึ่งเขาทวิตบน Twitter ว่า “หากองค์กรสามารถจัดวางวิธีการที่เงินทุนจะแก้ปัญหาได้ เขาจะขายหุ้นของ Tesla ทันทีเพื่อช่วยเหลือ”

Source

]]>
1368872
โควิดทำ ‘คนจนอินเดีย’ เพิ่ม 75 ล้านคน ส่วนมหาเศรษฐีเกิดเพิ่มเป็น 140 คน ทรัพย์สินรวม 5.96 แสนล้านดอลลาร์ https://positioningmag.com/1341305 Thu, 08 Jul 2021 06:24:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1341305 ด้วยข้อจำกัดที่รุนแรงในการเดินทางและกิจกรรมทางธุรกิจเพื่อควบคุมการแพร่กระจายของ COVID-19 ในอินเดีย ส่งผลให้อินเดียเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างมากในปีที่แล้ว หลังจากการล็อกดาวน์ที่กินเวลาเกือบ 4 เดือน ตัวเลขการว่างงานแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนพฤษภาคมนี้ ขณะที่จำนวนผู้ป่วย COVID-19 เพิ่มขึ้นอย่างมาก

จากปัญหาดังกล่าว ส่งผลให้ความไม่เท่าเทียมกันเพิ่มขึ้นจาก 74.7นปี 2543 เป็น 82.3 ในปี 2563 ที่ผ่านมา โดยยิ่งตัวเลขสูงความเหลื่อมล้ำยิ่งมากขึ้น รายได้ก็ยิ่งไม่เท่ากัน จากการวิเคราะห์โดย Pew Research Center ในปีที่ผ่านมาพบว่า ชนชั้นกลางของอินเดีย ลดลง 32 ล้านคน

ในขณะเดียวกัน จำนวนคนยากจนในอินเดีย (ที่มีรายได้ 2 เหรียญหรือราว 60 บาทต่อวัน) คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 75 ล้านคน เนื่องจากภาวะถดถอย โดย Rakesh Kochhar นักวิจัยอาวุโสของ Pew เสริมว่า จำนวนดังกล่าวคิดเป็นเกือบ 60% ของความยากจนที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก และตัวเลขดังกล่าวยังไม่รวมผลกระทบจาก COVID-19 ระลอกสอง

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Azim Premji ในรัฐกรณาฏกะของอินเดียระบุว่า 90% รายงานว่าครอบครัวได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์ หลายครัวเรือนรับมือกับการสูญเสียรายได้ในปีที่แล้วด้วยการลดการบริโภคอาหาร การขายทรัพย์สิน และการกู้ยืมเงิน จากเพื่อน ญาติ และผู้ให้กู้เงิน นักวิจัยคาดการณ์ว่าชาวอินเดียประมาณ 230 ล้านคนตกอยู่ในความยากจน ซึ่งพวกเขากำหนดให้มีรายได้น้อยกว่า 5 ดอลลาร์ต่อวัน เนื่องจากการระบาดใหญ่

‘มูเกช อัมบานิ’ ผู้บริหารรีไลอันซ์ อินดัสตรีส์ กลุ่มบริษัทโทรคมนาคมและพลังงานของอินเดีย

ในขณะที่ 99% ของประชากรอินเดียจะถูกผลกระทบจาก COVID-19 จนมีรายได้ลดลง แต่ประชากร 1% ที่อยู่ในระดับมหาเศรษฐีนั้นกลับร่ำรวยยิ่งขึ้นและมีอิทธิพลมากขึ้น เนื่องจากความมั่งคั่งรวมกันของพวกเขาได้เพิ่มสูงขึ้นหลายหมื่นล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว โดยมีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 102 คน เป็น 140 คน ด้วยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิรวมกันกว่า 5.96 แสนล้านดอลลาร์

โดย ‘มูเกช อัมบานิ’ ผู้บริหารรีไลอันซ์ อินดัสตรีส์ กลุ่มบริษัทโทรคมนาคมและพลังงานของอินเดียและถือเป็นนักธุรกิจที่มั่งคั่งที่สุดในเอเชีย มีสินทรัพย์สุทธิเพิ่มขึ้น 11% ในปีนี้เป็น 85,100 ล้านดอลลาร์ ตามมาด้วย ‘กัวตัม อะดานิ’ ผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัทอะดานิ กรุ๊ป เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าจากต้นปี 2564 จากที่มีทรัพย์สิน 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์เป็น 6.59 หมื่นล้านดอลลาร์

Source

]]>
1341305
IMF เเนะประเทศร่ำรวย ปรับ ‘ขึ้นภาษี’ เพื่อลดปัญหา ‘ความเหลื่อมล้ำ’ จากวิกฤต COVID-19 https://positioningmag.com/1326430 Fri, 02 Apr 2021 11:59:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1326430 IMF เเนะประเทศร่ำรวยขึ้นภาษี’ นำงบมาพัฒนาสังคม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ’ ที่รุนเเรงขึ้นจากวิกฤต COVID-19

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุถึงรายงานของ Fiscal Monitor เผยเเพร่ในเดือนเมษายน 2021 ที่ชี้ให้เห็นว่า การเเพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่ลุกลามไปทั่วโลกนั้น ทำให้ความไม่เท่าเทียมในสังคม ทวีความรุนเเรงขึ้น

โดยเฉพาะความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการดูเเลสุขภาพ การศึกษา เเละโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล ส่งผลให้เกิดช่องว่างระหว่างรายได้ ที่จะกลายเป็นปัญหาใหญ่ส่งต่อไปยังรุ่นสู่รุ่น ดังนั้นรัฐบาลในประเทศต่างๆ จึงต้องจัดสรรงบประมาณ เพื่อนำมาพัฒนาในด้านต่างๆ เหล่านี้ หลังผ่านพ้นวิกฤตไปเเล้ว

IMF เเนะนำว่า ประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ หรือประเทศร่ำรวย อาจจะต้องใช้มาตรการปรับเพิ่มอัตราภาษีก้าวหน้าของเงินได้เพิ่มการเก็บภาษีมรดกให้สูงขึ้นรวมถึงภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างด้วย

ส่วนกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาหรือตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) นั้น ควรเพิ่มงบประมาณในการพัฒนาด้านสังคม เพื่อเสริมสร้างรายได้ให้ประชาชนมีความสามารถจ่ายภาษีเพิ่มขึ้น

Photo : Getty Images

ด้านมูลนิธิ Oxfam ระบุว่า ในช่วงเดือนมี.. – .. 2020 มหาเศรษฐีทั่วโลกมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นถึง 3.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่คนจนมีรายได้ลดลงต่อเนื่อง สะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำที่ขยายตัวขึ้น

โดยเมื่อนำสินทรัพย์ของเหล่ามหาเศรษฐีรวยที่สุด 10 อันดับแรกของโลก ที่เพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ COVID-19 เริ่มระบาดมารวมกัน จะพบว่ามีมูลค่าสูงกว่าประมาณ 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เพราะมีระบบเศรษฐกิจเอื้อให้กลุ่มคนร่ำรวย สามารถรักษาความร่ำรวยไว้ได้ ท่ามกลางภาวะวิกฤตทางอันเลวร้าย

อ่านเพิ่มเติม : COVID-19 เร่ง ‘ความเหลื่อมล้ำ’ ให้ร้าวลึก เศรษฐีรวยเเล้วรวยอีก คนจนยิ่งจนลง

ขณะที่กลุ่มมหาเศรษฐี 1,000 อันดับเเรกของโลก กลับมามีสภาพคล่องทางการเงินเทียบเท่าช่วงก่อนเกิดโรคระบาดได้ (Pre-pandemic) เร็วภายใน 9 เดือน ส่วนคนยากจนต้องใช้เวลามากกว่านั้นถึง 14 เท่า หรือคิดเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 10 ปีในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยกลุ่มคนที่มีฐานะร่ำรวยจำนวนนี้ ที่เป็นผู้ชายผิวขาว (White Male) จะกลับมาฟื้นตัวทางการเงินได้เร็วกว่ากลุ่มอื่นๆ ด้วย

Oxfam ให้ความเห็นว่า ทั้ง IMF และรัฐบาลประเทศต่างๆ ควรหลีกเลี่ยงดำเนินนโยบายทางการเงินที่จะซ้ำรอยกับวิกฤตการเงินปี 2008-2009 ด้วยการผลักภาระภาษีจากคนรวยและบริษัทยักษ์ใหญ่ไปสู่ครัวเรือน

 

ที่มา : Reuters , IMF

]]>
1326430
COVID-19 เร่ง ‘ความเหลื่อมล้ำ’ ให้ร้าวลึก เศรษฐีรวยเเล้วรวยอีก คนจนยิ่งจนลง https://positioningmag.com/1316290 Mon, 25 Jan 2021 10:53:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1316290 โรคระบาดเป็นตัวเร่งทำให้ ‘ความเหลื่อมล้ำ’ ในสังคมร้าวลึกมากขึ้น คนรวยยิ่งรวยขึ้น คนจนยิ่งจนลง โดยมหาเศรษฐี TOP 10 ของโลกมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นรวมกันกว่า ‘5 เเสนล้านดอลลาร์สหรัฐ’ ในช่วงวิกฤต COVID-19 ขณะที่ผู้คนหลายร้อยล้านคนมีรายได้ลดลง หนี้สินเพิ่มขึ้นเเละต้อง ‘ตกงาน’

จากรายงานขององค์การ Oxfam ระบุว่า เกือบทุกประเทศในโลก มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น อันเป็นผลมาจากการเเพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา

เมื่อนำสินทรัพย์ของเหล่ามหาเศรษฐีรวยที่สุด 10 อันดับแรกของโลก ที่เพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ COVID-19 เริ่มระบาด พบว่าจะมีมูลค่าสูงกว่าประมาณ 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีระบบเศรษฐกิจเอื้อให้กลุ่มคนร่ำรวย สามารถรักษาความร่ำรวยไว้ได้ ท่ามกลางภาวะวิกฤตทางอันเลวร้าย

ขณะที่กลุ่มมหาเศรษฐี 1,000 อันดับเเรกของโลก กลับมามีสภาพคล่องทางการเงิน ‘เทียบเท่า’ ช่วงก่อนเกิดโรคระบาดได้ (Pre-pandemic) เร็วภายใน 9 เดือน ส่วนคนยากจนต้องใช้เวลามากกว่านั้นถึง 14 เท่า หรือคิดเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 10 ปีในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยกลุ่มคนที่มีฐานะร่ำรวยจำนวนนี้ ที่เป็นผู้ชายผิวขาว (White Male) จะกลับมามีฟื้นตัวทางการเงินได้เร็วกว่ากลุ่มอื่นๆ ด้วย

ผลการสำรวจขององค์การ Oxfam ครั้งนี้ จัดทำขึ้นโดยนักเศรษฐศาสตร์ 295 คนจาก 79 ประเทศทั่วโลก พบว่า 87% ของผู้ตอบแบบสอบถาม คาดว่าจะเกิดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในประเทศของตน ‘เพิ่มขึ้น’ หรือ ‘เพิ่มขึ้น อย่างมาก’ อันเป็นผลมาจาก COVID-19

โดยวิกฤตนี้ ทำให้เกิดปัญหาการจ้างงานที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 90 ปี ส่งผลให้ประชาชน ‘หลายร้อยล้านคน’ ทั่วโลกต้องตกอยู่ในภาวะไม่มีงานทำ เวลาทำงานลดลงและตกงาน ส่วนผู้คนอีก ‘หลายพันล้านคน’ เเละผู้ที่อยู่แนวหน้าในการเผชิญกับโรคระบาด อย่าง พนักงานร้านค้า ผู้ค้าขายในตลาด เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ก็ยิ่งมีความเสี่ยงต่อชีวิตเเละรายได้มากขึ้นเรื่อยๆ

ด้านปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเพศก็ยังมีเพิ่มขึ้นต่อไป โดยผู้หญิง เป็นหนึ่งในกลุ่มประชากรที่ได้รับผลกระทบชัดเจนที่สุด เพราะได้ค่าจ้างต่ำกว่าที่จะเป็น เเละยังต้องตกงานในช่วงล็อกดาวน์มากกว่าผู้ชาย

Oxfam ระบุอีกว่า การแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังเเสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำทางเชื้อชาติอีกด้วย โดยกลุ่มชาติพันธุ์ชายขอบ มีแนวโน้มที่จะถูกผลักให้ต้องเผชิญกับความยากจนมากขึ้น และถูกกีดกันออกจากระบบทางสาธารณสุข

Gabriela Bucher ผู้อำนวยการ Oxfam International เเนะว่า การต่อสู้กับความเหลื่อมล้ำเป็นหัวใจสำคัญของการเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ รัฐบาลต้องจัดการเเละดูแลให้ทุกคนสามารถเข้าถึงเงินช่วยเหลือ สวัสดิการต่างๆ รวมถึงวัคซีน โดยควรมีการ ‘จัดเก็บภาษี’ อย่างยุติธรรมเพื่อประโยชน์ของทุกคนไม่ใช่แค่เฉพาะผู้มีสิทธิพิเศษเพียงไม่กี่คนโลกเท่านั้น

 

ที่มา : Oxfam , aljazeera

]]>
1316290
คนไทยจนน้อยลง! เหลือ 4.3 ล้านคน แต่ยังเหลื่อมล้ำเพียบ “ปัตตานี” คนจนสูงสุด https://positioningmag.com/1304704 Thu, 05 Nov 2020 16:56:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1304704 สภาพัฒน์เปิดตัวเลข “คนจนลดลง” ต่อเนื่อง ตลอด 20 ปี จาก 25.8 ล้านคน ในปี 2541 ลดลงเหลือ 4.3 ล้านคน ในปี 2562 ส่วนคนปัตตานีมีสัดส่วนคนจนหนาแน่นสูงที่สุด แต่ความเหลื่อมล้ำ-ความไม่เสมอภาคในการถือครองทรัพย์สินยังมีเพียบ!

คนจนลดลงเหลือ 4.3 ล้านคน

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ จัดทำรายงานสถานการณ์ความยากจนและเหลื่อมล้ำเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา เพื่อนำเสนอสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในด้านความยากจน และความเหลื่อมล้ำของประเทศไทยในรอบปีที่ผ่านมา รวมทั้งการวิเคราะห์ลักษณะของปัญหา และนโยบายหรือโครงการสำคัญของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

รายงานสถานการณ์ความยากจนและเหลื่อมล้ำในปี 2562 ซึ่งเป็นการรายงานสถานการณ์ล่าสุดของ สศช. พบว่า สัดส่วนคนยากจนลดลงจาก 9.85% ในปี 2561 มาอยู่ที่ 6.24% ในปี 2562 หรือมีคนจนจำนวน 4.3 ล้านคน ลดลงจาก 6.7 ล้านคนในปีก่อนหน้า

เมื่อพิจารณาแนวโน้มของความยากจนในระหว่างปี 2541 ถึงปัจจุบัน สัดส่วน และจำนวนคนจนมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง จากจำนวนคนยากจน 25.8 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วน 38.63% ในปี 2541 ลดลงเหลือ 11.6 ล้านคน หรือ 17.88% ในปี 2552 และลดลงเหลือ 4.3 ล้านคน หรือ 6.24% ในปี 2562

สถานการณ์ความยากจนในระยะ 5 ปีหลัง (ปี 2558-2562) พบว่า สัดส่วนคนจนอยู่ในระดับต่ำ โดยมีสัดส่วนไม่เกิน 10% และมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 2 ครั้ง คือ ปี 2559 และ 2561 โดยสัดส่วนคนยากจนที่เพิ่มขึ้นในปี 2559 เกิดจากผลกระทบของปัญหาภัยแล้ง

ขณะที่ในปี 2561 เกิดจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจต่างประเทศ เงินบาทแข็งค่า และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลง ส่งผลสืบเนื่องต่อผู้มีรายได้น้อยซึ่งสอดคล้องกับการรายงานของธนาคารโลก (World Bank, 2019. “Taking The Pulse of Poverty and Inequality in Thailand”)

สถานะยากจนเรื้อรัง

การเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ความยากจนในระยะหลัง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) และธนาคารโลก ระบุว่า อาจเกิดจากความยากจนของไทยลดลงมากจากอดีตที่ผ่านมา จนทำให้ครัวเรือนที่มีสถานะยากจนอยู่ในปัจจุบันเป็นครัวเรือนที่มีปัญหาความยากจนเรื้อรัง หรืออยู่ในกับดักของความยากจน ซึ่งต้องมีนโยบายแก้ปัญหาความยากจนอย่างตรงจุด

จากการวิเคราะห์กลุ่มคนยากจนในระยะหลัง พบว่า ครัวเรือนยากจน 1 ใน 3 เป็นผู้ไม่ปฏิบัติงานในเชิงเศรษฐกิจ (Economically Inactive Household) มีการพึ่งพิงสูงโดยมีเด็ก และผู้สูงอายุจำนวนมาก ในครัวเรือน และจบการศึกษาในระดับประถมศึกษา และต่ำกว่า (คนจน 79.18% จบการศึกษาระดับประถมศึกษาและต่ำกว่า) อีกทั้งผู้มีงานทำที่ยากจนส่วนใหญ่ทำงานในภาคการเกษตรซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีรายได้น้อย สะท้อนให้เห็นว่าครัวเรือนยากจนมีความสามารถในการสร้างรายได้ได้น้อย

“การปรับตัวลดลงของคนจนในปี 2562 สาเหตุสำคัญเกิดจากการขยายความครอบคลุมมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐในปี 2562 โดยเฉพาะโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้ที่มีรายได้น้อยโดยตรง”

โดยในปี 2562 มีผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจำนวนทั้งหมด 14.5 ล้านคน เพิ่มขึ้นมาจากปี 2561 ที่มี 11.4 ล้านคน จากการที่รัฐบาลได้เปิดการลงทะเบียนรอบพิเศษ (ในระหว่างช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2561) สำหรับกลุ่มผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียน ในรอบก่อนหน้า

โดยผู้ที่มีบัตรฯ จะได้รับการช่วยเหลือด้านภาระค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันรายเดือน ได้แก่ วงเงินซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น 200-300 บาท/เดือน ค่าเดินทางระบบขนส่งสาธารณะวงเงินรวมสูงสุด 1,500 บาท/เดือน และค่าก๊าซหุงต้ม 45 บาท/3 เดือน อีกทั้ง คนยากจนบางส่วนยังได้รับการเงินช่วยเหลือจากโครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และคนพิการ และเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด

(Photo by Allison Joyce/Getty Images)

แม้สัดส่วนคนจนในปี 2562 จะมีแนวโน้มลดลง แต่การรักษาระดับสัดส่วนคนจนให้อยู่ในระดับต่ำยังต้องติดตามสถานการณ์ต่อไป เนื่องจากในปี 2563 ประเทศไทยประสบกับภาวะวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจและการจ้างงานเป็นวงกว้าง และยังมีความไม่แน่นอนว่าการแพร่ระบาดจะต่อเนื่องยาวนานแค่ไหน ซึ่งอาจทำให้สถานการณ์ความยากจนในปี 2563 กลับไปแย่ลงอีกครั้ง

ปัตตานีคนจนสูงสุด นนทบุรีน้อยสุด

สัดส่วนความยากจนลดลงเกือบทุกจังหวัด และภาพรวมสัดส่วนคนจนมีแนวโน้มลดลงในทุกภูมิภาค โดยในปี 2562 จังหวัดที่มีปัญหาความยากจนน้อยที่สุด ได้แก่

  • นนทบุรี 0.24%
  • ปทุมธานี 0.24%
  • ภูเก็ต 0.40%
  • สมุทรปราการ 0.56%
  • กทม. 0.59%

ส่วน 10 จังหวัดที่มีคนจนหนาแน่นที่สุด ได้แก่

  • ปัตตานี 29.72%
  • นราธิวาส 25.53%
  • แม่ฮ่องสอน 25.26%
  • ตาก 21.13%
  • กาฬสินธ์ุ 20.21%
  • สระแก้ว 18.74%
  • พัทลุง 18.67%
  • ชัยนาท 17.89%
  • อ่างทอง 17.32
  • ระนอง 16.43%

ความเหลื่อมล้ำยังมีให้เห็นอีกเพียบ!

อย่างไรก็ตาม ด้านความไม่เสมอภาคในการถือครองทรัพย์สินสุทธิลดลงเล็กน้อย แต่ยังอยู่ในระดับสูง มูลค่าทรัพย์สินรวมสุทธิเป็นมูลค่าทรัพย์สินรวมทั้งหมดหักด้วยมูลค่าหนี้สินทั้งหมด (ในระบบ และนอกระบบ) โดยในปี 2562 มีค่าเท่ากับ 0.6442 ปรับตัวลดลงจาก 0.6453 และ 0.6651 ในปี 2560 และปี 2558 ตามลำดับ เป็นผลจากการที่กลุ่มผู้มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงเพียงแหล่งเงินทุนนอกระบบ ซึ่งมีความเสี่ยง ภาระและต้นทุนการชำระหนี้ที่มากกว่ากลุ่มผู้มีรายได้สูง

เช่นเดียวกับส่วนแบ่งรายได้ของกลุ่มผู้มีรายได้สูงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์จีนี หลังปรับปรุงตั้งแต่ ปี 2552-2560 เพิ่มสูงขึ้นจากเดิมอย่างชัดเจน โดยในปี 2560 ค่าสัมประสิทธิ์ฯ หลังปรับปรุงอยู่ที่ 0.5221 สูงกว่าค่าเดิมที่ได้จากข้อมูลสำรวจที่ 0.4528 สะท้อนว่า ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ของไทยยังคงอยู่ในระดับสูง

โดยข้อมูลภาษีมาใช้ในการวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำของโครงสร้างภาษี พบว่า มาตรการการหักค่าใช้จ่ายและการหักค่าลดหย่อน/บริจาคส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ของผู้ยื่นแบบภาษีฯ ในภาพรวมเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในปี 2560-2561 ที่ค่าลดหย่อนปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมากจากปี 2559 (การปรับโครงสร้างภาษี) ซึ่งเป็นการสะท้อนว่า

กลไกหรือมาตรการรายจ่ายภาษียังคงไม่สามารถทำหน้าที่ในการกระจายรายได้ และลดความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ได้อย่างที่ควรจะเป็น

Source

]]>
1304704